ูthai-dd.com

General Category => rtd19 ดูแลผู้สูงวัย => ข้อความที่เริ่มโดย: Admin ที่ กรกฎาคม 08, 2022, 08:51:56 AM

หัวข้อ: หลักการดูแลผู้สูงอายุ
เริ่มหัวข้อโดย: Admin ที่ กรกฎาคม 08, 2022, 08:51:56 AM
หลักการดูแลผู้สูงอายุ (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y)
      ผู้สูงอายุ นอกจากอายุที่มากขึ้นแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และจิตใจอีกด้วย เห็นได้ชัดจากริ้วรอยที่เพิ่มขึ้น การทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เริ่มถดถอยลง ร่างกายอ่อนแอลง ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ เหมือนแต่ก่อน อีกทั้งโรคภัยต่าง ๆ ก็ตามมา หลักการดูแลผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง โดยบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ร่างกาย และจิตใจ

หลักการดูแลผู้สูงอายุ (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y) ทางด้านด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายเมื่ออายุมากขึ้นการมองเห็น การมองเห็นแย่ลง มองไม่ชัดเหมือนเดิม สายตายาว บางรายมีอาการสายตาสั้น และสายตายาวร่วมกันด้วย
การได้ยิน การได้ยินไม่ชัดเจน ผลมาจากประสาทหูเสื่อม หูตึง ต้องพูดเสียงดังถึงจะได้ยิน
กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง เรี่ยวแรงลดลง
ผิวหนัง ผิวหนังเหี่ยวย่น และหย่อนคล้อย การสร้างเม็ดสีลดลง ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย ชั้นผิวหนังบางลง
กระดูก กระดูกพรุน โดยผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย โดยมักจะเกิดหลังจากหมดประจำเดือน หรือประมาณ 65 ปี หากส่วนสูงลดลงจากตอนเป็นหนุ่มสาวมากกว่า 4 เซนติเมตร ควรพบแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงเป็นภาวะกระดูกพรุนได้
หัวใจ ผู้สูงอายุมีอาการเหนื่อยง่าย เนื่องจากการบีบตัวของหัวใจลดลง และมีโอกาสที่จะเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้ง่ายระบบหายใจ ความจุของปอดลดลง ทำให้เหนื่อยหอบได้ง่าย
ทางเดินอาหาร เนื่องจากฟันร่วง และหลุด ทำให้การเคี้ยวอาหารลำบากขึ้น เคี้ยวไม่ละเอียด ทำให้มีอาการท้องผูก อีกทั้งกระเพาะอาหารมีการหลั่งน้ำย่อยน้อยลง ทำให้การดูดซึมสารอาหารลดลงตามไปด้วย ทำให้ขาดสารอาหาร
การปัสสาวะ ความจุกระเพาะปัสสาวะลดลงทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น ในเพศชายมีต่อมลูกหมากกโตขึ้น ทำให้ปัสสาวะขัด ต้องเบ่งนาน
ภูมิคุ้มกัน เมื่ออายุมากขึ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะทำงานลดลง ผู้สูงอายุจึงติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ป่วยได้ง่าย
ระบบประสาท ความสามารถในการจำลดลง ความคิดช้าลง จำอะไรไม่ค่อยได้ หากการหลงลืมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีภาวะสมองเสื่อม
การดูแลผู้สูงอายุ (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y)และส่งเสริมสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
   การดูแลผู้สูงอายุและส่งเสริมให้มีสุขภาพดีนั้น นอกจากครอบครัวแล้ว และตัวผู้สูงอายุเองถือว่ามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี และร่างกายแข็งแรง โดยมี 4 ข้อที่จำเป็นดังนี้
ระบบหายใจ ความจุของปอดลดลง ทำให้เหนื่อยหอบได้ง่าย
ทางเดินอาหาร เนื่องจากฟันร่วง และหลุด ทำให้การเคี้ยวอาหารลำบากขึ้น เคี้ยวไม่ละเอียด ทำให้มีอาการท้องผูก อีกทั้งกระเพาะอาหารมีการหลั่งน้ำย่อยน้อยลง ทำให้การดูดซึมสารอาหารลดลงตามไปด้วย ทำให้ขาดสารอาหาร
การปัสสาวะ ความจุกระเพาะปัสสาวะลดลงทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น ในเพศชายมีต่อมลูกหมากกโตขึ้น ทำให้ปัสสาวะขัด ต้องเบ่งนาน
ภูมิคุ้มกัน เมื่ออายุมากขึ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะทำงานลดลง ผู้สูงอายุจึงติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ป่วยได้ง่าย
ระบบประสาท ความสามารถในการจำลดลง ความคิดช้าลง จำอะไรไม่ค่อยได้ หากการหลงลืมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีภาวะสมองเสื่อม

การดูแลด้านอาหาร เนื่องจากฟันผู้สูงอายุ (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y)ไม่แข็งแรง และมักมีปัญหาฟันหลุด ร่วง ทำให้การเคี้ยวอาหารเป็นไปได้ลำบาก เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุ ควรมีความอ่อนและนุ่ม เพื่อที่จะให้ผู้สูงอายุเคี้ยวได้ง่ายขึ้น และควรมีสารอาหารที่เพียงพอ สะอาดและถูกสุขลักษณะ โดยสารอาหารที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุได้แก่ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ เส้นใยอาหาร
การออกกำลังกาย เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุที่ลดลง กระดูกที่เปราะบางขึ้น การออกกำลังกายในผู้สูงอายุควรระมัดระวังมากขึ้น ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรหักโหมจนเกินไปเพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุมีดังนี้ การเดิน หรือวิ่งช้า ๆ โยคะ ปั่นจักรยาน รำมวยจีน เต้นแอโรบิค
ความเครียดและวิตกกังวล ความเครียดในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ปลายปัจจัย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม โดยวิธีที่เหมาะสมที่จะกำจัดความเครียดคือการยอมรับ และเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ครอบครัวหรือคนใกล้ตัวต้องคอยรับฟัง และให้คำปรึกษาให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึกต่าง ๆ และหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือให้ผู้สูงอายุได้พบปะเพื่อนฝูง ในวัยเดียวกัน
การป้องกันอุบัติเหตุและอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ การหกล้ม ลื่นล้มถือเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มากกว่าอุบัติเหตุชนิดอื่น ๆ ซึ่งการหกล้มอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา กระดูกแตกหัก เลือดคั่งในสมอง บางรายอาจถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิต สาเหตุมักเกิดจากการทรงตัวที่ไม่ดี ขาอ่อนแรง มีอาการหน้ามืด หรือเกิดจากการที่พื้นลื่น สะดุดสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน โดยวิธีป้องกันคือ การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง การใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ ป้องกันการเกิดอาการหน้ามืด และที่สำคัญควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม ไม่ควรมีพื้นต่างระดับมากเกินไป เพิ่มแสงสว่างภายในบ้าน ไม่วางของแกะกะ และมีแผ่นกันลื่นในห้องน้ำ
ปัญหาทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y) มักเกิดจากการสูญเสียความสามารถในการเป็นที่พึ่ง ภาวะผู้นำ การที่บุตรหลานเติบโต แยกย้ายไปมีครอบครัว ความวิตกกังวลในสภาพร่างกายที่ถดถอย เป็นต้น และด้วยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเหมือนเด็กที่ต้องการพึ่งพาอาศัย และการดูแลจากผู้อื่นอยู่เสมอปัญหาสุขภาพทางจิตของผู้สูงอายุ

ความวิตกกังวล กลัวถูกทอดทิ้ง คิดมากเรื่องในอดีต กังวลเรื่องสุขภาพร่างกายที่ถดถอยลง ไม่เหมือนเดิม
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ เอาแต่ใจ จู้จี้ขี้บ่น และมักขี้น้อยใจ
สัญญาณบ่งชี้ว่าผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้การดูแลสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด

       

ติดต่อสอบถาม
(https://gb.lnwfile.com/_/gb/_raw/vp/7g/qt.png) (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y)
(https://gb.lnwfile.com/_/gb/_raw/pb/5v/r8.png) (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y)
(https://gb.lnwfile.com/_/gb/_raw/qc/dx/oa.jpg) (https://line.me/R/ti/p/%40kea2345y)