สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูป  (อ่าน 1981 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
คำถามที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูป

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ค่อนข้างจะซบเซา ธุรกิจต่างๆ มีทิศทางในขาลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นกัน ที่ดูเหมือนกับว่ายังไม่สดใสเท่าที่ควร ผู้ประกอบการต้องดิ้นรนหาทางออกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคอาจมีเงินในกระเป๋าน้อยลง คิดมากขึ้นหากต้องใช้จ่ายใดๆ อย่าว่าแต่เรื่องใหญ่อย่างการซื้อบ้าน หรือสร้างบ้าน แม้กระทั่งการใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆ ก็ต้องคิด ต้องใคร่ครวญกันมากขึ้น ในด้านของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ประกอบการอาจเลือกขายบ้านที่ขนาดเล็กลง หรือรอบชานเมือง ที่ราคาถูกลง เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน บ้านน็อคดาวน์ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่สามารถตอบสนองในจุดนี้ได้ เนื่องจากราคาที่ถูก และระยะเวลาการก่อสร้างที่ไม่นานนัก ประกอบกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ไม่ได้ต้องการอะไรมาก ต้องการความรวดเร็ว และไม่ได้มีเวลาอยู่ติดบ้านมากนัก บ้านน็อคดาวน์จึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการสร้างบ้าน หรือทำธุรกิจต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ สำนักงาน รีสอร์ทขนาดเล็กต่างๆ และผลตอบรับก็น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก หากท่านผู้อ่านได้มาอ่านบทความนี้ นั่นก็หมายความว่า คุณได้ตัดสินใจเกือบจะแน่นอนที่จะ จะเลือกใช้บ้านน็อคดาวน์แล้ว และคุณได้ทราบข้อดี และข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์อย่างแน่นอนแล้ว แต่ถึงขั้นนี้ คุณอาจจะมีคำถามว่า เราจะต้องมีข้อมูลอะไรอีกไหม มีข้อควรรู้อะไรอีกไหม ก่อนลงมือจริง บทความนี้เป็นการรวบรวมคำถามที่ผู้ต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์มี เพื่อให้เราเข้าใจและสบายใจในการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

1.สร้างบ้านน็อคดาวน์ต้องจดทะเบียน ขออนุญาตเหมือนบ้านปกติหรือไม่ – บ้านน็อคดาวน์นั้น ถ้ายังอยูในโชว์รูม หรือยังไม่ได้นำมาลงพื้นดิน ก่อสร้างจริง ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนแต่อย่างใด แต่เมื่อใดที่มีการก่อสร้างบนพื้นจริงๆ และต้องการขอสาธารณูปโภคต่างๆ แบบใช้งานจริงแล้วก็ต้อง ขออนุญาตเหมือนเป็นสิ่งปลูกสร้าง ตามปกติทั่วไป อยู่ภายใต้กฎหมายสิ่งปลูกสร้างเหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะทำเป็นร้านกาแฟ หรือบ้านจริงๆ หรือออฟฟิศ สำนักงาน เพราะถ้าต้องขอน้ำ ขอไฟฟ้า หรืออินเตอร์เนท ก็ต้องมีการอ้างอิง ที่อยู่ เหมือนปกติทั่วไปเช่นกัน หากคุณมีบ้านแบบปกติอยู่แล้ว หรือเคยสร้างบ้านน็อคดาวน์อยู่ในพื้นที่เดียวกันอยู่แล้ว แต่ต้องการบ้านน็อคดาวน์ไปต่อเติมเพิ่มเติมก็ต้องคำนึงถึงกฎหมายการต่อเติมอาคาร ที่พักอาศัยเหมือนทั่วไปด้วย อย่าคิดว่าบ้านน็อคดาวน์สร้างเล่นๆ ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องขออะไร ไม่ได้นะครับ
2.จะสร้างบ้านน็อคดาวน์มีค่าใช้จ่ายแฝงอะไรอีกหรือไม่ – ค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่นอกเหนือจากราคาของตัวบ้านน็อคดาวน์เองก็คือ ค่าใช้จ่ายในการประกอบก่อสร้าง และค่าขนส่งตัวบ้านไปยังบริเวณที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง ซึ่งในจุดนี้ ผู้ซื้อต้องสอบถามจากทางผู้สร้าง ผู้ผลิตให้เรียบร้อยเสียก่อน ที่จะทำการตัดสินใจ เพื่อให้แน่ใจว่า งบประมาณทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุม บางคนเห็นราคาตัวบ้าน ทั้งหมดโดยรวมแล้ว เห็นว่าถูกมากรีบตกลง แต่ไม่ได้สอบถามราคาค่าขนส่ง วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะรวมทั้งค่าขนส่ง และค่าก่อสร้างแล้ว หากเป็นผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ราคารวมก็จะยังถูกกว่าการก่อสร้างแบบธรรมดาอยู่มาก
3.เลือกบ้านน็อคดาวน์แบบไหนดี – ดังที่กล่าวไปแล้วว่าด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้วัสดุอุปกรณ์ที่มาทำบ้านน๊อคดาวน์นั้นหลากหลายมากขึ้น เป็นอันมาก มีตั้งแต่เป็นตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งเฉยๆ หรือเป็นไม้ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และแผ่นผนังที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ การเลือกใช้งานนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการและการใช้งานของเราเป็นหลัก เช่น เราต้องการความคงทน ถาวรมากแค่ไหน เราต้องการทำเป็นแค่ออฟฟิศ สำนักงาน ชั่วคราว หรือที่พักอาศัยถาวร หรือดินบริเวณที่เราจะทำการก่อสร้างนั้น แน่นเพียงใด แข็งแรงเพียงใด หรืองบประมาณที่เรามีนั้น มากน้อยเพียงใด เป็นต้น ที่สำคัญก็คือ เราต้องมีทางเลือกให้ครบอยู่ในมือ จะได้สามารถเปรียบเทียบกับข้อจำกัด และความต้องการของเราที่มีได้ เพื่อให้การตัดสินใจของเราทำได้ดีที่สุด
4.เลือกผู้ผลิตเจ้าไหนดี – ในปัจจุบันนี้ มีการแข่งขันในเชิงธุรกิจสูง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการใด ก็มีให้เราเลือกมากมายเต็มไปหมด  บ้านน๊อคดาวน์ก็เช่นกัน ยิ่งเราเลือก ก็ยิ่งสับสนว่าจะเลือกเจ้าไหนอย่างไรดี จะเอาที่ดังจริงๆ ได้มาตรฐานระดับประเทศจริงๆ ก็ราคาสูงมาก หรือจะเอาที่ถูกมากก็ไม่รู้จะได้มาตรฐานจริงหรือเปล่า การเลือกผู้ให้บริการสร้างบ้านน๊อคดาวน์ คงจะต้องพิจารณามากกว่า การเข้าไปดูข้อมูลจากเว็บไซต์ เพราะการสร้างบ้าน ถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องตัดสินใจให้ดี ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดีมากๆ ก็คือ โปรไฟล์ของผู้ประกอบการที่ผ่านมา ตัวอย่างผลงานของผู้รับจ้างรายนั้นๆ เราอาจจำเป็นต้องเดินทางไปสัมภาษณ์ สอบถามจากลูกค้ารายนั้นๆ โดยตรงว่าประทับใจหรือไม่ ได้บริการที่มีคุณภาพดีเหมาะสมหรือไม่ ก่อนตัดสินใจ โดยไม่เชื่อจากคำพูดจากผู้รับจ้าง ฝ่ายเดียว
5.แม้ในปัจจุบันบ้านน็อคดาวน์ยังไม่เป็นที่นิยมกันในวงกว้างอย่างแพร่หลาย ยังไม่นิยมสร้างเป็นที่พักอาศัยแบบถาวร แต่จากเทคโนโลยีการก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันทำให้เชื่อได้ว่า บ้านน็อคดาวน์จะได้รับความนิยมสูงขึ้นเป็นอันมากอย่างแน่นอนในอนาคต แม้ว่าเราจะตัดสินใจเลือกสร้างบ้านน็อคดาวน์แล้ว หรือกำลังหาข้อมูลอยู่ก็ตาม ชุดคำถามข้างต้นเป็นเครื่องมืออย่างดี ให้เราได้ตัดสินใจได้ และการที่เรามีข้อมูลต่างๆ ให้เลือกพิจารณารอบด้านขึ้น ย่อมจะส่งผลดีกับการตัดสินใจของเราอย่างแน่นอน

ข้อดี ข้อเสีย "บ้านน็อคดาวน์" ทางเลือกของคนอยากมีบ้าน แต่ไม่อยากรอสร้างนานๆ

ข้อดี บ้านน็อคดาวน์
1. รวดเร็ว  หากเทียบกับการสร้างบ้านระบบเดิม การสร้างบ้าน 1 หลังอาจต้องใช้เวลา 5-6 เดือน แต่การก่อสร้างบ้านน็อคดาวน์ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเศษก็เสร็จพร้อมเข้าอยู่   
2. สะอาดไร้ขยะและไม่สร้างมลภาวะเป็นพิษ  บ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูปมีข้อดีตรงที่ไม่สร้างขยะในระหว่างก่อสร้าง
3. สะดวก  ด้วยลักษณะพื้นผิวบ้านน็อคดาวน์เป็นวัสดุสำเร็จรูป จึงมีความเรียบเนียน เมื่อประกอบเสร็จสามารถทาสีทับได้ทันที ซึ่งสร้างความสะดวกสบายให้กับการทำงาน นอกจากนี้ในส่วนของการวางระบบต่างๆ ของบ้านน็อคดาวน์นั้นไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า
4. ประหยัด  การเลือกบ้านแบบน็อคดาวน์นั้นถือว่าเป็นการประหยัดได้ตั้งแต่เรื่องแบบบ้าน เนื่องจากแบบบ้านสำหรับบ้านน็อคดาวน์นั้นมีแบบเฉพาะให้เลือก ดังนั้นผู้ที่ต้องการบ้านแบบน็อคดาวน์จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
5. สะดวกในการขนย้าย  การขนย้ายเพื่อนำไปวางยังพื้นที่ของผู้ซื้อ สะดวกมากกว่า เร็วกว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายมากกว่า การก่อสร้างแบบทั่วไป การขนย้ายบ้านแบบน็อคดาวน์ จะสะดวกเพราะขนย้ายเป็นชิ้นส่วนไปยังหน้างานได้

ข้อเสีย บ้านน็อคดาวน์   
1. ไม่สามารถเลือกวัสดุเองได้  เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูปนั้น เจ้าของสินค้าได้เลือกวัสดุไว้เรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านจึงมีข้อจำกัดในการเลือกวัสดุ ดังนั้นอาจต้องมีการเช็คให้ละเอียดว่าวัสดุที่ใช้มีคุณภาพเป็นไปตามที่เจ้าของบริษัทระบุหรือไม่

ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์