สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
31
rtd91 หลังคาเหล็ก / รู้ก่อนสร้าง ต่อเติมบ้านอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:15:46 PM »
รู้ก่อนสร้าง ต่อเติมบ้านอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

5 เรื่องต้องมีเมื่อต่อเติมบ้าน
 
1. มีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
สำหรับการต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น หากดำเนินการในข้อต่างๆ ดังนี้ จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน

• การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร
• การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน
• การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
• การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐานรับน้ำหนัก

2. มีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม
การขออนุญาตต่อเติมบ้านที่ต้องยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าพนักงานท้องถิ่นนั้น ต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนที่จะใช้ในการต่อเติมที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบ รวมถึงวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง

หากเป็นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของวัสดุก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้น หลังคา เสา จะต้องมีการคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักของฐานจากสถาปนิกหรือวิศวกรที่รับหน้าที่ก่อสร้างด้วย

3. มีระยะร่นและการเว้นที่ว่างถูกต้องตามกฎหมาย
ส่วนของระยะร่นที่เจ้าของบ้านควรรู้ไว้นั้นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนของการก่อสร้างหรือต่อเติมก็ตาม โดยระยะร่นที่ควรมีเป็นดังนี้คือ

• ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนต้องมีอย่างน้อย 3 เมตร
• เว้นที่ว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 เมตร ส่วนที่ว่างด้านหลัง และด้านข้างต้องเว้นไว้อย่างน้อย 2 เมตร
• มีขอบเขตของตัวบ้านไม่เกิน 70% ของที่ดิน ซึ่งจะนับจากชั้นที่มีพื้นที่กว้างสุด
• บ้านที่มีจำนวนชั้น 1 ชั้น หรือมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของช่องเปิด (หน้าต่าง ช่องลม ช่องแสง) ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

4. มีความยินยอมจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง
การต่อเติมบ้านควรดำเนินการไปอย่างไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบบ้าง เช่น เสียงดัง กลิ่น หรือฝุ่น

ดังนั้นก่อนดำเนินการต่อเติมบ้านเจ้าของบ้านควรพูดคุยขอความยินยอมพร้อมแจ้งวันเวลาให้เพื่อนบ้านรับรู้ไว้ก่อน โดยเฉพาะการต่อเติมผนังทึบที่ชิดรั้วบ้านด้านข้างจะต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งภายหลัง

กฎหมายต่อเติมบ้านที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร และไม่ต้องขออนุญาต
• การเปลี่ยนโครงสร้างของบ้านโดยใช้วัสดุที่มีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม
• การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของบ้าน ที่ไม่ถือเป็นโครงสร้างและเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างไม่เกิน 10% เช่น ผนัง พื้น
• การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาคาร โดยมีขนาดและรูปทรงที่เพิ่มน้ำหนักไม่เกิน 10% เช่น ประตู หน้าต่าง ฝ้าเพดาน
• การเพิ่มหรือลดพื้นที่รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช่การลดหรือเพิ่มเสา หรือคาน เช่น การเพิ่มพื้นเฉลียงชั้นล่าง
• การเพิ่มหรือลดพื้นที่ส่วนของหลังคา โดยมีขนาดมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช้การลดหรือเพิ่มเสา คาน

การดำเนินการต่อเติมบ้านโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดถือเป็นความผิดที่เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบดังนี้

• การต่อเติมบ้านในเรื่องที่เป็นข้อบังคับแต่ไม่มีการขออนุญาต เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

• หากเจ้าของบ้านถูกร้องเรียน และสืบพบว่ามีการต่อเติมบ้านผิดกฎหมาย จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

ติดต่อสอบถาม   


32
เทคนิคและข้อกฏหมายการ ต่อเติมบ้าน ที่ควรรู้ ประหยัดเงินได้เป็นแสน!

1.มาดูกันว่ามีสิ่งใดบ้างที่เราควรจะทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดปัญหาใน การต่อเติมบ้าน น้อยที่สุด…
กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง หรือ พรบ.ควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้การก่อสร้าง/ต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและป้องกันการรบกวนบุคคลในพื้นที่ข้างเคียง สรุปพรบ.ง่ายๆ ดังนี้

1.1 ระยะห่างระหว่างอาคารที่ก่อสร้าง / ต่อเติมบ้าน
อาคารชั้นเดียว จนถึงอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่น ต่อเติมบ้าน พื้นที่หลังบ้าน เป็นห้องครัว ห้องซักล้าง ระเบียงชั้น 2 ระยะห่างผนัง ถ้ามีช่องเปิด (ช่องเปิด หมายถึง หน้าต่าง ช่องลม ช่องที่สามารถส่องผ่านได้ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ช่องแสง บล็อกแก้ว)ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

ถ้าเป็นผนังทึบ (ไม่มีผนังช่องเปิด)ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร*ยกเว้น การได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่ข้างเคียง เป็นลายลักษณ์อักษร (มีหนังสือยินยอม) สามารถสร้างชิดเขตแนวที่ดินได้

ระยะห่างชายคา/กันสาด(พื้นที่ที่คนขึ้นไปใช้งานหลักไม่ได้)เช่นเดียวกับผนังทึบ ชายคาต้องห่างจากแนวเขตไม่น้อยกว่า 0.5 ม.

1.2 งวดเงิน /งวดงาน ว่าจ้างผู้รับจ้าง
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง ต่อเติมบ้าน ที่ดีนั้น เอกสารต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันของทั้งผู้รับจ้าง และเจ้าของบ้าน เพื่อเป็นการกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ โดยต้องแบ่งงวดเงินที่จะจ่าย ให้สอดคล้องกับงวดงานที่แล้วเสร็จ

ตัวอย่างงวดงาน งวดงานที่ 1 เคลียร์พื้นที่ ตอกเสาเข็ม แล้วเสร็จ 100%งวดงานที่ 2 ทำฐานรากแล้วเสร็จทุกต้น (100%) ทำตอม่อแล้วเสร็จ 50%งวดสุดท้าย ผู้รับจ้างจะต้องเก็บรายละเอียดงาน ทำความสะอาดหน้าพื้นที่ทำงาน หรือเศษวัสดุออกนอกพื้นที่ทำงาน จนกว่าพื้นที่จะพร้อมต่อการส่งมอบงานได้

ตัวอย่าง งวดเงินเงินงวดที่ 0  *มัดจำก่อนเริ่มงานหลังจากทำสัญญางวดนี้ เพื่อการทำงานที่ราบรื่นงานผู้รับเหมา 20% ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อผู้รับจ้างทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเงินงวดที่ 1  20% ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อผู้รับจ้างทำงานงวดที่ 1 แล้วเสร็จเงินงวดที่ …. (สุดท้าย) 20% ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อผู้รับจ้างทำงานงวดที่ (สุดท้าย) แล้วเสร็จ

1.3 เทคนิคการก่อสร้าง
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “บ้านทุกหลัง หรือทุกอาคารมีการทรุดตัว” ไม่ว่าจะตอก เจาะ เสาเข็มหรือไม่ ก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าจะมาก หรือน้อย แตกต่างกันเมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ต้องเข้าใจว่า “การต่อเติมบ้าน” โครงสร้างใหม่ เข้าไปกับโครงสร้างบ้านเดิม ย่อมมีการ “แยก” ออกจากกัน โดยเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากโครงสร้างบ้านเดิม อยู่บนเสาเข็มที่ตอกไปแล้ว อาจมีการทรุดบ้าง แต่น้อย เช่น 1 เซนติเมตรต่อ 2 ปีแต่ส่วนต่อเติมบ้าน เช่น ครัวหลังบ้าน ไม่ได้ตอกเข็ม ทรุดลงปีละ 3 เซนติเมตร ทำให้เกิดรอยแตกร้าว เป็นต้นสิ่งที่เราพอจะทำได้คือ ป้องกัน/แก้ไข ไม่ให้รอยร้าวนั้น น่าเกลียด ตกแต่งเพื่อความสวยงาม

จุดที่การต่อเติมบ้านที่มักจะเกิดปัญหา ทรุดตัว การแยกตัว แตกร้าวได้แก่ รอยผนังแยกตัวออกจากอาคาร  รอยรั่วจากรอยต่อหลังคา และรอยร้าวตรงมุมประตูและหน้าต่าง

การป้องกันรอยแตกร้าวการ ต่อเติมบ้าน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกจากการออกแบบพื้นที่ คือ ปัญหารอบแตกร้าวต่างๆ นานา จากการ ต่อเติมบ้าน ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องปกติ มีทั้งป้องกันได้ และป้องกันยาก ซึ่งส่วนที่ควรระวัง เน้นย้ำช่าง หรือผู้รับเหมา คือ1. ระหว่างผนังส่วน ต่อเติมบ้านกับผนังบ้านเดิม ส่วนนี้ แยก หรือร้าวแน่นอน ถ้าไม่มีการตอกเสาเข็ม อาจจะเห็นผลในเดือนสองเดือนแรก หลังต่อเติม เนื่องจาก ผนังส่วนนี้ “ทรุดตัว” มากกว่า ผนังของอาคารเดิมวิธีการยืดระยะเวลาการเกิดปัญหานี้ ด้วยการ ตอกเสาเข็มให้พื้น ทรุดตัวน้อย (พอๆกับตัวบ้าน) เป็นการยืดระยะเวลาในการร้าว ได้วิธีการที่ไม่อยากปวดหัวกับรอยนี้ คือการ แยกวัสดุประสานแบบแข็ง (ผนังฉาบ) ออกจากตัวอาคารเดิม รวมถึง ไม่ให้วัสดุแข็ง เช่นกระเบื้อง ปูคร่อมรอยต่อต่างๆ แล้วอุดรอยต่อนี้ด้วย วัสดุยืดหยุ่น เช่น โพลียูรีเทน เพื่อไม่ให้น้ำรั่วซืมเข้าสู่ตัวอาคาร

2.รอยต่อหลังคากับอาคารเดิมเพื่อให้มีความยืดหยุ่น
เมื่อส่วนต่อเติมเกิดการทุรด รอยต่อระหว่างอาคารเก่าจึงสำคัญ แนะนำให้ใช้ Flashing เป็นตัวเชื่อมระหว่างหลังคากับอาคารเดิม

2.1 กรีดร่องผนังฉาบ (อาคารเดิม) ให้เป็นร่อง ตลอดแนวหลังคา
2.2 ติดตั้ง แผ่น Flashing
2.3 อุดร่องผนัง และร่องระหว่างหลังคาด้วย โพลี ยูรีเทนเมื่อส่วน ต่อเติมบ้าน เกิดการทรุด จะทำให้ไม่เกิดช่องว่างที่น้ำหรือฝนสาดเข้าตัวอาคาร


ติดต่อสอบถาม   


33
rtd91 หลังคาเหล็ก / ทำความรู้จักโครงสร้างภายในบ้าน
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:14:12 PM »
ทำความรู้จักโครงสร้างภายในบ้าน
นอกจากโครงการต่างๆที่อยู่ภายนอกบ้านแล้ว โครงสร้างในบ้านก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการต่อเติมในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการกั้นผนัง ซึ่งถ้าเราไม่รู้แลยว่าผนังบ้านเราทำจากอะไรแล้วเกิดไปเจาะ ทุบ ในส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักก็อาจจะทำให้บ้านเราเสียหายได้ โดยโครงสร้างภายในบ้านที่เราต้องดูมีดังนี้

ผนังภายในบ้าน
การต่อเติมเพิ่มห้องหรือลดจำนวนห้องภายในบ้านนั้นจำเป็นจะต้องทราบโครงสร้างของผนังภายในบ้าน เนื่องจากผนังบางชนิดสามารถต่อเติมได้ไม่มีปัญหา แต่บางชนิดไม่สามารถทุบหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในบ้านจัดสรรมักมีโครงสร้างผนังภายใน ดังนี้

ผนังก่ออิฐฉาบปูน
ผนังก่ออิฐ คือ การนำอิฐมาประสานต่อกันโดยมีปูนก่อเป็นตัวเชื่อมนั่นเองค่ะ เมื่อก่อเสร็จแล้วจะมีการฉาบปูนให้ผนังมีนั้นเรียบสวยงาม ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญ ผนังก่ออิฐมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อิฐมอญ, อิฐมวลเบา, อิฐขาว, ซีเมนต์บล็อก หรืออิฐประสาน และวิธีการก่อสร้างมีทั้งก่อแบบเต็มแผ่นและก่อแบบครึ่งแผ่น

ผนังก่ออิฐนั้นมีน้ำหนักมาก ประมาณ 60-180 กิโลกรัม/ตารางเมตร (ขึ้นอยู่กับชนิดของอิฐ) ทำให้ต้องก่อผนังตามแนวคานเท่านั้น แต่เป็นผนังที่มีความแข็งแรงใช้งานได้ทั้งภายใน, ภายนอก รวมถึงพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วย สามารถตกแต่งพื้นผิวได้หลายรูปแบบ และสามารถเจาะช่องเปิดได้ค่ะ ทำให้บ้านที่มีโครงสร้างแบบก่ออิฐมีอิสระในการเลือกตกแต่ง, เจาะแขวน, ต่อเติม ได้มากกว่าแบบอื่นๆ

ผนังสำเร็จรูป ( Precast )
ในปัจจุบันโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมนั้นนิยมใช้การก่อสร้างแบบ Precast กันมากเลยนะคะ  Precast นั้นเป็นระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาจากโรงงาน  ทำให้ควบคุมคุณภาพได้ง่าย ไม่ต้องมากังวลว่าช่างมีฝีมือไหม  ชิ้นส่วนต่างๆมีสัดส่วน และช่องเปิด รวมถึงท่องานระบบที่คำนวณมาให้เหมาะกับการใช้งานเรียบร้อยแล้ว และสามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว เหมือนกับตัวต่อเลโก้ ที่ขนส่งมาเป็นชิ้นๆและประกอบกันได้เลยที่หน้างานค่ะ

โดยส่วนใหญ่แล้วผนังของโครงสร้างแบบ Precast มักเป็นผนังรับน้ำหนักที่ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและผนัง ทำให้มีความแข็งแรง รับแรงด้านข้างได้มากกว่าระบบก่อ แต่ก็ทำให้มีข้อจำกัดด้านการเจาะช่องเปิด และไม่สามารถทุบผนังบางส่วนทิ้งได้ เนื่องจากผนังทำหน้าที่เป็นโครงสร้างด้วยนั่นเองค่ะ ทำให้ไม่เหมาะกับการต่อเติมหรือดัดแปลง

เมื่อเราทราบโครงสร้างเดิมของบ้านแล้วก็มาถึงขั้นตอนในการต่อเติมค่ะ สำหรับการต่อเติมแนะนำว่าให้ทำการคุยขอบเขตกับผู้รับเหมาหรือผู้ออกแบบให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการทำงานไปเรื่อยๆไม่มีแผนงานซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายได้

ติดต่อสอบถาม   


34
rtd91 หลังคาเหล็ก / ทำความรู้จักโครงสร้างภายนอกบ้าน
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:13:16 PM »
ทำความรู้จักโครงสร้างภายนอกบ้าน
การต่อเติมพื้นที่ด้านนอกบ้านส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือโครงสร้างพื้นและเสาเข็มค่ะ โดยปกติแล้วบ้านจัดสรรมักจะทำการเทพื้นบริเวณที่จอดรถและลานซักล้างด้านหลังบ้านมาให้ ส่วนใหญ่เป็นการเทคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบนดิน (Slab On Ground) หรือ บนคาน (Slab on Beam) ที่ลงเสาเข็มมาให้ด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดี–ข้อเสียแตกต่างกันไป

พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab On Ground)
Slab On Ground  เป็นพื้นคอนกรีตหล่อบนพื้นดินหรือทรายบดอัด ไม่มีคานรองรับ มักใช้สำหรับพื้นชั้นล่าง ส่วนใหญ่มักใช้ทำพื้นของที่จอดรถ การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงโดยกระกระจายแรง ดังนั้นการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่ทำให้ดินแน่นก่อนคอนกรีตอาจแตกจากการทรุดตัวได้ พื้นคอนกรีตวางบนดินนี้ ต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เพราะมีอัตราการทรุดตัวตามดินที่สูงค่ะ หากจำเป็นต้องมีส่วนที่ติดกันควรจะแยกรอยต่อ  โดยการคั่นด้วยแผ่นโฟม หรือออกแบบลดระดับพื้นบริเวณขอบพื้นโดยรอบ หรือจะวางหินกรวดตกแต่งอย่างที่บ้านจัดสรรนิยมทำให้เพื่อปกปิดรอยต่อก็ได้เช่นกันค่ะ

โดยโครงสร้างส่วนใหญ่ของลานจอดรถนั้นเป็นระบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) เป็นการเพิ่มความสามารถของคอนกรีตให้รับแรงได้มากขึ้นโดยใช้เหล็กเข้ามาช่วยนั่นเองค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะสามารถรับน้ำหนักได้ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร  สำหรับลานจอดรถขนาดมาตรฐาน 1 คันนั้น จะมีขนาด 2.40 x 5.00 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร รถเก๋ง 1 คัน จะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 – 1,500 กิโลกรัม ต่อคัน , รถกระบะ 1 คัน น้ำหนักประมาณ 1,500 – 1,600 กิโลกรัม ต่อคัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้พื้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน

พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam)
เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คานโดยตรง นิยมใช้ในบ้านและอาคารทั่วไป ลักษณะการถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้มี 2 แบบนะคะ คือ

– พื้นทางเดียว (One Way Slab)
– พื้นสองทาง (Two Way Slab)

พื้นคอนกรีตวางบนคานอาจเป็นได้ทั้งพื้นคอนกรีตหล่อในที่หรือพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปก็ได้ค่ะ แต่สำหรับพื้นส่วนเปียกอย่างเช่น ห้องน้ำ พื้นระเบียงนอกบ้าน ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วซึม ควรใช้เป็นพื้นคอนกรีตหล่อในที่จะสามารถทนต่อความชื่นได้มากกว่าพื้นสำเร็จรูปค่ะ

โครงสร้างเสาเข็ม ( Pile )
ต่อมาสิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อเติมบ้านก็คือเสาเข็ม โดยเสาเข็มเป็นโครงสร้างที่เสริมการรับน้ำหนักและป้องกันการทรุดตัว โดยมีหลักการคือช่วยเพิ่มแรงต้านน้ำหนักของตัวบ้านหรือพื้นที่ส่วนต่อเติม ไม่ให้ทรุดตัวลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและความลึกของเสาเข็มด้วยค่ะ ถ้าเสาเข็มนั้นสั้นไม่ถึงชั้นดินแข็งจะมีเพียงแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวเสาเข็มกับดิน (Skin Friction)  แต่ถ้าเสาเข็มนั้นลึกถึงชั้นดินแข็งก็จะมีแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) เพิ่มขึ้นค่ะ และอีกอย่างที่ควรคำนึงถึงนั่นก็คือความแข็งของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ ถ้าบ้านใครมีที่ดินอยู่ใกล้กับน้ำ หรือดินพึ่งถมมาไม่นาน(ไม่เกิน 2 ปี) ดินจะไม่แน่นมากทำให้มีโอกาสทรุดตัวมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ลึกขึ้นค่ะ ดังนั้นเบื้องต้นเราจึงควรรู้ว่าบ้านของเราใช้เสาเข็มอะไร ถ้าเราซื้อบ้านจากโครงการแนะนำว่าให้ถามก่อนซื้อหรือตัดสินใจต่อเติม ถ้าเป็นบ้านที่สร้างเองก็ควรถามวิศวกรหรือผู้ออกแบบเอาไว้ เราจะได้มีข้อมูลสำหรับการต่อเติมในอนาคต

เสาเข็มเดิมของภายในบ้านทั่วไปที่นิยมใช้ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นที่นิยมมากที่สุดในอาคารพักอาศัย เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูงค่ะ ใช้วิธีการตอกลงไปในดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากและราคาไม่แพง  “แต่เวลาตอกจะเกิดแรงสั่นสะเทือน” แบ่งย่อยออกตามลักษณะรูปทรงหลากหลาย เช่น

เสาเข็มรูปตัวไอ (มักใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักตัวบ้าน)
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
เสาเข็มรูปตัวที
เสาเข็มเจาะ (bored pile)

เสาเข็มเจาะนั้นต้องใช้เครื่องมือเจาะลงบนที่ดินบนพื้นที่ใช้งานเลย จากนั้นจึงใส่เหล็กและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม จะมีกรรมวิธีก่อสร้างที่ยุ่งยาก และใช้เวลามากกว่า เหมาะกับงานที่ต้องการรับน้ำหนักสูง “แต่จะไม่เกิดแรงสั่นสะเทือนเวลาติดตั้ง” และมีข้อจำกัดเรื่องขนาดกับความลึกน้อยกว่า รับน้ำหนักได้มากกว่า ส่วนราคานั้นจะแพงและมีขั้นตอนการติดตั้งยากกว่า


ติดต่อสอบถาม   


35
rtd91 หลังคาเหล็ก / ต่อเติมอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:12:24 PM »
ต่อเติมอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
กฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรจะมองข้ามในการต่อเติมบ้าน หากเราทำการต่อเติมไปแล้วผิดกฎหมายก็จะเดือดร้อนต้องมาทุบทิ้งกัน หรืออาจจะเกิดการร้องเรียนขึ้นทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมา ทำให้เราเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านนั้นหลักๆแล้วก็จะมีเรื่องระยะต่างๆรอบตัวบ้าน

ระยะห่างระหว่างอาคาร
การต่อเติมอาคารชั้นเดียว หรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่นการต่อเติมพื้นที่ครัวด้านหลังบ้าน , ต่อเติมห้องด้านข้างรวมถึงลานจอดรถนั้น จะมีข้อกำหนดเรื่องระยะห่างของผนังและที่ดินบ้านข้างเคียง ดังนี้

- ผนังที่มีช่องเปิด ( เช่น หน้าต่าง, ช่องลมระบายอากาศ, ช่องแสง หรือบล็อคแก้ว) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
- ผนังทึบ (ไม่มีช่องแสง) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

สำหรับหมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไปแล้ว เราสามารถเจรจากับเพื่อนบ้านด้านข้างฝั่งที่เราต่อเติม ถ้าเพื่อนบ้านยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร เราก็สามารถสร้างชิดแนวเขตที่ดินได้ค่ะ

ระยะชายคา, กันสาด
การต่อเติมชายคา (ที่พื้นที่ด้านบนไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้) จะต้องเว้นระยะจากชายคา จนถึงแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกันกับการต่อเติมผนังทึบค่ะ

ระยะระเบียงชั้นบน
การต่อเติมระเบียงชั้นบน หรือหลังคาที่สามารถขึ้นไปใช้งานด้านบนได้ จะต้องเว้นระยะจากระเบียง จนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เช่นเดียวกับการต่อเติมผนังที่มีช่องเปิดค่ะ

ระยะห่างจากถนนสาธารณะ
สำหรับใครที่อยากจะต่อเติมบ้านออกมาทางด้านหน้าจะเป็นห้องอเนกประสงค์หรือห้องอื่นๆก็ดี จะต้องคำนึงถึงกฎหมายดังนี้ อาคารพักอาศัยที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 10 เมตร และพื้นที่รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร จะมีกฏหมายบังคับเกี่ยวกับแนวร่นอาคารจาก ทางสาธารณะ ดังนี้

- ถ้าถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6.00 เมตร ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลาง ถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3.00 เมตร
- ถ้าถนนสาธารณะกว้างมากกว่าง 6.00 เมตร ริมแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะ
- อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 0.50 เมตร
- อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 1.00 เมตร


ติดต่อสอบถาม   


36
rtd91 หลังคาเหล็ก / ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกต้อง ถูกเงิน และถูกใจ ​
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:11:53 PM »
​​​​​​​​​​​ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกต้อง ถูกเงิน และถูกใจ ​

การต่อเติมบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่ บ้านเก่า หรือบ้านในโครงการจัดสรร ถือว่าเป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เนื่องจากเจ้าของบ้านมีความต้องการที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มพื้นที่ใช้สอย เพื่อรองรับกับความต้องการของสมาชิกในครอบครัว การต่อเติมที่นิยมทำกันมาก เช่น ต่อเติมครัวไทย เพื่อแยกโซนประกอบอาหารอย่างชัดเจน ต่อเติมโรงรถ เพื่อกันแดดกันฝน และช่วยถนอมสีรถยนต์ หรือการต่อเติมห้องสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนมากจะต่อเติมชั้นล่าง เพื่อความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุภายในบ้าน

ต่อเติมบ้านให้ถูกต้อง​

          ก่อนที่จะคิดถึงเรื่องของการออกแบบบ้าน หรือการหาผู้รับเหมา ควรพิจารณาก่อนว่าการ “ต่อเติมบ้านให้ถูกต้อง” ต้องทำอย่างไร คำว่า ต่อเติมบ้าน เป็นคำพูดที่นิยมเรียกกันจนติดปาก แต่ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร จะใช้คำว่า "ดัดแปลง" จะให้ความหมายกว้างกว่าต่​​​อเติม และหากการต่อเติมเข้าหลักเกณฑ์ของคำว่า "ดัดแปลง" ตาม พ.ร.บ. นี้คือ "การเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของโครงสร้างอาคารหรือส่วนต่างๆ ของอาคาร ที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม" เช่น การต่อเติมครัวด้านหลังบ้าน ถือว่าเป็นการดัดแปลงตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร แต่ต่อเติมบางเรื่องเป็นเรื่องของการซ่อมแซม หรือเป็นเรื่องเล็กน้อย กฎหมายก็อนุโลมว่า ไม่ต้องขออนุญาต หรือแจ้งเจ้าพนักงาน เรื่องที่เป็นข้อยกเว้นที่สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาต (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 พ.ศ. 2528) มีดังนี้
​         
           -​​การขยาย (หรือลด) เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่ม (หรือลด) จำนวนเสาหรือคาน
           - การขยาย (หรือลด) เนื้อที่ของหลังคาให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่ม (หรือลด) จำนวนเสาหรือคาน
           ​- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร เช่น เสา คาน ฐานราก และโครงสร้างนั้นไม่ใช่คอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ดังนั้น ถ้าโครงสร้างอาคารที่เราเปลี่ยนเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เราจะต้องขอ หรือแจ้งเจ้าพนักงานเสมอ แม้ขนาด จำนวน วัสดุ หรือชนิดเสา หรือคานที่เป็นโครงสร้างนั้นจะเหมือนเดิมทุกอย่างก็ตาม
           - การเปลี่ยนส่วนใดๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร (เช่น ประตู ฝ้าเพดาน พื้น ผนัง) โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม
           - การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่ส่วนใดๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร เช่น ประตู ฝ้าเพดาน พื้น ผนัง และการดำเนินการพวกนี้ไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิม

          หากศึกษาไม่ดีอาจทำผิดกฎหมายได้ และอาจได้รับโทษเพิ่มอีก เพราะตามกฎหมายกำหนดว่าการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ​     นอกจากนี้ ยังมีหลักเกณฑ์เรื่องระยะถอยร่น หรือระยะห่างระหว่างอาคารกับที่ด้านข้าง หรือถนนอีกด้วย ซึ่งจะดัดแปลงให้ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์พวกนี้ไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตในการดัดแปลงหรือไม่ก็ตาม (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543)

          อย่าลืมบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้ทราบด้วย เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะบางบ้านมีผู้สูงอายุหรือเด็กอ่อน พักอยู่ ซึ่งการต่อเติมบ้านนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีเรื่องของเสียงดัง หรือกลิ่นจากพวกสี หรือทินเนอร์ เป็นต้น ทำให้เพื่อนบ้านได้รับผลกระทบ บางกรณีต้องทำเป็นหนังสือให้เพื่อนบ้านเซ็นรับทราบเรื่องการต่อเติมบ้านด้วย ทั้งนี้ เวลาในการทำงานของผู้รับเหมาที่เหมาะสม และไม่เป็นการรบกวนเพื่อนบ้านจนเกินไป คือ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 น. – 18.00 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00 น. – 17.00 น. ส่วนวันอาทิตย์ หยุดพัก 1 วัน


ติดต่อสอบถาม   


37
rtd91 หลังคาเหล็ก / ต่อเติมบ้านอย่างไรดี ไม่ให้มีปัญหาตามมา
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:11:05 PM »
ต่อเติมบ้านอย่างไรดี ? ไม่ให้มีปัญหาตามมา

หลายๆคนคงจะเคยได้ยินข่าวความเสียหายจากการต่อเติมบ้านกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้านทรุด , การแตกร้าว หรือ น้ำรั่วซึม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของการอยู่อาศัยเลยทีเดียวใช่มั้ยคะ สำหรับใครที่กำลังจะต่อเติมบ้านแล้วคิดว่าต่อเติมนิดๆหน่อยๆคงไม่เป็นอะไรมากนั้น วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับข้อควรระวังต่างๆในการต่อเติม รวมถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและโครงสร้าง เพื่อให้บ้านของเราเมื่อต่อเติมไปแล้วนั้นไม่มีปัญหาบานปลายค่ะ

การต่อเติมบ้านนั้นถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับตัวบ้าน เมื่อเราอยู่ไปซักระยะนึง เราอาจจะอยากปรับเปลี่ยนหรืออยากได้พื้นที่มากขึ้น รวมถึงการขยายครอบครัวด้วยนะคะ หลายๆคนก็ลองทำแบบงูๆปลาๆจ้างช่างมาต่อเติมเลย หรือบางครอบครัวก็ค่อยๆต่อเติมไปเรื่อยๆโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้าง จากสิ่งที่เรากล่าวมา อาจจะทำให้มีปัญหาในการต่อเติมตามมาได้ค่ะ ก่อนที่จะทำการต่อเติม เรามาดูกันก่อนว่าโดยปกติแล้วเราสามารถต่อเติมบ้านตรงไหนได้บ้าง ถ้าแบ่งตามที่คนนิยมทำกันจะมีอยู่ 4 ส่วนด้วยกันคือ

ต่อเติมหน้าบ้าน เพื่อทำหลังคากันสาด, หลังคาที่จอดรถ
ต่อเติมข้างบ้าน เพื่อทำเป็นห้องอเนกประสงค์
ต่อเติมหลังบ้าน เพื่อทำเป็นครัวไทย
ต่อเติม ปรับปรุงพื้นที่ภายในบ้าน เช่น กั้นห้องเพิ่ม, ทุบผนังห้องออก
โดยการต่อเติมแต่ละแบบนั้นจะมีปัจจัยให้คำนึงหลากหลาย เราจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโครงสร้างบ้านเดิมที่เราอยู่ก่อนค่ะ ว่าคืออะไรจะได้ทำการต่อเติมได้ถูกต้องและไม่มีผลกระทบกับโครงสร้าง สำหรับการต่อเติมภายนอกบ้านจะมีเรื่องของกฎหมายมาประกอบด้วย ซึ่งจะมีอะไรบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ

ต่อเติมอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
กฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรจะมองข้ามในการต่อเติมบ้าน หากเราทำการต่อเติมไปแล้วผิดกฎหมายก็จะเดือดร้อนต้องมาทุบทิ้งกัน หรืออาจจะเกิดการร้องเรียนขึ้นทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมา ทำให้เราเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านนั้นหลักๆแล้วก็จะมีเรื่องระยะต่างๆรอบตัวบ้าน

ระยะห่างระหว่างอาคาร
การต่อเติมอาคารชั้นเดียว หรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่นการต่อเติมพื้นที่ครัวด้านหลังบ้าน , ต่อเติมห้องด้านข้างรวมถึงลานจอดรถนั้น จะมีข้อกำหนดเรื่องระยะห่างของผนังและที่ดินบ้านข้างเคียง ดังนี้

- ผนังที่มีช่องเปิด ( เช่น หน้าต่าง, ช่องลมระบายอากาศ, ช่องแสง หรือบล็อคแก้ว) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
- ผนังทึบ (ไม่มีช่องแสง) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

สำหรับหมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไปแล้ว เราสามารถเจรจากับเพื่อนบ้านด้านข้างฝั่งที่เราต่อเติม ถ้าเพื่อนบ้านยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร เราก็สามารถสร้างชิดแนวเขตที่ดินได้ค่ะ

ระยะชายคา, กันสาด
การต่อเติมชายคา (ที่พื้นที่ด้านบนไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้) จะต้องเว้นระยะจากชายคา จนถึงแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกันกับการต่อเติมผนังทึบค่ะ

ระยะระเบียงชั้นบน
การต่อเติมระเบียงชั้นบน หรือหลังคาที่สามารถขึ้นไปใช้งานด้านบนได้ จะต้องเว้นระยะจากระเบียง จนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เช่นเดียวกับการต่อเติมผนังที่มีช่องเปิดค่ะ

ระยะห่างจากถนนสาธารณะ
สำหรับใครที่อยากจะต่อเติมบ้านออกมาทางด้านหน้าจะเป็นห้องอเนกประสงค์หรือห้องอื่นๆก็ดี จะต้องคำนึงถึงกฎหมายดังนี้ อาคารพักอาศัยที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 10 เมตร และพื้นที่รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร จะมีกฏหมายบังคับเกี่ยวกับแนวร่นอาคารจาก ทางสาธารณะ ดังนี้

- ถ้าถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6.00 เมตร ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลาง ถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3.00 เมตร
- ถ้าถนนสาธารณะกว้างมากกว่าง 6.00 เมตร ริมแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะ
- อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 0.50 เมตร
- อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 1.00 เมตร

ทำความรู้จักโครงสร้างภายนอกบ้าน
การต่อเติมพื้นที่ด้านนอกบ้านส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือโครงสร้างพื้นและเสาเข็มค่ะ โดยปกติแล้วบ้านจัดสรรมักจะทำการเทพื้นบริเวณที่จอดรถและลานซักล้างด้านหลังบ้านมาให้ ส่วนใหญ่เป็นการเทคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบนดิน (Slab On Ground) หรือ บนคาน (Slab on Beam) ที่ลงเสาเข็มมาให้ด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดี–ข้อเสียแตกต่างกันไป

พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab On Ground)
Slab On Ground  เป็นพื้นคอนกรีตหล่อบนพื้นดินหรือทรายบดอัด ไม่มีคานรองรับ มักใช้สำหรับพื้นชั้นล่าง ส่วนใหญ่มักใช้ทำพื้นของที่จอดรถ การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงโดยกระกระจายแรง ดังนั้นการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่ทำให้ดินแน่นก่อนคอนกรีตอาจแตกจากการทรุดตัวได้ พื้นคอนกรีตวางบนดินนี้ ต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เพราะมีอัตราการทรุดตัวตามดินที่สูงค่ะ หากจำเป็นต้องมีส่วนที่ติดกันควรจะแยกรอยต่อ  โดยการคั่นด้วยแผ่นโฟม หรือออกแบบลดระดับพื้นบริเวณขอบพื้นโดยรอบ หรือจะวางหินกรวดตกแต่งอย่างที่บ้านจัดสรรนิยมทำให้เพื่อปกปิดรอยต่อก็ได้เช่นกันค่ะ

โดยโครงสร้างส่วนใหญ่ของลานจอดรถนั้นเป็นระบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) เป็นการเพิ่มความสามารถของคอนกรีตให้รับแรงได้มากขึ้นโดยใช้เหล็กเข้ามาช่วยนั่นเองค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะสามารถรับน้ำหนักได้ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร  สำหรับลานจอดรถขนาดมาตรฐาน 1 คันนั้น จะมีขนาด 2.40 x 5.00 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร รถเก๋ง 1 คัน จะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 – 1,500 กิโลกรัม ต่อคัน , รถกระบะ 1 คัน น้ำหนักประมาณ 1,500 – 1,600 กิโลกรัม ต่อคัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้พื้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน

พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam)
เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คานโดยตรง นิยมใช้ในบ้านและอาคารทั่วไป ลักษณะการถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้มี 2 แบบนะคะ คือ

– พื้นทางเดียว (One Way Slab)

– พื้นสองทาง (Two Way Slab)

พื้นคอนกรีตวางบนคานอาจเป็นได้ทั้งพื้นคอนกรีตหล่อในที่หรือพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปก็ได้ค่ะ แต่สำหรับพื้นส่วนเปียกอย่างเช่น ห้องน้ำ พื้นระเบียงนอกบ้าน ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วซึม ควรใช้เป็นพื้นคอนกรีตหล่อในที่จะสามารถทนต่อความชื่นได้มากกว่าพื้นสำเร็จรูปค่ะ

โครงสร้างเสาเข็ม ( Pile )
ต่อมาสิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อเติมบ้านก็คือเสาเข็ม โดยเสาเข็มเป็นโครงสร้างที่เสริมการรับน้ำหนักและป้องกันการทรุดตัว โดยมีหลักการคือช่วยเพิ่มแรงต้านน้ำหนักของตัวบ้านหรือพื้นที่ส่วนต่อเติม ไม่ให้ทรุดตัวลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและความลึกของเสาเข็มด้วยค่ะ ถ้าเสาเข็มนั้นสั้นไม่ถึงชั้นดินแข็งจะมีเพียงแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวเสาเข็มกับดิน (Skin Friction)  แต่ถ้าเสาเข็มนั้นลึกถึงชั้นดินแข็งก็จะมีแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) เพิ่มขึ้นค่ะ และอีกอย่างที่ควรคำนึงถึงนั่นก็คือความแข็งของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ ถ้าบ้านใครมีที่ดินอยู่ใกล้กับน้ำ หรือดินพึ่งถมมาไม่นาน(ไม่เกิน 2 ปี) ดินจะไม่แน่นมากทำให้มีโอกาสทรุดตัวมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ลึกขึ้นค่ะ ดังนั้นเบื้องต้นเราจึงควรรู้ว่าบ้านของเราใช้เสาเข็มอะไร ถ้าเราซื้อบ้านจากโครงการแนะนำว่าให้ถามก่อนซื้อหรือตัดสินใจต่อเติม ถ้าเป็นบ้านที่สร้างเองก็ควรถามวิศวกรหรือผู้ออกแบบเอาไว้ เราจะได้มีข้อมูลสำหรับการต่อเติมในอนาคต

เสาเข็มเดิมของภายในบ้านทั่วไปที่นิยมใช้ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นที่นิยมมากที่สุดในอาคารพักอาศัย เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูงค่ะ ใช้วิธีการตอกลงไปในดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากและราคาไม่แพง  “แต่เวลาตอกจะเกิดแรงสั่นสะเทือน” แบ่งย่อยออกตามลักษณะรูปทรงหลากหลาย เช่น

เสาเข็มรูปตัวไอ (มักใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักตัวบ้าน)
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
เสาเข็มรูปตัวที
เสาเข็มเจาะ (bored pile)

เสาเข็มเจาะนั้นต้องใช้เครื่องมือเจาะลงบนที่ดินบนพื้นที่ใช้งานเลย จากนั้นจึงใส่เหล็กและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม จะมีกรรมวิธีก่อสร้างที่ยุ่งยาก และใช้เวลามากกว่า เหมาะกับงานที่ต้องการรับน้ำหนักสูง “แต่จะไม่เกิดแรงสั่นสะเทือนเวลาติดตั้ง” และมีข้อจำกัดเรื่องขนาดกับความลึกน้อยกว่า รับน้ำหนักได้มากกว่า ส่วนราคานั้นจะแพงและมีขั้นตอนการติดตั้งยากกว่า

เสาเข็มเจาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก( small diameter bored pile ) เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process )โดยใช้เครื่องมือขุดเจาะธรรมดา วิธีการไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่( large diameter bored pile ) เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process ) ซึ่งจะมีความยุ่งยาก และหน้างานเลอะเทอะมากกว่าค่ะ
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (prestressed concrete spun pile)

โดยทั่วไปแล้วจะเรียกกันว่าเสาเข็มสปัน ผลิตโดยการใช้ กรรมวิธีปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา มีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง ฝังโครงลวดเหล็กอัดแรง การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดาและแบบกด เนื่องจากตรงกลางกลวงช่วยลดแรงสั่นสะเทือนเวลาตอกได้ค่ะ ช่วยให้ไม่สะเทือนกระทบต่อโครงสร้างเดิมเท่าเสาเข็มอัดแรงธรรมดา




ติดต่อสอบถาม   


38
rtd91 หลังคาเหล็ก / การต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมาย ต้องทำอย่างไร
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:09:40 PM »
การต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมาย ต้องทำอย่างไร

การต่อเติมบ้านถือเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรือทาวน์โฮม โดยเฉพาะการต่อเติมหลังคาจอดรถด้านหน้าและพื้นที่ครัวด้านหลัง ซึ่งหากไม่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็อาจมีโทษถึงการจำคุกเลยทีเดียว เจ้าของบ้านจึงต้องศึกษาหลักการต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

การต่อเติมบ้านคืออะไร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร) มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า “ดัดแปลง” ให้หมายถึงการเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่โครงสร้างหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ก่อสร้างไปแล้วให้เปลี่ยนไปจากเดิม ส่วนการต่อเติมบ้านคือคำที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไป ซึ่งมีความหมายเดียวกัน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน
หัวใจสำคัญคือ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร
เนื่องจาก พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร คือกฎหมายที่ใช้ควบคุมการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย มีความปลอดภัย มีการป้องกันอัคคีภัย และไม่รุกล้ำหรือรบกวนพื้นที่รอบข้าง การต่อเติมบ้านทุกหลังจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้อย่างเคร่งครัด

ไม่สามารถต่อเติมบ้านจนเต็มที่ดินของตัวเอง
เจ้าของบ้านไม่สามารถต่อเติมบ้านจนเต็มมิดทั้งพื้นที่ หรือเต็มปิดทึบด้านหน้า ด้านข้าง และ/หรือด้านหลังได้ เนื่องจากมีกฎหมายเกี่ยวกับระยะร่นและที่เว้นว่างควบคุมอยู่ นั่นคือ เจ้าของบ้านต้องมีระยะเว้นพื้นที่ว่างระหว่างหน้าตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเอง

ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกกฎหมาย

ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
ไม่ว่าจะต่อเติมบ้านชั้นเดียว หรือต่อเติมบ้าน 2 ชั้น หากครอบคลุมพื้นที่เกิน 5 ตารางเมตร หรือมีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้วัสดุหรือขนาดที่ต่างไปจากเดิม หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้น้ำหนักบ้านเพิ่มขึ้น เจ้าของบ้านจะต้องทำเรื่องขออนุญาตกับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน จึงจะดำเนินการได้

ต้องมีสถาปนิกและวิศวกรควบคุม
ในการขออนุญาตต่อเติมบ้านกับเจ้าพนักงาน เจ้าของบ้านก็ต้องมีแบบแปลนที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง และในกรณีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ เช่น การเปลี่ยนพื้นจากไม้เป็นกระเบื้อง ก็ต้องให้สถาปนิกหรือวิศวกรก่อสร้างช่วยคำนวณน้ำหนัก เพื่อสรุปว่าการต่อเติมบ้านจะเข้าข่ายต้องขออนุญาตก่อนหรือไม่

ต้องทำตามกฎหมายระยะร่นและที่เว้นว่าง
ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างหรือต่อเติมบ้าน ล้วนต้องอยู่ในการควบคุมของกฎหมายระยะร่นและที่เว้นว่าง ซึ่งสรุปได้ดังนี้

- ต้องมีระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร
- ต้องมีที่เว้นว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 เมตร ด้านหลังและด้านข้างอย่างน้อย 2 เมตร
- ต้องมีขอบเขตอาคารไม่เกิน 70% ของที่ดิน โดยนับจากชั้นที่กว้างที่สุด

ทั้งนี้ระยะร่นและที่เว้นว่างดังกล่าวขึ้นอยู่กับความกว้างถนน ประเภทและความสูงอาคาร ยกตัวอย่างการต่อเติมทาวน์โฮมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พื้นที่หลังทาวน์โฮมจะต้องมีที่ว่างทุกหลัง และในกรณีการต่อเติมบ้านด้านข้าง หากผนังด้านนั้นมีประตูหรือหน้าต่าง ก็จะต่อเติมจนชิดรั้วบ้านไม่ได้

ต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้าน
เพราะการต่อเติมบ้าน ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ดังนั้น เจ้าของบ้านจำเป็นต้องพูดคุยขอความยินยอมจากเพื่อนบ้านก่อนการต่อเติมด้วย และในบางกรณี เช่น การต่อเติมผนังทึบชิดรั้วบ้านด้านข้าง ก็ต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันความขัดแย้งกันในอนาคต

ถ้าไม่ต่อเติมบ้านให้ถูกกฎหมาย
หากการต่อเติมบ้านเข้าข่ายต้องขออนุญาต แต่ไม่ขออนุญาต หรือขออนุญาตแล้ว แต่ไม่ทำตามที่ขออนุญาต เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ถ้าเจ้าของบ้านถูกร้องเรียน และพบว่าต่อเติมบ้านแบบผิดกฎหมาย จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง



ติดต่อสอบถาม   


39
rtd91 หลังคาเหล็ก / การต่อเติม-ทุบ ผนังภายในบ้าน
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:08:43 PM »
การต่อเติม-ทุบ ผนังภายในบ้าน
ใครที่ต้องการพื้นที่ภายในบ้านที่มากขึ้น หรือมีคนใช้งานภายในบ้านน้อยกว่าจำนวนห้องที่มี ก็มักจะอยากเชื่อมต่อห้องโดยการทุบผนังออก เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในให้มากขึ้น และในทางกลับกันสำหรับคนที่คิดว่าพื้นที่ภายในบ้านนั้นโล่งกว้างต้องการกั้นห้องเพื่อการใช้งานที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น ควรคำนึงถึงการต่อเติม, ดัดแปลงดังนี้ค่ะ

เจาะผนัง : ผนังที่สามารถทำการเจาะ หรือทุบออกได้ต้องเป็นผนังที่เกิดจากการก่อ , ผนังเบา หรือผนัง Precast ที่ไม่ใช่ผนังรับน้ำหนักและมีแบบตำแหน่งการเดินท่องานระบบชัดเจน เพื่อให้ทำการเจาะแล้วงานระบบไม่เสียหายค่ะ

ต่อเติมผนัง : หากต้องการต่อเติมผนังภายในบ้านสามารถต่อเติมได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของค่ะ ถ้าต้องการกั้นห้องชั่วคราว รื้อออกได้ไม่เสียหาย แนะนำเป็นผนังโครงเบาค่ะ แต่ถ้าต้องการกั้นห้องแบบถาวร ป้องกันเสียงได้ แนะนำให้กั้นเป็นผนังก่อ เป็นต้น โดยวัสดุที่นิยมใช้ในการต่อเติมผนังได้แก่การก่ออิฐฉาบปูนนั่นเอง

ผนังชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ก่ออิฐฉาบปูน
ผนังโครงเบา (Smart Board)

ผนังโครงเบาคือผนังที่มีโครงคร่าวติดกับแผ่นผนัง โครงคร่าวมีทั้งเป็นไม้แต่ที่นิยมใช้กันนั้นจะเป็นโครงคร่าวโลหะ (กัลวาไนซ์ , เหล็กรูปพรรณ) วัสดุแผ่นหนังเองก็มีให้เลือกใช้มากมายเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ , ไม้อัดซีเมนต์, แผ่นยิปซั่ม หรือแผ่นไม้อัด ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป

ผนังโครงสร้างเบานั้นสามารถซ่อมแซม รื้อถอนได้ง่ายเนื่องจากมีน้ำหนักที่เบา แผ่นที่รื้อออกมาแล้วนำกลับไปใช้ใหม่ได้ และใช้เวลาในการติดตั้งน้อยค่ะ แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถใช้กับพื้นที่ที่มีน้ำขังได้ จึงไม่ควรใช้กับภายนอกด้วย ผนังโครงเบาเหมาะกับคนที่ต้องการต่อเติมกั้นห้องภายในบ้าน โดยไม่ต้องเลอะเทอะกับการผสมปูนก่ออิฐ

ผนังกระจก (Curtain wall)

เป็นผนังที่ยึดกับโครงสร้างของอาคาร โดยจะมีกรอบโครงเหล็กหรืออลูมิเนียม มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยจะใช้กระจกที่มีความหนาอย่างน้อย 6 มิลลิเมตร ควรใช้เป็นกระจกเทมเปอร์ที่แตกเป็นเม็ดข้าวโพดไม่แหลมคม ,กระจกเทมเปอร์ลามิเนตที่มีฟิล์มช่วยยึดกระจกไม่ให้ร่วงหล่นลงมา หรือกระจกฮีทสเตรงเท่น (Heat Strengthened glass หรือ H/S) ที่มีความแข็งแรงมากกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า ทั้งนี้ควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้วยค่ะ เนื่องจากเป็นวัสดุที่เปราะบางและอาจเกิดอันตรายได้

ผนังกระจกจะมีความสามารถการกันเสียงน้อยกว่าผนังก่อ แผ่ความร้อนได้มากกว่า เนื่องจากมีคุณสมบัติโปร่งใส แต่การกั้นห้องด้วยผนังกระจกทำให้ห้องดูโปร่งโล่ง และมีแสงผ่านได้มาก เหมาะกับห้องที่ต้องการกั้นต่อเติมโดยไม่ให้ความรู้สึกคับแคบ ไม่เน้นเรื่องความเป็นส่วนตัว, เสียงรบกวนมากนัก


ติดต่อสอบถาม   


40
rtd91 หลังคาเหล็ก / 4 เรื่องต้องมีเมื่อต่อเติมบ้าน
« กระทู้ล่าสุด โดย Admin เมื่อ กรกฎาคม 31, 2022, 05:07:54 PM »
4 เรื่องต้องมีเมื่อต่อเติมบ้าน
 
1. มีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
สำหรับการต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น หากดำเนินการในข้อต่างๆ ดังนี้ จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน

การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร
• การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน
• การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
• การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐานรับน้ำหนัก

2. มีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม
การขออนุญาตต่อเติมบ้านที่ต้องยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าพนักงานท้องถิ่นนั้น ต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนที่จะใช้ในการต่อเติมที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบ รวมถึงวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง

หากเป็นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของวัสดุก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้น หลังคา เสา จะต้องมีการคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักของฐานจากสถาปนิกหรือวิศวกรที่รับหน้าที่ก่อสร้างด้วย

3. มีระยะร่นและการเว้นที่ว่างถูกต้องตามกฎหมาย
ส่วนของระยะร่นที่เจ้าของบ้านควรรู้ไว้นั้นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนของการก่อสร้างหรือต่อเติมก็ตาม โดยระยะร่นที่ควรมีเป็นดังนี้คือ

• ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนต้องมีอย่างน้อย 3 เมตร
• เว้นที่ว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 เมตร ส่วนที่ว่างด้านหลัง และด้านข้างต้องเว้นไว้อย่างน้อย 2 เมตร
• มีขอบเขตของตัวบ้านไม่เกิน 70% ของที่ดิน ซึ่งจะนับจากชั้นที่มีพื้นที่กว้างสุด
• บ้านที่มีจำนวนชั้น 1 ชั้น หรือมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของช่องเปิด (หน้าต่าง ช่องลม ช่องแสง) ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

4. มีความยินยอมจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง
การต่อเติมบ้านควรดำเนินการไปอย่างไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบบ้าง เช่น เสียงดัง กลิ่น หรือฝุ่น

ดังนั้นก่อนดำเนินการต่อเติมบ้านเจ้าของบ้านควรพูดคุยขอความยินยอมพร้อมแจ้งวันเวลาให้เพื่อนบ้านรับรู้ไว้ก่อน โดยเฉพาะการต่อเติมผนังทึบที่ชิดรั้วบ้านด้านข้างจะต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งภายหลัง


ติดต่อสอบถาม   


หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10