สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
21
rtd92 ซื้อสวนยางพารา / วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:27:09 PM »
ความรู้เกี่ยวกับอาหารสัตว์
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม

ฟางข้าว

คุณสมบัติ
•   มีคุณภาพต่ำ เยื่อใยสูง มีอัตราการย่อยได้ต่ำ จึงตกค้างอยู่ในกระเพาะหมักนาน สัตว์จึงได้รับโภชนะไม่เพียงพอ ถ้าให้กินฟางอย่างเดียวน้ำหนักจะลด
•   ไม่เหมาะจะใช้ฟางข้าวเลี้ยงสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยไม่ปรับปรุงคุณภาพของฟางก่อน
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ฟางข้าวอย่างเดียวเลี้ยงโค - กระบือในช่วงแล้ง เพื่อการดำรงชีพของสัตว์เท่านั้น
•   ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยใบพืชตะกูลถั่ว หรือใบมันสำปะหลังอัตรา 0.5 - 1 กก. / ตัว / วัน เพื่อคงสภาพน้ำหนักสัตว์ในช่วงแล้ง
•   ใช้ฟางข้าวที่ราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล (อัตราที่ใช้คือ ยูเรีย : กากน้ำตาล : น้ำ : ฟาง : เท่ากับ 1.5 : 7.5 : 80 : 100 หน่วยน้ำหนักเดียวกัน) เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟาง และเพิ่มความน่ากิน
•   ใช้ในรูปของฟางปรุงแต่ง (หรือฟางหมัก) จะเพิ่มโปรตีนและการย่อยได้สูงขึ้น
ข้อแนะนำการใช้
•   การใช้ฟางข้าวราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล หรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ ควรให้อาหารข้นเสริมด้วยในกรณีสัตว์ที่ให้ผลผลิต เช่น ในโคนม ใช้ฟางปรุงแต่งร่วมกับอาหารข้นที่โปรตีนรวมไม่ต่ำกว่า 15% ยอดโภชนะย่อยได้ไม่น้อยกว่า 65% อัตราที่ให้เสริม 1 กก. ต่อการผลิตน้ำนม 2 - 2.5 กก. เพื่อให้มีส่วนสัมพันธ์กันในการใช้ประโยชน์จากอาหารได้เต็มที่
•   การใช้ฟางข้าวหรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ เป็นระยะเวลานาน ควรเสริมไวตามิน AD3E ให้ด้วยการฉีด หรือเพิ่มให้เพียงพอในกรณีให้อาหารข้นร่วมด้วยเพื่อป้องกันการขาด
ยอดอ้อย

คุณสมบัติ
•   เป็นวัสดุเหลือใช้จากไร่อ้อย ได้แก่ส่วนยอดรวมทั้งใบบริเวณยอดหรือปลายลำต้น
•   ยอดอ้อยหมัก เป็นกรรมวิธีเก็บยอดอ้อยสดไว้ใช้นอกฤดูการผลิต ในการหมักเติมวัตถุดิบเช่น กากน้ำตาล ยูเรีย หรือรำ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและเร่งขบวนการหมัก
•   ยอดอ้อยสดและหมัก มีความน่ากินสูงกว่ายอดอ้อยอบแห้ง
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบ ได้ทั้งในรูปสด หมัก หรืออบแห้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เช่น ใบพืชตะกลูถั่ว ใบมันสำปะหลัง เพราะยอดอ้อยมีคุณค่าทางอาหารต่ำ
•   ยอดอ้อยมักมีอยู่ในไร่แบบกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเก็บรวบรวมมาใช้
•   ในกรณีที่มีการเลี้ยงโค - กระบืออยู่ใกล้ ๆ พื้นที่ปลูกอ้อย ควรนำวัสดุเหลือนี้มาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ และเก็บถนอมไว้ใช้ในกรณีมีมากเหลือเฟือ ในช่วงขาดแคลนอาหารหยาบ
•   กรณีใช้กับสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง ควรเสริมอาหารข้น ที่ปรับระดับพลังงานและโปรตีนให้สูงขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
ต้นถั่วลิสง

คุณสมบัติ

ส่วนลำต้นและใบหลังเก็บเกี่ยวฝักแล้ว ยังมีสีเขียวอยู่เล็กน้อย
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบ ทั้งในรูปสด ตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย แต่ใช้ในรูปสดจะได้ประโยชน์มากกว่า และควรใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่นฟางข้าว เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์
ต้นถั่วลิส่งหลังจากเก็บเมล็ดแล้วถ้าปล่อยให้แห้งเกินไป ใบจะร่วงเหลือส่วนของลำต้นซึ่งแข็งสัตว์กินได้น้อย
ข้อแนะนำการใช้
•   ในแหล่งที่ปลูก เศษเหลือของต้นถั่วลิส่งที่มีมาดควรเก็บถนอมไว้ใช้นาน ๆ โดยการตากแห้งและรวบรวมไว้
เปลือกฝักและต้นถั่วลิส่ง

คุณสมบัติ
ส่วนของต้นใบและเปลือกฝักถั่วลิส่งหลังเก็บเกี่ยวและนวนเอาเมล็ดออกแล้ว
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบในโคกระบือ ในรูปตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย
•   ใช้เสริมร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟาง
•   เปลือกฝักและต้นถั่วที่ผ่ายการนวดเอาเมล็ดออกแล้วมักมีเศษชิ้นย่อยเล็ก ๆ เวลาสัตว์กินจะฟุ้งกระจาย สูญเสีย และกินได้น้อย

ข้อแนะนำการใช้
เช่นเดียวกับต้นถั่วลิส่ง
เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อน

คุณสมบัติ

เป็นผลพลอยได้จากการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ประกอบด้วยส่วนของเปลือกและไหม ส่วนของลำต้นและยอดอ่อน ซึ่งถอนจากต้นก่อนเก็บฝักข้าวโพด
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ในรูปของอาหารหยาบ ใช้มากในโคนม โคขุน
•   ใช้ในรูปของพืชสด ใช้แทนหญ้า หรือสลับกับหญ้า
•   ทำเป็นพืชหมัก เก็บไว้ใช้ได้นาน
•   ในส่วนของยอดข้าวโพดมีโปรตีนสูง โคชอบกินมาก แต่มีจำนวนน้อย

Ads by optAd360
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ได้โดยไม่จำกัดปริมาณ ในโคนมอาจกินได้ถึงวันละ 30 - 50 กก. / ตัว / วัน
•   การใช้เป็นอาหารโคนมขณะกำลังให้นม ควรให้อาหารข้นอย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
•   ควรกั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ หากให้กินตั้งแต่ต้นสัตว์จะเลือกกินเฉพาะใบจะเหลือต้นทิ้งจำนวนมาก

เปลือกสับปะรด

คุณสมบัติ
เป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง ประกอบด้วย ส่วนของเปลือกแกนกลาง เศษเนื้อ และจุก(ตะเกียง) รวมทั้งผลที่คัดทิ้งจากไร่และพ่อค้ารายย่อย

การนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
•   ใช้ได้ดีในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม โคเนื้อ แพะและแกะ
•   ใช้เป็นอาหารหยาบในรูปของเปลือกสับปะรด แห้ง และหมัก
•   ใช้ผสมอาหารข้นในรูปของเปลือกสับปะรดแห้ง

ข้อแนะนำในการใช้
•   เปลือกสับปะรดใหม่ ๆ โคไม่ชอบกิน ควรกองทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โคจะกินได้มากขึ้น
•   ให้กินได้เต็มที่ แต่ควรระวังเรื่องอุจาระเหลว เพราะเปลือกสับปะรดมีน้ำมาก
•   ควรใช้เปลือกสับปะรดร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือหญ้าสด เพื่อให้ได้เยื่อใยเพียงพอ
•   การให้เปลือกสับปะรดในโคนมที่กำลังให้นม ควรให้อาหารข้นย่างเพียงพอ เพื่อให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

กากมะเขือเทศ

คุณสมบัติ
•   ผลพลอยได้จากโรงงานผลิตน้ำมะเขือเทศ

การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบโดยเสริมร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น ๆ เช่น หญ้าสด หญ้าแห้ง หรือฟางข้าว เป็นต้น
•   กากมะเขือเทศตากแห้ง ใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนได้บางส่วนในสูตรอาหารข้น
•   ไม่สามารถเก็บกากมะเขือเทศไว้ได้นาน จะเน่าเสียและขึ้นราได้ง่าย

ข้อแนะนำในการใช้
•   ในแหล่งผลิตหรือใกล้โรงงานที่มีกากมะเขือเทศปริมาณมาก ควรเก็บถนอมไว้ใช้ในรูปของกากมะเขือเทศแห้ง หรือหมัก สามารถเก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง


ติดต่อสอบถาม   


22
rtd92 ซื้อสวนยางพารา / วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พลังงานในมือคุณ
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:26:09 PM »
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พลังงานในมือคุณ

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นแหล่งเก็บกักพลังงานจากธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง และสามารถนำพลังงานที่เก็บไว้มาผลิตพลังงานได้ วัสดุหรือสารอินทรีย์ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานได้ เช่น เศษไม้ ปลายไม้จากอุตสาหกรรมไม้ มูลสัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร และของเสียจากชุมชน เป็นต้น
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศไทยมีอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ ปริมาณวัสดุเหลือใช้ทาง-การเกษตรขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ แต่วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรบางประเภทยังไม่มีการนำไปใช้ เช่น ยอดและใบอ้อย ฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง ทะลายปาล์มเปล่า ทางใบและก้านปาล์ม เป็นต้น ซึ่งมีศักยภาพมากสามารถนำมาใช้ในการผลิตพลังงานได้เช่นกัน พบว่ามีปริมาณวัสดุเหลือใช้ทาง-การเกษตร (พ.ศ. 2543) มากถึง 43 ล้านตันต่อปี ที่ไม่ได้นำมาใช้ผลิตพลังงาน คิดเป็นพลังงานเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ 3 พันล้านตัน กล่าวคือประเทศมีปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในภูมิภาคเป็นจำนวนมากแต่มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงานค่อนข้างต่ำ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือวัสดุเหล่านี้เป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ไม่หมด และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

การผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ที่ผลักดันให้ใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังจะหมดไปและมีราคาสูง จากระบบรายงาน ศักยภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศไทย พ.ศ. 2552 ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยรวมของประเทศอยู่ที่ 2249.32 MW. (เมกะวัตต์) โดยในแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดให้ระยะกลาง (พ.ศ.2555 - 2559) สามารถผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชนให้ได้ 15,579 ktoe หรือ คิดเป็นร้อยละ 19.1 ของการใช้พลังงานทั้งหมด มีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้พลังงานรูปแบบชุมชนสีเขียวแบบครบวงจร ให้ชุมชนสามารถพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนในท้องถิ่นมาผลิตเป็นพลังงานให้สอดคล้องกับความต้องการในท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาตนเองด้านพลังงานทดแทนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประเทศไทยนั้นนับได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมาก แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมักถูกทิ้งไว้ในไร่นาหรือถูกเผาทิ้
ง รวมไปถึงของเสียจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จากการประมาณการพบว่า ประเทศไทยจะมีศักยภาพในปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากกว่า 20 ล้านตันน้ำมันดิบ มากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้น้ำมันในปัจจุบัน การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อให้มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นหรือการใช้พลังงานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนั้นนับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
ฟางข้าว

คุณสมบัติ
•   มีคุณภาพต่ำ เยื่อใยสูง มีอัตราการย่อยได้ต่ำ จึงตกค้างอยู่ในกระเพาะหมักนาน สัตว์จึงได้รับโภชนะไม่เพียงพอ ถ้าให้กินฟางอย่างเดียวน้ำหนักจะลด
•   ไม่เหมาะจะใช้ฟางข้าวเลี้ยงสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยไม่ปรับปรุงคุณภาพของฟางก่อน
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ฟางข้าวอย่างเดียวเลี้ยงโค - กระบือในช่วงแล้ง เพื่อการดำรงชีพของสัตว์เท่านั้น
•   ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยใบพืชตะกูลถั่ว หรือใบมันสำปะหลังอัตรา 0.5 - 1 กก. / ตัว / วัน เพื่อคงสภาพน้ำหนักสัตว์ในช่วงแล้ง
•   ใช้ฟางข้าวที่ราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล (อัตราที่ใช้คือ ยูเรีย : กากน้ำตาล : น้ำ : ฟาง : เท่ากับ 1.5 : 7.5 : 80 : 100 หน่วยน้ำหนักเดียวกัน) เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟาง และเพิ่มความน่ากิน
•   ใช้ในรูปของฟางปรุงแต่ง (หรือฟางหมัก) จะเพิ่มโปรตีนและการย่อยได้สูงขึ้น
ข้อแนะนำการใช้
•   การใช้ฟางข้าวราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล หรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ ควรให้อาหารข้นเสริมด้วยในกรณีสัตว์ที่ให้ผลผลิต เช่น ในโคนม ใช้ฟางปรุงแต่งร่วมกับอาหารข้นที่โปรตีนรวมไม่ต่ำกว่า 15% ยอดโภชนะย่อยได้ไม่น้อยกว่า 65% อัตราที่ให้เสริม 1 กก. ต่อการผลิตน้ำนม 2 - 2.5 กก. เพื่อให้มีส่วนสัมพันธ์กันในการใช้ประโยชน์จากอาหารได้เต็มที่
•   การใช้ฟางข้าวหรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ เป็นระยะเวลานาน ควรเสริมไวตามิน AD3E ให้ด้วยการฉีด หรือเพิ่มให้เพียงพอในกรณีให้อาหารข้นร่วมด้วยเพื่อป้องกันการขาด
ยอดอ้อย

คุณสมบัติ
•   เป็นวัสดุเหลือใช้จากไร่อ้อย ได้แก่ส่วนยอดรวมทั้งใบบริเวณยอดหรือปลายลำต้น
•   ยอดอ้อยหมัก เป็นกรรมวิธีเก็บยอดอ้อยสดไว้ใช้นอกฤดูการผลิต ในการหมักเติมวัตถุดิบเช่น กากน้ำตาล ยูเรีย หรือรำ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและเร่งขบวนการหมัก
•   ยอดอ้อยสดและหมัก มีความน่ากินสูงกว่ายอดอ้อยอบแห้ง
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบ ได้ทั้งในรูปสด หมัก หรืออบแห้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เช่น ใบพืชตะกลูถั่ว ใบมันสำปะหลัง เพราะยอดอ้อยมีคุณค่าทางอาหารต่ำ
•   ยอดอ้อยมักมีอยู่ในไร่แบบกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเก็บรวบรวมมาใช้
•   ในกรณีที่มีการเลี้ยงโค - กระบืออยู่ใกล้ ๆ พื้นที่ปลูกอ้อย ควรนำวัสดุเหลือนี้มาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ และเก็บถนอมไว้ใช้ในกรณีมีมากเหลือเฟือ ในช่วงขาดแคลนอาหารหยาบ
•   กรณีใช้กับสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง ควรเสริมอาหารข้น ที่ปรับระดับพลังงานและโปรตีนให้สูงขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
ต้นถั่วลิสง

คุณสมบัติ

ส่วนลำต้นและใบหลังเก็บเกี่ยวฝักแล้ว ยังมีสีเขียวอยู่เล็กน้อย
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบ ทั้งในรูปสด ตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย แต่ใช้ในรูปสดจะได้ประโยชน์มากกว่า และควรใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่นฟางข้าว เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์
ต้นถั่วลิส่งหลังจากเก็บเมล็ดแล้วถ้าปล่อยให้แห้งเกินไป ใบจะร่วงเหลือส่วนของลำต้นซึ่งแข็งสัตว์กินได้น้อย
ข้อแนะนำการใช้
•   ในแหล่งที่ปลูก เศษเหลือของต้นถั่วลิส่งที่มีมาดควรเก็บถนอมไว้ใช้นาน ๆ โดยการตากแห้งและรวบรวมไว้
เปลือกฝักและต้นถั่วลิส่ง

คุณสมบัติ
ส่วนของต้นใบและเปลือกฝักถั่วลิส่งหลังเก็บเกี่ยวและนวนเอาเมล็ดออกแล้ว
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบในโคกระบือ ในรูปตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย
•   ใช้เสริมร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟาง
•   เปลือกฝักและต้นถั่วที่ผ่ายการนวดเอาเมล็ดออกแล้วมักมีเศษชิ้นย่อยเล็ก ๆ เวลาสัตว์กินจะฟุ้งกระจาย สูญเสีย และกินได้น้อย
ข้อแนะนำการใช้

เช่นเดียวกับต้นถั่วลิส่ง
เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อน

คุณสมบัติ

เป็นผลพลอยได้จากการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ประกอบด้วยส่วนของเปลือกและไหม ส่วนของลำต้นและยอดอ่อน ซึ่งถอนจากต้นก่อนเก็บฝักข้าวโพด
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ในรูปของอาหารหยาบ ใช้มากในโคนม โคขุน
•   ใช้ในรูปของพืชสด ใช้แทนหญ้า หรือสลับกับหญ้า
•   ทำเป็นพืชหมัก เก็บไว้ใช้ได้นาน
•   ในส่วนของยอดข้าวโพดมีโปรตีนสูง โคชอบกินมาก แต่มีจำนวนน้อย
Ads by optAd360
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ได้โดยไม่จำกัดปริมาณ ในโคนมอาจกินได้ถึงวันละ 30 - 50 กก. / ตัว / วัน
•   การใช้เป็นอาหารโคนมขณะกำลังให้นม ควรให้อาหารข้นอย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
•   ควรกั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ หากให้กินตั้งแต่ต้นสัตว์จะเลือกกินเฉพาะใบจะเหลือต้นทิ้งจำนวนมาก
เปลือกสับปะรด

คุณสมบัติ

เป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง ประกอบด้วย ส่วนของเปลือกแกนกลาง เศษเนื้อ และจุก(ตะเกียง) รวมทั้งผลที่คัดทิ้งจากไร่และพ่อค้ารายย่อย
การนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
•   ใช้ได้ดีในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม โคเนื้อ แพะและแกะ
•   ใช้เป็นอาหารหยาบในรูปของเปลือกสับปะรด แห้ง และหมัก
•   ใช้ผสมอาหารข้นในรูปของเปลือกสับปะรดแห้ง
ข้อแนะนำในการใช้
•   เปลือกสับปะรดใหม่ ๆ โคไม่ชอบกิน ควรกองทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โคจะกินได้มากขึ้น
•   ให้กินได้เต็มที่ แต่ควรระวังเรื่องอุจาระเหลว เพราะเปลือกสับปะรดมีน้ำมาก
•   ควรใช้เปลือกสับปะรดร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือหญ้าสด เพื่อให้ได้เยื่อใยเพียงพอ
•   การให้เปลือกสับปะรดในโคนมที่กำลังให้นม ควรให้อาหารข้นย่างเพียงพอ เพื่อให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
กากมะเขือเทศ

คุณสมบัติ
•   ผลพลอยได้จากโรงงานผลิตน้ำมะเขือเทศ
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบโดยเสริมร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น ๆ เช่น หญ้าสด หญ้าแห้ง หรือฟางข้าว เป็นต้น
•   กากมะเขือเทศตากแห้ง ใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนได้บางส่วนในสูตรอาหารข้น
•   ไม่สามารถเก็บกากมะเขือเทศไว้ได้นาน จะเน่าเสียและขึ้นราได้ง่าย
ข้อแนะนำในการใช้
•   ในแหล่งผลิตหรือใกล้โรงงานที่มีกากมะเขือเทศปริมาณมาก ควรเก็บถนอมไว้ใช้ในรูปของกากมะเขือเทศแห้ง หรือหมัก สามารถเก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง


ติดต่อสอบถาม   


23
เกษตรฯ รวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติ ถวายในหลวง ร.10

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสำคัญนี้

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล ซึ่งจากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาวิกฤตหมอกควันปกคลุม และเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การเผาในพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง กล่าวคือ การเผาในพื้นที่การเกษตรเป็นการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้น จึงได้สนับสนุนการนำเศษวัสดุการเกษตรมาทำประโยชน์ เพิ่มมูลค่า ทดแทนการเผา

รูปแบบการดำเนินงานได้ใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ 882 แห่ง ร่วมกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ซึ่งมีผู้นำเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ มาดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร จำนวนไม่น้อยกว่า 26,460 ราย โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ประเทศไทย มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากถึง 43 ล้านตัน ต่อปี แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย และได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกหรือถูกเผาทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษหมอกควัน กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่ ปี 2557 และสำหรับในปี 2562 ได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2562 – พฤษภาคม 2563 โดยรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ผ่านกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรและการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายเป็นพลังงานชีวมวลให้แก่ผู้รับซื้อผ่านการเชื่อมโยงตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่า ซึ่งเกษตรกรจะมี 8 ทางเลือก ในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

ทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่า ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้รับผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเพื่อใช้เลี้ยงโค ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งหรืออัดก้อน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ทำอาหารในครัวเรือน ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด นำมาผลิตกระดาษ หรือของประดับ ทางเลือกที่ 6 นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้าแห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นพืช เก็บรักษาความชื้น “อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย” ทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูกทดแทนการเผา ซึ่งจะช่วยลดการเผา และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และทางเลือกที่ 8 จำหน่ายวัสดุเหลือใช้การเกษต
ร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้กากปาล์ม กากมัน ซัง ข้าวโพด เศษไม้ ขยะ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล (Biomass)

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับ บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) นำร่องดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม, สารภี, ดอยหล่อ, เชียงดาว และดอยเต่า

โดยพิจารณาศักยภาพความพร้อมของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และเครือข่ายว่ามีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ได้ และมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาเป็นปัจจัยการผลิตพลังงานชีวมวล และพื้นที่ต่อไปที่คาดว่าจะมีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเป็นพลังงานชีวมวลของ ศพก. อีกหนึ่งแห่ง คือ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของเศษวัสดุทางการเกษตร ให้ความรู้ ความเข้าใจ กับชุมชนถึงประโยชน์จากเถ้า จากโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกรในการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

พร้อมทั้งการนำเถ้าชีวมวลไปพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการปรับปรุงดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ในการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชนต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตร เชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าว จะเป็นโครงการดีๆ อีกหนึ่งโครงการที่มีส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน เป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ลดพิษภัยสิ่งแวดล้อม ถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป

Main Idea
 
•   มีการคาดการณ์ว่าในปี 2579 การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตร/วัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตร/วัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตร/วัน)
 
•   แต่การปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกันกับพืชอาหารหลัก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อาจทำให้กลไกตลาดรวน รวมถึงกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคตได้
 
•   หนึ่งในหนทางแก้ไขปัญหาสู่ความยั่งยืน คือ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ผลิตทดแทน ซึ่งหากสามารถจัดเก็บเข้าระบบได้ อาจสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจของประเทศได้กว่าแสนล้านบาททีเดียว

                     ประเทศไทยเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศกสิกรรม มีการเพาะปลูกพืชผลต่างๆ อยู่มากมาย ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีการนำไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ซึ่งหากสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง และพัฒนาโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้กว่านับแสนล้านบาททีเดียว รวมถึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนอีกด้วย
 
     จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) โดยคาดว่าในปี 2579 จะเพิ่มการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตรต่อวัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 คือ 6.1 ล้านลิตรต่อวัน สาเหตุพื้นฐานมาจากความกังวลต่อการขาดแคลนและต้องการลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล (Fossil Based) เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาน้ำมันทดแทนอย่างยั่งยืน เพราะพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ และเชื่อว่าเป็นทางออกที่ให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

     แต่อย่างไรก็ดี การนำพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบจำพวกเดียวกับพืชอาหารหลักมาทำ อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ย่อมเกิดปัญหาแฝงตามมาทั้งในเรื่องของกลไกตลาด เช่น เกษตรกรอาจหันมาปลูกพืชพลังงานมากกว่าพืชอาหาร เพราะได้ราคาดีกว่า หรือหากขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปให้มากขึ้นอีกก็อาจบุกรุกพื้นที่ป่า มีการเผาเรือกสวนไร่นา เพื่อเตรียมแปลงเพาะปลูก ฯลฯ รวมไปถึงการขาดแคลนหรือแย่งวัตถุดิบเกิดขึ้น เนื่องจากมีความต้องการจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ จนท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต (Food Security) ได้
 
เศษเหลือใช้ทางเกษตร ทรัพย์ในดิน ทางออกพลังงานยั่งยืน

     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีศักยภาพสามารถปลูกพืชได้หลากหลาย การแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นที่ไม่ได้มาจากพืชอาหารนั้นยังสามารถทำได้ รวมถึงเศษวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass) ก็มีจำนวนค่อนข้างมาก อาทิ เศษไม้ยางพารา ทะลาย/กะลาปาล์ม น้ำมัน/กาบ/กะลามะพร้าว แกลบ ฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง โดยสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าทิ้งหรือทำลาย รวมถึงการนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ด้วย

     มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าจากปริมาณเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือทั้งหมดสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจได้ โดยคำนวณจากความสามารถในการเปลี่ยนเศษเหลือใช้เป็นค่าพลังงาน เพื่อเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ พบว่าเศษเหลือใช้จากการเกษตรคงเหลือทั้งหมด สามารถผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจนเกิดมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงกว่าแสนล้านบาทต่อปี

     โดยในทุกๆ 1 ตันเศษเหลือใช้ทางการเกษตรจะมีมูลค่าเฉลี่ย 2 บาท (เทียบมูลค่าน้ำมันดิบ) ทั้งนี้ในทางทฤษฎีแล้วการใช้วัตถุดิบเศษเหลือจากการเกษตรนั้น สามารถทดแทนปริมาณการผลิตของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด เนื่องจากสามารถผลิตได้เฉลี่ยถึง 33 ล้านลิตรต่อวัน (ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องสามารถจัดเก็บเศษเหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมด โดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารในปัจจุบัน ซึ่งสามารถผลิตได้เพียง 7- 8 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
 
เริ่มต้นจัดเก็บดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
               
     ที่กล่าวมานั้นเป็นการคำนวณเชิงทฤษฏี ในการปฏิบัติจริงต้องดูปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันเศษเหลือใช้จากการเกษตรนั้นกระจายอยู่ในหลายแห่งทั่วประเทศ และยังขาดระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเริ่มแรกภาครัฐและเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อตระหนักถึงคุณค่าเศษเหลือใช้แก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง รวมถึงช่วยออกแบบวางระบบรวบรวม ออกแบบการจัดเก็บที่ทำให้อยู่ในคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ และระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือในฝั่งของอุตสาหกรรมการผลิตให้เกิดขึ้นได้จริงจากภาครัฐด้วย เพราะต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ แต่หากสามารถทำได้ก็จะส่งผลดีระยะยาวต่อประเทศได้

     ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น ในระยะเริ่มแรกอาจจะต้องพึ่งพาการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรวบรวมเศษเหลือใช้ให้เป็นระบบ และการลงทุนในอุตสาหกรรมผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้น เนื่องจากพิจารณาแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างมูลค่าให้สิ่งเหลือใช้กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงแล้ว (High Value Products: HVP) เช่น การผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจากเศษเหลือใช้จากการเกษตร ที่มีมูลค่าได้ถึงแสนกว่าล้านบาทต่อปี

     แนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น นอกจากอาจช่วยแก้ปัญหาทดแทนพืชพลังงานได้แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่ายเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่าอื่นๆ ด้วย เช่น 1.การช่วยลดภาระในการกำจัดจากการไปฝังกลบหรือเผาทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกร เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 2.สร้างรายได้และอาชีพในท้องถิ่น เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ เช่น จ้างคนเก็บและรวบรวมเศษเหลือใช้ การจ้างงานขนส่ง 3. ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม 4.ลดการทำงานของภาครัฐในการออกนโยบายแก้ไขปัญหาเมื่อพืชผลล้นตลาด และ 5.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน

     เห็นไหมละว่า แค่ลองเปลี่ยนความคิด มองหาโอกาสจากสิ่งที่มีอยู่ ถึงแม้เป็นเพียงเศษวัสดุเหลือใช้ ก็อาจสร้างประโยชน์มหาศาลให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน


ติดต่อสอบถาม   


24
เกษตรร่วมแก้ไขสถานการณ์หมอกควันต่อเนื่อง รณรงค์เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากไร่นา ฟื้นฟูดิน ช่วยสร้างมูลค่า ลดมลพิษ

1. เกษตรร่วมแก้ไขสถานการณ์หมอกควันต่อเนื่อง รณรงค์เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากไร่นา ฟื้นฟูดิน ช่วยสร้างมูลค่า ลดมลพิษ

เกษตรร่วมแก้ไขสถานการณ์หมอกควันต่อเนื่อง รณรงค์เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากไร่นา ฟื้นฟูดิน ช่วยสร้างมูลค่า ลดมลพิษ

ปัญหาหมอกควันปกคลุมและเกิดมลพิษทางอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี สาเหตุหลักมาจากการเผาในที่โล่งทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยมากขึ้นในการบำรุงต้นพืช ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่ได้ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา รวมทั้งสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังเข้าร่วมการประชุมมอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ ปี 2563 วันที่ 10 ตุลาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักและห่วงใยสุขภาพของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาหมอกควัน จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยเน้นกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ส่งเสริมให้มีจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผาทำลาย เช่น การใช้เครื่องสับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นวัสดุคลุมหน้าดิน การทำปุ๋ยหมักน้ำหมักเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน การไถกลบตอซัง การจัดเก็บเศษวัสดุฟางข้าวมาเพาะเห็ดฟาง การอัดฟางก้อน การหมักฟางเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากเดิมมุ่งสู่การทำการเกษตรปลอดการเผาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการทำการเกษตรปลอดการเผา และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเ
กษตรกรเพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา การจัดกิจกรรมนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อแก้ปัญหาการเผาบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในการดำเนินการร่วมกันของเกษตรกร และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ และสำรวจข้อมูลพื้นที่การเกษตรในช่วงวิกฤตหมอกควัน

โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือที่มีปัญหารุนแรง ประกอบด้วย จังหวัดน่าน เชียงราย ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน และจังหวัดอุตรดิตถ์ และยังได้ขยายพื้นที่ดำเนินการไปยังอีก 16 จังหวัดที่มีพื้นที่การเผาสูง ประกอบด้วย กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครนายก นครพนม นครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด ลพบุรี สกลนคร และจังหวัดอุดรธานี กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การสร้างวิทยากรเกษตรปลอดการเผา การสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา การสร้างสัตยาบันปลอดการเผาของชุมชน – สร้างจิตสำนึก การสร้างระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุไฟไหม้ การจัดระเบียบการเผาในพื้นที่ช่วงวิกฤติหมอกควัน ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ภายใต้มาตรการ 60/100 วัน ห้ามเผา

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานภาพรวมของโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ตั้งแต่ปี ‪2557 – 2562‬ มีการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรเพื่อเป็นเกษตรกรปลอดการเผา ในพื้นที่รวม 1,374 ตำบล เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้ รวม 64,250 ราย สร้างวิทยากรเกษตรปลอดการเผา รวม 7,710 ราย พื้นที่เกษตรปลอดการเผา รวม 1,374,000 ไร่ และจำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ที่เป็นพื้นที่เกษตรลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการจากจำนวน 614 จุด ในปี 2557 เหลือ 313 จุด ในปี 2562 สำหรับตัวอย่างพื้นที่นำร่องชุมชนเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่การเกษตรอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และน่าน จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ลดการเผาด้วยการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตปุ๋ยหมัก ปริมาณ 350 ตัน ราคาขายกิโลกรัมละ 3 บาท รายได้ 1,050,000 บาท 2) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ปริมาณ 150 ตัน ราคาขายกิโลกรัมละ 20 บาท รายได้ 3,000,000 บาท 3) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เพาะเห็ดโคนน้อยจากฟางข้าว จำนวน 3 โรงเรือน
ใช้ฟางข้าว 4,000 กิโลกรัมต่อปี ผลิตเห็ดได้ 750 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 160 บาท รายได้ 120,000 บาท และ 4) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ผลิตฟางอัดก้อนจำหน่าย (ได้รับการสนับสนุนเครื่องอัดฟางจากภาครัฐ) ปริมาณ 20,000 ก้อน ราคาขายก้อนละ 30 บาท เมื่อหักต้นทุนแล้ว มีรายได้ 150,000 บาท และผลิตปุ๋ยหมักจากซังข้าวโพด ปริมาณ 25,000 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 5 บาท มีรายได้ 125,000 บาท รวมทั้ง 2 กิจกรรม มีรายได้รวม 275,000 บาท

โดยในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรมีแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ภายใต้แผนงานบูรณาการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเจ้าภาพหลัก โดยมีเป้าหมายจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 16,800 ราย สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร 210 ชุมชน ประกอบด้วย 130 ตำบลใน 10 จังหวัดภาคเหนือที่มีประสบปัญหารุนแรง 68 ศพก. ในพื้นที่ 26 จังหวัด ที่มีพื้นที่การเผาสูง และ 12 ศพก. ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ใหม่)‬‬

Main Idea
 
•   มีการคาดการณ์ว่าในปี 2579 การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตร/วัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตร/วัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตร/วัน)
 
•   แต่การปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกันกับพืชอาหารหลัก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อาจทำให้กลไกตลาดรวน รวมถึงกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคตได้
 
•   หนึ่งในหนทางแก้ไขปัญหาสู่ความยั่งยืน คือ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ผลิตทดแทน ซึ่งหากสามารถจัดเก็บเข้าระบบได้ อาจสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจของประเทศได้กว่าแสนล้านบาทที 

  ประเทศไทยเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศกสิกรรม มีการเพาะปลูกพืชผลต่างๆ อยู่มากมาย ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีการนำไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ซึ่งหากสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง และพัฒนาโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้กว่านับแสนล้านบาททีเดียว รวมถึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนอีกด้วย
 
     จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) โดยคาดว่าในปี 2579 จะเพิ่มการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตรต่อวัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 คือ 6.1 ล้านลิตรต่อวัน สาเหตุพื้นฐานมาจากความกังวลต่อการขาดแคลนและต้องการลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล (Fossil Based) เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาน้ำมันทดแทนอย่างยั่งยืน เพราะพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ และเชื่อว่าเป็นทางออกที่ให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

     แต่อย่างไรก็ดี การนำพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบจำพวกเดียวกับพืชอาหารหลักมาทำ อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ย่อมเกิดปัญหาแฝงตามมาทั้งในเรื่องของกลไกตลาด เช่น เกษตรกรอาจหันมาปลูกพืชพลังงานมากกว่าพืชอาหาร เพราะได้ราคาดีกว่า หรือหากขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปให้มากขึ้นอีกก็อาจบุกรุกพื้นที่ป่า มีการเผาเรือกสวนไร่นา เพื่อเตรียมแปลงเพาะปลูก ฯลฯ รวมไปถึงการขาดแคลนหรือแย่งวัตถุดิบเกิดขึ้น เนื่องจากมีความต้องการจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ จนท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต (Food Security) ได้
 
เศษเหลือใช้ทางเกษตร ทรัพย์ในดิน ทางออกพลังงานยั่งยืน

     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีศักยภาพสามารถปลูกพืชได้หลากหลาย การแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นที่ไม่ได้มาจากพืชอาหารนั้นยังสามารถทำได้ รวมถึงเศษวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass) ก็มีจำนวนค่อนข้างมาก อาทิ เศษไม้ยางพารา ทะลาย/กะลาปาล์ม น้ำมัน/กาบ/กะลามะพร้าว แกลบ ฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง โดยสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าทิ้งหรือทำลาย รวมถึงการนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ด้วย

     มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าจากปริมาณเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือทั้งหมดสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจได้ โดยคำนวณจากความสามารถในการเปลี่ยนเศษเหลือใช้เป็นค่าพลังงาน เพื่อเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ พบว่าเศษเหลือใช้จากการเกษตรคงเหลือทั้งหมด สามารถผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจนเกิดมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงกว่าแสนล้านบาทต่อปี

    โดยในทุกๆ 1 ตันเศษเหลือใช้ทางการเกษตรจะมีมูลค่าเฉลี่ย 2 บาท (เทียบมูลค่าน้ำมันดิบ) ทั้งนี้ในทางทฤษฎีแล้วการใช้วัตถุดิบเศษเหลือจากการเกษตรนั้น สามารถทดแทนปริมาณการผลิตของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด เนื่องจากสามารถผลิตได้เฉลี่ยถึง 33 ล้านลิตรต่อวัน (ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องสามารถจัดเก็บเศษเหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมด โดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารในปัจจุบัน ซึ่งสามารถผลิตได้เพียง 7- 8 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
 
เริ่มต้นจัดเก็บดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
               
     ที่กล่าวมานั้นเป็นการคำนวณเชิงทฤษฏี ในการปฏิบัติจริงต้องดูปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันเศษเหลือใช้จากการเกษตรนั้นกระจายอยู่ในหลายแห่งทั่วประเทศ และยังขาดระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเริ่มแรกภาครัฐและเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อตระหนักถึงคุณค่าเศษเหลือใช้แก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง รวมถึงช่วยออกแบบวางระบบรวบรวม ออกแบบการจัดเก็บที่ทำให้อยู่ในคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ และระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือในฝั่งของอุตสาหกรรมการผลิตให้เกิดขึ้นได้จริงจากภาครัฐด้วย เพราะต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ แต่หากสามารถทำได้ก็จะส่งผลดีระยะยาวต่อประเทศได้

     ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น ในระยะเริ่มแรกอาจจะต้องพึ่งพาการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรวบรวมเศษเหลือใช้ให้เป็นระบบ และการลงทุนในอุตสาหกรรมผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้น เนื่องจากพิจารณาแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างมูลค่าให้สิ่งเหลือใช้กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงแล้ว (High Value Products: HVP) เช่น การผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจากเศษเหลือใช้จากการเกษตร ที่มีมูลค่าได้ถึงแสนกว่าล้านบาทต่อปี

     แนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น นอกจากอาจช่วยแก้ปัญหาทดแทนพืชพลังงานได้แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่ายเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่าอื่นๆ ด้วย เช่น 1.การช่วยลดภาระในการกำจัดจากการไปฝังกลบหรือเผาทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกร เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 2.สร้างรายได้และอาชีพในท้องถิ่น เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ เช่น จ้างคนเก็บและรวบรวมเศษเหลือใช้ การจ้างงานขนส่ง 3. ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม 4.ลดการทำงานของภาครัฐในการออกนโยบายแก้ไขปัญหาเมื่อพืชผลล้นตลาด และ 5.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน


ติดต่อสอบถาม   


25
แนะ 8 ทางเลือกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่า

กรมส่งเสริมการเกษตร ผุด“โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 หวังจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล แนะ 8 ทางเลือกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่าได้แน่นอน
         นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมส่งเสริมการเกษตร กำลังดำเนิน “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล

        เนื่องจากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาวิกฤตหมอกควันปกคลุม และเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การเผาในพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง กล่าวคือ การเผาในพื้นที่การเกษตรเป็นการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้น จึงได้สนับสนุนการนำเศษวัสดุการเกษตรมาทำประโยชน์ เพิ่มมูลค่า ทดแทนการเผาขึ้นมา

         รูปแบบการดำเนินงานได้ใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ 882 แห่ง ร่วมกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ซึ่งมีผู้นำเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ มาดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่ เกษตรกร จำนวนไม่น้อยกว่า 26,460 ราย โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน
          ทั้งนี้ ประเทศไทยมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากถึง 43 ล้านตันต่อปี แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย และได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกหรือถูกเผาทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษหมอกควัน กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557

           สำหรับในปี 2562 ได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2562 – พฤษภาคม 2563 โดยรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ผ่านกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรและการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายเป็นพลังงานชีวมวลให้แก่ผู้รับซื้อผ่านการเชื่อมโยงตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่า ซึ่งเกษตรกรจะมี 8 ทางเลือก ในการดำเนินกิจกรรม คือทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่า

ทางเลือกที่ 1 การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้รับผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น

ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่น ๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม,

ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเพื่อใช้เลี้ยงโค,

ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งหรืออัดก้อน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ทำอาหารในครัวเรือน ,

ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด นำมาผลิตกระดาษ หรือของประดับ

ทางเลือกที่ 6 นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้าแห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นพืช เก็บรักษาความชื้น “อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย”,

ทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูกทดแทนการเผา ซึ่งจะช่วยลดการเผา และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

ทางเลือกที่ 8 จำหน่ายวัสดุเหลือใช้การเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้กากปาล์ม กากมัน ซัง ข้าวโพด เศษไม้ ขยะ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล (Biomass)
   
        ล่าสุดทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่าง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับ บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) นำร่องดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม, สารภี, ดอยหล่อ, เชียงดาว และดอยเต่า โดยพิจารณาศักยภาพความพร้อมของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และเครือข่ายว่ามีความพร้อม ความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ได้ แต่มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาเป็นปัจจัยการผลิตพลังงานชีวมวล ได้ คาดว่าจะมีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเป็นพลังงานชีวมวลของ ศพก

          อีกหนึ่งแห่ง คือ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของเศษวัสดุทางการเกษตร ให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนถึงประโยชน์จากเถ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกรในการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งการนำเถ้าชีวมวลไปพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการปรับปรุงดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ในการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชนต่อไป
 
          ทางกรมส่งเสริมการเกษตร เชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการดี ๆ อีกหนึ่งโครงการที่มีส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน เป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ลดพิษภัยสิ่งแวดล้อม ถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป


ติดต่อสอบถาม   


26
rtd92 ซื้อสวนยางพารา / แนวทางบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:22:27 PM »
โครงการการศึกษาแนวทางบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อ ใช้เป็นเชื้อเพลิงและลดการเกิดหมอกควัน

รายละเอียด:
จากวิกฤติราคาพลังงานปรับตัวขึ้นลงประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานเป็นมูลค่าเกือบหนึ่งล้านล้านบาทในระยะเวลาปีกว่าที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบตลอดจนประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคานํ้ามันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นกระทรวงพลังงานเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดหาแหล่งพลังงานที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศจึงมีนโยบายจะพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศด้วยการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551 –2565) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ของแผนเพื่อให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเป็นพลังงานหลักของประเทศแทนการนำเข้านํ้ามันเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงานให้ประเทศ

อย่างไรก็ดี ปัญหาอุปสรรคของการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเอทานอลไบโอดีเซล นํ้ามันชีวภาพ หรือการผลิตไฟฟ้าจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ ปัญหาด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง กากนํ้าตาล สำหรับการผลิตเอทานอล หรือนํ้ามันปาล์ม นํ้ามันสบู่ดำ นํ้ามันพืชใช้แล้ว สำหรับการผลิตไบโอดีเซล หรือ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา ฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง สำหรับการผลิตนํ้ามันชีวภาพ ซึ่งแนวทางการแก้ไขจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการปลูกที่มีประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตของพืชที่มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน คือ มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มนํ้ามัน ยางพารา และ การส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน
ในการศึกษาในงานวิจัยนี้จะเน้นการศึกษาในลักษณะประเมินเทคโนโลยี (Technology Assessment) ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรวบรวมวัสดุเหลือทิ้งจากการทำเกษตร (ซังข้าวโพด, ต้นข้าวโพด, เปลือกข้าวโพด ยอดอ้อย และใบอ้อย) ตลอดจนเทคโนโลยีการแปรรูปให้เหมาะสมเพื่อการขนส่งเข้าโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบการขนส่ง ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ในการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารสัตว์
                        อาหารสัตว์นับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งในขบวนการผลิตสัตว์ ถ้าผู้เลี้ยงสามารถลดต้นทุนด้านนี้ลงมากเท่าไร ก็มีโอกาสเพิ่มรายได้และผลตอบแทนมากเท่านั้น ปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์ในบางฤดูกาล  เช่น ช่วงหน้าแล้ง ยังคงเป็นปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ โดยเฉพาะการขาดแคลนแหล่งอาหารหยาบสำหรับโค-กระบือ

                        ปกติเกษตรกรสามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรได้หลายชนิดและเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลพลอยได้ต่าง ๆ จากการเกษตรและเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย ที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อย่างดี วัสดุเหลือใช้ฯเหล่านี้ บางชนิดมีคุณค่าทางโภชนะสูง พร้อมที่จะนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ แต่บางชนิดอาจมีความจำเป็นต้องแปรรูป จำกัดปริมาณการใช้ ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพก่อน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สูงขึ้น ถ้าสามารถจัดหาได้ง่าย สะดวก และมีราคาถูกด้วย ก็จะเป็นการลดต้นทุนการผลิตสัตว์ที่ดีทางหนึ่ง ในที่นี้จะกล่าวถึงวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สำคัญบางชนิด ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก วิธีการปรับปรุงคุณภาพ  ตลอดจนคำแนะนำในการเก็บถนอมรวบรวม  และการนำไปใช้ต่อไป

การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร
การจัดการผลพลอยได้ - สิ่งเหลือทิ้งและสิ่งปฏิกูลทางการเกษตร
ความหมายของคำทั้งสองคำ
        สิ่งเหลือทิ้ง หมายถึง วัตถุที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของไม่ใช้ประโยชน์จากวัตถุนั้นอีกต่อไปในเวลาข้างหน้า เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กิ่งไม้ กระดูกสัตว์ ฯ
        สิ่งปฏิกูล หมายถึง  วัตถุที่เป็นของเน่าเสียซึ่งส่วนมากจะเป็นสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง และน้ำโสโครก ที่เกิดจากการชำระล้างต่างๆ
เหตุผลที่ใช้อธิบายถึงการจัดการ
        1.เพราะปัจจุบันสังคมมนุษย์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุลธรรมชาติ
        2.เพราะเกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง จนส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคน
        3.เพราะต้องการลดความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์แบบไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาและภูมิภาคบนโลกใบนี้
วิธีการที่นำมาใช้เพื่อการจัดการสิ่งเหลือทิ้งหรือสิ่งปฏิกูล
        1.การ RECYCLE   (reuse-repair-reform) เป็นวิธีการที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบันนี้
                หมายถึง การนำวัสดุที่ใช้แล้ว หรือ วัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุที่ต้องทิ้ง หรือสิ่งที่ต้องทำลายด้วยวิธีการต่างๆ มาแปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพใหม่(reform) หรือนำมาซ่อมแซม(repair) แล้วนำกลับมาใช้(reuse)ประโยชน์อีก ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ ก็ได้
กระบวนการของการ รีไซเคิล (RECYCLE) มี 4 ขั้นตอน
                1. การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุทุกชนิด
                2. แยกชนิด / ประเภทของวัสดุ วัตถุที่รวบรวมได้
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปผ่านกระบวนการต่างๆ/กรรมวิธีต่างๆ ตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆเช่น หลอม กลั่น กรอง หมัก ระเหยน้ำ บีบอัด เผาไหม้
                4.นำผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการต่างๆ ไปใช้ประโยชน์
ตัวอย่างของการ รีไซเคิล (RECYCLE)
                1.การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
                2.การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)จากมูลสัตว์และเศษอาหาร
                3.การผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชไร่ที่เหลือทิ้ง
                4.การผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
                5.การผลิตแผ่นไม้จากเศษไม้ชนิดต่างๆ
                6.การผลิตแท่งเพาะชำต้นไม้จากขุยมะพร้าว
                7.การใช้วัสดุเหลือใช้จากพืชมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆ
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
            ชีวมวล หมายถึง สารอินทรีย์ทุกชนิดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต
         1.เก็บรวมรวมชีวมวลชนิดต่างๆให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ เครื่องผลิตไฟฟ้า ที่มีขนาดเหมาะสมกับเชื้อเพลิง
         3.ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับการเผาไหม้ให้ความร้อนกับน้ำ
         4.นำไอน้ำที่ได้ไปหมุนไดนาโม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)
                กาซชีวภาพ หมายถึง กาซที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ทุกชนิดโดยจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีกาซออกซิเจน (anarobe) เช่น กาซมีเทน กาซคาร์บอนไดออกไซด์ การไนโตรเจน การไฮโดรเจนซัลไฟด์ บรรดากาซที่เกิดขึ้น กาซมีเทนซึ่งติดไฟได้ จะมีปริมาณมากที่สุด จึงนำมาใช้เป็นกาซหุงต้มได้
         1.รวมรวมสารอินทรีย์ชนิดต่างๆที่ย่อยสลายได้ง่ายให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ ถังหมัก (ถังปฏิกรณ์)และถังเก็บกาซ (สำรองกาซก่อนการนำไปใช้)
         3.หมักอินทรีย์สารที่เก็บรวบรวมได้ในถังหมัก
         4.ได้กาซจากกระบวนการหมักนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้ม / เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ในฟาร์ม
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้ง
            การหมักธรรมชาติ
         1.เก็บรวบรวมเศษซากพืชหรือวัสดุต่างๆที่ได้จากพืช นำมากองรวมกัน ให้มีปริมาณที่มากพอสมควร
         2.รดน้ำให้กองวัสดุมีความชื้นที่พอเหมาะพอดี รอเวลาให้กองวัสดุย่อยสลายเองตามธรรมชาติจนแปรสภาพเป็นอินทรียวัตถุสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเรียกว่า ฮิวมัส (Humus)
            การหมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่ง
         1.กองเศษซากพืชเป็นชั้นแรกให้มีความหนาประมาณ 30-50 ซม.
         2.ใช้มูลสัตว์หว่านให้กระจายทั่วพื้นที่ด้านบนของชั้นเศษซากพืช
         3.ใช้สารละลายเชื้อจุลินทรีย์ (พด.ต่างๆ) รดให้ทั่วทั้งกอง
         4.ใช้ดินปิดทับชั้นกองวัสดุชั้นแรก
         5.กองวัสดุเป็นชั้นที่ 2-3-4 แล้วปฏิบัติในแต่ละชั้นตามข้อ 2,3,4 ในทุกชั้นที่กอง
         6.คอยรดน้ำเพื่อให้กองปุ๋ยมีความชื้นอยู่เสมอ และพลิกกลับกองทุกๆ เดือน จนกว่าเศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมด จึงสามารถนำไปใช้ปรับปรุงดินหรือบำรุงต้นพืชได้
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
         1.นำผัก ผลไม้ต่างๆมาสับ ให้มีขนาดเล็กลง (ให้ได้น้ำหนักรวมตามที่ต้องการ)
         2.นำผัก ผลไม้ที่สับแล้ว ใส่ลงในถุงตาข่าย แล้วใส่ไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด (ในอัตรา 10 ส่วน)
                3.ใช้น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ละลายน้ำ (ในอัตราส่วน 1:3) ใส่ลงในถังหมัก ปิดฝาให้แน่นอย่าให้มีอากาศเข้าหรือออกจากถังหมักได้ (หมักทิ้งไว้ 2 เดือน) จะได้น้ำปุ๋ยหมักเข้มข้นนำไปใช้งาน
        2.การนำวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร(reform)
     หมายถึง การนำเอาสิ่งที่เหลือจากการเกษตรซึ่งโดยทั่วไปไม่มีราคาแล้วหรือมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ นำมาใช้ในกิจกรรมการเกษตรที่เป็นงานผลิตอีกครั้ง โดยนำมาใช้ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ก็ได้
กระบวนการของการ นำมาใช้ มี 3 ขั้นตอน
              1.การเก็บรวบรวมวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้ง ให้มีปริมาณที่มากพอที่จะนำมาใช้งานได้
               2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการอย่างง่ายๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, หมัก
             3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะ
ตัวอย่างของการนำวัสดุทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร
         1.การนำฟางข้าว /ตอซัง/ต้นถั่ว/ต้นข้าวโพด/ใบไม้ผลชนิดต่าง ๆ มาทำปุ๋ยหมักแห้ง
         2.การใช้เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อนมาเป็นอาหารเลี้ยงโคเนื้อ/โคนม
         3.การใช้เปลือกสับปะรดมาหมักและใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุน
         4.การใช้ฟางข้าว /ตอซัง/เปลือกถั่วเขียว/ทะลายปาล์มนำมันมาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย/โรงเรือน
         5.การใช้มูลสุกรมาเป็นอาหารเลี้ยงสุกรรุ่นและสุกรขุน
         6.การใช้มูลสุกร/มูลไก่ เป็นอาหารของปลา
        3.การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมบางชนิด (reform ; reuse)
             หมายถึงการนำเอาวัสดุบางชนิดจากภาคเกษตรกรรมมาผ่านกระบวนการแปรรูปและขั้นตอนการปฏิบัติจนได้ผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์
กระบวนการของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม มี 3 ขั้นตอน
                1.การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุที่ต้องการใช้ให้มีปริมาณที่มากและพอเพียงกับความต้องการใช้
                2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการเบื้องต้นต่างๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, บด,ร่อน,เผา
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง
ตัวอย่างของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม
         1.การใช้เปลือกไข่และแกลบเผา บำบัดโลหะหนัก(ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม(Cd))ในน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
         2.การผลิตวัสดุแทนไม้จากหญ้าแฝก ฟางข้าว  เศษไม้ไผ่ ใบปาล์ม กากสมุนไพรต่างๆ
        4.การจัดการสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยง/ขยะอินทรีย์/เศษอาหาร
             หมายถึง การกำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะ(pollution)ทางดิน ทางอากาศและทางน้ำ รวมทั้งการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warm)
    กระบวนการนี้ต้องใช้ “จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ”(Effective Micro-organism=EM)ซึ่งมีอยู่มากถึง 5 Family 10 Genus 80 Species เพื่อนำไปเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ในอินทรียวัตถุนานาชนิดให้เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
   วิธีการใช้ EM.ส่วนมากจะใช้ในลักษณะของสารละลายเจือจางเพื่อการชำระล้างพื้นหรือการหมักในภาชะปิด
        5.การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของการปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง 
             5.1 การทำฟางปรุงแต่ง
                      ฟางข้าวเป็นอาหารหยาบที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ  แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ใช้ฟางข้าวกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยทั่วๆ ไปฟางข้าวจะมีโปรตีน 3-4 %  โภชนะที่ย่อยได้ทั้งสิ้น 35-50 %  มีไวตามินเอ  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และแร่ธาตุอื่น ๆ  ต่ำมาก 
                      การใช้ฟางข้าวอย่างเดียวมีข้อเสียบางประการ  เพราะปริมาณของโปรตีน  พลังงาน  และแร่ธาตุในระดับนี้  จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของสัตว์เคี้ยวเอื้อง  ดังนั้นวัวควาย  แพะ  แกะ  ที่กินแต่ฟางแห้งอย่างเดียวจะไม่สามารถเจริญเติบโต  แต่จะสูญเสียน้ำหนักไปเรื่อย ๆ  ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากฟางข้าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เราจะต้องปรับปรุงคุณภาพและแก้ไขวิธีการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยงดังกล่าว   
        การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวสามารถทำได้  2   วิธี  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
                    ก.การปฏิบัติต่างๆ (treatment)  เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟางข้าว  เช่น การตัด การแช่น้ำ การลดปริมาณลิกนิน  หรือการเตรียมให้เป็นฟางอัดก้อน  ฟางอัดเม็ด  เป็นต้น  การตัดการบด  การแช่น้ำและการอัดเม็ดอัดก้อนจะทำให้สัตว์กินฟางได้มากขึ้น  และการย่อยได้ก็เพิ่มขึ้นด้วย  ยกตัวอย่าง  เช่น  การอัดเม็ดโดยใช้ฟาง 80 % ผสมกับกากเมล็ดฝ้าย 10 % กากน้ำตาล 6 % ไขมัน 2 % ยูเรีย 1 % แร่ธาตุอื่น ๆ 1 %  จะได้อาหารอัดเม็ดที่มีคุณภาพดี  ทำให้วัวตอนเจริญเติบโตดีและกินฟางอัดเม็ดนี้ได้ถึง 2.9 %  ของน้ำหนักตัว  ในขณะที่วัว  ซึ่งกินฟางข้าวเพียง 2.4 %  ของน้ำหนักตัว 
                            ตามปกติสัตว์จะกินอาหารอัดเม็ดได้มากกว่าอาหารอัดก้อน (cube)  และสัตว์กินอาหารอัดก้อนได้มากกว่าอาหารบดธรรมดา  นอกจากนี้การเอาฟางมาอบด้วยความร้อนและความดันของไอน้ำที่ 28 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร  เป็นเวลานาน 3 นาที จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมครึ่งเท่า แต่ถ้าใช้ฟางทำปฏิกริยากับด่างโซดาไฟ 3 % ภายใต้ความดันและไอน้ำร้อน จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2  เท่าตัว
                            การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าวอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อลดปริมาณของลิกนิน  และทำให้เซลล์ของพืชพองตัว  จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และยังผลให้สัตว์กินฟางที่ปรุงแต่งนี้มากด้วย  สารเคมีที่นิยมใช้กันมากมี  3-4  ชนิด  คือ  โซดาไฟ  (NaOH)  ปูนขาว  (calcium  hydroxide=Ca(OH)2)  และแอมโมเนียในรูปต่าง ๆ  ถ้าเรานำฟางไปแช่ในสารละลายโซดาไฟ  1.5-2  %  นาน  18-24  ชั่วโมง  จะทำให้การกินการย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นมากมาย  หรือถ้าเราใช้สารละลายโซดาไฟที่เข้มข้น  3.5-5  %  ฉีดพ่นบนฟางข้าวแล้วหมักทิ้งไว้สักครึ่งวันหรือจะนำไปให้สัตว์กินทันที  พบว่าวัวรุ่นลูกผสมจะกินฟางปรุงแต่งได้มากขึ้นหนึ่งเท่าครึ่งของฟางธรรมดา  และมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าเกือบสองเท่า  การแช่ฟางข้าวในสารละลายปูนขาว  1.5  %  นาน  24-48  ชั่วโมง  ก็มีผลทำให้ปริมาณการกินการย่อยของฟางข้าวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 
                            ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมปรุงแต่งฟางข้าวโดยใช้สารยูเรีย  เพราะเป็นสารที่หาได้ง่าย  ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  ดังนั้นเราจึงนิยมใช้ยูเรียประมาณ  6  %  โดยกการใช้ผ้าพลาสติคปูบนพื้น  แล้วนำฟางมาวางเรียงให้เป็นกอง  ใช้น้ำจำนวน  3  ปีบ  (60  ลิตร)  รดกองฟาง  น.น.  100  กก.  ให้ทั่วโดยใช้บัวรดน้ำ  ต่อมาเอายูเรีย  6   กก.  ละลายในน้ำ  2  ปีบ  (40  ลิตร)    ใส่ในบัวรดน้ำแล้วราดบนฟางให้ชุ่ม หากทำกองใหญ่ใหห้ทำทีละ  100  กก.   ปิดหุ้มกองฟางด้วยผ้าพลาสติคเก็บชายพลาสติคให้แน่นหาไม้หรือวัสดุกันแสงมาวางทับพอประมาณและหมักไว้นาน 21 วัน  ในสูตรดังกล่าวอาจใช้  กากน้ำตาล  3-5  %  และเกลือ  0.3  %  เพื่อเพิ่มความน่ากิน  พบว่าฟางหมักยูเรียจะมีโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น  2  เท่า  ปริมาณการกินการย่อยของฟางหมักจะเพิ่มขึ้น  8-15  %  และสามารถรักษาน้ำหนักของวัวในช่วงสั้น ๆ  ได้
                ข. การให้อาหารเสริม  (supplementation)  เนื่องจากฟางข้าวมีคุณภาพต่ำ  และแม้จะได้ปรุงแต่งโดยใช้โซดาไฟหรือยูเรียมาแล้วก็ตามเราไม่สามารถจะเลี้ยงสัตว์ด้วยฟางปรุงแต่งดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ  เพราะการปรุงแต่งส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มปริมาณการกินและการย่อย  และจะเพิ่มปริมาณของโปรตีนขึ้นเมื่อเราใส่แอมโมเนียหรือยูเรีย  และ  โปรตีนดังกล่าวก็ไม่ใช่โปรตีนที่แท้จริง  แต่เป็นแหล่งของไนโตรเจนที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะเอาไปสร้างโปรตีนอีกทีหนึ่ง  ดังนั้นในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวธรรมดาหรือฟางที่ปรุงแต่งแล้วก็ตาม  เราควรจะได้พิจารณาให้อาหารเสริมแก่สัตว์ด้วย  และอาหารเสริมดังกล่าวควรจะประกอบด้วยอาหารพลังงาน  โปรตีน  แร่ธาตุ  และไวตามินที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะได้แบ่งไปใช้ส่วนหนึ่ง  และตัวสัตว์เองจะได้นำเอาไปใช้อีกส่วนหนึ่ง  อาหารเสริมที่ควรใช้ร่วมกับฟางข้าวธรรมดาหรือฟางปรุงแต่งมีดังต่อไปนี้
    1.ฟางบวกกับอาหารข้นชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาป่น กากถั่ว หางนมผง เนื้อป่น กากเมล็ดฝ้าย ยูเรียผสมกับกากเมล็ดฝ้าย รำ ปลายข้าว เป็นต้น
    2.ฟางบวกกับรำและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    3.ฟางบวกกับยูเรียและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    4.ฟางบวกกับยูเรีย  กากน้ำตาลและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    5.ฟางหมักยูเรียบวกรำข้าว  ใบมันสำปะหลังแห้งหรืออาหารข้นอื่น ๆ 
    6.ฟางบวกกับข้าวฟ่าง  ยูเรีย  กากน้ำตาล  เกลือแร่ต่าง ๆ 
    7.ฟางบวกกับแหนแดง  หรือผักตบชวา
    8.ฟางบวกกับใบกระถิน
    9.ฟางบวกกับไมยราพยักษ์หรือฝักจามจุรีและอื่น ๆ
    10.ฟางบวกกับอาหารผสมมูลไก่แห้ง
การใช้ผลพลอยได้การเกษตรรูปแบบต่าง ๆ 
                5.2.หญ้าหมัก (Silage)  คือการนำหญ้าหรือพืชต่าง ๆ  มาสับเป็นท่อน ๆ  นำไปหมัก  ในหลุม  หรือบังเกอร์  ปิดให้มิดชิด   เป็นเวลา  21  วัน  ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน  (Anaerobic  condition)  แบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนอยู่ได้(Lactobacillus)  แบคทีเรียจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรตในหญ้าและคาร์โบไฮเดรตในธัญพืชเสริม(silage  preservative)  แล้วแบคทีเรียจะผลิตกรดแลคติก(CH3CHOHCOOH)  และกรดอะซีติค(CH3COOH)ออกมา ทำให้หญ้าไม่เน่า  เมื่อพีเอ็ชได้ที่(ประมาณ  3.5-4)  จุลินทรีย์ทุกชนิดแม้กระทั่ง  Lactobacillus  ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  ทุกขบวนการจะหยุดทำงาน  พืชที่ถูกหมักจะอยู่ในสภาพสด  และสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี  โดยส่วนประกอบทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง  ถ้าไม่ปล่อยให้อากาศซึมเข้า
                5.3.หญ้าแห้ง (Hay)  คือการนำหญ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีปริมาณน้ำในลำต้นต่ำ ตัดแล้วตากแดด 2-3 แดด ติดกัน เก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง

ติดต่อสอบถาม   


27
จับตา ‘เศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร’ ขุมทรัพย์มูลค่านับแสนล้าน

Main Idea
 •   มีการคาดการณ์ว่าในปี 2579 การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตร/วัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตร/วัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตร/วัน)
 •   แต่การปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกันกับพืชอาหารหลัก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อาจทำให้กลไกตลาดรวน รวมถึงกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคตได้
 •   หนึ่งในหนทางแก้ไขปัญหาสู่ความยั่งยืน คือ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ผลิตทดแทน ซึ่งหากสามารถจัดเก็บเข้าระบบได้ อาจสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจของประเทศได้กว่าแสนล้านบาททีเดียว

               ประเทศไทยเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศกสิกรรม มีการเพาะปลูกพืชผลต่างๆ อยู่มากมาย ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีการนำไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ซึ่งหากสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง และพัฒนาโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้กว่านับแสนล้านบาททีเดียว รวมถึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนอีกด้วย
 
     จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) โดยคาดว่าในปี 2579 จะเพิ่มการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตรต่อวัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 คือ 6.1 ล้านลิตรต่อวัน สาเหตุพื้นฐานมาจากความกังวลต่อการขาดแคลนและต้องการลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล (Fossil Based) เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาน้ำมันทดแทนอย่างยั่งยืน เพราะพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ และเชื่อว่าเป็นทางออกที่ให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

     แต่อย่างไรก็ดี การนำพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบจำพวกเดียวกับพืชอาหารหลักมาทำ อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ย่อมเกิดปัญหาแฝงตามมาทั้งในเรื่องของกลไกตลาด เช่น เกษตรกรอาจหันมาปลูกพืชพลังงานมากกว่าพืชอาหาร เพราะได้ราคาดีกว่า หรือหากขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปให้มากขึ้นอีกก็อาจบุกรุกพื้นที่ป่า มีการเผาเรือกสวนไร่นา เพื่อเตรียมแปลงเพาะปลูก ฯลฯ รวมไปถึงการขาดแคลนหรือแย่งวัตถุดิบเกิดขึ้น เนื่องจากมีความต้องการจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ จนท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต (Food Security) ได้
 
เศษเหลือใช้ทางเกษตร ทรัพย์ในดิน ทางออกพลังงานยั่งยืน
     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีศักยภาพสามารถปลูกพืชได้หลากหลาย การแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นที่ไม่ได้มาจากพืชอาหารนั้นยังสามารถทำได้ รวมถึงเศษวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass) ก็มีจำนวนค่อนข้างมาก อาทิ เศษไม้ยางพารา ทะลาย/กะลาปาล์ม น้ำมัน/กาบ/กะลามะพร้าว แกลบ ฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง โดยสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าทิ้งหรือทำลาย รวมถึงการนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ด้วย

     มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าจากปริมาณเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือทั้งหมดสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจได้ โดยคำนวณจากความสามารถในการเปลี่ยนเศษเหลือใช้เป็นค่าพลังงาน เพื่อเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ พบว่าเศษเหลือใช้จากการเกษตรคงเหลือทั้งหมด สามารถผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจนเกิดมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงกว่าแสนล้านบาทต่อปี

     โดยในทุกๆ 1 ตันเศษเหลือใช้ทางการเกษตรจะมีมูลค่าเฉลี่ย 2 บาท (เทียบมูลค่าน้ำมันดิบ) ทั้งนี้ในทางทฤษฎีแล้วการใช้วัตถุดิบเศษเหลือจากการเกษตรนั้น สามารถทดแทนปริมาณการผลิตของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด เนื่องจากสามารถผลิตได้เฉลี่ยถึง 33 ล้านลิตรต่อวัน (ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องสามารถจัดเก็บเศษเหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมด โดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารในปัจจุบัน ซึ่งสามารถผลิตได้เพียง 7- 8 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
 
เริ่มต้นจัดเก็บดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
                    ที่กล่าวมานั้นเป็นการคำนวณเชิงทฤษฏี ในการปฏิบัติจริงต้องดูปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันเศษเหลือใช้จากการเกษตรนั้นกระจายอยู่ในหลายแห่งทั่วประเทศ และยังขาดระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเริ่มแรกภาครัฐและเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อตระหนักถึงคุณค่าเศษเหลือใช้แก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง รวมถึงช่วยออกแบบวางระบบรวบรวม ออกแบบการจัดเก็บที่ทำให้อยู่ในคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ และระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือในฝั่งของอุตสาหกรรมการผลิตให้เกิดขึ้นได้จริงจากภาครัฐด้วย เพราะต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ แต่หากสามารถทำได้ก็จะส่งผลดีระยะยาวต่อประเทศได้

     ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น ในระยะเริ่มแรกอาจจะต้องพึ่งพาการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรวบรวมเศษเหลือใช้ให้เป็นระบบ และการลงทุนในอุตสาหกรรมผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้น เนื่องจากพิจารณาแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างมูลค่าให้สิ่งเหลือใช้กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงแล้ว (High Value Products: HVP) เช่น การผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจากเศษเหลือใช้จากการเกษตร ที่มีมูลค่าได้ถึงแสนกว่าล้านบาทต่อปี

     แนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น นอกจากอาจช่วยแก้ปัญหาทดแทนพืชพลังงานได้แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่ายเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่าอื่นๆ ด้วย เช่น 1.การช่วยลดภาระในการกำจัดจากการไปฝังกลบหรือเผาทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกร เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 2.สร้างรายได้และอาชีพในท้องถิ่น เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ เช่น จ้างคนเก็บและรวบรวมเศษเหลือใช้ การจ้างงานขนส่ง 3. ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม 4.ลดการทำงานของภาครัฐในการออกนโยบายแก้ไขปัญหาเมื่อพืชผลล้นตลาด และ 5.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน

     เห็นไหมละว่า แค่ลองเปลี่ยนความคิด มองหาโอกาสจากสิ่งที่มีอยู่ ถึงแม้เป็นเพียงเศษวัสดุเหลือใช้ ก็อาจสร้างประโยชน์มหาศาลให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน


ติดต่อสอบถาม   


28
โครงการ การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรใน  8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างมีส่วนร่วม

ความเป็นมา
การเผาทำลายเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพอากาศ  โดยกรมควบคุมมลพิษได้ระบุว่าค่าการปลดปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM10 จากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมีค่า 7 กิโลกรัมทุก 1,000 กิโลกรัมของเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ถูกเผาไหม้ โดยผลกระทบทางด้านสุขภาพจากปัญหาหมอกควันพิษ แม้ว่าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้จะสามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีมูลค่าได้  แต่ปัญหาการต้องพลิกกลับกองไม่เป็นการจูงใจแก่เกษตรกรเพราะสิ้นเปลืองแรงงาน ใช้เวลานาน 3-6 เดือน และยังได้ปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณน้อยครั้งละประมาณ 1 ตันเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่เพาะปลูกโดยเฉลี่ยของเกษตรกร (ครัวเรือนละ 5-30 ไร่) ในขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงดินในปริมาณสูงถึง 0.3 – 3 ตันต่อไร่

    คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการวิจัยทำให้ได้มีองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องพลิกกลับกองและให้ได้ปริมาณครั้งละมาก ๆ เพียงพอต่อการใช้ของเกษตรกร โดยพบว่าการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1 มีการไหลเข้าไปในกองปุ๋ยของอากาศตามธรรมชาติ (PASSIVE AERATION) จากปรากฎการณ์พาความร้อนแบบปล่องไฟ (CHIMNEY CONVECTION) จะทำให้สามารถทดแทนการพลิกกลับกองปุ๋ยได้ และมีข้อดีคือไม่ต้องใช้ไฟฟ้า สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ในบริเวณแปลงเพาะปลูก เกษตรกรจะสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบกองแถวยาวได้ถึงครั้งละ 10-100 ตัน โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง ได้ปุ๋ยอินทรีย์ภายใน 2 เดือน มีคุณภาพตามที่มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 ใช้วัตถุดิบเพียงสองชนิดคือเศษใบไม้และมูลสัตว์ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร (ถ้าเป็นฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดให้ใช้ 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร) จากความสำเร็จด้านการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้ก่อตั้งฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำเศษใบไม้ในมหาวิทยาลัยมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องทั้งปี เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าชมและศึกษา โดยพบว่า ฟางข้าวและเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายที่สุด

    เพื่อให้มีการนำนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีวิศวกรรมแม่โจ้  1 ถ่ายโอนเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติ เพื่อให้การเกษตรกรรมของประเทศมีแนวทางใหม่ในการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณมากมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีที่จูงใจเกษตรกรมากกว่าแบบเดิมนั่นคือไม่ต้องพลิกกลับกอง เพื่อให้ลดการเผาที่สร้างปัญหาหมอกควัน กองทุนสิ่งแวดล้อมจึงให้มีการดำเนินโครงการ “การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่างมีส่วนร่วม” ที่มีการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในลักษณะของเครือข่ายฐานเรียนรู้ มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน โรงเรียน และ อปท. อันจะทำให้การดำเนินงานของฐานเรียนรู้มีความยั่งยืนแม้ว่าโครงการจะเสร็จสิ้นลง ส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศมีแนวทางเลือกใหม่ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

เกษตรฯรวมพลังหยุดการเผา จากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เกษตรฯรวมพลังหยุดการเผาสร้างมูลค่า จากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
              เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสำคัญดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล

            สำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าจากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาวิกฤตหมอกควันปกคลุม และเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การเผาในพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง กล่าวคือ การเผาในพื้นที่การเกษตรเป็นการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้น จึงได้สนับสนุนการนำเศษวัสดุการเกษตรมาทำประโยชน์ เพิ่มมูลค่า ทดแทนการเผา

        “รูปแบบการดำเนินงานได้ใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ 882 แห่ง ร่วมกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ซึ่งมีผู้นำเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ มาดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่ เกษตรกร จำนวนไม่น้อยกว่า 26,460 ราย โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน”
              อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเผยต่อว่าประเทศไทยมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากถึง 43 ล้านตันต่อปี แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย และได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกหรือถูกเผาทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษหมอกควัน กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557  จนถึงปัจจุบัน

               โดยในปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2562 ถึงพฤษภาคม 2563 โดยรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ผ่านกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรและการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายเป็นพลังงานชีวมวลให้แก่ผู้รับซื้อผ่านการเชื่อมโยงตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่าใน 8 กิจกรรมด้วยกัน
              สำหรับทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่า ประกอบด้วย ทางเลือกที่ 1 การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้รับผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่น ๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
               ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเพื่อใช้เลี้ยงโค ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งหรืออัดก้อน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ทำอาหารในครัวเรือน ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด นำมาผลิตกระดาษ หรือของประดับ ทางเลือกที่ 6 นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้าแห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นพืช เก็บรักษาความชื้น “อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย” ทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูกทดแทนการเผา ซึ่งจะช่วยลดการเผา และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และทางเลือกสุดท้าย จำหน่ายวัสดุเหลือใช้การเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้กากปาล์ม กากมัน ซัง ข้าวโพด เศษไม้ ขยะ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล(Biomass)

               สำราญย้ำด้วยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่าง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับ บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) นำร่องดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม, สารภี, ดอยหล่อ, เชียงดาว และดอยเต่า โดยพิจารณาศักยภาพความพร้อมของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และเครือข่ายว่ามีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ได้และมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาเป็นปัจจัยการผลิตพลังงานชีวมวล
               และพื้นที่ต่อไปที่คาดว่าจะมีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเป็นพลังงานชีวมวลของ ศพก. อีกหนึ่งแห่ง คือ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของเศษวัสดุทางการเกษตร ให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนถึงประโยชน์จากเถ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกรในการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
     
            พร้อมทั้งการนำเถ้าชีวมวลไปพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการปรับปรุงดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ในการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชนต่อไป
                อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรยังเชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการดี ๆ อีกหนึ่งโครงการที่มีส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน เป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ลดพิษภัยสิ่งแวดล้อม ถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป



ติดต่อสอบถาม   


29
กรมส่งเสริมการเกษตร เผยผลลดเผา! เกษตรกรขายเศษวัสดุการเกษตรกว่า 4 พันตัน รับเงินกว่า 1.6 ล้านบาท

กรมส่งเสริมการเกษตร เผยผลโครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อลดการเผาในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรขายเศษวัสดุการเกษตรกว่า 4 พันตัน รับเงินกว่า 1.6 ล้านบาท
                เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุการเกษตร เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าจากเศษวัสดุการเกษตร ตลอดจนช่วยลดปัญหาวิกฤตหมอกควัน และสถานการณ์เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ของประเทศ
                นายอาชว์ชัยชาญ  เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการดำเนินโครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 – พฤษภาคม 2563 โดยรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่และชุมชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร การจัดทำฐานเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน การจัดการเศษวัสดุการเกษตร และการเชื่อมโยงตลาดในการจัดซื้อเศษวัสดุการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรในโครงการสามารถจำหน่ายเศษวัสดุการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษใบไม้ กากปาล์ม ซังข้าวโพด และปุ๋ยที่ชุมชนร่วมกันผลิต รวมทั้งสิ้น 4,406 ตัน เป็นเงิน 1,671,860 บาท

                นอกจากนี้ ยังมีปุ๋ยอินทรีย์อีก 219,421 ตัน จากกิจกรรมฐานเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 แห่ง และ ศดปช. 882 แห่ง รวม 1,764 แห่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเกษตรต่อไปได้ ตลอดจนเกษตรกรอีกส่วนหนึ่งที่ร่วมกำหนดกิจกรรมทางเลือกในการนำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่จุดต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ทำกองปุ๋ยหมัก 4,087 จุด ผลิตอาหารสัตว์ ได้แก่ อาหารสัตว์น้ำ ฟางอัดก้อน 1,655 จุด วัสดุสำหรับทำการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ วัสดุเพาะเห็ดหรือปลูกพืช 360 จุด วัสดุสำหรับแปรรูป หัตถกรรม และอุตสาหกรรม ได้แก่ ทำกระดาษจากซังข้าวโพดหรือฟางข้าว ทำไม้กวาดทางมะพร้าว 41 จุด ใช้เป็นพลังงานทางเลือก ได้แก่ ผลิตถ่านอัดแท่ง หรือนำแกลบเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล 54 จุด และเมนูทางเลือกอื่น ๆ ได้แก่ ผลิตจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ทำหัวปุ๋ยเบญจคุณแบบก้อน หรือทำปุ๋ยน้ำหมัก 54 จุด ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้สามารถลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

                รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินโครงการนี้ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนทัศนคติและปรับพฤติกรรมโดยลดการเผา ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม รักษาสภาพโครงสร้างดิน และเห็นประโยชน์ของเศษวัสดุการเกษตรมากขึ้น เกิดความสามัคคีนำความรู้ไปปรับใช้และต่อยอดสู่แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ชุมชนดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ ทำปุ๋ยหมัก ไถกลบตอซัง ลดการเผา นำเศษวัสดุการเกษตรมาก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนจำหน่ายเศษวัสดุการเกษตรแก่ผู้รับซื้อ

การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร
การจัดการผลพลอยได้ - สิ่งเหลือทิ้งและสิ่งปฏิกูลทางการเกษตร
ความหมายของคำทั้งสองคำ
        สิ่งเหลือทิ้ง หมายถึง วัตถุที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของไม่ใช้ประโยชน์จากวัตถุนั้นอีกต่อไปในเวลาข้างหน้า เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กิ่งไม้ กระดูกสัตว์ ฯ
        สิ่งปฏิกูล หมายถึง  วัตถุที่เป็นของเน่าเสียซึ่งส่วนมากจะเป็นสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง และน้ำโสโครก ที่เกิดจากการชำระล้างต่างๆ
เหตุผลที่ใช้อธิบายถึงการจัดการ
        1.เพราะปัจจุบันสังคมมนุษย์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุลธรรมชาติ
        2.เพราะเกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง จนส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคน
        3.เพราะต้องการลดความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์แบบไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาและภูมิภาคบนโลกใบนี้
วิธีการที่นำมาใช้เพื่อการจัดการสิ่งเหลือทิ้งหรือสิ่งปฏิกูล
        1.การ RECYCLE   (reuse-repair-reform) เป็นวิธีการที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบันนี้
                หมายถึง การนำวัสดุที่ใช้แล้ว หรือ วัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุที่ต้องทิ้ง หรือสิ่งที่ต้องทำลายด้วยวิธีการต่างๆ มาแปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพใหม่(reform) หรือนำมาซ่อมแซม(repair) แล้วนำกลับมาใช้(reuse)ประโยชน์อีก ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ ก็ได้
กระบวนการของการ รีไซเคิล (RECYCLE) มี 4 ขั้นตอน
                1. การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุทุกชนิด
                2. แยกชนิด / ประเภทของวัสดุ วัตถุที่รวบรวมได้
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปผ่านกระบวนการต่างๆ/กรรมวิธีต่างๆ ตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆเช่น หลอม กลั่น กรอง หมัก ระเหยน้ำ บีบอัด เผาไหม้
                4.นำผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการต่างๆ ไปใช้ประโยชน์
ตัวอย่างของการ รีไซเคิล (RECYCLE)
                1.การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
                2.การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)จากมูลสัตว์และเศษอาหาร
                3.การผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชไร่ที่เหลือทิ้ง
                4.การผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
                5.การผลิตแผ่นไม้จากเศษไม้ชนิดต่างๆ
                6.การผลิตแท่งเพาะชำต้นไม้จากขุยมะพร้าว
                7.การใช้วัสดุเหลือใช้จากพืชมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆ
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
            ชีวมวล หมายถึง สารอินทรีย์ทุกชนิดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต
         1.เก็บรวมรวมชีวมวลชนิดต่างๆให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ เครื่องผลิตไฟฟ้า ที่มีขนาดเหมาะสมกับเชื้อเพลิง
         3.ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับการเผาไหม้ให้ความร้อนกับน้ำ
         4.นำไอน้ำที่ได้ไปหมุนไดนาโม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)
                กาซชีวภาพ หมายถึง กาซที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ทุกชนิดโดยจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีกาซออกซิเจน (anarobe) เช่น กาซมีเทน กาซคาร์บอนไดออกไซด์ การไนโตรเจน การไฮโดรเจนซัลไฟด์ บรรดากาซที่เกิดขึ้น กาซมีเทนซึ่งติดไฟได้ จะมีปริมาณมากที่สุด จึงนำมาใช้เป็นกาซหุงต้มได้
         1.รวมรวมสารอินทรีย์ชนิดต่างๆที่ย่อยสลายได้ง่ายให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ ถังหมัก (ถังปฏิกรณ์)และถังเก็บกาซ (สำรองกาซก่อนการนำไปใช้)
         3.หมักอินทรีย์สารที่เก็บรวบรวมได้ในถังหมัก
         4.ได้กาซจากกระบวนการหมักนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้ม / เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ในฟาร์ม
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้ง
            การหมักธรรมชาติ
         1.เก็บรวบรวมเศษซากพืชหรือวัสดุต่างๆที่ได้จากพืช นำมากองรวมกัน ให้มีปริมาณที่มากพอสมควร
         2.รดน้ำให้กองวัสดุมีความชื้นที่พอเหมาะพอดี รอเวลาให้กองวัสดุย่อยสลายเองตามธรรมชาติจนแปรสภาพเป็นอินทรียวัตถุสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเรียกว่า ฮิวมัส (Humus)
            การหมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่ง
         1.กองเศษซากพืชเป็นชั้นแรกให้มีความหนาประมาณ 30-50 ซม.
         2.ใช้มูลสัตว์หว่านให้กระจายทั่วพื้นที่ด้านบนของชั้นเศษซากพืช
         3.ใช้สารละลายเชื้อจุลินทรีย์ (พด.ต่างๆ) รดให้ทั่วทั้งกอง
         4.ใช้ดินปิดทับชั้นกองวัสดุชั้นแรก
         5.กองวัสดุเป็นชั้นที่ 2-3-4 แล้วปฏิบัติในแต่ละชั้นตามข้อ 2,3,4 ในทุกชั้นที่กอง
         6.คอยรดน้ำเพื่อให้กองปุ๋ยมีความชื้นอยู่เสมอ และพลิกกลับกองทุกๆ เดือน จนกว่าเศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมด จึงสามารถนำไปใช้ปรับปรุงดินหรือบำรุงต้นพืชได้
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
         1.นำผัก ผลไม้ต่างๆมาสับ ให้มีขนาดเล็กลง (ให้ได้น้ำหนักรวมตามที่ต้องการ)
         2.นำผัก ผลไม้ที่สับแล้ว ใส่ลงในถุงตาข่าย แล้วใส่ไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด (ในอัตรา 10 ส่วน)
                3.ใช้น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ละลายน้ำ (ในอัตราส่วน 1:3) ใส่ลงในถังหมัก ปิดฝาให้แน่นอย่าให้มีอากาศเข้าหรือออกจากถังหมักได้ (หมักทิ้งไว้ 2 เดือน) จะได้น้ำปุ๋ยหมักเข้มข้นนำไปใช้งาน
        2.การนำวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร(reform)
     หมายถึง การนำเอาสิ่งที่เหลือจากการเกษตรซึ่งโดยทั่วไปไม่มีราคาแล้วหรือมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ นำมาใช้ในกิจกรรมการเกษตรที่เป็นงานผลิตอีกครั้ง โดยนำมาใช้ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ก็ได้
กระบวนการของการ นำมาใช้ มี 3 ขั้นตอน
              1.การเก็บรวบรวมวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้ง ให้มีปริมาณที่มากพอที่จะนำมาใช้งานได้
               2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการอย่างง่ายๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, หมัก
             3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะ
ตัวอย่างของการนำวัสดุทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร
         1.การนำฟางข้าว /ตอซัง/ต้นถั่ว/ต้นข้าวโพด/ใบไม้ผลชนิดต่าง ๆ มาทำปุ๋ยหมักแห้ง
         2.การใช้เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อนมาเป็นอาหารเลี้ยงโคเนื้อ/โคนม
         3.การใช้เปลือกสับปะรดมาหมักและใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุน
         4.การใช้ฟางข้าว /ตอซัง/เปลือกถั่วเขียว/ทะลายปาล์มนำมันมาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย/โรงเรือน
         5.การใช้มูลสุกรมาเป็นอาหารเลี้ยงสุกรรุ่นและสุกรขุน
         6.การใช้มูลสุกร/มูลไก่ เป็นอาหารของปลา
        3.การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมบางชนิด (reform ; reuse)
             หมายถึงการนำเอาวัสดุบางชนิดจากภาคเกษตรกรรมมาผ่านกระบวนการแปรรูปและขั้นตอนการปฏิบัติจนได้ผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์
กระบวนการของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม มี 3 ขั้นตอน
                1.การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุที่ต้องการใช้ให้มีปริมาณที่มากและพอเพียงกับความต้องการใช้
                2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการเบื้องต้นต่างๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, บด,ร่อน,เผา
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง
ตัวอย่างของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม
         1.การใช้เปลือกไข่และแกลบเผา บำบัดโลหะหนัก(ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม(Cd))ในน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
         2.การผลิตวัสดุแทนไม้จากหญ้าแฝก ฟางข้าว  เศษไม้ไผ่ ใบปาล์ม กากสมุนไพรต่างๆ
        4.การจัดการสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยง/ขยะอินทรีย์/เศษอาหาร
             หมายถึง การกำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะ(pollution)ทางดิน ทางอากาศและทางน้ำ รวมทั้งการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warm)
    กระบวนการนี้ต้องใช้ “จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ”(Effective Micro-organism=EM)ซึ่งมีอยู่มากถึง 5 Family 10 Genus 80 Species เพื่อนำไปเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ในอินทรียวัตถุนานาชนิดให้เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
   วิธีการใช้ EM.ส่วนมากจะใช้ในลักษณะของสารละลายเจือจางเพื่อการชำระล้างพื้นหรือการหมักในภาชะปิด
        5.การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของการปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง 
             5.1 การทำฟางปรุงแต่ง
                      ฟางข้าวเป็นอาหารหยาบที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ  แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ใช้ฟางข้าวกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยทั่วๆ ไปฟางข้าวจะมีโปรตีน 3-4 %  โภชนะที่ย่อยได้ทั้งสิ้น 35-50 %  มีไวตามินเอ  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และแร่ธาตุอื่น ๆ  ต่ำมาก 
                      การใช้ฟางข้าวอย่างเดียวมีข้อเสียบางประการ  เพราะปริมาณของโปรตีน  พลังงาน  และแร่ธาตุในระดับนี้  จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของสัตว์เคี้ยวเอื้อง  ดังนั้นวัวควาย  แพะ  แกะ  ที่กินแต่ฟางแห้งอย่างเดียวจะไม่สามารถเจริญเติบโต  แต่จะสูญเสียน้ำหนักไปเรื่อย ๆ  ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากฟางข้าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เราจะต้องปรับปรุงคุณภาพและแก้ไขวิธีการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยงดังกล่าว   
        การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวสามารถทำได้  2   วิธี  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
                    ก.การปฏิบัติต่างๆ (treatment)  เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟางข้าว  เช่น การตัด การแช่น้ำ การลดปริมาณลิกนิน  หรือการเตรียมให้เป็นฟางอัดก้อน  ฟางอัดเม็ด  เป็นต้น  การตัดการบด  การแช่น้ำและการอัดเม็ดอัดก้อนจะทำให้สัตว์กินฟางได้มากขึ้น  และการย่อยได้ก็เพิ่มขึ้นด้วย  ยกตัวอย่าง  เช่น  การอัดเม็ดโดยใช้ฟาง 80 % ผสมกับกากเมล็ดฝ้าย 10 % กากน้ำตาล 6 % ไขมัน 2 % ยูเรีย 1 % แร่ธาตุอื่น ๆ 1 %  จะได้อาหารอัดเม็ดที่มีคุณภาพดี  ทำให้วัวตอนเจริญเติบโตดีและกินฟางอัดเม็ดนี้ได้ถึง 2.9 %  ของน้ำหนักตัว  ในขณะที่วัว  ซึ่งกินฟางข้าวเพียง 2.4 %  ของน้ำหนักตัว 
                            ตามปกติสัตว์จะกินอาหารอัดเม็ดได้มากกว่าอาหารอัดก้อน (cube)  และสัตว์กินอาหารอัดก้อนได้มากกว่าอาหารบดธรรมดา  นอกจากนี้การเอาฟางมาอบด้วยความร้อนและความดันของไอน้ำที่ 28 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร  เป็นเวลานาน 3 นาที จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมครึ่งเท่า แต่ถ้าใช้ฟางทำปฏิกริยากับด่างโซดาไฟ 3 % ภายใต้ความดันและไอน้ำร้อน จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2  เท่าตัว
                            การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าวอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อลดปริมาณของลิกนิน  และทำให้เซลล์ของพืชพองตัว  จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และยังผลให้สัตว์กินฟางที่ปรุงแต่งนี้มากด้วย  สารเคมีที่นิยมใช้กันมากมี  3-4  ชนิด  คือ  โซดาไฟ  (NaOH)  ปูนขาว  (calcium  hydroxide=Ca(OH)2)  และแอมโมเนียในรูปต่าง ๆ  ถ้าเรานำฟางไปแช่ในสารละลายโซดาไฟ  1.5-2  %  นาน  18-24  ชั่วโมง  จะทำให้การกินการย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นมากมาย  หรือถ้าเราใช้สารละลายโซดาไฟที่เข้มข้น  3.5-5  %  ฉีดพ่นบนฟางข้าวแล้วหมักทิ้งไว้สักครึ่งวันหรือจะนำไปให้สัตว์กินทันที  พบว่าวัวรุ่นลูกผสมจะกินฟางปรุงแต่งได้มากขึ้นหนึ่งเท่าครึ่งของฟางธรรมดา  และมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าเกือบสองเท่า  การแช่ฟางข้าวในสารละลายปูนขาว  1.5  %  นาน  24-48  ชั่วโมง  ก็มีผลทำให้ปริมาณการกินการย่อยของฟางข้าวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 
                            ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมปรุงแต่งฟางข้าวโดยใช้สารยูเรีย  เพราะเป็นสารที่หาได้ง่าย  ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  ดังนั้นเราจึงนิยมใช้ยูเรียประมาณ  6  %  โดยกการใช้ผ้าพลาสติคปูบนพื้น  แล้วนำฟางมาวางเรียงให้เป็นกอง  ใช้น้ำจำนวน  3  ปีบ  (60  ลิตร)  รดกองฟาง  น.น.  100  กก.  ให้ทั่วโดยใช้บัวรดน้ำ  ต่อมาเอายูเรีย  6   กก.  ละลายในน้ำ  2  ปีบ  (40  ลิตร)    ใส่ในบัวรดน้ำแล้วราดบนฟางให้ชุ่ม หากทำกองใหญ่ใหห้ทำทีละ  100  กก.   ปิดหุ้มกองฟางด้วยผ้าพลาสติคเก็บชายพลาสติคให้แน่นหาไม้หรือวัสดุกันแสงมาวางทับพอประมาณและหมักไว้นาน 21 วัน  ในสูตรดังกล่าวอาจใช้  กากน้ำตาล  3-5  %  และเกลือ  0.3  %  เพื่อเพิ่มความน่ากิน  พบว่าฟางหมักยูเรียจะมีโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น  2  เท่า  ปริมาณการกินการย่อยของฟางหมักจะเพิ่มขึ้น  8-15  %  และสามารถรักษาน้ำหนักของวัวในช่วงสั้น ๆ  ได้
                    ข. การให้อาหารเสริม  (supplementation)  เนื่องจากฟางข้าวมีคุณภาพต่ำ  และแม้จะได้ปรุงแต่งโดยใช้โซดาไฟหรือยูเรียมาแล้วก็ตามเราไม่สามารถจะเลี้ยงสัตว์ด้วยฟางปรุงแต่งดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ  เพราะการปรุงแต่งส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มปริมาณการกินและการย่อย  และจะเพิ่มปริมาณของโปรตีนขึ้นเมื่อเราใส่แอมโมเนียหรือยูเรีย  และ  โปรตีนดังกล่าวก็ไม่ใช่โปรตีนที่แท้จริง  แต่เป็นแหล่งของไนโตรเจนที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะเอาไปสร้างโปรตีนอีกทีหนึ่ง  ดังนั้นในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวธรรมดาหรือฟางที่ปรุงแต่งแล้วก็ตาม  เราควรจะได้พิจารณาให้อาหารเสริมแก่สัตว์ด้วย  และอาหารเสริมดังกล่าวควรจะประกอบด้วยอาหารพลังงาน  โปรตีน  แร่ธาตุ  และไวตามินที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะได้แบ่งไปใช้ส่วนหนึ่ง  และตัวสัตว์เองจะได้นำเอาไปใช้อีกส่วนหนึ่ง  อาหารเสริมที่ควรใช้ร่วมกับฟางข้าวธรรมดาหรือฟางปรุงแต่งมีดังต่อไปนี้
    1.ฟางบวกกับอาหารข้นชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาป่น กากถั่ว หางนมผง เนื้อป่น กากเมล็ดฝ้าย ยูเรียผสมกับกากเมล็ดฝ้าย รำ ปลายข้าว เป็นต้น
    2.ฟางบวกกับรำและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    3.ฟางบวกกับยูเรียและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    4.ฟางบวกกับยูเรีย  กากน้ำตาลและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    5.ฟางหมักยูเรียบวกรำข้าว  ใบมันสำปะหลังแห้งหรืออาหารข้นอื่น ๆ 
    6.ฟางบวกกับข้าวฟ่าง  ยูเรีย  กากน้ำตาล  เกลือแร่ต่าง ๆ 
    7.ฟางบวกกับแหนแดง  หรือผักตบชวา
    8.ฟางบวกกับใบกระถิน
    9.ฟางบวกกับไมยราพยักษ์หรือฝักจามจุรีและอื่น ๆ
    10.ฟางบวกกับอาหารผสมมูลไก่แห้ง

การใช้ผลพลอยได้การเกษตรรูปแบบต่าง ๆ 
                5.2.หญ้าหมัก (Silage)  คือการนำหญ้าหรือพืชต่าง ๆ  มาสับเป็นท่อน ๆ  นำไปหมัก  ในหลุม  หรือบังเกอร์  ปิดให้มิดชิด   เป็นเวลา  21  วัน  ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน  (Anaerobic  condition)  แบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนอยู่ได้(Lactobacillus)  แบคทีเรียจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรตในหญ้าและคาร์โบไฮเดรตในธัญพืชเสริม(silage  preservative)  แล้วแบคทีเรียจะผลิตกรดแลคติก(CH3CHOHCOOH)  และกรดอะซีติค(CH3COOH)ออกมา ทำให้หญ้าไม่เน่า  เมื่อพีเอ็ชได้ที่(ประมาณ  3.5-4)  จุลินทรีย์ทุกชนิดแม้กระทั่ง  Lactobacillus  ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  ทุกขบวนการจะหยุดทำงาน  พืชที่ถูกหมักจะอยู่ในสภาพสด  และสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี  โดยส่วนประกอบทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง  ถ้าไม่ปล่อยให้อากาศซึมเข้า
                5.3.หญ้าแห้ง (Hay)  คือการนำหญ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีปริมาณน้ำในลำต้นต่ำ ตัดแล้วตากแดด 2-3 แดด ติดกัน เก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง

ติดต่อสอบถาม   


30
rtd92 ซื้อสวนยางพารา / การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:18:46 PM »
[ur=https://line.me/R/ti/p/%40ndk9677fl]การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร[/url]

การจัดการผลพลอยได้ - สิ่งเหลือทิ้งและสิ่งปฏิกูลทางการเกษตร

ความหมายของคำทั้งสองคำ
        สิ่งเหลือทิ้ง หมายถึง วัตถุที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของไม่ใช้ประโยชน์จากวัตถุนั้นอีกต่อไปในเวลาข้างหน้า เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กิ่งไม้ กระดูกสัตว์ ฯ
        สิ่งปฏิกูล หมายถึง  วัตถุที่เป็นของเน่าเสียซึ่งส่วนมากจะเป็นสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง และน้ำโสโครก ที่เกิดจากการชำระล้างต่างๆ

เหตุผลที่ใช้อธิบายถึงการจัดการ
        1.เพราะปัจจุบันสังคมมนุษย์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุลธรรมชาติ
        2.เพราะเกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง จนส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคน
        3.เพราะต้องการลดความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์แบบไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาและภูมิภาคบนโลกใบนี้

วิธีการที่นำมาใช้เพื่อการจัดการสิ่งเหลือทิ้งหรือสิ่งปฏิกูล
        1.การ RECYCLE   (reuse-repair-reform) เป็นวิธีการที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบันนี้
                หมายถึง การนำวัสดุที่ใช้แล้ว หรือ วัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุที่ต้องทิ้ง หรือสิ่งที่ต้องทำลายด้วยวิธีการต่างๆ มาแปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพใหม่(reform) หรือนำมาซ่อมแซม(repair) แล้วนำกลับมาใช้(reuse)ประโยชน์อีก ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ ก็ได้
กระบวนการของการ รีไซเคิล (RECYCLE) มี 4 ขั้นตอน
                1. การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุทุกชนิด
                2. แยกชนิด / ประเภทของวัสดุ วัตถุที่รวบรวมได้
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปผ่านกระบวนการต่างๆ/กรรมวิธีต่างๆ ตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆเช่น หลอม กลั่น กรอง หมัก ระเหยน้ำ บีบอัด เผาไหม้
                4.นำผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการต่างๆ ไปใช้ประโยชน์
ตัวอย่างของการ รีไซเคิล (RECYCLE)
                1.การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
                2.การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)จากมูลสัตว์และเศษอาหาร
                3.การผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชไร่ที่เหลือทิ้ง
                4.การผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
                5.การผลิตแผ่นไม้จากเศษไม้ชนิดต่างๆ
                6.การผลิตแท่งเพาะชำต้นไม้จากขุยมะพร้าว
                7.การใช้วัสดุเหลือใช้จากพืชมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆ
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
            ชีวมวล หมายถึง สารอินทรีย์ทุกชนิดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต
         1.เก็บรวมรวมชีวมวลชนิดต่างๆให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ เครื่องผลิตไฟฟ้า ที่มีขนาดเหมาะสมกับเชื้อเพลิง
         3.ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับการเผาไหม้ให้ความร้อนกับน้ำ
         4.นำไอน้ำที่ได้ไปหมุนไดนาโม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)
                กาซชีวภาพ หมายถึง กาซที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ทุกชนิดโดยจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีกาซออกซิเจน (anarobe) เช่น กาซมีเทน กาซคาร์บอนไดออกไซด์ การไนโตรเจน การไฮโดรเจนซัลไฟด์ บรรดากาซที่เกิดขึ้น กาซมีเทนซึ่งติดไฟได้ จะมีปริมาณมากที่สุด จึงนำมาใช้เป็นกาซหุงต้มได้
         1.รวมรวมสารอินทรีย์ชนิดต่างๆที่ย่อยสลายได้ง่ายให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ ถังหมัก (ถังปฏิกรณ์)และถังเก็บกาซ (สำรองกาซก่อนการนำไปใช้)
         3.หมักอินทรีย์สารที่เก็บรวบรวมได้ในถังหมัก
         4.ได้กาซจากกระบวนการหมักนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้ม / เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ในฟาร์ม
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้ง
            การหมักธรรมชาติ
         1.เก็บรวบรวมเศษซากพืชหรือวัสดุต่างๆที่ได้จากพืช นำมากองรวมกัน ให้มีปริมาณที่มากพอสมควร
         2.รดน้ำให้กองวัสดุมีความชื้นที่พอเหมาะพอดี รอเวลาให้กองวัสดุย่อยสลายเองตามธรรมชาติจนแปรสภาพเป็นอินทรียวัตถุสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเรียกว่า ฮิวมัส (Humus)
            การหมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่ง
         1.กองเศษซากพืชเป็นชั้นแรกให้มีความหนาประมาณ 30-50 ซม.
         2.ใช้มูลสัตว์หว่านให้กระจายทั่วพื้นที่ด้านบนของชั้นเศษซากพืช
         3.ใช้สารละลายเชื้อจุลินทรีย์ (พด.ต่างๆ) รดให้ทั่วทั้งกอง
         4.ใช้ดินปิดทับชั้นกองวัสดุชั้นแรก
         5.กองวัสดุเป็นชั้นที่ 2-3-4 แล้วปฏิบัติในแต่ละชั้นตามข้อ 2,3,4 ในทุกชั้นที่กอง
         6.คอยรดน้ำเพื่อให้กองปุ๋ยมีความชื้นอยู่เสมอ และพลิกกลับกองทุกๆ เดือน จนกว่าเศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมด จึงสามารถนำไปใช้ปรับปรุงดินหรือบำรุงต้นพืชได้
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
         1.นำผัก ผลไม้ต่างๆมาสับ ให้มีขนาดเล็กลง (ให้ได้น้ำหนักรวมตามที่ต้องการ)
         2.นำผัก ผลไม้ที่สับแล้ว ใส่ลงในถุงตาข่าย แล้วใส่ไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด (ในอัตรา 10 ส่วน)
         3.ใช้น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ละลายน้ำ (ในอัตราส่วน 1:3) ใส่ลงในถังหมัก ปิดฝาให้แน่นอย่าให้มีอากาศเข้าหรือออกจากถังหมักได้ (หมักทิ้งไว้ 2 เดือน) จะได้น้ำปุ๋ยหมักเข้มข้นนำไปใช้งาน

        2.การนำวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร(reform)
           หมายถึง การนำเอาสิ่งที่เหลือจากการเกษตรซึ่งโดยทั่วไปไม่มีราคาแล้วหรือมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ นำมาใช้ในกิจกรรมการเกษตรที่เป็นงานผลิตอีกครั้ง โดยนำมาใช้ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ก็ได้
กระบวนการของการ นำมาใช้ มี 3 ขั้นตอน
              1.การเก็บรวบรวมวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้ง ให้มีปริมาณที่มากพอที่จะนำมาใช้งานได้
               2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการอย่างง่ายๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, หมัก
               3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะ

ตัวอย่างของการนำวัสดุทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร
         1.การนำฟางข้าว /ตอซัง/ต้นถั่ว/ต้นข้าวโพด/ใบไม้ผลชนิดต่าง ๆ มาทำปุ๋ยหมักแห้ง
         2.การใช้เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อนมาเป็นอาหารเลี้ยงโคเนื้อ/โคนม
         3.การใช้เปลือกสับปะรดมาหมักและใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุน
         4.การใช้ฟางข้าว /ตอซัง/เปลือกถั่วเขียว/ทะลายปาล์มนำมันมาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย/โรงเรือน
         5.การใช้มูลสุกรมาเป็นอาหารเลี้ยงสุกรรุ่นและสุกรขุน
         6.การใช้มูลสุกร/มูลไก่ เป็นอาหารของปลา
         7.การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมบางชนิด (reform ; reuse)

             3.หมายถึงการนำเอาวัสดุบางชนิดจากภาคเกษตรกรรมมาผ่านกระบวนการแปรรูปและขั้นตอนการปฏิบัติจนได้ผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์
กระบวนการของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม มี 3 ขั้นตอน
                1.การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุที่ต้องการใช้ให้มีปริมาณที่มากและพอเพียงกับความต้องการใช้
                2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการเบื้องต้นต่างๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, บด,ร่อน,เผา
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง

ตัวอย่างของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม
         1.การใช้เปลือกไข่และแกลบเผา บำบัดโลหะหนัก(ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม(Cd))ในน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
         2.การผลิตวัสดุแทนไม้จากหญ้าแฝก ฟางข้าว  เศษไม้ไผ่ ใบปาล์ม กากสมุนไพรต่างๆ
         3.การจัดการสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยง/ขยะอินทรีย์/เศษอาหาร

            4.หมายถึง การกำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะ(pollution)ทางดิน ทางอากาศและทางน้ำ รวมทั้งการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warm)
    กระบวนการนี้ต้องใช้ “จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ”(Effective Micro-organism=EM)ซึ่งมีอยู่มากถึง 5 Family 10 Genus 80 Species เพื่อนำไปเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ในอินทรียวัตถุนานาชนิดให้เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

   วิธีการใช้ EM.ส่วนมากจะใช้ในลักษณะของสารละลายเจือจางเพื่อการชำระล้างพื้นหรือการหมักในภาชะปิด

        5.การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของการปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง 
             5.1 การทำฟางปรุงแต่ง
                      ฟางข้าวเป็นอาหารหยาบที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ  แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ใช้ฟางข้าวกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยทั่วๆ ไปฟางข้าวจะมีโปรตีน 3-4 %  โภชนะที่ย่อยได้ทั้งสิ้น 35-50 %  มีไวตามินเอ  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และแร่ธาตุอื่น ๆ  ต่ำมาก 
                      การใช้ฟางข้าวอย่างเดียวมีข้อเสียบางประการ  เพราะปริมาณของโปรตีน  พลังงาน  และแร่ธาตุในระดับนี้  จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของสัตว์เคี้ยวเอื้อง  ดังนั้นวัวควาย  แพะ  แกะ  ที่กินแต่ฟางแห้งอย่างเดียวจะไม่สามารถเจริญเติบโต  แต่จะสูญเสียน้ำหนักไปเรื่อย ๆ  ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากฟางข้าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เราจะต้องปรับปรุงคุณภาพและแก้ไขวิธีการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยงดังกล่าว   

        การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวสามารถทำได้  2   วิธี  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
                    ก.การปฏิบัติต่างๆ (treatment)  เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟางข้าว  เช่น การตัด การแช่น้ำ การลดปริมาณลิกนิน  หรือการเตรียมให้เป็นฟางอัดก้อน  ฟางอัดเม็ด  เป็นต้น  การตัดการบด  การแช่น้ำและการอัดเม็ดอัดก้อนจะทำให้สัตว์กินฟางได้มากขึ้น  และการย่อยได้ก็เพิ่มขึ้นด้วย  ยกตัวอย่าง  เช่น  การอัดเม็ดโดยใช้ฟาง 80 % ผสมกับกากเมล็ดฝ้าย 10 % กากน้ำตาล 6 % ไขมัน 2 % ยูเรีย 1 % แร่ธาตุอื่น ๆ 1 %  จะได้อาหารอัดเม็ดที่มีคุณภาพดี  ทำให้วัวตอนเจริญเติบโตดีและกินฟางอัดเม็ดนี้ได้ถึง 2.9 %  ของน้ำหนักตัว  ในขณะที่วัว  ซึ่งกินฟางข้าวเพียง 2.4 %  ของน้ำหนักตัว 
                            ตามปกติสัตว์จะกินอาหารอัดเม็ดได้มากกว่าอาหารอัดก้อน (cube)  และสัตว์กินอาหารอัดก้อนได้มากกว่าอาหารบดธรรมดา  นอกจากนี้การเอาฟางมาอบด้วยความร้อนและความดันของไอน้ำที่ 28 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร  เป็นเวลานาน 3 นาที จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมครึ่งเท่า แต่ถ้าใช้ฟางทำปฏิกริยากับด่างโซดาไฟ 3 % ภายใต้ความดันและไอน้ำร้อน จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2  เท่าตัว
                            การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าวอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อลดปริมาณของลิกนิน  และทำให้เซลล์ของพืชพองตัว  จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และยังผลให้สัตว์กินฟางที่ปรุงแต่งนี้มากด้วย  สารเคมีที่นิยมใช้กันมากมี  3-4  ชนิด  คือ  โซดาไฟ  (NaOH)  ปูนขาว  (calcium  hydroxide=Ca(OH)2)  และแอมโมเนียในรูปต่าง ๆ  ถ้าเรานำฟางไปแช่ในสารละลายโซดาไฟ  1.5-2  %  นาน  18-24  ชั่วโมง  จะทำให้การกินการย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นมากมาย  หรือถ้าเราใช้สารละลายโซดาไฟที่เข้มข้น  3.5-5  %  ฉีดพ่นบนฟางข้าวแล้วหมักทิ้งไว้สักครึ่งวันหรือจะนำไปให้สัตว์กินทันที  พบว่าวัวรุ่นลูกผสมจะกินฟางปรุงแต่งได้มากขึ้นหนึ่งเท่าครึ่งของฟางธรรมดา  และมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าเกือบสองเท่า  การแช่ฟางข้าวในสารละลายปูนขาว  1.5  %  นาน  24-48  ชั่วโมง  ก็มีผลทำให้ปริมาณการกินการย่อยของฟางข้าวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 
                            ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมปรุงแต่งฟางข้าวโดยใช้สารยูเรีย  เพราะเป็นสารที่หาได้ง่าย  ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  ดังนั้นเราจึงนิยมใช้ยูเรียประมาณ  6  %  โดยกการใช้ผ้าพลาสติคปูบนพื้น  แล้วนำฟางมาวางเรียงให้เป็นกอง  ใช้น้ำจำนวน  3  ปีบ  (60  ลิตร)  รดกองฟาง  น.น.  100  กก.  ให้ทั่วโดยใช้บัวรดน้ำ  ต่อมาเอายูเรีย  6   กก.  ละลายในน้ำ  2  ปีบ  (40  ลิตร)    ใส่ในบัวรดน้ำแล้วราดบนฟางให้ชุ่ม หากทำกองใหญ่ใหห้ทำทีละ  100  กก.   ปิดหุ้มกองฟางด้วยผ้าพลาสติคเก็บชายพลาสติคให้แน่นหาไม้หรือวัสดุกันแสงมาวางทับพอประมาณและหมักไว้นาน 21 วัน  ในสูตรดังกล่าวอาจใช้  กากน้ำตาล  3-5  %  และเกลือ  0.3  %  เพื่อเพิ่มความน่ากิน  พบว่าฟางหมักยูเรียจะมีโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น  2  เท่า  ปริมาณการกินการย่อยของฟางหมักจะเพิ่มขึ้น  8-15  %  และสามารถรักษาน้ำหนักของวัวในช่วงสั้น ๆ  ได้
                    ข. การให้อาหารเสริม  (supplementation)  เนื่องจากฟางข้าวมีคุณภาพต่ำ  และแม้จะได้ปรุงแต่งโดยใช้โซดาไฟหรือยูเรียมาแล้วก็ตามเราไม่สามารถจะเลี้ยงสัตว์ด้วยฟางปรุงแต่งดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ  เพราะการปรุงแต่งส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มปริมาณการกินและการย่อย  และจะเพิ่มปริมาณของโปรตีนขึ้นเมื่อเราใส่แอมโมเนียหรือยูเรีย  และ  โปรตีนดังกล่าวก็ไม่ใช่โปรตีนที่แท้จริง  แต่เป็นแหล่งของไนโตรเจนที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะเอาไปสร้างโปรตีนอีกทีหนึ่ง  ดังนั้นในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวธรรมดาหรือฟางที่ปรุงแต่งแล้วก็ตาม  เราควรจะได้พิจารณาให้อาหารเสริมแก่สัตว์ด้วย  และอาหารเสริมดังกล่าวควรจะประกอบด้วยอาหารพลังงาน  โปรตีน  แร่ธาตุ  และไวตามินที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะได้แบ่งไปใช้ส่วนหนึ่ง  และตัวสัตว์เองจะได้นำเอาไปใช้อีกส่วนหนึ่ง  อาหารเสริมที่ควรใช้ร่วมกับฟางข้าวธรรมดาหรือฟางปรุงแต่งมีดังต่อไปนี้

    1.ฟางบวกกับอาหารข้นชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาป่น กากถั่ว หางนมผง เนื้อป่น กากเมล็ดฝ้าย ยูเรียผสมกับกากเมล็ดฝ้าย รำ ปลายข้าว เป็นต้น
    2.ฟางบวกกับรำและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    3.ฟางบวกกับยูเรียและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    4.ฟางบวกกับยูเรีย  กากน้ำตาลและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    5.ฟางหมักยูเรียบวกรำข้าว  ใบมันสำปะหลังแห้งหรืออาหารข้นอื่น ๆ 
    6.ฟางบวกกับข้าวฟ่าง  ยูเรีย  กากน้ำตาล  เกลือแร่ต่าง ๆ 
    7.ฟางบวกกับแหนแดง  หรือผักตบชวา
    8.ฟางบวกกับใบกระถิน
    9.ฟางบวกกับไมยราพยักษ์หรือฝักจามจุรีและอื่น ๆ
    10.ฟางบวกกับอาหารผสมมูลไก่แห้ง

การใช้ผลพลอยได้การเกษตรรูปแบบต่าง ๆ 
                5.2.หญ้าหมัก (Silage)  คือการนำหญ้าหรือพืชต่าง ๆ  มาสับเป็นท่อน ๆ  นำไปหมัก  ในหลุม  หรือบังเกอร์  ปิดให้มิดชิด   เป็นเวลา  21  วัน  ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน  (Anaerobic  condition)  แบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนอยู่ได้(Lactobacillus)  แบคทีเรียจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรตในหญ้าและคาร์โบไฮเดรตในธัญพืชเสริม(silage  preservative)  แล้วแบคทีเรียจะผลิตกรดแลคติก(CH3CHOHCOOH)  และกรดอะซีติค(CH3COOH)ออกมา ทำให้หญ้าไม่เน่า  เมื่อพีเอ็ชได้ที่(ประมาณ  3.5-4)  จุลินทรีย์ทุกชนิดแม้กระทั่ง  Lactobacillus  ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  ทุกขบวนการจะหยุดทำงาน  พืชที่ถูกหมักจะอยู่ในสภาพสด  และสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี  โดยส่วนประกอบทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง  ถ้าไม่ปล่อยให้อากาศซึมเข้า
                5.3.หญ้าแห้ง (Hay)  คือการนำหญ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีปริมาณน้ำในลำต้นต่ำ ตัดแล้วตากแดด 2-3 แดด ติดกัน เก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง



ติดต่อสอบถาม   


หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10