สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
51
rtd90 จัดงานศพ / ข้อดี-ข้อเสียพวงหรีดรูปแบบต่างๆ
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 30, 2022, 09:01:46 AM »
"ข้อดี-ข้อเสีย"พวงหรีดรูปแบบต่างๆ
พวงหรีดแบบต่างๆ
เชื่อได้ว่าหลายๆคน เมื่อไปงานศพสิ่งของที่จะใช้เป็นสื่อเเทนความเสียใจเเละไว้อาลัยกับผู้ล่วงลับไปแล้ว คงหนีไม่พ้น "พวงหรีด" และถ้าพูดถึงพวงหรีด หลายๆคนก็คงนึกถึง พวงหรีดดอกไม้สด พวงหรีดพัดลม เป็นอันดับเเรก แต่จะมีส่วนน้อยที่จะรู้ว่ายังมีพวงหรีดแบบอื่นๆอีก ทางร้านพวงหรีด หรีด789ของเรา เลยจะมาทำความรู้จักกับพวงหรีดแบบต่างๆ ว่ามีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไรบ้าง เพื่อให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้นคะ ว่าจะเลือกพวงหรีดแบบใด ไปในงานศพ

พวงหรีดมีให้เลือกหลากหลายแบบ อาทิเช่น
พวงหรีดดอกไม้สด นิยมมากอันดับหนึ่ง มีความสวยและมองดูสดชื่นในตัวเองมี ร้านขายพวงหรีดส่วนใหญ่จะมีราคาตั้งแต่ 1000 บาทเป็นต้นไป
พวงหรีดพัดลม นิยมปานกลางไม่มากไปกว่าพวงหรีดดอกไม้สด มีให้เลือกทั้งแบบดอกไม้ประดิษฐ์และดอกไม้สด หลังจบงานสามารถนำพัดลมไปบริจาคหรือใช้งานต่อได้ ถือได้ว่านอกจากมีความสวยงามแล้วยังมีประโยชน์
พวงหรีดผ้า นิยมรองลงมาจากพัดลม สำหรับกรุงเทพฯ นิยมเฉพาะวัดต่างจังหวัดและปริมณฑล จะพบเห็นได้มากขึ้น พวงหรีดผ้าจะมาพร้อมป้ายข้อความที่โดดเด่นอีกทั้งผ้ายังสามารถนำไปใช้งานต่อได้
พวงหรีดต้นไม้ มีความนิยมน้อยพบเห็นได้น้อยวัดส่วนใหญ่จะเป็นวัดใหญ่ๆดังๆ การส่งพวงหรีดต้นไม้จะต้องใช้รถใหญ่เท่านั้น ทำให้ต้องสั่งข้ามวัน

พวงหรีดดอกไม้สด
เป็นพวงหรีดที่จัดดอกไม้ตามรูปทรงต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็น รูปวงกลม รูปหยดน้ำ วงรีซึ่งเป็นแนวประยุกต์ เป็นต้น โดยดอกไม้ที่ใช้ส่วนใหญ่ จะเป็นดอกไม้สดสีสันต่างๆ เช่น ดอกเบญจมาศ ดอกมัม ดอกเยลบีล่า เป็นต้น นำมาจัดตามโครงร่างของหรีดดอกไม้สด ถือว่าเป็นพวงหรีดที่มีความนิยมมาก
พวงหรีดแบบฟางจะมีราคาที่ต่ำกว่าพวงหรีดวงรี (พวงหรีดแบบวงรีจะใช้ดอกไม้นอกเป็นส่วนใหญ่)
ข้อดีหรีดดอกไม้สด คือ มองดูสดชื่น มีความสวยงามสะดุดตา มีสีสัน และช่วยลดบรรยายกาศความโศกเศร้าภายในงานศพเพราะว่าจะเข้ากับดอกไม้หน้าหีบ และมีหลายขนาดให้เลือกนำไปแสดงความอาลัย
ข้อเสียหรีดดอกไม้สด คือ เมื่อจบจากงานศพแล้ว ดอกไม้ที่ประดับในพวงหรีด ก็จะเหี่ยวเฉาลง แล้วก็ต้องถูกทิ้งแบบไร้ประโยชน์ไม่สามารถใช้ต่อได้ แต่มีสิ่งหนึ่งดอกไม้สดต่างๆที่นำมาใช้ช่วยสร้างงาน อาชีพให้แก่คนกลุ่มหนึ่ง เช่น ชาวเขา ม้ง ฯลฯ สามารถพบเห็นได้ตามปากคลองตลาด2

พวงหรีดพัดลม
เป็นพวงหรีดที่จัดตามโครงร่างของพัดลม โดยจะมีการนำดอกไม้มาประดับ ในพวงหรีดพัดลม ให้มีความสวยงามมากขึ้น โดยพัดลมที่ใช้ ก็จะมีขนาดและรุ่นยี่ห้อต่างกันไป
พวงหรีดแนวนี้มีดีที่ใช้งานได้จริงอีกทั้งยังมีความสวยงาม สะดุดตาไม่แพ้พวงหรีดประเภทหรือแบบอื่นๆ เมื่อเสร็จจากงานศพ สามารถนำไปบริจาคต่อไปอีกด้วย เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น พวงหรีดพัดลมโดดเด่นไม่แพ้พวงหรีดแบบอื่น มักจะวางได้บริเวณหน้าหีบศพใกล้กระถางธุปครารพศพ
ข้อเสียหรีดพัดลม คือ มีขนาดใหญ่พกพาไม่สะดวก อาจมีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับพวงหรีดแบบอื่นๆ

พวงหรีดผ้า
เป็นพวงหรีดที่นำผ้ามาพับ ให้ได้รูปร่างต่างๆสวยงาม เช่น รูปนกยูง รูปช้าง รูปพาน เป็นต้น แล้วห่อด้วยพลาสติก ให้กลายเป็นพวงหรีดผ้าที่สวยงาม โดยผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น ผ้าแพร ผ้าขนหนู ผ้านวม เป็นต้น
ข้อดีหรีดผ้า คือ เมื่อจบจากงานศพ สามารถนำผ้าไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกหรือ นำไปบริจาคในพื้นที่เขตหนาว ที่ขาดเเคลนผ้าห่ม
ข้อเสียหรีดผ้า คือ สีสันจะสะดุดตาน้อยกว่า พวงหรีดหรีดดอกไม้ พวงหรีดพัดลม

พวงหรีดต้นไม้
เป็นพวงหรีดที่จะนำต้นไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนะ มาใส่ในกระถาง แล้วมีการติดริบบิ้นหรือดอกไม้ประดับ ไว้บนต้นไม้ชนิดนั้นๆ โดยสำหรับต้นไม้พวงหรีดส่วนใหญ่ที่นำมาทำนั้น จะเป็นต้นโมก ต้นไทรเกาหลี ต้นคริสติน่า เป็นต้น
ข้อดีของหรีดต้นไม้ คือ มีความเด่น สวยสะดุดตา เมื่อจบจากงานศพก็สามารถนำไปบริจาคต่อ หรือนำไปปลูกต่อได้อีกด้วย เพื่อเป็นการช่วยลดโลกร้อน
ข้อเสียของหรีดต้นไม้ คือ มีขนาดใหญ่ อาจจะลำบากในการพกพาหรือเคลื่อนที่

พวงหรีดนาฬิกา
เป็นพวงหรีดที่จัดดอกไม้ตามโครงร่างของนาฬิกา โดยมีดอกไม้มาประดับในพวงหรีดนาฬิกา โดยนาฬิกาที่นำมาจัดพวงหรีด ก็จะมีลายรูปแบบต่างๆกันไป
ข้อดีของหรีดนาฬิกา คือ มีความสวยงามสะดุดตา เมื่อจบจากงานศพ สามารถนำไปบริจาคหรือใช้ประโยชน์ต่อได้อีกด้วยข้อเสียของหรีดนาฬิกา คือ ไม่สะดวกในการพกพา เพราะอาจเกิดความเสียหายได้เมื่อทุกท่านได้รู้จักกับข้อดี-ข้อเสีย ของพวงหรีดแบบต่างๆแล้ว ตอนนี้หลายๆคนก็น่าจะ สามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้นอีก ว่าจะใช้พวงหรีดแบบใด ไปแสดงความไว้อาลัยต่อผู้ล่วงลับไปแล้ว เพราะไม่ว่าพวงหรีดแบบใดก็ตามล้วนก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย อยู่ทั้งนั้น

ติดต่อสอบถาม 


52
rtd89 บ้านน็อคดาว / รายละเอียดวัสดุโครงสร้างและข้อดีข้อเสีย
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 30, 2022, 08:58:55 AM »
รายละเอียดวัสดุโครงสร้าง บ้านน็อคดาวน์,บ้านสำเร็จรูป

     ในวันนี้ทาง ideahome จะ ยกตัวอย่างการสร้าง บ้านน็อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป โมเดล บ้านแคปซูล ให้ลูกค้าต่างๆ ที่ชื่นชอบในงานดีไซน์หรือชอบทรงแคปซูลอยู่แล้ว ได้ทราบถึงรายละเอียดในการก่อสร้าง เพื่ออนาคตจะได้สร้างเองหรือมีช่างอยู่ที่บ้านสามารถทำตามได้ และถูกหลักการสร้างบ้าน

เริ่มต้นที่
1. เสาบ้าน เสาบ้านเราจะใช้ เหล็กกล่อง 5 x 5 นิ้ว หรือ 4 x 4 นิ้ว ขนาดความหนา 2.5 มิล ขึ้น เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และรับน้ำหนักของตัวบ้านที่มีน้ำหนักอยู่ประมาณ 2.2 ตัน

* Tick แต่ถ้าบ้าน หรือรีสอร์ทไหนใกล้ทะเล ให้แนะนำเป็นเหล็กกล่องกาวาไนท์ ทดแทนเหล็กกล่องดำ เพื่อป้องกันสนิม หรือหากในพื้นที่ไม่มี หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องใช้เหล็กกล่องดำ Ideahome ก็จะให้เทคนิคในการเคลือบสีกันสนิม ดังนี้ สีที่เลือกใช้ในการ ทาสนิมเหล็กกล่องดำ ในราคาที่จับต้องได้
– แนะนำสี toa รัชเทค เคลือบเป็นชั้นแรก สีประเภทนี้จะมีความยึดเกาะ และป้องกันลมทะเล ไอทะเล ได้เป็นอย่างดี
– หลังจากนั้นก็จะเคลือบทับหน้าด้วยสี toa glipton simigloss enamel  รับรองได้เลยว่าถ้าทำตามวิธีนี้จะช่วยป้องกันสนิมได้เป็นอย่างดี

2. ต่อไปจะ อธิบายถึงส่วนคานบ้าน.. คานบ้านจะใช้เหล็กกล่องขนาด 5 x2นิ้ว หนา     2.3 มิลขึ้นไป เพิ่มความแข็งแรงและรับน้ำหนักตัวบ้าน

3. ตงบ้าน จะใช้เหล็กกล่องขนาด 4×2 นิ้ว ขนาดความหนา 2.3 มิลขึ้นไป และระยะห่างในการวาง เหล็กแต่ละเส้น จะอยู่ที่ 30 หรือ 40 เซนติเมตร
ซึ่งในวันนี้ ทาง ideahome จะขอแนะนำวัสดุโครงสร้าง บ้านน็อคดาวน์ และ บ้านสำเร็จรูป เพียงเท่านี้ก่อน พรุ่งนี้เราจะมาต่อด้วยโครงสร้างส่วนของหลังคาและผนัง ..ติดตามกันต่อไปครับ

สร้างบ้านน็อคดาวน์เองดีจริงหรือไม่ มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง

บ้านน็อคดาวน์คืออะไร
เรามาทำความรู้จักกับบ้านน็อกดาวน์กันก่อนครับว่าคืออะไร บ้านน็อคดาวน์ (Knock Down Home) ก็คือหนึ่งในรูปแบบของบ้านสำเร็จรูป (Finished home) เป็นบ้านขนาดเล็ก มักใช้งานได้ประมาณ 10-50 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุ
ลักษณะเด่นของบ้านน็อกดาวน์ก็คือบ้านจะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทนคานและเสาเป็นส่วนใหญ่ สำหรับวิธีประกอบก็คือการนำชิ้นส่วนต่างๆ ที่ผลิตเรียบร้อยแล้วมาประกอบกันที่หน้างานจริง ซึ่งปัจจุบันบ้านน็อคดาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มีรูปแบบที่สวยงามมากขึ้นขึ้นกว่าเมื่อก่อนเยอะมาก
นอกจากการหาซื้อบ้านน็อคดาวน์มาติดตั้งในพื้นที่ที่เตรียมไว้แล้ว สำหรับใครที่มีความชำนาญในการฝีมือเรื่องการก่อสร้าง เราสามารถสร้างบ้านน็อคดาวน์เองขึ้นมาได้เช่นกันครับ เพราะมีกระบวนการสร้างที่ไม่ยุ่งยากเท่ากับบ้านทั่วไป รวมถึงเราอาจจ้างช่างมาก่อสร้างให้ก็ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องคำนวนงบประมาณให้ดีนะครับว่าระหว่างซื้อบ้านน็อคดาวน์กับสร้างบ้านน็อคดาวน์เองแบบไหนถูกกว่า แข็งแรงกว่า ใช้เวลาเร็วกว่า และคุ้มค่ากว่ากันแน่ รวมถึงต้องประเมินดูด้วยว่าถ้าจะ สร้างบ้านน็อคดาวน์เองแล้วนั้นสร้างเป็นบ้านหลังเล็กๆ ไปเลยจะคุ้มค่ากว่าหรือไม่

ข้อดีของสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง
หลังจากทำความรู้จักกันไปแล้วว่าบ้านน็อคดาวน์คืออะไร บ้สร้างบ้านน็อคดาวน์เองคืออะไร เรามาดูข้อดีของบ้านเหล่านี้กันดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

1. ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อย
ข้อดีเรื่องที่จะพูดถึงก็คือใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างไม่นานเท่าบ้านแบบปกติ เพราะมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ใช้วัสดุน้อยชิ้น จึงทำให้ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว บ้สร้างบ้านน็อคดาวน์เองในบางครั้งอาจเวลาเพียงไม่ถึงเดือนก็อาจจะก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เป็นได้ ส่วนใครที่ต้องการความรวดเร็วยิ่งกว่าเดิมก็เพียงซื้อบ้านน็อคดาวน์ที่เขาออกแบบไว้แล้ว มีส่วนประกอบทั้งหมดมาติดตั้งก็จะเร็วยิ่งกว่าเดิมอีกครับ

2. ระบบท่อน้ำและไฟอาจมีการจัดวางไว้เรียบร้อยแล้ว
ใครที่ซื้อบ้านน็อคดาวน์สำเร็จรูปมา บ้านนั้นมักจะมีการจัดวางระบบท่อน้ำประปา และระบบสายไฟมาให้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่แรก เพื่อให้เราสามารถติดตั้งแล้วใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องไปจ้างช่างมาทำให้ใหม่ คือหาจุดที่จะวางระบบเหล่านี้ใหม่ด้วย

3. การก่อสร้างไม่ค่อยพบปัญหา
ด้วยความที่บ้านน็อคดาวน์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบและตรวจสอบก่อนจะวางขายหรือส่งมอบให้กับลูกค้าจึงทำให้ปัญหาระหว่างก่อสร้างไม่มีเท่าไรนัก และถึงแม้จะเป็นการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง ปัญหาระหว่างก่อสร้างก็น้อยเช่นเดียวกัน เพราะโครงสร้างไม่ซับซ้อนเท่าไรนัก ปัญหาจึงน้อยตามมาด้วย

4. เคลื่อนย้ายได้สะดวก
อีกจุดเด่นของบ้านน็อคดาวน์ก็คือการที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก เพียงถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออกมาแล้วย้ายที่ตั้ง หลังจากนั้นก็ประกอบใหมกลับมาเหมือมเดิมได้แล้วครับ

5. ใช้งบประมาณในการก่อสร้างถูก
อีกจุดเด่นสำคัญของการสร้างบ้านน็อคดาวน์เองก็คือ ใช้งบประมาณและต้นทุนถูกมากกว่าบ้านแบบปกติครับ เพราะบ้านมีขนาดเล็ก มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ่อน ใช้วัสดุไม่มาก รวมถึงไม่ต้องจ่ายค่าช่างก่อสร้าง ช่างไฟ หรือช่างประปาจำนวนมากๆ บานปลายจนเราคุมงบไม่ได้ด้วยครับ

ข้อเสียของการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง
นอกจากของดีของสร้างบ้านน็อคดาวน์เองแล้ว เรามาดูข้อต้องระวังหรือข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์กันดีกว่าครับว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรจะระวังไว้

1. อายุการใช้งาน
อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกว่าบ้านน็อคดาวน์มีอายุการใช้งานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับบ้านแบบปกติ ซึ่งอาจมีอายุตั้งแต่ 10 - 50 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ก่อสร้าง หากใครที่คิดว่าจะส่งต่อบ้านน็อคดาวน์ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานอาจจะไม่เหมาะเท่าไรนักครับ

2. วัสดุอาจไม่ได้ดังใจ
หากใครที่ซื้อบ้านน็อคดาวน์แบบสำเร็จรูปมาตั้ง อาจได้วัสดุที่ไม่ถูกใจและไม่มีประสิทธิภาพ เช่น พื้นบ้าน หลังคาบ้าน ทำให้เราอาจจะต้องมาเสียเงินเพื่อต่อเติมหรือรีโนเวทเพิ่ม แต่หากเป็นการสร้างบ้านน็อคดาวน์เองปัญหานี้อาจลดน้อยลง เพราะเราสามารถเลือกวัสดุในทุกส่วนเองได้ตั้งแต่ต้นครับ

3. ต่อเติมและซ่อมแซมได้ยาก
เมื่อติดตั้งบ้านน็อคดาวน์แล้วจะทำให้รื้อ ต่อเติม และซ่อมแซมทำได้ยากกว่าบ้านปกติครับ หากเป็นบ้านน็อคดาวน์ที่ซื้อสำเร็จมาตั้ง พวกระบบไฟฟ้า ระบนน้ำ หลังคา วงกบต่างๆ มักเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยาก ยิ่งหากใครเลือกที่เป็นบ้านโครงสร้างเหล็กแล้วเวลาเกิดสนิมจะลำบากมาก หรือเป็นไม้เวลาแตกหัก มีปลวกขึ้นก็ยากที่จะแก้ไขกว่าบ้านปกติครับ วิธีการแก้ส่วนใหญ๋คือการรื้อแล้วสร้างใหม่เลย หรือเปลี่ยนทีเดียวทั้งหลังครับ

บ้านน็อคดาวน์ที่ซื้อมาติดตั้งหน้างานหรือสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง ถือเป็นอีกทางเลือกของคนอยากมีบ้านหรือคนที่ต้องการสร้างรีสอร์ท หากอ่านข้อดีข้อเสียที่เรานำมาให้อ่านกันแล้วเห็นว่าข้อดีต่างๆ คือสิ่งที่เราต้องการ และข้อควรระวังต่างๆ เป็นเรื่องที่เรารับได้ บ้านน็อคดาวน์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีให้เรา
 

ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


53
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของบ้านสำเร็จรูปกับบ้านสร้างปกติ

ในยุคที่ความหลากหลายและการแข่งขันด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เติบโต แบบอย่างบ้านมีให้เลือกหลากหลายประเภทแล้วแต่ความต้องการของผู้อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม เป็นต้น อีกทั้งยังมีสไตล์ให้เลือกใช้ในการตกแต่งอีกมากมาย เช่น โมเดิร์น มินิมัล คลาสลิค ซึ่งทั้งหมดสามารถปลูกสร้างได้เองหรือแม้กระทั้งเลือกใช้บริการบ้านสำเร็จรูปก็ได้
สำหรับบ้านทั้งสองแบบที่กล่าวมาข้างต้น มีจุดเด่นที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความสวยงาม ทันสมัย ความครบครันและความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันบ้านสำเร็จรูปและบ้านปลูกสร้างเองในยุคนี้ต่างมุ่งเน้นการจัดการพื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่า มุ่งเสริมสร้างความปลอดภัย และเลือกใช้วัสดุก่อสร้างหรือของตกแต่งที่มีความงดงาม สอดรับ และมีราคาประหยัด
และในวันนี้ Homify ไม่พลาดที่จะนำพาทุกคนไปจำแนกข้อดีและข้อเสียระหว่างบ้านสำเร็จรูปและบ้านปลูกสร้างบ้านเอง โดยทางเลือกทั้งสองได้รับความสนใจอย่างหลากหลายในปัจจุบัน ซึ่งนี่จะเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจที่ดีที่ผู้อยู่อาศัยทุกคนจะเลือกแนวทางที่ตนเองชื่นชอบและสะดวกสบายไปปรับใช้

ข้อดี:บ้านสำเร็จรูป ​ประหยัดงบเรื่องแบบบ้าน ครบครันด้วยสาธารณูปโภค
ความโดดเด่นของบ้านสำเร็จยุคนี้คือการมีแบบอย่างหรือตัวอย่างบ้านให้เลือกอย่างหลากหลาย ที่สำคัญแบบอย่างดังกล่าวลดงบประมาณในการออกแบบได้อีกด้วยเมื่อเทียบกับการปลูกสร้างเอง อย่างไรก็ดีอีกหนึ่งประเด็นที่เด่นชัดคือการตกแต่งภายในอย่างครบครันโดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภค ทั้งนี้บ้านสำเร็จรูปในปัจจุบันยังมีขนาดให้เลือกหลากหลาย ในเรื่องความสวยงามไม่ต้องกังวลเพราะส่วนใหญ่มุ่งเน้นการออกแบบในสไตล์โมเดิร์น ที่สำคัญทุกคนสามารถชมตัวอย่างบ้านจริงได้ก่อนที่จะซื้อ

ข้อเสีย:บ้านสำเร็จรูป ​แบบอย่างจำกัด ต่อเติมลำบาก
อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย สำหรับบ้านสำเร็จรูปนั้นแม้มีแบบให้เลือกและใช้ฟรี ในทางกลับกันจะเหมือนๆกันทุกหลัง ฉะนั้นสำหรับผู้อยู่อาศัยที่มีรสนิยมเป็นของตัวเองบ้านแบบนีอาจไม่ตอบโจทย์ ไม่เพียงเท่านั้นในแง่มุมของการต่อเติมเป็นอีกปัจจัยที่แบบบ้านในลักษณะนี้ไม่เกื้อหนุนเนื่องจาก โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆที่ออกแบบมานั้นทำมาเพื่อรองรับตัวบ้านแต่ไม่สามารถรองรับส่วนต่อเติมต่างๆอาทิ เพิง ชานบ้าน เป็นต้น

ฉะนั้นก่อนจะเลือกบ้านสำเร็จรูป ทุกคนลองประเมินความต้องการดูว่าสอดรับกับมุมมองการอยู่อาศัยของคุณหรือไม่อย่างไร

ข้อดี:บ้านสำเร็จรูป ปลูกสร้างเร็ว งบไม่สูง เคลื่อนย้ายได้ง่าย
บ้านสำเร็จรูปส่วนใหญ่มีขนาดกะทัดรัดทำให้การปลูกสร้างและออกแบบใช้ระยะเวลาไม่นานเมื่อเทียบกับบ้านที่ปลูกเอง ขณะเดียวด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่ทำให้งบประมาณในการตกแต่งไม่สูง เราสามารถควบคุมได้ และนัยยะสำคัญบ้านสำเร็จรูปยุคใหม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ในบางครั้งอาจมีการติดตั้งล้อหรือที่ลากเพื่อเคลื่อนย้ายไปพักผ่อนในทำเลต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย ทั้งนี้บ้านสำเร็จรูปยังเหมะกับผู้อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัดเพราะบ้านดังกล่าวสามารถดีไซน์ขนาดให้สอดรับกับพื้นที่ที่มีอยู่ได้อย่างสอดรับ
ถือได้ว่าบ้านสำเร็จรูปเพียบพร้อมไปด้วยความคล่องตัว สะดวกสบายและสวยงาม ที่สำคัญปะหยัดเงินในกระเป๋าได้เยอะเลย

ข้อเสีย:บ้านสำเร็จรูป อายุการใช้งานที่ไม่ยาวนาน
อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับข้อเสียของบ้านสำเร็จรูป คือ ความคงทนในการอยู่อาศัยโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับบ้านที่ปลูกสร้างเอง ขณะเดียวกันบ้านในลักษณะนี้ยังดูรักษายาก เมื่อเกิดการชำรุดไม่สามารถรีโนเวทได้ ไม่เพียงเท่านั้นบ้านสำเร็จรูปยังมีฐานรากที่ไม่แข็งแรง เพราะวัสดุก่อสร้างที่ใช้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเฉพาะและคล้ายกัน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมบ้านสำเร็จรูปมีอายุการใช้งานที่ไม่นาน
อย่างไรก็ตามบ้านสำเร็จรูปแบบนี้เหมาะแก่การอยู่อาศัยในระยะไม่นานหรือปรับเป็นออฟฟิส รีสอร์ท หรือบ้านตากอากาศเพราะเคลื่อนย้ายสะดวก ขนาดกะทัดรัด และราคาไม่สูงที่จะลงทุน

ฉะนั้นเลือกบ้านสำเร็จรูปที่เหมาะกับการใช้สอยสำหรับคุณคือคำตอบที่ดีที่สุด

ข้อดี:บ้านปลูกสร้างปกติ ​แสดงออกถึงความเป็นตัวตน
สำหรับบ้านที่ปลูกสร้างเอง โดดเด่นในเรื่องความหลากหลาย เพราะผู้อยู่อาศัยอย่างเราสามารถออกแบบบ้านได้อย่างอิสระว่าต้องการบ้านแบบไหนหรือสไตล์ใด ขณะเดียวกันเราสามารถควบคุมการก่อสร้างได้อย่างละเอียดนับตั้งแต่ว่างเสาเข็มไปจนถึงการส่งมอบบ้าน ไม่เพียงเท่านั้นสามารถตกแต่งภายใน ต่อเติมส่วนนอก หรือแม้กระทั้งจัดสรรพื้นที่ต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการใช้สอยได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญแสดงออกถึงความภาคภูมิใจสำหรับการมีบ้านสักหนึ่งหลังได้อย่างสุขใจ

ข้อเสีย:บ้านปลูกสร้างปกติ ​ทำเลที่ตั้งและการกู้เงิน
แม้ว่าการปลูกสร้างเองจะทำให้ภาพรวมการอยู่อาศัยเกิดความครบครันและสะดวกสบาย แต่ทว่างบประมาณในการปลูกสร้างก็สูงพอสมควรเช่นกัน ซึ่งระบบการกู้เงินเพื่อนำมาปลูกเองนั้นอาจทำธุรกิจกรรมได้เพียง 70-80% จากวงเงินที่ต้องการ ในทางกลับกันหากซื้อบ้านสำเร็จรูปทั้งแบบบ้านน็อคดาวหรือแบบโครงการสามารถกู้ได้ครบตามจำนวน ไม่เพียงเท่านั้นทำเลที่ตั้งอาจจำเป็นต้องต่อเติมถนนหรือทางเดินเข้าบ้านเพราะที่ดินที่มีอยู่อาจจะไกลจากถนนหรือโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณในการปลูกสร้างอีกด้วย
ถือได้ว่าถ้าหากไม่พร้อมจริงๆ งบบานปลายแน่ๆสำหรับการปลูกสร้างเอง

ข้อดี:บ้านปลูกสร้างปกติ ​เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
นอกจากมุมมองความถูกใจและการมีส่วนร่วมในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกสร้างบ้านในทุกขั้นตอน บ้านที่ปลูกสร้างเองนั้นยังมีความแข็งแรง ทนทาน อันนำมาสู่อายุการใช้ที่ยาวนานและคุ้มค่าเมื่อเทียบกับบ้านสำเร็จรูป เนื่องจากเราสามารถเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพได้ด้วยตัวเอง ทำให้ภาพรวมการอยู่อาศัยเกิดความอุ่นใจและปลอดภัยในแง่ของโครงสร้างบ้านที่แน่นหนา

ข้อเสีย:บ้านปลูกสร้างปกติ ​ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการบริบทโดยรอบ
สภาพแวดล้อมกลายเป็นปัจจัยที่น่ากังวลสำหรับบ้านที่ปลูกสร้างเอง เนื่องจากบ้านในลักษณะนี้ต้องบริหารจัดการที่ดินบริเวณโดยรอบของบ้านให้เกิดความสมดุล เพราะถ้าหากปล่อยและละเลยระบบการจัดการต่างๆ อาทิ การบำบัดน้ำเสีย การระบายน้ำ และขยะอาจเกิดการหมักหมม ไม่เพียงเท่านั้นพื้นที่ด้านข้างของที่ดินอาจจะต้องพบเจอกับเพื่อนบ้านที่ทำธุรกิจหรือเลี้ยงสัตว์ อันนำมาสู่ความเป็นไม่ส่วนตัวและสิ่งแวดล้อมโดยรอบดูไม่น่าอยู่อาศัย อีกนัยยะสำคัญคือความปลอดภัยเมื่อเทียบกับบ้านสำเร็จรูปในโครงการแล้ว บ้านเดี่ยวที่ปลูกสร้างเองมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะไม่มีเจ้าหน้าความปลอดภัยหรือกล้อง CCTV คอยดูแล
ถือได้ว่าบ้านที่ปลูกสร้างเองนั้นโดดเด่นในเรื่องความสวยงาม ความสะดวกสบาย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและคุ้มค่าเหมาะกับบ้านหลากหลายประเภท
ไม่ว่าจะเป็นบ้านสำเร็จรูปหรือบ้านที่ปลูกสร้างเอง คุณๆสามารถเลือกนำมาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยในแบบคุณได้อย่างเหมาะสม


ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


54
บ้านน็อคดาวน์ดีไหม? คืออะไร? ทำความรู้จักกับข้อดี ข้อเสียของบ้านราคาประหยัด ทางเลือกใหม่ของคนอยากมีบ้าน

เมื่อพูดถึงการสร้างบ้านราคาประหยัด บางคนอาจนึกถึงบ้านในงบไม่เกินกี่แสนบาทก็ว่ากันไป แต่อีกหนึ่งทางเลือกที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นก็คือการสร้างบ้านน็อกดาวน์นั่นเอง แต่ที่จริงแล้วบ้านประเภทนี้คืออะไร บ้านน็อคดาวน์ดีไหม เหมาะสำหรับใช้อยู่อาศัยหรือเปล่า ลองมาหาคำตอบให้แน่ใจอีกครั้งก่อนตัดสินใจสร้างบ้านแบบน็อกดาวน์บนที่ดินของเรากันดีกว่าค่ะ

บ้านน็อกดาวน์คืออะไร?
บ้านแบบน็อกดาวน์ (Knockdown Home) คือ บ้านสำเร็จรูปหรือบ้านที่สร้างมาจากวัสดุมวลเบา ในอดีตบ้านประเภทนี้เน้นความเร็วและราคาไม่แพง จึงเน้นวัสดุที่ประกอบง่ายเพียง 1–2 วัน อายุการใช้งานเพื่ออยู่อาศัยจะอยู่ที่ประมาณ 10 – 15 ปี แต่ปัจจุบันมีผู้ให้ความนิยมบ้านประเภทนี้มากขึ้น ผู้รับเหมาหลายรายจึงได้พัฒนาเทคนิคการสร้างให้มั่นคงและแข็งแรงขึ้น มีการวางระบบไฟฟ้าและน้ำประปา พร้อมทั้งต่อเติมคานเหล็กภายในทำให้ตัวบ้านแข็งแรงมากกว่าเดิมและสามารถยืดอายุการใช้งานให้สามารถอยู่อาศัยได้กว่า 20 ปี

บ้านน็อคดาวน์ดีไหม? ใช้อยู่อาศัยได้จริงหรือเปล่า
เมื่อได้ทำความรู้จักกับบ้านแบบน็อกดาวน์กันไปแล้วหลายคนคงสงสัยว่าบ้านน็อคดาวน์ดีไหม สามารถใช้อยู่อาศัยได้จริงหรือเปล่า ขอตอบว่า “ใช้อยู่อาศัยได้จริง” แต่อายุของบ้านจะสั้นกว่าบ้านทั่วไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาประกอบตัวบ้าน การออกแบบโครงสร้าง ไปจนถึงการดูแลรักษาและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ทั่วไป หลังคาบ้านแบบน็อกดาวน์นิยมใช้หลังคาเมทัลชีทหรือกระเบื้องที่มีน้ำหนักเบา ส่วนผนังบ้านนิยมใช้ไม้ ซีเมนต์บอร์ด หรือผนังสำเร็จรูปในการประกอบเป็นผนัง แต่งเติมด้วยวัสดุอื่นๆ เพื่อให้ทนร้อนและทนแสงแดด

ข้อดีของบ้านแบบน็อกดาวน์

- ใช้เวลาสร้างน้อยมากตั้งแต่ 1 วัน ไปจนถึง 2 – 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของโครงสร้าง การขนส่ง และการทำงานของผู้รับเหมาก่อสร้าง
- ภายในบ้านมีการวางระบบไฟฟ้าและน้ำประปามาให้พร้อมใช้งาน
- ราคาไม่แพงเท่าบ้านทั่วไป เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด
- เคลื่อนย้ายและขนส่งได้ ไม่ต้องสร้างใหม่ หรือจะใช้วิธีรื้อแล้วประกอบใหม่ก็ยังได้
- ใครที่มีพื้นที่จำกัดแล้วสงสัยว่าบ้านน็อคดาวน์ดีไหม ขอตอบว่าดีและเหมาะกับคุณมากเพราะบ้านประเภทนี้มักออกแบบให้มีขนาดเล็ก ไม่ต้องใช้เนื้อที่เยอะ
- การสร้างบ้านแบบน็อกดาวน์ไม่ต้องทำการยื่นแบบขออนุญาตเหมือนการสร้างบ้านทั่วไป
- กระบวนการสร้างดีต่อสิ่งแวดล้อมเพราะไม่ก่อให้เกิดฝุ่นหรือขยะเท่ากับการสร้างบ้านประเภทอื่น
- ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันโครงสร้างจากผู้รับเหมาเพื่อความมั่นใจของผู้อยู่อาศัย

ข้อเสียของบ้านแบบน็อกดาวน์

- บ้านประเภทนี้ใช้วัสดุมวลเบา ทำให้อายุการใช้งานไม่ยาวนานเท่าบ้านทั่วไป แต่สามารถเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มอายุการใช้งานได้ด้วยการเสริมคานเหล็ก เป็นต้น
- ไม่เหมาะกับการรีโนเวทหรือตอกตะปูภายในตัวบ้าน
- ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ได้ยากเพราะออกแบบมาให้เป็นบ้านสำเร็จรูป

บ้านแบบน็อกดาวน์นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
ได้รู้กันไปแล้วว่าบ้านน็อคดาวน์ดีไหม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร คราวนี้เราลองมาดูกันว่าสามารถนำบ้านประเภทนี้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างกันดีกว่า

- ใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว : เนื่องจากอายุการใช้งานมีตั้งแต่ 10 – 20 ปี นับได้ว่าเพียงพอสำหรับการอยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่หากต้องการให้เป็นบ้านถาวรอาจไม่เหมาะเท่าไรนัก
- สร้างเป็นออฟฟิศ : บ้านแบบน็อกดาวน์นอกจากจะใช้เป้นที่อยู่อาศัยได้แล้วยังเหมาะสำหรับการทำโฮมออฟฟิศอีกด้วย
- ใช้เปิดร้านค้า ร้านอาหาร และธุรกิจส่วนตัวต่างๆ : นอกจากใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังสามารถดัดแปลงเป้นร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ หรือธุรกิจอื่นๆ ที่เราต้องการได้อีกด้วย เนื่องจากสร้างเสร็จเร็วใช้งบไม่เยอะ จึงช่วยประหยัดต้นทุนการสร้างหน้าร้านได้เป็นอย่างดี
ได้รู้ไปแล้วว่าบ้านน็อคดาวน์ดีไหมไปจนถึงข้อดีข้อเสียและแนวทางการใช้งานบ้านน็อกดาวน์ สุดท้ายนี้หากคุณคือคนหนึ่งที่กำลังสนใจบ้านประเภทนี้ อย่าลืมพิจารณาข้อดีและข้อเสียอย่างละเอียด รวมถึงตรวจสอบประวัติของผู้รับเหมาให้ดีเพื่อความมั่นใจ ที่สำคัญต้องเข้าใจว่าเราต้องการบ้านแบบน็อกดาวน์ไปเพื่ออะไร บ้านแบบนี้ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของเราหรือเปล่า เพื่อให้เราตัดสินใจได้อย่างมั่นใจที่สุดนะคะ


ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


55
บ้านน็อคดาวน์ กับเรื่องที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ

บ้านน็อคดาวน์ เป็นตัวเลือกใหม่สำหรับคนอยากมีบ้านที่มาแรงจริง ๆ ครับในยุค 3-5 ปีหลังมานี้ เรียกว่าธุรกิจบ้านน็อคดาวน์เกิดขึ้นเยอะมาก ขับรถออกต่างจังหวัดนี่มีให้เห็นแทบทุกที่เลย ในออนไลน์ผมก็เห็นบ่อยทั้งบน Facebook และ เว็ปไซต์ต่าง ๆ เห็นทุกที่ทุกช่องทางเลยทีเดียว
ซึ่งบ้านน็อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป จะได้รับความนิยมก็ไม่แปลกล่ะครับ เพราะมันเป็นบ้านที่ติดตั้งสะดวกและรวดเร็วมาก ๆ แต่ก็น่าเป็นห่วงนะครับ ไม่มีหรอกสิ่งที่ไม่มีข้อเสีย มีดีก็ต้องมีร้ายครับ ผมเลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อมูลรอบด้านให้เพื่อน ๆ ทราบก่อนตัดสินใจกันนะครับ

ข้อดีของบ้านน็อคดาวน์

ติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว
ข้อดีอย่างแรกเลยที่ทำให้บ้านน็อคดาวน์ได้รับความนิยม ผมว่าคือเรื่องความสะดวกและรวดเร็วครับ เพราะบ้านน็อคดาวน์เป็นบ้านที่สร้างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่บอกสถานที่ให้คนขาย ปรับพื้นที่ให้เรียบร้อย แล้วก็ยกบ้านจากร้านมาวางบนจุดที่ต้องการได้เลย เห็นมะ ง่ายมาก ๆ หรือถ้าต้องยกชิ้นส่วนมาประกอบ ก็ใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือนเท่านั้น

งบไม่บานปลาย
ข้อดีต่อมาของบ้านน็อคดาวน์ คือเราสามารถคุมงบได้ครับ ไม่มีนู่นนี่นั่นให้จ่ายเพิ่ม เพราะบ้านมันสร้างมาจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอามาติดตั้งเสร็จก็เข้าอยู่ได้เลย ตัดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายนู่นนี่นั่นที่จะตามมา หลายคนเห็นข้อดีจุดนี้แล้วก็ตัดสินใจทันทีเลย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าเรื่องวุ่นวายที่สุดเรื่องหนึ่งของการสร้างบ้านก็คือเรื่องงบนี่แหละครับที่มักจะคุมไม่ค่อยอยู่ ถ้าเป็นบ้านน็อคดาวน์ก็บ๊ายบายได้เลยครับปัญหาตรงนี้

ไม่มีปัญหาจุกจิกกวนใจ
การสร้างบ้านสักหลังนึงนี่มีเรื่องน่าปวดหัวเยอะเลยล่ะครับ ทั้งปัญหาด้านการออกแบบที่ไม่ได้ดังใจ ปัญหาวัสดุต่าง ๆ ภายในบ้านที่ไม่ได้สเป๊กหรือจำเป็นต้องเปลี่ยน และอีกสารพันปัญหาเลยครับ แต่ถ้าเป็นบ้านแบบน็อคดาวน์เนี่ย ปัญหาที่ว่ามาทั้งหมดจะไม่มีเลยครบ เพราะเราไม่ต้องเลือกวัสดุเอง ทางร้านจัดมาให้เรียบร้อยแล้ว แค่เข้าไปเดินดูว่าชอบแบบไหน ก็ตัดสินใจได้เลย 

ตัดปัญหาผู้รับเหมา
ผู้รับเหมานี่เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญเรื่องการสร้างบ้านเลยครับ สำหรับบางคนอาจเรียกว่าต้องวัดดวงกันเลยอะ เพราะผู้รับเหมาเปรียบเสมือนคนที่ควบคุมงานแทนเราเลยครับ ถ้าได้ผู้รับเหมาดีก็ดีไป แต่ถ้าได้ผู้รับเหมาไม่ดี บ้านของเราก็อาจออกมาไม่ตรงกับที่ต้องการ ซึ่งการซื้อบ้านน็อคดาวน์ก็ช่วยตัดปัญหาตรงนี้ได้อีกเช่นกันครับ เพราะไม่ต้องมาควบคุมการก่อสร้างอะไรเลย เพราะเราซื้อบ้านแบบสำเร็จรูปแล้ว

ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
ผมว่าข้อดีอย่างหนึ่งของบ้านน็อคดาวน์ที่โดดเด่นและบ้านแบบอื่นแทนไม่ได้ นั่นก็คือ บ้านน็อคดาวน์มันเอาไปทำอย่างอื่นได้ด้วยครับ อย่างถ้าเราไม่ได้อยู่ประจำก็ใช้เปิดเช่าเป็นโฮมสเตย์ เปิดร้านอาหาร หรือเปิดร้านกาแฟ รวมถึงใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกหลากหลายมาก ใครที่สร้างบ้านไว้แต่ไม่ได้อยู่ หรือคิดจะขายกาแฟอยู่บ้านด้วยนี่สบายเลยครับ

ข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์

ราคาแพง
ถ้าเทียบบ้านที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยเท่ากัน บ้านน็อคดาวน์จะแพงกว่าบ้านปูนปกติครับ หลังเล็ก ๆ ที่พออยู่ได้จริง ๆ ประมาณ 36 ตร.ม. ราคาก็ปาไปเกือบ 400,000 บาทแล้วครับ ในขณะที่ถ้าทำบ้านก่ออิฐฉาบปูนธรรมดา ขนาดพื้นที่เท่ากัน ถ้าบริหารจัดการงบดี ๆ ก็ทำได้ในราคาประมาณ 300,000 บาทเท่านั้น ราคาต่างกันอย่างเห็นได้ชัดอยู่นะครับเนี่ย

ค่าขนส่งแพง
นอกจากราคาบ้านที่แพงกว่าบ้านปูนปกติแล้ว ราคาค่าขนส่งยังแพงกว่าอีกต่างหากนะ เพราะการจะยกบ้านจากที่หนึ่งไปวางไว้อีกที่หนึ่งได้เนี่ย ต้องใช้ทั้งรถทั้งเครน อีกทั้งช่างที่ทำต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษอีก หากทำไม่ดีอาจก่อให้เกิดความเสียหายให้กับโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ได้ แต่ถ้าสร้างบ้านเองจะไม่มีค่าใช้จ่ายตรงนี้เลย

เลือกวัสดุเองไม่ได้
อีกหนึ่งเรื่องที่ผมว่าเป็นปัญหาใหญ่พอสมควรเลย นั่นคือเรื่องวัสดุครับ เพราะบ้านน็อคดาวน์ตอนเราไปซื้อนั้น เจ้าของเค้าสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว นั่นแปลว่าเราเลือกวัสดุที่ใช้เองไม่ได้ จริง ๆ คนขายเค้าอาจเลือกของดีให้เราก็ได้นะ แต่ถ้าเราไม่ได้เลือกเอง มันก็ไม่สบายใจหรอกครับ โดยเฉพาะหลังคาและพื้นครับที่มักจะมีปัญหา จึงอาจทำให้ต้องซ่อมอยู่บ่อย ๆ ครับ

มีแบบให้เลือกน้อย
ประเด็นนี้ต้องแยกก่อนครับว่าตัวเองเป็นคนที่ซื้อบ้านเพื่ออยู่อย่างเดียว ไม่สนความสวยงาม หรือเน้นทั้งฟังก์ชั่นและความสวยงามควบคู่กัน เพราะถ้าเป็นอย่างแรกเนี่ยเรียกได้ว่าชิล ๆ เลยครับ จะซื้อบ้านน็อคดาวน์ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นอย่างหลังนี่ผมว่าต้องดูให้ดีครับ เพราะบ้านน็อคดาวน์มีแบบให้เลือกน้อย สมัยนี้อาจมีให้เลือกเยอะขึ้นแล้ว แต่ผมว่าสร้างบ้านทั้งที ใคร ๆ ก็ต้องอยากได้แบบที่ตรงใจใช่มั้ยล่ะครับ

ต่อเติมลำบาก
อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วนะครับว่าบ้านน็อคดาวน์ เป็นบ้านสำเร็จรูป โครงสร้างด้านในจึงเป็นโครงสร้างแบบสำเร็จทำมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้เปิดพื้นที่ให้ต่อเติมสักเท่าไหร่ อีกทั้งส่วนใหญ่บ้านน็อคดาวน์จะใช้โครงเหล็ก จึงทำให้ทุบต่อเติมลำบาก ดังนั้นเนี่ย ถ้าตัดสินใจซื้อบ้านน็อคดาวน์ ผมว่าควรเลือกแบบที่มีห้องครบตามต้องการครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาตอนหลัง


ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


56
บ้านน็อคดาวน์ กับ 12 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนจะตัดสินใจซื้อ | ต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง

เชื่อว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า “ บ้านน็อคดาวน์ ” มาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่คุ้นเคยมากนัก เพราะเป็นเรื่องที่อาจจะดูค่อนข้างใหม่อยู่บ้างในแวดวงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในประเทศของเรา แต่หากเป็นในต่างประเทศโดยเฉพาะในยุโรปหรือญี่ปุ่นแล้ว บ้านประเภทนี้ได้รับความนิยมสูงมาก
เพราะมีความสะดวก ไม่ต้องมาจุกจิกจู้จี้กับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ให้วุ่นวายเหมือนการก่อสร้างบ้านแบบเดิมๆ ดังนั้นเราต้องมาทำความรู้จักกับบ้านประเภทนี้กันเสียก่อนว่ามันคืออะไร

บ้านน็อคดาวน์ คืออะไร
เป็นรูปแบบของบ้านสมัยใหม่ ที่เพิ่งจะได้รับความสนในไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของบ้านสไตล์นี้เรียกว่า “Finished home” หรือบ้านสำเร็จรูป เป็นบ้านที่มีขนาดเล็ก มีทั้งแบบชั้นเดียวและ 2 ชั้น โดยจุดเด่นของบ้าน คือก่อสร้างรวดเร็วทันใจ ราคาถูกและสวย ราคาเริ่มต้นเพียงประมาณสองแสนบาท

เพียงมีที่ดินอยู่แล้วก็สามารถเลือกแบบบ้านที่พอใจ ถึงจะเริ่มคุยรายละเอียดต่างๆก่อนและทำสัญญาให้เรียบร้อย ก็สามารถให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ทันที โดยใช้เวลาติดตั้งที่หน้างานไม่เกิน 3 วัน
ก็สามารถมีบ้านใหม่พร้อมให้เข้าอยู่ได้ในระยะเวลาแค่ไม่กี่วัน  (ส่วนใหญ่ทำเสร็จภายในเวลา 1 เดือน เท่านั้น ถือว่าใช้เวลาน้อยมากหากเทียบกับการก่อสร้างบ้านทั่วไปที่ใช้เวลานานหลายเดือน กว่าจะเสร็จและเข้าอยู่ได้)
งานอื่นๆ ที่ต้องทำนอกเหนือจากการเริ่มดำเนินการปลูกสร้างแล้ว ก็คือ การปรับหน้าดินให้เรียบสำหรับเตรียมทำฐานราก เพื่อยึดให้บ้านตั้งมั่นคงอยู่กับที่
และดำเนินการเรื่องสาธารณูปโภค น้ำประปาไฟฟ้า รอเอาไว้เมื่อบ้านมาถึงก็สามารถเชื่อมต่อระบบน้ำประปาและติดตั้งระบบไฟฟ้าเข้าไปในตัวบ้านพร้อมใช้งานได้เลย

แนะนำ ควรถมดินอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปและปรับหน้าดินให้เรียบ ไม่ควรใช้ดินผสมเศษอิฐเศษหินซึ่งแม้จะมีราคาถูก แต่อาจทำให้เสาเข็มหนีศูนย์ หรือแตกหักเสียหายได้ ควรเลือกใช้ดินธรรมชาติในการถม ได้แก่
- ดินลูกรัง มีสีออกน้ำตาลหรือแดง มีลักษณะค่อนข้างแข็งโดยเฉพาะเมื่อเป็นดินแห้ง สามารถบดอัดให้แน่นแข็งได้ดี
- ดินเหนียว เป็นดินเนื้อละเอียด มีคุณสมบัติทึบน้ำ อุ้มน้ำได้ดี นิยมใช้ถมดินในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่สูงมากนัก
- ดินทราย ราคาถูก ไม่อุ้มน้ำ ง่ายต่อการกัดกร่อน เมื่อนำมาถมจำเป็นต้องบดอัดอย่างดี และมีการป้องกันดินไหล เพื่อไม่ให้ดินทรุดตัวและไหลไปบริเวณข้างเคียง
- หน้าดิน คือดินที่อยู่บริเวณผิวดินด้านบน ระดับ 0.00-0.50 เมตร หรืออาจลึกกว่าเล็กน้อย เนื้อดินสีดำเนื้อดินค่อนข้างละเอียดในสภาพดินแห้ง จะจับกันเป็นก้อนแข็งพอประมาณ เป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง แต่มีราคาสูงกว่าดินประเภทอื่นพอสมควร

ซึ่งเรื่องนี้บริษัทผู้รับสร้างบ้านน็อคดาวน์ จะเป็นผู้ดูแลและจัดการให้ ส่วนอีกเรื่องที่คนให้ความสนใจก็คือ เรื่องความคงทนแข็งแรง เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่ในไทย คนจึงยังไม่เปิดใจเท่าไหร่นัก เลยกังวลในเรื่องนี้แต่ก็ต้องขอบอกว่า

ในประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อยอย่างประเทศญี่ปุ่น มีความนิยมบ้านประเภทนี้มาก ดังนั้นคงพอจะรับประกันในเรื่องความแข็งแรงทนทานของบ้านชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งแนะนำว่าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ควรศึกษาหาข้อมูลเสียก่อน จะได้เข้าใจถึงการเตรียมพร้อม และดูแลรักษาบ้านน้อยหลังงามนี้ให้อยู่ได้ยาวนานต่อไป

1. ระยะเวลาในการก่อสร้างนานมั้ย
เนื่องจากรูปแบบการสร้างบ้านน็อคดาวน์ เป็นโครงสร้างเบา จะมีส่วนที่เป็นก่อฉาบน้อยมาก ตัวผนังเป็นแผ่นสมาร์ทบอร์ดเสริมความแข็งแรงด้วยโครงเหล็กด้านใน ดังนั้นจึงทำให้ช่วยประหยัดเวลาก่อสร้าง ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของบ้านด้วย แล้วเสร็จสามารถเข้าไปอยู่ได้เลย

2. ต้องเตรียมงบประมาณเท่าไหร่
สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัดในการสร้างบ้าน หากมีที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว บ้านน็อคดาวน์จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะราคาไม่แพงและงบไม่บานปลาย ปกติราคาของบ้านสำเร็จรูปทั่วไปจะมีราคาตั้งแต่ 100,0000 – 1,000,0000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่ขนาดพื้นที่ใช้สอยและรูปแบบของบ้านเป็นหลัก

3. รูปแบบบ้านเป็นแบบไหน?
ปัจจุบันด้วยระดับความนิยมบ้านน็อคดาวน์ หรือบ้านสำเร็จรูปมีมากขึ้น ทำให้เกิดบริษัทที่รับสร้างเยอะมาก ทั้งระดับเล็ก ไปจนถึงใหญ่ ต่างแข่งขันออกรูปแบบบ้านใหม่ๆ ทั้งสไตล์โมเดิร์น ปั้นหยา หรือสไตล์บ้านพักตากอากาศรีสอร์ท มีทั้งแบบบ้านชั้นเดียวและ 2 ชั้น เพื่อสร้างความน่าสนใจ จึงทำให้ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นของตนเอง แต่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณการก่อสร้าง ได้รับผลประโยชน์ไปด้วย

4. วัสดุส่วนใหญ่ของบ้านน็อคดาวน์
โดยปกติแล้ววัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านน็อคดาวน์ จะใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลัก ส่วนผนังสำเร็จรูปจะเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทนความร้อน และแข็งแรง เช่น สมาร์ทบอร์ด แบบ Sandwich Panel ตัวบ้านจึงมีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทาง บริษัทจะมีวัสดุมาตรฐานอยู่ หากต้องการเปลี่ยนจะต้องคุยรายละเอียดกันอีกที

ผนังเบา
เป็นผนังชนิดที่ไม่จำเป็นต้องมีคานมารองรับเหมือนเช่นการก่อผนังแบบอื่น เนื่องด้วยน้ำหนักที่ไม่มากเกินไป ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 20-50 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร เป็นผนังที่ก่อสร้างด้วยการติดตั้งวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับ “โครงคร่าว” ทำให้มีน้ำหนัก น้อยกว่า ผนังก่ออิฐ หรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงถูกเรียกชื่อว่า “ผนังเบา” สำหรับวัสดุที่นิยมใช้ทำผนังเบา ได้แก่ ไม้อัด, แผ่นยิปซัม, แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์, แผ่นไม้อัดซีเมนต์ และแผ่นเซลโลกรีต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำโครงคร่าว ได้แก่ โครงเหล็กรูปพรรณ, โครงเหล็กชุบสังกะสี (กัลวาไนซ์) และโครงไม้เนื้อแข็ง

โดยการติดตั้งจะใช้ ตะปู หรือ ตะปูเกลียว เป็นตัวยึดวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว จากนั้นจึงเก็บรอยต่อระหว่างวัสดุแผ่น เช่น แผ่นยิปซั่มจะใช้ผ้าฉาบ (เทปผ้าฉาบ) กับปูนฉาบรอยต่อ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์จะใช้กาวโพลียูรีเทน (PU) อุดรอยต่อ เป็นต้น
การกั้นห้องผนังเบาสามารถกั้นได้ทั้งงานภายในและงานภายนอก โดยเลือกคุณสมบัติของแผ่นให้เหมาะสม และการกั้นห้อง ผนังเบานี้หากทำอย่างเรียบร้อยและมีการตกแต่งผิวอย่างดี จะมีทั้งความแข็งแรงและความสวยงามไม่แพ้งานปูน ในเรื่องของความแข็งแรงอาจไม่เท่างานปูน แต่เรื่องความสวยงามการันตีได้ว่าสวยไม่แพ้งานปูน สามารถที่จะตกแต่งผิวด้วยการทาสีหรือติด wallapper ได้เหมือนกัน

สมาร์ทบอร์ด
เป็นวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ที่สามารถใช้กับงานผนังได้ทั้งภายในและภายนอก นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างในระบบผนังโครงเบา เนื่องจากติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีคุณสมบัติต่างๆ ที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงหรือเทียบเท่าผนังก่ออิฐ ทั้งเรื่องความแข็งแรง การกันเสียง การทนแดดฝน และการกันความร้อน และที่โดดเด่นคือเรื่องของน้ำหนักที่เบากว่าผนังก่ออิฐถึง 6 เท่า
ในตลาดแผ่นสมาร์ทบอร์ดมีหลายยี่ห้อ มีทั้งยิปซั่ม ตราช้าง วีว่าร์ ตราเพชร ยี่ห้อที่คุ้นหูและได้ยินบ่อยๆ เห็นจะมี “สมาร์ทบอร์ดตราช้าง” กับ “วีว่าร์บอร์ด” แผ่นสมาร์ทบอร์ดมีหลายขนาด ขนาด ที่ว่าคือความหนา ความหนาที่ต่างกัน เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน

5. ระบบสาธารณูปโภคควรรู้
กระบวนการก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ตามปกติแล้ว ภายในโครงสร้างของบ้านน็อคดาวน์จะมีการจัดสรรช่องทางการเดินไฟและท่อประปาไว้อย่างเสร็จสรรพ พร้อมทำการวางระบบ ติดตั้งสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ น้ำ ไฟ ที่จำเป็นต้องใช้ในบ้านรวมถึงสุขภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำไว้ให้หมดแล้ว เรียกว่าสร้างเสร็จ พร้อมอยู่ได้เลย ช่วยเพิ่มความเป็นระเบียบและลดค่าใช้จ่ายในการจ้างช่างเดินไฟได้อีกระดับ

6. หากคิดอยากจะต่อเติม
หากใครคิดอยากจะต่อเติมบ้านน็อคดาวน์เพิ่ม อาจจะต้องล้มเลิกความคิดนั้น เนื่องจากตัวโครงสร้างไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ต่อเติมได้ ดังนั้นจึงไม่ควรต่อเติมอะไรในส่วนที่จะกระทบต่อตัวโครงสร้าง หากดื้อดึงทำไปอาจจะส่งผลให้ตัวบ้านพัง หรือได้รับอันตราย อีกยังทั้งมีผลกับการรับประกันตัวบ้านของแต่ละบริษัทด้วย

7. ขนย้ายเองได้มั้ย
ด้วยวัสดุการก่อสร้างที่มีคุณสมบัติเบา ขนาดเล็ก จึงทำให้สามารถเคลื่อนย้าย ยกตัวบ้าน ได้สะดวก แต่ต้องทำโดยช่างที่ชำนาญงาน ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอันตรายต่อตัวเองและบ้านได้ และสำหรับบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น อาจจะต้องใช้เทคนิคในการเคลื่อนย้ายเล็กน้อย

8. ความแข็งแรง ทนทาน
แม้การสร้างบ้านน็อคดาวน์ จะไม่ได้เป็นการก่ออิฐฉาบปูน แต่โครงสร้างเหล็กนั้นถือว่าสร้างความแข็งแรง ทนทานได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวที่ดินที่จะนำบ้านน็อคดาวน์ไปวางด้วย โดยจำเป็นต้องถามที่ให้แน่นระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันตัวการโยกของตัวบ้าน

9. เรื่องการดูแลรักษา
บ้านน็อคดาวน์ เป็นรูปแบบบ้านสำเร็จรูป อาจจะอยู่อาศัยระยะยาวได้ไม่นานเท่าบ้านปูน เนื่องจากวัสดุที่ใช้มีอายุการใช้งาน ที่น้อยกว่าวัสดุบ้านปูน ดังนั้นการดูแลรักษา อาจจะมากเป็นพิเศษกว่าบ้านปกติ และ maintenance ทุกๆ 5 ปี อย่างเช่นการทาสีใหม่ เป็นต้น

10. อายุการใช้งานบ้านน็อคดาวน์ล่ะ
ด้วยปัจจัยหลายประการทั้งวัสดุ ขนาดของบ้าน และอื่นๆ จึงทำให้ส่วนใหญ่นิยมนำบ้านน็อคดาวน์ หรือบ้านสำเร็จรูปมาสร้างเป็นห้องแถวหรือรีสอร์ท แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผนวกกับเกิดนวัตกรรมการสร้างบ้านแบบใหม่ จึงทำให้ช่วยต่ออายุของบ้านน็อคดาวน์ออกไปได้อีก 30 ปี เลยทีเดียว

11. จะมีปัญหาการออกแบบและคุมงานมั้ย
ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆก่อนเริ่มขาย ดังนั้นมันจึงช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านโครงสร้าง ปัญหาผู้รับเหมาหนีงาน ตลอดจนปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลาย

12. เหมาะเอาไปประกอบธุรกิจหรือไม่
ในปัจจุบัน เทรนด์การปลูกสร้างหันมาให้ความสนใจกับบ้านน็อคดาวน์เป็นจำนวนมาก ด้วยการปลูกสร้างที่ใช้เวลาไม่นาน วัสดุคุ้มทุนอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ปี และสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งานได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งวัสดุการปลูกสร้างยังสามารถหาทดแทนได้ง่าย ตลาดงานปลูกสร้างในปัจจุบันทั่วไป ที่หันมาสร้างวัสดุทดแทน วัสดุกันความร้อน แถมยังมีการดูแลที่ง่ายดาย หมดปัญหา ปลวก หรือสนิมกวนใจผู้อยู่อาศัย ยิ่งเป็นภาพลักษณะการพักชั่วคราวด้วยแล้ว นับว่าเป็นที่คุ้มค่ากับการลงทุนเป็นอย่างมาก จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำกิจการรีสอร์ทหรือบ้านพัก และผู้ที่ต้องการขยายกิจการในระยะเวลาอันสั้น


ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


57
บ้านน็อคดาวน์ 10 ข้อดีที่ควรรู้ ก่อนซื้อบ้านสำเร็จรูป ราคาย่อมเยา

“บ้านน็อคดาวน์” หรือ บ้านสำเร็จรูป สวยงาม ตั้งเรียงราย ในสไตล์ต่าง ๆ มีทั้งแบบโมเดิร์น เรือนไทย หรือแนวรีสอร์ท ให้สามารถเลือกซื้อในราคาย่อมเยา แล้วนำไปตั้งบนแปลงที่ดินของตนเองได้
โดยกระบวนการสร้างบ้านลักษณะนี้ จะไม่มีเสาหรือคานในการรับน้ำหนัก แต่เลือกใช้ผนังเป็นตัวยึดโครงสร้างแทน ทำให้สามารถถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกได้ เมื่อต้องถูกเคลื่อนย้าย ซึ่งรูปแบบบ้านลักษณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น และทางฝั่งยุโรปอย่างมาก
ส่วนใหญ่แล้ว "บ้านน็อคดาวน์" จะเป็นประเทศที่อยู่ในจุดเสี่ยงของการเกิดแผ่นดินไหวบ่อย ๆ อาจเป็นเพราะใช้เวลาก่อสร้างเร็ว ราคาถูก ความแข็งแรงทัดเทียมกับบ้านอันถูกสร้างขึ้นด้วยก่ออิฐ ฉาบปูน และด้วยข้อดีเหล่านี้เอง จึงทำให้เมืองไทยบ้านเรา เริ่มได้รับกระแสความนิยมบ้านน็อคดาวน์เช่นกัน

แนะนำว่าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ มาปักหลักบนแปลงที่ดินตนเองนั้น ควรศึกษา 10 เรื่องน่ารู้ของบ้านรูปแบบนี้เสียก่อน จะได้เข้าใจถึงการเตรียมพร้อม และดูแลรักษาบ้านน้อยหลังงามนี้ให้แข็งแรงทนทานไปอีกนาน

1. ใช้ระยะเวลาสร้างเพียงน้อยนิด
สืบเนื่องจากรูปแบบการสร้างบ้านน็อคดาวน์ หรือบ้านสำเร็จรูปที่หลายคนรู้จักนั้น จะไม่มีการลงเสาหรือคานแต่อย่างใด เป็นเพียงนำผนังเป็นตัวยึดโครงการ พร้อมประกอบให้เป็นบ้านในแบบที่ต้องการ ดังนั้นจึงทำให้ช่วยประหยัดเวลาก่อสร้าง ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วเสร็จสามารถเข้าไปอยู่ได้เลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของบ้านด้วย
2. งบประมาณค่าใช้จ่าย
สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัดในการสร้างบ้าน หากมีที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว บ้านน็อคดาวน์จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้ง่ายได้ดี ปกติราคาของบ้านสำเร็จรูปทั่วไปจะมีราคาตั้งแต่ 100,000-500,0000 บาทขึ้นไป แต่จะว่าไปหลักหมื่นปลาย ๆ ก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่ขนาดและรูปแบบของบ้านเป็นหลัก
3. รูปแบบบ้านหลากหลาย
ปัจจุบันด้วยระดับความนิยมบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูป ที่หลายคนคุ้นเคยนั้นมีมากขึ้น จึงทำให้มีหลายบริษัท ทั้งระดับเล็กไปจนถึงใหญ่ ต่างแข่งขันออกรูปแบบบ้านใหม่ เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเป็นทางเลือกสุดวิเศษให้กับผู้ที่อยากมีบ้านน้อยหลังงามเป็นของตนเอง แต่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณการก่อสร้าง ทุกวันนี้รูปแบบบ้านดังกล่าว เรียกว่ามีหลากหลายมาก ทั้งสไตล์โมเดิร์น Loft เรือนไทย หรือสไตล์บ้านพักตากอากาศรีสอร์ท มีทั้งแบบบ้านชั้นเดียวและ 2 ชั้น
4. วัสดุส่วนใหญ่ของบ้านน็อคดาวน์
โดยปกติแล้ววัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านน็อคดาวน์ จะใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลัก ส่วนผนังสำเร็จรูปจะเลือกใข้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทนความร้อน และแข็งแรง อย่างที่หลายคนคุ้นเคยกับ Sandwich Panel หรือการนำแผ่นเหล็กเคลืบผิวอย่างดี พร้อมกรุด้วยโฟมที่มีคุณสมบัติไม่ติดไฟง่าย มาทำผนัง จึงทำให้มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ซึ่งทั่วไปแล้ว ผู้ซื้อบ้านน็อคดาวน์ จะไม่สามารถขอเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางบริษัทผู้สร้างเป็นคนกำหนด
5. ระบบสาธารณูปโภคควรรู้
กระบวนการก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ตามปกติแล้ว จะเริ่มต้นจากกำหนดตำแหน่งที่จะยกบ้านน็อคดาวน์มาวาง แล้วทำการเทปูนทำฐานราก หลังจากนั้นช่างจะประกอบผนังให้เป็นรูปร่างที่ดีไซน์ไว้ แล้วทำการวางระบบ ติดตั้งสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ น้ำ ไฟ ที่จำเป็นต้องใช้ในบ้าน รวมถึงสุขภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ เรียกว่าสร้างเสร็จ พร้อมอยู่ได้เลย
6. หากคิดอยากจะต่อเติม
หากใครอยากคิดต่อเติมบ้านน็อคดาวน์เพิ่มเติม อาจจะต้องล้มเลิกความคิดไปเลย เนื่องจากโครงสร้างทั้งหมดของบ้านถูกจัดสรรขึ้น เพื่อรองรับความสำเร็จรูปทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่สามารถต่อเติมเพิมเติมใด ๆ ได้อีก หากดื้อดึงทำไป อาจจะส่งผลให้ตัวบ้านพัง ได้รับอันตรายได้
7. ขนย้าย สะดวก ง่าย เร็ว
ด้วยวัสดุการก่อสร้างที่มีคุณสมบัติเบา กะทัดรัด จึงทำให้สามารถเคลื่อนย้าย ยกตัวบ้าน ได้สะดวก แต่สำหรับบ้านน็อคดาวน์ 2 ชั้น อาจจะต้องใช้เทคนิคในการเคลื่อนย้ายเล็กน้อย
ย้ายบ้านอย่างไรให้ง่ายและประหยัด
8. ความแข็งแรง ทนทาน
แม้การสร้างบ้านน็อคดาวน์ ไม่ได้ตอกเสาปูน หรือฝังเข็มเหมือนอย่างบ้านทั่วไป แต่โครงสร้างเหล็กนั้นถือว่าสร้างความแข็งแรง ทนทานได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวที่ดินที่จะนำบ้านน็อคดาวน์ไปวางด้วย โดยจำเป็นต้องถมที่ให้แน่นระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันตัวบ้านร้าว
9. การดูแลรักษา
บ้านน็อคดาวน์ เป็นรูปแบบบ้านสำเร็จรูป ที่ไม่เหมาะจะเป็นที่อยู่อาศัยระยะยาว เนื่องจากวัสดุที่ใช้มีอายุการใช้งาน ดังนั้นการดูแลรักษาอาจจะมากเป็นพิเศษกว่าบ้านปกติ โดยควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักไม่มาก และหมั่นทำความสะอาด เพื่อไม่ให้สัตว์ไม่พึงประสงค์ อย่าง งู หรือ หนู เข้ามาอยู่อาศัย
10. วันหมดอายุบ้านน็อคดาวน์
ด้วยปัจจัยหลายประการทั้งวัสดุ ขนาดของบ้าน และอื่นๆ จึงทำให้ส่วนใหญ่นิยมนำบ้านน็อคดาวน์ หรือบ้านสำเร็จรูปมาสร้างเป็นห้องแถวหรือรีสอร์ท แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผนวกกับเกิดนวัตกรรมการสร้างบ้านแบบใหม่ จึงทำให้ช่วยต่ออายุของบ้านน็อคดาวน์ออกไปได้อีก 50 ปี เลยทีเดียว

 

ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


58
ทำความรู้จัก "บ้านน็อกดาวน์" พร้อม 5 เหตุผล ก่อนจะตัดสินใจซื้อจริง

ความนิยมบ้านน็อกดาวน์มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการใช้งานพื้นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว เราจะเห็นได้ว่า บ้านน็อกดาวน์มักจะทำมาจากตู้คอนเทนเนอร์ หรือทำจากวัสดุที่ต่อประกอบง่ายแบบสำเร็จรูป ใช้เวลาเพียง 1 วันก็สร้างเสร็จ เข้าอยู่อาศัยได้ทันที แต่บ้านน็อกดาวน์แตกต่างจากบ้านที่สร้างเพื่ออยู่อาศัยอย่างไร วันนี้ไทยรัฐออนไลน์มีคำตอบมาฝากกัน

บ้านน็อกดาวน์ คืออะไร
บ้านน็อกดาวน์ (Knock Down Home) คือกลุ่มย่อยของบ้านสำเร็จรูป (Finished Home) เป็นที่อยู่อาศัยที่ใช้พื้นที่ใช้งานเป็นออฟฟิศ, ร้านค้า จนกระทั่งเป็นที่อยู่อาศัยได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวรได้ เนื่องจากวัสดุที่ใช้มีอายุราว 10-15 ปี

ความแตกต่างระหว่างบ้านน็อกดาวน์ กับบ้านสำเร็จรูป หรือบ้านก่ออิฐ
1. บ้านน็อกดาวน์ไม่มีคาน ใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนัก
2. ขั้นตอนประกอบบ้านน็อกดาวน์ ไม่มีเศษขยะ และฝุ่นละออง เท่ากับการสร้างบ้านจากอิฐ ปูน เพราะถูกตัดชิ้นส่วนมาพร้อมประกอบแล้ว
3. อายุการใช้งานของบ้านน็อกดาวน์ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ประกอบ

หลังคาบ้านน็อกดาวน์
มักนิยมใช้หลังคาเมทัลชีท หรือกระเบื้องที่มีน้ำหนักเบา จึงเป็นข้อแตกต่างที่ชัดเจน และไม่ควรติดตั้งอุปกรณ์หนักๆ ไว้บนหลังคา เพราะเสี่ยงทรุด

ผนังบ้านน็อกดาวน์
นอกจากไม้แล้ว ยังนิยมใช้กลุ่มผนังเบา อย่างซีเมนต์บอร์ด หรือผนังสำเร็จรูปที่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ ผสมด้วยเส้นใยเซลลูโลส และแต่งเติมด้วยวัสดุอื่นๆ เพื่อให้ผนังทนความร้อนและแสงแดด

เสาบ้านน็อกดาวน์
เสาบ้านน็อกดาวน์มักทำด้วยเหล็ก เช่น เหล็ก H Beam ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของโครงสร้าง และแม้ว่าเหล็กจะเคลือบด้วยสารกันสนิมแล้ว ต้องคอยตรวจสอบการผุกร่อนตามอายุการใช้งาน

พื้นบ้านน็อกดาวน์
การปูพื้นบ้านน็อกดาวน์นั้นวางซีเมนต์บอร์ด เพื่อปูพื้นลามิเนต พื้นกระเบื้อง หรือปูกระเบื้องเซรามิกเพิ่มเติมได้เหมือนกับพื้นบ้านทั่วไป ข้อควรระวังก็คือ ควรเลือกวัสดุที่ทนความชื้น ป้องกันเชื้อราจากพื้นดิน และมีน้ำหนักที่พอเหมาะ

การเลือกเฟอร์นิเจอร์ใช้กับบ้านน็อกดาวน์
หากคุณตัดสินใจซื้อบ้านน็อกดาวน์สักหลังเพื่อสร้างออฟฟิศ ร้านค้า หรือไว้อยู่อาศัย ก็อย่าลืมคำนึงถึงเรื่องน้ำหนักของบ้านน็อกดาวน์ เมื่อเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ เราสามารถบิวต์อิน (Built-In) ได้ แต่ส่วนประกอบทั้งหมดต้องไม่ทำให้บ้านหนักเกินไป โดยปรึกษากับผู้จำหน่ายให้ชัดเจน ขอคำปรึกษาหลังการขายว่าเราสามารถต่อเติมได้มากน้อยแค่ไหน

บ้านสำเร็จรูป คืออะไร
เมื่อพูดถึงบ้านน็อกดาวน์ไปแล้ว จะไม่พูดถึงบ้านสำเร็จรูปก็ไม่ได้ เพราะทั้งสองแบบนี้มีความคล้ายคลึงกัน ต่างกันตรงอายุการใช้งานที่เกริ่นให้ทราบไปแล้วว่า บ้านสำเร็จรูป มีอายุการใช้งานที่มากกว่า เนื่องจาก

- ผนังสำเร็จรูปในโครงสร้างหลักไม่ได้ใช้ซีเมนต์บอร์ด แต่เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ และต้องใช้การประกอบที่มากกว่าการสร้างบ้านน็อกดาวน์ โดยเฉพาะขั้นตอนการผสานคอนกรีต และการตกแต่งภายใน
- ดังนั้นระยะเวลาการประกอบบ้านสำเร็จรูปจึงมากกว่าบ้านน็อกดาวน์ อย่างน้อยก็ 2-3 เดือนจึงจะเห็นโครงสร้างทั้งหลัง
- บ้านสำเร็จรูปสามารถตกแต่งบิวต์อิน (Built-in) ได้โดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องน้ำหนักเหมือนบ้านน็อกดาวน์ แต่ก็ต้องระวังเรื่องการเจาะผนัง
- การติดตั้งหลังคาและระบบทำความร้อนกับบ้านสำเร็จรูปทำได้เต็มรูปแบบ
- เจ้าของบ้านเลือกปูพื้นบ้านสำเร็จรูปได้ตามความชอบ หากอยากปูกระเบื้องหินอ่อน กระเบื้องแกรนิต เพื่อเพิ่มความสวยงามก็ทำได้

แต่สิ่งที่เหมือนกันของการสร้างบ้านน็อกดาวน์และบ้านสำเร็จรูปคือ เจ้าของบ้านไม่ควรต่อเติมด้วยตัวเอง ควรวางแผนการก่อสร้างมาตั้งแต่แรก หรือหากจำเป็นต้องต่อเติมต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดู เพราะเรื่องโครงสร้างน้ำหนักของบ้านสำเร็จรูปทั้งสองแบบเป็นสิ่งที่ควรระวัง ไม่เช่นนั้นแล้วจะตามมาด้วยปัญหา ร้าว ทรุด ไปจนถึงบ้านล้ม

ซื้อบ้านน็อกดาวน์ ดีไหม พิจารณาด้วย 5 เหตุผลนี้
หากคุณต้องการซื้อบ้านน็อกดาวน์เพื่ออยู่อาศัยเป็นบ้าน ไม่ได้รวมเหตุผลที่ว่าจะซื้อมาทำเป็นร้านค้า หรือออฟฟิศชั่วคราว ควรพิจารณา 5 ข้อ ต่อไปนี้

1. ใช้งานอะไร
หากคุณต้องการซื้อบ้านน็อกดาวน์เพื่อเป็นบ้านพักอาศัย หรือทำโฮมสเตย์ ต้องนำราคาบ้านมาคำนวณกับระยะเวลาที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ เพราะไม่ว่าจะเป็นบ้านแบบใดก็ตาม เริ่มใช้งานไปสักพักก็จะต้องจ่ายซ่อมบำรุง อาทิ หน้าต่างรั่ว น้ำฝนซึม เป็นต้น
2. ผู้ใช้งาน
จำนวนผู้ใช้งานจะเป็นตัวตัดสินใจซื้อบ้านน็อกดาวน์ที่ดีอย่างหนึ่ง หากมีผู้อยู่อาศัยหลายคน ก็จะคำนึงถึงความเสื่อมของตัวบ้านได้
3. ติดตั้งที่ใด
หากตัวบ้านน็อกดาวน์ติดตั้งใกล้กับต้นไม้หรือดินที่มีความชื้น ก็มีโอกาสเกิดปัญหาเชื้อราตามผนังหรือพื้น รวมถึงหากเคยเป็นพื้นที่น้ำท่วมบ่อย ก็จะมีผลต่อโครงสร้างที่เป็นเหล็ก เพราะฉะนั้นผู้ซื้อควรคำนึงถึงรายละเอียดให้มาก
4. วัสดุโครงสร้างบ้านน็อกดาวน์
วัสดุเป็นตัวกำหนดราคาของบ้านน็อกดาวน์ ถ้าเราทราบถึงยี่ห้อวัสดุแต่ละส่วนได้ก็ก่อนก็จะทำให้ตัดสินใจได้ง่าย ส่วนใหญ่แล้วผู้ขายจะต้องชี้แจงมาในใบเสนอราคา เพื่อให้ผู้ซื้อเปรียบเทียบรายละเอียด
5. งบประมาณในการมีบ้าน
ราคาบ้านน็อกดาวน์ เริ่มต้น 50,000 - 90,000 บาท บางเจ้าให้แอร์ กับเดินระบบไฟฟ้าให้วิธีการคิดง่ายๆ ว่าจะซื้อบ้านน็อกดาวน์ หรือจะสร้างบ้านเองดี ก็ให้นำราคามาคำนวณกับพื้นที่ใช้สอยที่จะได้ รวมถึงอายุการใช้งาน
ว่าที่เจ้าของบ้านน็อกดาวน์หลังใหม่ก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดและควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อความคุ้มค่าที่จ่ายไป จะได้ไม่เสียใจภายหลัง.


ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


59
คำถามที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูป

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่อนข้างจะซบเซา ธุรกิจต่างๆ มีทิศทางในขาลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นกัน ที่ดูเหมือนกับว่ายังไม่สดใสเท่าที่ควร ผู้ประกอบการต้องดิ้นรนหาทางออกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคอาจมีเงินในกระเป๋าน้อยลง คิดมากขึ้นหากต้องใช้จ่ายใดๆ อย่าว่าแต่เรื่องใหญ่อย่างการซื้อบ้าน หรือสร้างบ้าน แม้กระทั่งการใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆ ก็ต้องคิด ต้องใคร่ครวญกันมากขึ้น ในด้านของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ประกอบการอาจเลือกขายบ้านที่ขนาดเล็กลง หรือรอบชานเมือง ที่ราคาถูกลง เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน บ้านน็อคดาวน์ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่สามารถตอบสนองในจุดนี้ได้ เนื่องจากราคาที่ถูก และระยะเวลาการก่อสร้างที่ไม่นานนัก ประกอบกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ไม่ได้ต้องการอะไรมาก ต้องการความรวดเร็ว และไม่ได้มีเวลาอยู่ติดบ้านมากนัก บ้านน็อคดาวน์จึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการสร้างบ้าน หรือทำธุรกิจต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ สำนักงาน รีสอร์ทขนาดเล็กต่างๆ และผลตอบรับก็น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก หากท่านผู้อ่านได้มาอ่านบทความนี้ นั่นก็หมายความว่า คุณได้ตัดสินใจเกือบจะแน่นอนที่จะ จะเลือกใช้บ้านน็อคดาวน์แล้ว และคุณได้ทราบข้อดี และข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์อย่างแน่นอนแล้ว แต่ถึงขั้นนี้ คุณอาจจะมีคำถามว่า เราจะต้องมีข้อมูลอะไรอีกไหม มีข้อควรรู้อะไรอีกไหม ก่อนลงมือจริง บทความนี้เป็นการรวบรวมคำถามที่ผู้ต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์มี เพื่อให้เราเข้าใจและสบายใจในการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

1.สร้างบ้านน็อคดาวน์ต้องจดทะเบียน ขออนุญาตเหมือนบ้านปกติหรือไม่ – บ้านน็อคดาวน์นั้น ถ้ายังอยูในโชว์รูม หรือยังไม่ได้นำมาลงพื้นดิน ก่อสร้างจริง ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนแต่อย่างใด แต่เมื่อใดที่มีการก่อสร้างบนพื้นจริงๆ และต้องการขอสาธารณูปโภคต่างๆ แบบใช้งานจริงแล้วก็ต้อง ขออนุญาตเหมือนเป็นสิ่งปลูกสร้าง ตามปกติทั่วไป อยู่ภายใต้กฎหมายสิ่งปลูกสร้างเหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะทำเป็นร้านกาแฟ หรือบ้านจริงๆ หรือออฟฟิศ สำนักงาน เพราะถ้าต้องขอน้ำ ขอไฟฟ้า หรืออินเตอร์เนท ก็ต้องมีการอ้างอิง ที่อยู่ เหมือนปกติทั่วไปเช่นกัน หากคุณมีบ้านแบบปกติอยู่แล้ว หรือเคยสร้างบ้านน็อคดาวน์อยู่ในพื้นที่เดียวกันอยู่แล้ว แต่ต้องการบ้านน็อคดาวน์ไปต่อเติมเพิ่มเติมก็ต้องคำนึงถึงกฎหมายการต่อเติมอาคาร ที่พักอาศัยเหมือนทั่วไปด้วย อย่าคิดว่าบ้านน็อคดาวน์สร้างเล่นๆ ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องขออะไร ไม่ได้นะครับ
2.จะสร้างบ้านน็อคดาวน์มีค่าใช้จ่ายแฝงอะไรอีกหรือไม่ – ค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่นอกเหนือจากราคาของตัวบ้านน็อคดาวน์เองก็คือ ค่าใช้จ่ายในการประกอบก่อสร้าง และค่าขนส่งตัวบ้านไปยังบริเวณที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง ซึ่งในจุดนี้ ผู้ซื้อต้องสอบถามจากทางผู้สร้าง ผู้ผลิตให้เรียบร้อยเสียก่อน ที่จะทำการตัดสินใจ เพื่อให้แน่ใจว่า งบประมาณทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุม บางคนเห็นราคาตัวบ้าน ทั้งหมดโดยรวมแล้ว เห็นว่าถูกมากรีบตกลง แต่ไม่ได้สอบถามราคาค่าขนส่ง วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะรวมทั้งค่าขนส่ง และค่าก่อสร้างแล้ว หากเป็นผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ราคารวมก็จะยังถูกกว่าการก่อสร้างแบบธรรมดาอยู่มาก
3.เลือกบ้านน็อคดาวน์แบบไหนดี – ดังที่กล่าวไปแล้วว่าด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้วัสดุอุปกรณ์ที่มาทำบ้านน๊อคดาวน์นั้นหลากหลายมากขึ้น เป็นอันมาก มีตั้งแต่เป็นตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งเฉยๆ หรือเป็นไม้ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และแผ่นผนังที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ การเลือกใช้งานนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการและการใช้งานของเราเป็นหลัก เช่น เราต้องการความคงทน ถาวรมากแค่ไหน เราต้องการทำเป็นแค่ออฟฟิศ สำนักงาน ชั่วคราว หรือที่พักอาศัยถาวร หรือดินบริเวณที่เราจะทำการก่อสร้างนั้น แน่นเพียงใด แข็งแรงเพียงใด หรืองบประมาณที่เรามีนั้น มากน้อยเพียงใด เป็นต้น ที่สำคัญก็คือ เราต้องมีทางเลือกให้ครบอยู่ในมือ จะได้สามารถเปรียบเทียบกับข้อจำกัด และความต้องการของเราที่มีได้ เพื่อให้การตัดสินใจของเราทำได้ดีที่สุด
4.เลือกผู้ผลิตเจ้าไหนดี – ในปัจจุบันนี้ มีการแข่งขันในเชิงธุรกิจสูง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการใด ก็มีให้เราเลือกมากมายเต็มไปหมด  บ้านน๊อคดาวน์ก็เช่นกัน ยิ่งเราเลือก ก็ยิ่งสับสนว่าจะเลือกเจ้าไหนอย่างไรดี จะเอาที่ดังจริงๆ ได้มาตรฐานระดับประเทศจริงๆ ก็ราคาสูงมาก หรือจะเอาที่ถูกมากก็ไม่รู้จะได้มาตรฐานจริงหรือเปล่า การเลือกผู้ให้บริการสร้างบ้านน๊อคดาวน์ คงจะต้องพิจารณามากกว่า การเข้าไปดูข้อมูลจากเว็บไซต์ เพราะการสร้างบ้าน ถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องตัดสินใจให้ดี ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดีมากๆ ก็คือ โปรไฟล์ของผู้ประกอบการที่ผ่านมา ตัวอย่างผลงานของผู้รับจ้างรายนั้นๆ เราอาจจำเป็นต้องเดินทางไปสัมภาษณ์ สอบถามจากลูกค้ารายนั้นๆ โดยตรงว่าประทับใจหรือไม่ ได้บริการที่มีคุณภาพดีเหมาะสมหรือไม่ ก่อนตัดสินใจ โดยไม่เชื่อจากคำพูดจากผู้รับจ้าง ฝ่ายเดียว
5.แม้ในปัจจุบันบ้านน็อคดาวน์ยังไม่เป็นที่นิยมกันในวงกว้างอย่างแพร่หลาย ยังไม่นิยมสร้างเป็นที่พักอาศัยแบบถาวร แต่จากเทคโนโลยีการก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันทำให้เชื่อได้ว่า บ้านน็อคดาวน์จะได้รับความนิยมสูงขึ้นเป็นอันมากอย่างแน่นอนในอนาคต แม้ว่าเราจะตัดสินใจเลือกสร้างบ้านน็อคดาวน์แล้ว หรือกำลังหาข้อมูลอยู่ก็ตาม ชุดคำถามข้างต้นเป็นเครื่องมืออย่างดี ให้เราได้ตัดสินใจได้ และการที่เรามีข้อมูลต่างๆ ให้เลือกพิจารณารอบด้านขึ้น ย่อมจะส่งผลดีกับการตัดสินใจของเราอย่างแน่นอน

ข้อดี ข้อเสีย "บ้านน็อคดาวน์" ทางเลือกของคนอยากมีบ้าน แต่ไม่อยากรอสร้างนานๆ

ข้อดี บ้านน็อคดาวน์
1. รวดเร็ว  หากเทียบกับการสร้างบ้านระบบเดิม การสร้างบ้าน 1 หลังอาจต้องใช้เวลา 5-6 เดือน แต่การก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเศษก็เสร็จพร้อมเข้าอยู่   
2. สะอาดไร้ขยะและไม่สร้างมลภาวะเป็นพิษ  บ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูปมีข้อดีตรงที่ไม่สร้างขยะในระหว่างก่อสร้าง
3. สะดวก  ด้วยลักษณะพื้นผิวบ้านน็อคดาวน์เป็นวัสดุสำเร็จรูป จึงมีความเรียบเนียน เมื่อประกอบเสร็จสามารถทาสีทับได้ทันที ซึ่งสร้างความสะดวกสบายให้กับการทำงาน นอกจากนี้ในส่วนของการวางระบบต่างๆ ของบ้านน็อคดาวน์นั้นไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า
4. ประหยัด  การเลือกบ้านแบบน็อคดาวน์นั้นถือว่าเป็นการประหยัดได้ตั้งแต่เรื่องแบบบ้าน เนื่องจากแบบบ้านสำหรับบ้านน็อคดาวน์นั้นมีแบบเฉพาะให้เลือก ดังนั้นผู้ที่ต้องการบ้านแบบน็อคดาวน์จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
5. สะดวกในการขนย้าย  การขนย้ายเพื่อนำไปวางยังพื้นที่ของผู้ซื้อ สะดวกมากกว่า เร็วกว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายมากกว่า การก่อสร้างแบบทั่วไป การขนย้ายบ้านแบบน็อคดาวน์ จะสะดวกเพราะขนย้ายเป็นชิ้นส่วนไปยังหน้างานได้

ข้อเสีย บ้านน็อคดาวน์   
1. ไม่สามารถเลือกวัสดุเองได้  เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูปนั้น เจ้าของสินค้าได้เลือกวัสดุไว้เรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านจึงมีข้อจำกัดในการเลือกวัสดุ ดังนั้นอาจต้องมีการเช็คให้ละเอียดว่าวัสดุที่ใช้มีคุณภาพเป็นไปตามที่เจ้าของบริษัทระบุหรือไม่

ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


60
ข้อดีและข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป

จะดีไหมถ้าเราสามารถมีบ้านในฝันหลังๆเล็กๆ ของเราได้ ในรูปแบบที่เราเองต้องการ และงบประมาณที่เราเอื้อมถึง บางครั้ง เรามีที่ดินเปล่า ที่ตกทอดมาจากพ่อแม่ หรือซื้อที่ดินผืนเล็กๆ เอาไว้ อยากจะมีบ้านสวยๆ สักหลัง แต่ความฝันเหล่านั้น ก็ต้องถูกเก็บเอาไวในลิ้นชัก หรือเลื่อนออกไปเรื่อยๆ ด้วยปัญหาต่างๆ บางคนมีปัญหาเรื่องงบประมาณ เวลาจ้างช่างผู้รับเหมา มาตีราคาบ้านกับที่ดินที่เรามีแล้ว ถึงกับต้องถอยกลับ เพราะราคาแพงเกินไป แค่ตอกเสาเข็ม ก็หกหลักแล้ว และการสร้างบ้านนั้น ไม่เหมือนกับการซื้อบ้านที่เราสามารถทำเรื่องกู้ได้ กู้ผ่าน developer ต่างๆได้ แต่การสร้างบ้านนั้น ต้องจ่ายเป็นงวดๆ จะทำเรื่องกู้ ก็ไม่แน่ใจว่า จะพอไหม และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง ก็คืองบประมาณการก่อสร้างบ้านมักจะบานปลายเลยเถิดไปจาก งบประมาณตั้งต้นที่เรากำหนดเอาไว้เสมอ เพราะเรามักจะอยากได้นั่น นี่ เพิ่มเติม หรือที่ออกแบบเอาไว้ ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นไปได้หลากหลาย บางคนต้องถึงขนาดมีตังค์ค่อยมาสร้างเพิ่มเลยก็มี กว่าจะสร้างเสร็จหลังหนึ่ง ว่ากันไปหลายปี หมดกันไปเยอะ
ในปัจจุบัน มีทางออกของปัญหาการจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างประการหนึ่ง คือการใช้บ้านน็อคดาวน์นั่นเอง ในอดีตนั้น เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการก่อสร้างนั้น ยังไม่ก้าวหน้ามากนัก บ้านน็อคดาวน์จึงเป็นได้แค่ สิ่งก่อสร้างชั่วคราวเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับอยู่อาศัยถาวร แต่ปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น เราสามารถใช้บ้านน็อคดาวน์เป็นที่อยู่อาศัย ที่มั่นคง แข็งแรง ถาวรได้แล้ว
แต่บ้านน็อคดาวน์ก็เหมือนกับสินค้าทั่วไป ย่อมจะมีข้อเสียและข้อดี ที่แตกต่างกันไป เมื่อเทียบกับบ้านที่พักอาศัย ที่ก่อสร้าง ในปัจจุบัน ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกว่าจะจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างแบบปกติ หรือใช้เป็นบ้านน็อคดาวน์เราควรเข้าใจ ข้อดี ข้อเสียของ การก่อสร้าง ทั้งสองแบบ ให้ถ่องแท้เสียก่อน โดยในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าว ถึงข้อดี และข้อเสียของ บ้านน็อคดาวน์เพื่อให้ผู้อ่านได้ ทำการเปรียบเทียบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

ข้อดีของบ้านน๊อคดาวน์
1.ราคา – แน่นอนว่า หากพูดถึงบ้านน็อคดาวน์แล้วเหตุผลแรกๆ เลยที่เราจะตัดสินใจเลือกสร้างบ้านประเภทนี้ ก็คือราคาที่ถูกกว่านั่นเอง สาเหตุที่บ้านน็อคดาวน์มีราคาถูกกว่านั้น มาจากหลายประการ
ไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็ม – หากเคยผ่านประสบการณ์ จ้างผู้รับเหมามาแล้ว ก็จะทราบดีว่า เสาเข็มนี้เป็นตัวสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นอันมาก เพราะต้องใช้เหล็ก และต้องขุดเจาะพื้นดินลงไป ใช้เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง และกำลังคนต่างๆ ซึ่งตรงนี้ หากใช้บ้านน็อคดาวน์แล้ว จะมีวิธีการในการรับน้ำหนักกันเอง เช่นการใช้ตัวกำแพง เป็นจุดรับน้ำหนัก โดยไม่ต้องลงเสาเข็มได้ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าต้องลงเสาเข็มหรือไม่นี้ ต้องพูดคุยกับผู้ประกอบ ผู้เชี่ยวชาญ ถึงความจำเป็นในการใช้งานอีกที หากต้องการอยู่แบบถาวรแล้ว ควรมีการลงเสาเข็มเพื่อความคงทนก็ได้
การก่อสร้างแบบสำเร็จรูป – ส่วนประกอบของบ้านน็อคดาวน์นั้น จะเป็นการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป ซึ่งสามารถสร้างคราวละหลายชิ้น หรือมีแม่พิมพ์ที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงมีต้นทุนที่ถูกกว่า และผู้ผลิตก็สามารถประหยัดต้นทุนได้ ด้วยการผลิตคราวละมากๆ (Economy of Scale)
2.ระยะเวลา – การก่อสร้างที่ใช้ระยะเวลาน้อย เพราะประกอบสำเร็จรูป ทำให้ประหยัดค่าจ้างแรงงานระยะเวลาการก่อสร้าง – ดังที่ได้กล่าวไปบ้างแล้ว เกี่ยวกับระยะเวลาการก่อสร้าง ว่าเป็นข้อดีประการสำคัญของการสร้างบ้านแบบบ้านน็อคดาวน์บางคนถึงแม้จะมีเงิน แต่ไม่มีเวลามาดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด จากการจ้างผู้รับเหมาสร้างบ้านแบบปกติ และหากเราไม่ดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิดแล้ว ปัญหาจุกจิกกวนใจร้อยแปดประการก็มักจะตามมาในภายหลัง บางคนตรวจรับบ้านไม่ผ่านสักที เพราะไม่ยอมมาดูแลตอนระหว่างก่อสร้าง ทำให้หลายคนตัดสินใจเลือกบ้านน๊อคดาวน์ เพราะประหยัดเวลาในการก่อสร้างนี่เอง
3.ลดปัญหาจุกจิกกวนใจ – เจ้าของบ้านบางคนทะเลาะกันบ้านแตก เพราะคนหนึ่งจะเอาอีกแบบหนึ่ง อีกคนจะเอาอีกอย่าง การสร้างบ้านเองนั้น มีอิสระ มีตัวเลือกให้มากมายก็จริง แต่ข้อเสียก็คือ ทางเลือกมาก เราก็ไม่รู้จะเลือกอะไร ไปๆมาๆ กลายเป็นไม่เข้ากัน เพราะเราก็ไม่ใช่มืออาชีพในการเลือก แต่บ้านน็อคดาวน์มีรูปแบบสำเร็จรูปให้เลือกได้ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องปวดหัวเรื่องการออกแบบเหล่านี้

เมื่อทราบข้อดีๆหลักๆ แล้วต่อไป มาเรียนรู้ข้อเสียกันบ้าง

ข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์ไม่ได้ดั่งใจเต็มร้อย – ดังที่กล่าวไปว่าบ้านน็อคดาวน์จะเป็นแบบสำเร็จรูปให้เลือก บางครั้งเราก็ไม่สามารถได้บ้านในฝันที่เราวาดไว้ได้เต็มที่ แต่ในกรณีนี้บางท่านก็บอกว่า แม้จะจ้างผู้รับเหมาก็ไม่ได้ดั่งใจเต็มร้อยเช่นกัน แถมยังปวดหัวกว่า สั่งอีกอย่างได้อีกอย่าง ทะเลาะกัน บ้านแตกก็มี อันนี้ต้องแล้วแต่การตัดสินใจของแต่ละท่าน
- ความคงทน – แม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะทำให้บ้านน็อคดาวน์มีความคงทน สวยงาม แต่ถ้าพูดถึงในระยะยาวแล้ว อาจจะมีปัญหาเรื่องของความคงทนบ้าง โดนน้ำ โดนแดด โดนฝนหนักๆ ก็อาจจะมีปัญหาในระยะยาวๆ ได้ ทั้งนี้ข้อจำกัดนี้เป็นการกล่าวโดยอ้างอิง ถึงบ้านในปัจจุบันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง เทคโนโลยีการสร้างบ้านน็อคดาวน์นั้น ก้าวหน้าและมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีความเป็นไปได้อยู่ไม่น้อยว่า ความคงทนและข้อจำกัดต่างๆ ของบ้านน็อคดาวน์ก็จะน้อยลงตามนวัตกรรมการก่อสร้างที่สูงขึ้นในอนาคตด้วย
- การต่อเติม – บ้านน็อคดาวน์อาจสร้างปัญหาในการต่อเติมภายหลัง เพราะวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จะทำให้เข้ากันกับบ้านที่เราสร้างไว้แล้ว อาจจะลำบาก หรือการต่อเติม ระบบน้ำ ระบบไฟต่างๆ ไม่ยืดหยุ่น เท่ากับการก่อสร้างธรรมดา และในบางกรณีเราอาจจะต้องยึดโยงอยู่อยู่กับผู้ผลิตเจ้าเดิมที่เราเลือกใช้บริการแต่แรก ในจุดนี้บางคนก็บอกว่าเป็นข้อดี เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่สามารถผลิตบ้านน็อคดาวน์ขายได้ นั้น ย่อมจะมีศักยภาพมีมาตรฐานเพียงพออยู่แล้ว ไม่ต้องกลัวหนีหายไปไหน เหมือนผู้รับเหมาที่คนจ้างกลัวกันนักหนาว่าจะหนีงาน ถ้าเราต้องการต่อเติมเมื่อไหร่ก็เรียกเจ้าเดิมๆ ที่มีมาตรฐานได้ อาจเป็นข้อดีมากกว่าข้อเสียก็ได้
- ไม่ใช่แต่เพียงบ้านน็อคดาวน์เท่านั้น ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ย่อมจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป การที่เราจะเลือกใช้ บ้านน็อคดาวน์หรือสร้างบ้านธรรมดา ดั้งเดิมนั้น ไม่มีอะไร ถูกต้องหรือผิด 100% ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการหรือข้อจำกัดของผู้ใช้ต่างๆ เพราะแต่ละคนย่อมมีความต้องการหรือข้อจำกัดต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดี และข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์อย่างรอบด้านที่เราให้นี้ ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรอบด้านมากขึ้น

ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์ 


หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10