สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พลังงานในมือคุณ  (อ่าน 2017 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พลังงานในมือคุณ

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นแหล่งเก็บกักพลังงานจากธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง และสามารถนำพลังงานที่เก็บไว้มาผลิตพลังงานได้ วัสดุหรือสารอินทรีย์ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานได้ เช่น เศษไม้ ปลายไม้จากอุตสาหกรรมไม้ มูลสัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร และของเสียจากชุมชน เป็นต้น
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศไทยมีอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ ปริมาณวัสดุเหลือใช้ทาง-การเกษตรขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ แต่วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรบางประเภทยังไม่มีการนำไปใช้ เช่น ยอดและใบอ้อย ฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง ทะลายปาล์มเปล่า ทางใบและก้านปาล์ม เป็นต้น ซึ่งมีศักยภาพมากสามารถนำมาใช้ในการผลิตพลังงานได้เช่นกัน พบว่ามีปริมาณวัสดุเหลือใช้ทาง-การเกษตร (พ.ศ. 2543) มากถึง 43 ล้านตันต่อปี ที่ไม่ได้นำมาใช้ผลิตพลังงาน คิดเป็นพลังงานเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ 3 พันล้านตัน กล่าวคือประเทศมีปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในภูมิภาคเป็นจำนวนมากแต่มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงานค่อนข้างต่ำ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือวัสดุเหล่านี้เป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ไม่หมด และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

การผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ที่ผลักดันให้ใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังจะหมดไปและมีราคาสูง จากระบบรายงาน ศักยภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศไทย พ.ศ. 2552 ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรโดยรวมของประเทศอยู่ที่ 2249.32 MW. (เมกะวัตต์) โดยในแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดให้ระยะกลาง (พ.ศ.2555 - 2559) สามารถผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชนให้ได้ 15,579 ktoe หรือ คิดเป็นร้อยละ 19.1 ของการใช้พลังงานทั้งหมด มีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้พลังงานรูปแบบชุมชนสีเขียวแบบครบวงจร ให้ชุมชนสามารถพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนในท้องถิ่นมาผลิตเป็นพลังงานให้สอดคล้องกับความต้องการในท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาตนเองด้านพลังงานทดแทนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประเทศไทยนั้นนับได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมาก แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมักถูกทิ้งไว้ในไร่นาหรือถูกเผาทิ้
ง รวมไปถึงของเสียจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จากการประมาณการพบว่า ประเทศไทยจะมีศักยภาพในปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากกว่า 20 ล้านตันน้ำมันดิบ มากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้น้ำมันในปัจจุบัน การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อให้มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นหรือการใช้พลังงานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนั้นนับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม
ฟางข้าว

คุณสมบัติ
•   มีคุณภาพต่ำ เยื่อใยสูง มีอัตราการย่อยได้ต่ำ จึงตกค้างอยู่ในกระเพาะหมักนาน สัตว์จึงได้รับโภชนะไม่เพียงพอ ถ้าให้กินฟางอย่างเดียวน้ำหนักจะลด
•   ไม่เหมาะจะใช้ฟางข้าวเลี้ยงสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง โดยไม่ปรับปรุงคุณภาพของฟางก่อน
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ฟางข้าวอย่างเดียวเลี้ยงโค - กระบือในช่วงแล้ง เพื่อการดำรงชีพของสัตว์เท่านั้น
•   ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยใบพืชตะกูลถั่ว หรือใบมันสำปะหลังอัตรา 0.5 - 1 กก. / ตัว / วัน เพื่อคงสภาพน้ำหนักสัตว์ในช่วงแล้ง
•   ใช้ฟางข้าวที่ราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล (อัตราที่ใช้คือ ยูเรีย : กากน้ำตาล : น้ำ : ฟาง : เท่ากับ 1.5 : 7.5 : 80 : 100 หน่วยน้ำหนักเดียวกัน) เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟาง และเพิ่มความน่ากิน
•   ใช้ในรูปของฟางปรุงแต่ง (หรือฟางหมัก) จะเพิ่มโปรตีนและการย่อยได้สูงขึ้น
ข้อแนะนำการใช้
•   การใช้ฟางข้าวราดสารละลาย ยูเรีย - กากน้ำตาล หรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ ควรให้อาหารข้นเสริมด้วยในกรณีสัตว์ที่ให้ผลผลิต เช่น ในโคนม ใช้ฟางปรุงแต่งร่วมกับอาหารข้นที่โปรตีนรวมไม่ต่ำกว่า 15% ยอดโภชนะย่อยได้ไม่น้อยกว่า 65% อัตราที่ให้เสริม 1 กก. ต่อการผลิตน้ำนม 2 - 2.5 กก. เพื่อให้มีส่วนสัมพันธ์กันในการใช้ประโยชน์จากอาหารได้เต็มที่
•   การใช้ฟางข้าวหรือฟางปรุงแต่งเลี้ยงโค - กระบือ เป็นระยะเวลานาน ควรเสริมไวตามิน AD3E ให้ด้วยการฉีด หรือเพิ่มให้เพียงพอในกรณีให้อาหารข้นร่วมด้วยเพื่อป้องกันการขาด
ยอดอ้อย

คุณสมบัติ
•   เป็นวัสดุเหลือใช้จากไร่อ้อย ได้แก่ส่วนยอดรวมทั้งใบบริเวณยอดหรือปลายลำต้น
•   ยอดอ้อยหมัก เป็นกรรมวิธีเก็บยอดอ้อยสดไว้ใช้นอกฤดูการผลิต ในการหมักเติมวัตถุดิบเช่น กากน้ำตาล ยูเรีย หรือรำ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและเร่งขบวนการหมัก
•   ยอดอ้อยสดและหมัก มีความน่ากินสูงกว่ายอดอ้อยอบแห้ง
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบ ได้ทั้งในรูปสด หมัก หรืออบแห้ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้น หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เช่น ใบพืชตะกลูถั่ว ใบมันสำปะหลัง เพราะยอดอ้อยมีคุณค่าทางอาหารต่ำ
•   ยอดอ้อยมักมีอยู่ในไร่แบบกระจัดกระจาย ในบางพื้นที่อาจมีปัญหาในการเก็บรวบรวมมาใช้
•   ในกรณีที่มีการเลี้ยงโค - กระบืออยู่ใกล้ ๆ พื้นที่ปลูกอ้อย ควรนำวัสดุเหลือนี้มาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ และเก็บถนอมไว้ใช้ในกรณีมีมากเหลือเฟือ ในช่วงขาดแคลนอาหารหยาบ
•   กรณีใช้กับสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง ควรเสริมอาหารข้น ที่ปรับระดับพลังงานและโปรตีนให้สูงขึ้นเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
ต้นถั่วลิสง

คุณสมบัติ

ส่วนลำต้นและใบหลังเก็บเกี่ยวฝักแล้ว ยังมีสีเขียวอยู่เล็กน้อย
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบ ทั้งในรูปสด ตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย แต่ใช้ในรูปสดจะได้ประโยชน์มากกว่า และควรใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่นฟางข้าว เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์
ต้นถั่วลิส่งหลังจากเก็บเมล็ดแล้วถ้าปล่อยให้แห้งเกินไป ใบจะร่วงเหลือส่วนของลำต้นซึ่งแข็งสัตว์กินได้น้อย
ข้อแนะนำการใช้
•   ในแหล่งที่ปลูก เศษเหลือของต้นถั่วลิส่งที่มีมาดควรเก็บถนอมไว้ใช้นาน ๆ โดยการตากแห้งและรวบรวมไว้
เปลือกฝักและต้นถั่วลิส่ง

คุณสมบัติ
ส่วนของต้นใบและเปลือกฝักถั่วลิส่งหลังเก็บเกี่ยวและนวนเอาเมล็ดออกแล้ว
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบในโคกระบือ ในรูปตากแห้งหรือหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือยูเรีย
•   ใช้เสริมร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟาง
•   เปลือกฝักและต้นถั่วที่ผ่ายการนวดเอาเมล็ดออกแล้วมักมีเศษชิ้นย่อยเล็ก ๆ เวลาสัตว์กินจะฟุ้งกระจาย สูญเสีย และกินได้น้อย
ข้อแนะนำการใช้

เช่นเดียวกับต้นถั่วลิส่ง
เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อน

คุณสมบัติ

เป็นผลพลอยได้จากการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ประกอบด้วยส่วนของเปลือกและไหม ส่วนของลำต้นและยอดอ่อน ซึ่งถอนจากต้นก่อนเก็บฝักข้าวโพด
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ในรูปของอาหารหยาบ ใช้มากในโคนม โคขุน
•   ใช้ในรูปของพืชสด ใช้แทนหญ้า หรือสลับกับหญ้า
•   ทำเป็นพืชหมัก เก็บไว้ใช้ได้นาน
•   ในส่วนของยอดข้าวโพดมีโปรตีนสูง โคชอบกินมาก แต่มีจำนวนน้อย
Ads by optAd360
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้ได้โดยไม่จำกัดปริมาณ ในโคนมอาจกินได้ถึงวันละ 30 - 50 กก. / ตัว / วัน
•   การใช้เป็นอาหารโคนมขณะกำลังให้นม ควรให้อาหารข้นอย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
•   ควรกั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ หากให้กินตั้งแต่ต้นสัตว์จะเลือกกินเฉพาะใบจะเหลือต้นทิ้งจำนวนมาก
เปลือกสับปะรด

คุณสมบัติ

เป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง ประกอบด้วย ส่วนของเปลือกแกนกลาง เศษเนื้อ และจุก(ตะเกียง) รวมทั้งผลที่คัดทิ้งจากไร่และพ่อค้ารายย่อย
การนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
•   ใช้ได้ดีในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม โคเนื้อ แพะและแกะ
•   ใช้เป็นอาหารหยาบในรูปของเปลือกสับปะรด แห้ง และหมัก
•   ใช้ผสมอาหารข้นในรูปของเปลือกสับปะรดแห้ง
ข้อแนะนำในการใช้
•   เปลือกสับปะรดใหม่ ๆ โคไม่ชอบกิน ควรกองทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โคจะกินได้มากขึ้น
•   ให้กินได้เต็มที่ แต่ควรระวังเรื่องอุจาระเหลว เพราะเปลือกสับปะรดมีน้ำมาก
•   ควรใช้เปลือกสับปะรดร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง หรือหญ้าสด เพื่อให้ได้เยื่อใยเพียงพอ
•   การให้เปลือกสับปะรดในโคนมที่กำลังให้นม ควรให้อาหารข้นย่างเพียงพอ เพื่อให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
กากมะเขือเทศ

คุณสมบัติ
•   ผลพลอยได้จากโรงงานผลิตน้ำมะเขือเทศ
การใช้เลี้ยงสัตว์และข้อจำกัด
•   ใช้เป็นอาหารหยาบโดยเสริมร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่น ๆ เช่น หญ้าสด หญ้าแห้ง หรือฟางข้าว เป็นต้น
•   กากมะเขือเทศตากแห้ง ใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนได้บางส่วนในสูตรอาหารข้น
•   ไม่สามารถเก็บกากมะเขือเทศไว้ได้นาน จะเน่าเสียและขึ้นราได้ง่าย
ข้อแนะนำในการใช้
•   ในแหล่งผลิตหรือใกล้โรงงานที่มีกากมะเขือเทศปริมาณมาก ควรเก็บถนอมไว้ใช้ในรูปของกากมะเขือเทศแห้ง หรือหมัก สามารถเก็บไว้ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง


ติดต่อสอบถาม