สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เนื้อหาของพวงหรีดคืออะไร  (อ่าน 2602 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
เนื้อหาของพวงหรีดคืออะไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2022, 09:10:11 AM »
หรีด (อังกฤษ: wreath) เป็นดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เคารพศพ ประดับตกแต่ง หรือทำเป็นมงคล (เครื่องสวมศีรษะ)

ต้นกำเนิด
หรีดทองใช้เป็นมงคล (เครื่องสวมศีรษะ) อายุราวกลางปีที่ 400 ก่อนคริสตกาล
พวงหรีดมีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัสคันในแถบทวีปยุโรปตอนใต้[1] จากการพบมงกุฎทองสำหรับนักรบเมื่อเวลาออกรบเพื่อเป็นเกียรติยศโดยแกะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ อายุราว 400 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคโรมันโบราณมีการใช้หรีดมาประดับศีรษะ โดยเรียกว่า ลอเรลหรีธ (laurel wreath) โดยใช้ใบไม้สานกัน
ในประเทศไทย
อารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายอย่างมากในยุคล่าอาณานิคม หรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการรับเอาอารยธรรมตะวันตกหลายอย่างเข้ามาในประเทศไทย โดยปรากฏหลักฐานภาพถ่ายการนำดอกไม้หลากหลายชนิดมาตกแต่งเป็นพวงกลมคล้ายพวงหรีดครั้งแรก ในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 ในพ.ศ. 2447 ด้วยเหตุนี้เองทำให้คาดการณ์ได้ว่าพวงหรีดได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยและใช้เป็นสื่อแทนความโศกเศร้าตั้งแต่สมัยนั้น[2]

ชนิดของพวงหรีด
ในปัจจุบันพวงหรีดนอกจากพวงหรีดที่ทำมาจากดอกไม้สดแล้ว ยังมีพวงหรีดแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอีกหลายชนิด เช่น พวงหรีดดอกไม้สด พวงหรีดดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์ พวงหรีดผ้าชนิดต่าง ๆ พวงหรีดพัดลม พวงหรีดต้นไม้ (ส่วนมากนิยมเป็นต้นโมกเพราะเป็นต้นไม้มงคล) พวงหรีดนาฬิกา และพวงหรีดหนังสือ เป็นต้น โดยจุดประสงค์ของพวงหรีดชนิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเพราะ สมัยก่อนคนนิยมสั่งพวงหรีดดอกไม้สด โดยเฉพาะงานศพของผู้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก ก็มักจะได้พวงหรีดมาก บางครั้งก็เต็มจนล้นศาลาวัด ทำให้บางครั้งเป็นภาระของทางวัดที่ต้องเป็นผู้จัดการพวงหรีดที่ใช้แล้ว จึงมีคนเสนอให้มีการใช้พวงหรีดชนิดใหม่ ๆ เช่น พวงหรีดผ้า พวงหรีดพัดลม ซึ่งเมื่อใช้แล้วก็เหมือนเราบริจาคผ้าหรือพัดลมให้วัด ทางวัดก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ต้องนำไปทิ้งเหมือนพวงหรีดดอกไม้สด หรือพวงหรีดที่เป็นต้นไม้ซึ่งโดยส่วนมากนิยมเป็นต้นโมก เพราะเป็นต้นไม้มงคล ทางวัดก็จะสามารถนำไปปลูกต่อไป ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้
ปัจจุบัน ดอกไม้สด 10 ชนิดที่นิยมนำมาจัดพวงหรีด ได้แก่ ดอกมัม, ดอกสแตติส, ดอกเยอบีร่า, ดอกกล้วยไม้, ดอกลิลลี่, ดอกคาร์เนชั่น, ดอกไฮเดรนเยีย, ดอกกุหลาบ, ดอกหน้าวัว และ ดอกแคสเปีย[3]

การสั่งพวงหรีดในยุคปัจจุบัน
ในสมัยก่อนหากคนต้องการจะไปงานศพ ก็มักจะไปสั่งพวงหรีดเอาที่ร้านพวงหรีดซึ่งโดยมากตั้งอยู่ตามข้างวัด โดยเฉพาะวัดดัง ๆ ซึ่งมีจัดงานศพบ่อย เป็นประจำ แต่เนื่องจากในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป บางคนต้องทำงานจนดึกกว่าจะเลิกงานก็ไปสั่งพวงหรีดไม่ทันเพราะต้องเจอปัญหารถติดหลังเลิกงาน หรือบางบริษัทก็ต้องส่งพวงหรีดไปงานศพของญาติลูกน้องแต่ไม่มีเวลาไปร้านพวงหรีดเนื่องจากไม่ได้ไปงานศพเองหรืองานศพจัดที่ต่างจังหวัด เป็นต้น ทำให้ปัจจุบันมีการสั่งพวงหรีดออนไลน์เกิดขึ้น [4] ตามยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและเจริญขึ้น ซึ่งก็ได้รับความนิยมและสามารถอำนวยความสะดวกได้อย่างมาก

จุดเริ่มต้นของพวงหรีด
พวงหรีดนั้นมีต้นกำเนินในแถบทวีปยุโรปตอนใต้ตั้งแต่สมัยอารยธรรมอีทรัส โดยเริ่มจากการค้นพบมงกุฎทองสำหรับสวมใส่ของนักรบเวลาออกรบเพื่อแสดงถึงเกียรติยศ โดยลวดลายส่วนใหญ่จะเป็นลายใบไม้และดอกไม้ ต่อมาในยุคโรมันก็ได้มีการนำหรีดมาประดับบนศีรษะ ซึ่งถูกเรียกว่า ลอเรลฟรีธ (laurel wreath) เป็นการนำใบไม้มาสานกัน

พวงหรีดเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร
สำหรับการเข้ามาของพวงหรีดในประเทศไทยนั้นเริ่มขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคที่อารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายเนื่องจากเป็นยุคล่าอาณานิคม แน่นอนว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของเราได้เปิดรับอารยธรรมนี้เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยหลักฐานที่ปรากฎให้ได้ทราบกันคือภาพถ่ายดอกไม้หลากหลายชนิดมาตกแต่งเป็นพวงกลมๆ คล้ายพวงหรีดในพระเมรุของสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 เมื่อพ.ศ. 2447 นั่นเอง จึงทำให้คาดการณ์ได้ว่าพวงหรีดได้เข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว ซึ่งมีการเริ่มใช้พวงหรีดในงานศพของเหล่าชนชั้นสูง จากนั้นชนชั้นกลางและชนชั้นล่างก็เริ่มที่จะใช้พวงหรีดกันในงานศพเรื่อยมา

ความเชื่อเกี่ยวกับพวงหรีด
หากพูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับพวงหรีดในประเทศไทยแล้ว คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึง การห้ามนำพวงหรีดเข้ามาในบ้านนั่นเอง เรียกว่าเป็นความเชื่อที่ผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยนั้นใช้พวงหรีดในการแสดงถึงความโศกเศร้าและมอบให้กับผู้ที่ล่วงลับเพื่อแสดงความเคารพ เพราะฉะนั้นผู้หลักผู้ใหญ่จึงมักจะถือกันว่าไม่ควรนำเข้าบ้านมา ไม่อย่างนั้นจะเกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้น

พวงหรีดชนิดต่างๆ
พวงหรีดที่เรามักจะเห็นกันนั้นจะเป็นพวงหรีดดอกไม้สดสีต่างๆ ที่ถูกจัดเรียงเป็นวงกลมอย่างสวยงามและถูกนำมาติดตั้งไว้ภายในและภายนอกของงานศพ หากแต่วัดนั้นไม่สามารถที่จะกำจัดพวงหรีดหลังจบงานให้หมดไปได้ บางวัดก็มีพวงหรีดล้นจนก่อให้เกิดปัญหา ทั้งนี้ร้านค้าพวงหรีดต่างๆ จึงเริ่มที่จะประยุกต์และผลิตพวงหรีดชนิดอื่นๆ นอกจากพวงหรีดดอกไม้กันนั่นเอง ตัวอย่างเช่น พวงหรีดผ้าแพร พวงหรีดนาฬิกา หรือที่นิยมกันในสมัยนี้มากขึ้นก็คือพวงหรีดพัดลมนั่นเอง

สำหรับพวงหรีดพัดลมนั้นเรียกได้ว่าเหมือนเป็นการทำบุญก็ว่าได้ เพราะนอกจากเราจะได้แสดงความเคารพต่อศพตามธรรมเนียมแล้ว เมื่อจบงานทางวัดยังสามารถนำพัดลมไปใช้งานต่อได้อีกด้วย อย่างเช่นร้าน บุญมาพวงหรีดพัดลม ก็เป็นร้านพวงหรีดพัดลมที่นำพัดลมคุณภาพดีอย่างแบรนด์ฮาตาริมาประดับด้วยดอกไม้สวยงาม ซึ่งทางร้านจะนำรายได้ส่วนหนึ่งมาทำประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย เรียกว่าเป็นร้านที่น่าสนใจร้านหนึ่งเลยทีเดียว

ติดต่อสอบถาม