สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ก่อนสร้างเตรียมพื้นที่อย่างไร ป้องกันโพรงใต้บ้านระยะยาว  (อ่าน 3826 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
รู้ก่อนสร้าง...เตรียมพื้นที่อย่างไร ป้องกันโพรงใต้บ้านระยะยาว

สร้างบ้านหนึ่งหลัง มีปัจจัยต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงมากมาย ทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน อาทิ ปัญหาดินทรุดจนโพรงใต้บ้าน ซึ่งสามารถป้องกันได้เมื่อมีการเตรียมพื้นที่ให้พร้อมอย่างดีก่อนเริ่มก่อสร้างบ้าน

การป้องกันโพรงที่มีโอกาสเกิดขึ้นภายหลังการสร้างบ้านนั้น เจ้าของบ้านอาจเตรียมการตั้งแต่ขั้นตอนการถมดิน หรือการวางเสาเข็มก่อนสร้างบ้าน โดย 2 วิธีนี้มีข้อควรรู้ที่แตกต่างกัน

1. การถมดินก่อนสร้าง ป้องกันโพรงใต้บ้าน
การถมดินนอกจากจะเป็นการยกระดับความสูงของพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือการวางท่อระบายน้ำภายในบ้านให้อยู่สูงกว่าถนนแล้ว ยังเป็นการช่วยเร่งการทรุดตัวของพื้นดินเดิม เนื่องจากมีน้ำหนักไปกดทับพื้นดินเดิมที่ยังไม่แน่นดีให้ยุบตัวลงไปเร็วขึ้น

ทั้งนี้การสร้างบ้านบนที่ดินเปล่า จะลดปัญหาการเคลียร์พื้นที่ และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่งเจ้าของบ้านควรให้ความสำคัญกับการปรับระดับพื้นที่ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ

1.1 ลักษณะพื้นที่ที่จะถมดิน
ควรตรวจสอบลักษณะพื้นที่เบื้องต้น เพื่อประกอบการกำหนดระดับความสูงของดินที่จะถมสังเกตต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินแปลงนั้น

ต้นกระถินหรือมะขามเทศ แสดงว่าพื้นดินบริเวณนั้นแห้ง
ต้นกก อ้อ ธุปฤาษี แสดงว่าเป็นพื้นที่บริเวณนั้นมีความชื้นแฉะสูง สภาพดินมีความอ่อนตัว
สอบถามสภาพพื้นที่จากผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น เช่น การเกิดน้ำท่วม มีความสูงเท่าไร ใช้เวลาแห้งนานแค่ไหน หรือพื้นที่มีน้ำท่วมขังตลอดหรือไม่ เพราะจะส่งผลให้ดินมีความอ่อนตัวสูง และแปรสภาพเป็นดินโคลนหรือเลน หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้มีค่าถมที่สูง ใช้เวลาให้ดินแน่นนาน เพราะการเผื่อค่ายุบตัวของดินก็จะถูกประเมินสูงกว่าที่ดินที่มีสภาพแห้งกว่า

1.2 ความสูงของพื้นที่ที่จะถม
การถมที่ดินนั้นจะต้องมีการกำหนดระยะความสูงของดินที่จะถม ซึ่งควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับของพื้นถนน ระดับของพื้นที่ปกติที่น้ำท่วมถึง ความสูงของบ้านหลังอื่นๆ หรือพื้นที่ดินเปล่า ซึ่งในอนาคตอาจมีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะถูกถมที่ให้สูงกว่าเดิมด้วย

โดยทั่วไป การถมที่ดินจะให้มีความสูงกว่าถนนประมาณ 50-80 เซ็นติเมตร หรือบางพื้นที่ที่อาจต้องถมดินให้สูงถึง 1 เมตร เพื่อเผื่อไว้สำหรับการยุบตัวของดินในอนาคต

1.3 ระยะเวลาการทิ้งพื้นที่ไว้
สำหรับบ้านที่ถมดินเรียบร้อยแล้ว ไม่ควรดำเนินการสร้างบ้านทันที ทิ้งระยะเวลาให้ผ่านไประยะหนึ่ง เพื่อให้หน้าดินมีการเซตตัวและไม่เกิดการทรุดตัวมากในระยะยาว

การถมดินยิ่งสูงจากระดับเดิมมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสทรุดตัวได้มากเท่านั้น ดังนั้นจึงควรถมทิ้งไว้ก่อนสร้างบ้าน 6 – 12 เดือน หรือหากมีเวลาน้อยอาจใช้ใช้รถบดอัดดินช่วยร่นเวลา หรือจะทั้งทิ้งระยะเวลา และบดอัดไปด้วยก็ยิ่งได้ผลดี

ข้อควรคำนึงในการถมที่ดิน
สำหรับบ้านที่สร้างจากพื้นที่เดิมที่อาจมีการทุบหลังเก่าสร้างหลังใหม่ เมื่อมีการถมที่เพิ่มเติมอาจมีการใช้เศษอิฐ เศษคอนกรีต จากการทุบหลังเก่ามาถมที่ดิน ซึ่งกรณีนี้จะทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของดินมากกว่าปกติ เนื่องจากเศษวัสดุเหล่านั้นจะไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับดิน มีการเกยกันเป็นเป็นช่องว่าง และเมื่อระยะเวลาผ่านไปหากมีน้ำซึมผ่านจะพาดินไหลลงมาแทนที่ช่องว่าง ทำให้เกิดการทรุดตัวเป็นหลุมหรือโพรงใต้บ้านได้
การถมดินหากเลือกระยะเวลาได้ ควรดำเนินการในช่วงหน้าฝน เพราะน้ำฝนที่ไหลแทรกระหว่างเนื้อดินจะเป็นตัวช่วยให้ดินยุบตัวและแน่นขึ้น

2. การวางฐานโครงสร้างตั้งแต่เริ่มต้น
การป้องกันดินทรุดตัวจนเกิดโพรงใต้บ้านนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการมีเสาเข็มรองรับน้ำหนัก ซึ่งโดยทั่วไปโครงสร้างบ้านจะถูกกำหนดให้มีเสาเข็มยาวลึกลงไปถึงชั้นดินดานหรือชั้นทรายเฉลี่ยประมาณ 18 - 21 เมตร ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์หาค่าสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดิน ซึ่งจะถูกนำมา คำนวณออกแบบความสามารถการรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินได้อย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมมากที่สุด เพื่อรองรับน้ำหนักตัวบ้านไว้

ข้อควรคำนึงในการวางเสาเข็ม
พื้นที่ดินบางแปลงอาจเคยเป็นบ่อ หนอง คลอง บึง หรือบ่อทิ้งขยะเก่า การก่อสร้างบ้านบริเวณนี้ควรมีการเจาะสำรวจชั้นดิน ไม่ควรใช้วิธีเทียบเคียงจากพื้นที่ข้างๆ เนื่องจากความลึกของเสาเข็มอาจไปอยู่ตำแหน่งตรงกับบ่อขยะเก่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปขยะมีการย่อยสลาย จะทำให้เสาเข็มทรุดตัวได้



 สอบถามช่างดีดบ้าน