สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รายละเอียดวัสดุโครงสร้างและข้อดีข้อเสีย  (อ่าน 2901 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
รายละเอียดวัสดุโครงสร้าง บ้านน็อคดาวน์,บ้านสำเร็จรูป

     ในวันนี้ทาง ideahome จะ ยกตัวอย่างการสร้าง บ้านน็อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป โมเดล บ้านแคปซูล ให้ลูกค้าต่างๆ ที่ชื่นชอบในงานดีไซน์หรือชอบทรงแคปซูลอยู่แล้ว ได้ทราบถึงรายละเอียดในการก่อสร้าง เพื่ออนาคตจะได้สร้างเองหรือมีช่างอยู่ที่บ้านสามารถทำตามได้ และถูกหลักการสร้างบ้าน

เริ่มต้นที่
1. เสาบ้าน เสาบ้านเราจะใช้ เหล็กกล่อง 5 x 5 นิ้ว หรือ 4 x 4 นิ้ว ขนาดความหนา 2.5 มิล ขึ้น เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และรับน้ำหนักของตัวบ้านที่มีน้ำหนักอยู่ประมาณ 2.2 ตัน

* Tick แต่ถ้าบ้าน หรือรีสอร์ทไหนใกล้ทะเล ให้แนะนำเป็นเหล็กกล่องกาวาไนท์ ทดแทนเหล็กกล่องดำ เพื่อป้องกันสนิม หรือหากในพื้นที่ไม่มี หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องใช้เหล็กกล่องดำ Ideahome ก็จะให้เทคนิคในการเคลือบสีกันสนิม ดังนี้ สีที่เลือกใช้ในการ ทาสนิมเหล็กกล่องดำ ในราคาที่จับต้องได้
– แนะนำสี toa รัชเทค เคลือบเป็นชั้นแรก สีประเภทนี้จะมีความยึดเกาะ และป้องกันลมทะเล ไอทะเล ได้เป็นอย่างดี
– หลังจากนั้นก็จะเคลือบทับหน้าด้วยสี toa glipton simigloss enamel  รับรองได้เลยว่าถ้าทำตามวิธีนี้จะช่วยป้องกันสนิมได้เป็นอย่างดี

2. ต่อไปจะ อธิบายถึงส่วนคานบ้าน.. คานบ้านจะใช้เหล็กกล่องขนาด 5 x2นิ้ว หนา     2.3 มิลขึ้นไป เพิ่มความแข็งแรงและรับน้ำหนักตัวบ้าน

3. ตงบ้าน จะใช้เหล็กกล่องขนาด 4×2 นิ้ว ขนาดความหนา 2.3 มิลขึ้นไป และระยะห่างในการวาง เหล็กแต่ละเส้น จะอยู่ที่ 30 หรือ 40 เซนติเมตร
ซึ่งในวันนี้ ทาง ideahome จะขอแนะนำวัสดุโครงสร้าง บ้านน็อคดาวน์ และ บ้านสำเร็จรูป เพียงเท่านี้ก่อน พรุ่งนี้เราจะมาต่อด้วยโครงสร้างส่วนของหลังคาและผนัง ..ติดตามกันต่อไปครับ

สร้างบ้านน็อคดาวน์เองดีจริงหรือไม่ มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง

บ้านน็อคดาวน์คืออะไร
เรามาทำความรู้จักกับบ้านน็อกดาวน์กันก่อนครับว่าคืออะไร บ้านน็อคดาวน์ (Knock Down Home) ก็คือหนึ่งในรูปแบบของบ้านสำเร็จรูป (Finished home) เป็นบ้านขนาดเล็ก มักใช้งานได้ประมาณ 10-50 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุ
ลักษณะเด่นของบ้านน็อกดาวน์ก็คือบ้านจะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทนคานและเสาเป็นส่วนใหญ่ สำหรับวิธีประกอบก็คือการนำชิ้นส่วนต่างๆ ที่ผลิตเรียบร้อยแล้วมาประกอบกันที่หน้างานจริง ซึ่งปัจจุบันบ้านน็อคดาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มีรูปแบบที่สวยงามมากขึ้นขึ้นกว่าเมื่อก่อนเยอะมาก
นอกจากการหาซื้อบ้านน็อคดาวน์มาติดตั้งในพื้นที่ที่เตรียมไว้แล้ว สำหรับใครที่มีความชำนาญในการฝีมือเรื่องการก่อสร้าง เราสามารถสร้างบ้านน็อคดาวน์เองขึ้นมาได้เช่นกันครับ เพราะมีกระบวนการสร้างที่ไม่ยุ่งยากเท่ากับบ้านทั่วไป รวมถึงเราอาจจ้างช่างมาก่อสร้างให้ก็ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องคำนวนงบประมาณให้ดีนะครับว่าระหว่างซื้อบ้านน็อคดาวน์กับสร้างบ้านน็อคดาวน์เองแบบไหนถูกกว่า แข็งแรงกว่า ใช้เวลาเร็วกว่า และคุ้มค่ากว่ากันแน่ รวมถึงต้องประเมินดูด้วยว่าถ้าจะ สร้างบ้านน็อคดาวน์เองแล้วนั้นสร้างเป็นบ้านหลังเล็กๆ ไปเลยจะคุ้มค่ากว่าหรือไม่

ข้อดีของสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง
หลังจากทำความรู้จักกันไปแล้วว่าบ้านน็อคดาวน์คืออะไร บ้สร้างบ้านน็อคดาวน์เองคืออะไร เรามาดูข้อดีของบ้านเหล่านี้กันดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

1. ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อย
ข้อดีเรื่องที่จะพูดถึงก็คือใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างไม่นานเท่าบ้านแบบปกติ เพราะมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ใช้วัสดุน้อยชิ้น จึงทำให้ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว บ้สร้างบ้านน็อคดาวน์เองในบางครั้งอาจเวลาเพียงไม่ถึงเดือนก็อาจจะก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เป็นได้ ส่วนใครที่ต้องการความรวดเร็วยิ่งกว่าเดิมก็เพียงซื้อบ้านน็อคดาวน์ที่เขาออกแบบไว้แล้ว มีส่วนประกอบทั้งหมดมาติดตั้งก็จะเร็วยิ่งกว่าเดิมอีกครับ

2. ระบบท่อน้ำและไฟอาจมีการจัดวางไว้เรียบร้อยแล้ว
ใครที่ซื้อบ้านน็อคดาวน์สำเร็จรูปมา บ้านนั้นมักจะมีการจัดวางระบบท่อน้ำประปา และระบบสายไฟมาให้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่แรก เพื่อให้เราสามารถติดตั้งแล้วใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องไปจ้างช่างมาทำให้ใหม่ คือหาจุดที่จะวางระบบเหล่านี้ใหม่ด้วย

3. การก่อสร้างไม่ค่อยพบปัญหา
ด้วยความที่บ้านน็อคดาวน์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบและตรวจสอบก่อนจะวางขายหรือส่งมอบให้กับลูกค้าจึงทำให้ปัญหาระหว่างก่อสร้างไม่มีเท่าไรนัก และถึงแม้จะเป็นการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง ปัญหาระหว่างก่อสร้างก็น้อยเช่นเดียวกัน เพราะโครงสร้างไม่ซับซ้อนเท่าไรนัก ปัญหาจึงน้อยตามมาด้วย

4. เคลื่อนย้ายได้สะดวก
อีกจุดเด่นของบ้านน็อคดาวน์ก็คือการที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก เพียงถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออกมาแล้วย้ายที่ตั้ง หลังจากนั้นก็ประกอบใหมกลับมาเหมือมเดิมได้แล้วครับ

5. ใช้งบประมาณในการก่อสร้างถูก
อีกจุดเด่นสำคัญของการสร้างบ้านน็อคดาวน์เองก็คือ ใช้งบประมาณและต้นทุนถูกมากกว่าบ้านแบบปกติครับ เพราะบ้านมีขนาดเล็ก มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ่อน ใช้วัสดุไม่มาก รวมถึงไม่ต้องจ่ายค่าช่างก่อสร้าง ช่างไฟ หรือช่างประปาจำนวนมากๆ บานปลายจนเราคุมงบไม่ได้ด้วยครับ

ข้อเสียของการสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง
นอกจากของดีของสร้างบ้านน็อคดาวน์เองแล้ว เรามาดูข้อต้องระวังหรือข้อเสียของบ้านน็อคดาวน์กันดีกว่าครับว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรจะระวังไว้

1. อายุการใช้งาน
อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกว่าบ้านน็อคดาวน์มีอายุการใช้งานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับบ้านแบบปกติ ซึ่งอาจมีอายุตั้งแต่ 10 - 50 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ก่อสร้าง หากใครที่คิดว่าจะส่งต่อบ้านน็อคดาวน์ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานอาจจะไม่เหมาะเท่าไรนักครับ

2. วัสดุอาจไม่ได้ดังใจ
หากใครที่ซื้อบ้านน็อคดาวน์แบบสำเร็จรูปมาตั้ง อาจได้วัสดุที่ไม่ถูกใจและไม่มีประสิทธิภาพ เช่น พื้นบ้าน หลังคาบ้าน ทำให้เราอาจจะต้องมาเสียเงินเพื่อต่อเติมหรือรีโนเวทเพิ่ม แต่หากเป็นการสร้างบ้านน็อคดาวน์เองปัญหานี้อาจลดน้อยลง เพราะเราสามารถเลือกวัสดุในทุกส่วนเองได้ตั้งแต่ต้นครับ

3. ต่อเติมและซ่อมแซมได้ยาก
เมื่อติดตั้งบ้านน็อคดาวน์แล้วจะทำให้รื้อ ต่อเติม และซ่อมแซมทำได้ยากกว่าบ้านปกติครับ หากเป็นบ้านน็อคดาวน์ที่ซื้อสำเร็จมาตั้ง พวกระบบไฟฟ้า ระบนน้ำ หลังคา วงกบต่างๆ มักเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยาก ยิ่งหากใครเลือกที่เป็นบ้านโครงสร้างเหล็กแล้วเวลาเกิดสนิมจะลำบากมาก หรือเป็นไม้เวลาแตกหัก มีปลวกขึ้นก็ยากที่จะแก้ไขกว่าบ้านปกติครับ วิธีการแก้ส่วนใหญ๋คือการรื้อแล้วสร้างใหม่เลย หรือเปลี่ยนทีเดียวทั้งหลังครับ

บ้านน็อคดาวน์ที่ซื้อมาติดตั้งหน้างานหรือสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง ถือเป็นอีกทางเลือกของคนอยากมีบ้านหรือคนที่ต้องการสร้างรีสอร์ท หากอ่านข้อดีข้อเสียที่เรานำมาให้อ่านกันแล้วเห็นว่าข้อดีต่างๆ คือสิ่งที่เราต้องการ และข้อควรระวังต่างๆ เป็นเรื่องที่เรารับได้ บ้านน็อคดาวน์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีให้เรา
 

ติดต่อดูแบบบ้านน็อคดาวน์