สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร  (อ่าน 2442 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2022, 05:18:46 PM »
[ur=https://line.me/R/ti/p/%40ndk9677fl]การจัดการผลพลอยได้ทางการเกษตร[/url]

การจัดการผลพลอยได้ - สิ่งเหลือทิ้งและสิ่งปฏิกูลทางการเกษตร

ความหมายของคำทั้งสองคำ
        สิ่งเหลือทิ้ง หมายถึง วัตถุที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของไม่ใช้ประโยชน์จากวัตถุนั้นอีกต่อไปในเวลาข้างหน้า เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กิ่งไม้ กระดูกสัตว์ ฯ
        สิ่งปฏิกูล หมายถึง  วัตถุที่เป็นของเน่าเสียซึ่งส่วนมากจะเป็นสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง และน้ำโสโครก ที่เกิดจากการชำระล้างต่างๆ

เหตุผลที่ใช้อธิบายถึงการจัดการ
        1.เพราะปัจจุบันสังคมมนุษย์ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุลธรรมชาติ
        2.เพราะเกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง จนส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคน
        3.เพราะต้องการลดความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์แบบไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาและภูมิภาคบนโลกใบนี้

วิธีการที่นำมาใช้เพื่อการจัดการสิ่งเหลือทิ้งหรือสิ่งปฏิกูล
        1.การ RECYCLE   (reuse-repair-reform) เป็นวิธีการที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบันนี้
                หมายถึง การนำวัสดุที่ใช้แล้ว หรือ วัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุที่ต้องทิ้ง หรือสิ่งที่ต้องทำลายด้วยวิธีการต่างๆ มาแปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพใหม่(reform) หรือนำมาซ่อมแซม(repair) แล้วนำกลับมาใช้(reuse)ประโยชน์อีก ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ ก็ได้
กระบวนการของการ รีไซเคิล (RECYCLE) มี 4 ขั้นตอน
                1. การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุทุกชนิด
                2. แยกชนิด / ประเภทของวัสดุ วัตถุที่รวบรวมได้
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปผ่านกระบวนการต่างๆ/กรรมวิธีต่างๆ ตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆเช่น หลอม กลั่น กรอง หมัก ระเหยน้ำ บีบอัด เผาไหม้
                4.นำผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการต่างๆ ไปใช้ประโยชน์
ตัวอย่างของการ รีไซเคิล (RECYCLE)
                1.การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
                2.การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)จากมูลสัตว์และเศษอาหาร
                3.การผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชไร่ที่เหลือทิ้ง
                4.การผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
                5.การผลิตแผ่นไม้จากเศษไม้ชนิดต่างๆ
                6.การผลิตแท่งเพาะชำต้นไม้จากขุยมะพร้าว
                7.การใช้วัสดุเหลือใช้จากพืชมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆ
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)
            ชีวมวล หมายถึง สารอินทรีย์ทุกชนิดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต
         1.เก็บรวมรวมชีวมวลชนิดต่างๆให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ เครื่องผลิตไฟฟ้า ที่มีขนาดเหมาะสมกับเชื้อเพลิง
         3.ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับการเผาไหม้ให้ความร้อนกับน้ำ
         4.นำไอน้ำที่ได้ไปหมุนไดนาโม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ขั้นตอนโดยสังเขป การผลิตกาซชีวภาพ (Biogas)
                กาซชีวภาพ หมายถึง กาซที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ทุกชนิดโดยจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีกาซออกซิเจน (anarobe) เช่น กาซมีเทน กาซคาร์บอนไดออกไซด์ การไนโตรเจน การไฮโดรเจนซัลไฟด์ บรรดากาซที่เกิดขึ้น กาซมีเทนซึ่งติดไฟได้ จะมีปริมาณมากที่สุด จึงนำมาใช้เป็นกาซหุงต้มได้
         1.รวมรวมสารอินทรีย์ชนิดต่างๆที่ย่อยสลายได้ง่ายให้มีปริมาณที่มากพอสำหรับใช้
         2.จัดซื้อ/จัดทำ ถังหมัก (ถังปฏิกรณ์)และถังเก็บกาซ (สำรองกาซก่อนการนำไปใช้)
         3.หมักอินทรีย์สารที่เก็บรวบรวมได้ในถังหมัก
         4.ได้กาซจากกระบวนการหมักนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้ม / เป็นเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ในฟาร์ม
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักแห้ง(Compost)จากชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้ง
            การหมักธรรมชาติ
         1.เก็บรวบรวมเศษซากพืชหรือวัสดุต่างๆที่ได้จากพืช นำมากองรวมกัน ให้มีปริมาณที่มากพอสมควร
         2.รดน้ำให้กองวัสดุมีความชื้นที่พอเหมาะพอดี รอเวลาให้กองวัสดุย่อยสลายเองตามธรรมชาติจนแปรสภาพเป็นอินทรียวัตถุสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเรียกว่า ฮิวมัส (Humus)
            การหมักโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่ง
         1.กองเศษซากพืชเป็นชั้นแรกให้มีความหนาประมาณ 30-50 ซม.
         2.ใช้มูลสัตว์หว่านให้กระจายทั่วพื้นที่ด้านบนของชั้นเศษซากพืช
         3.ใช้สารละลายเชื้อจุลินทรีย์ (พด.ต่างๆ) รดให้ทั่วทั้งกอง
         4.ใช้ดินปิดทับชั้นกองวัสดุชั้นแรก
         5.กองวัสดุเป็นชั้นที่ 2-3-4 แล้วปฏิบัติในแต่ละชั้นตามข้อ 2,3,4 ในทุกชั้นที่กอง
         6.คอยรดน้ำเพื่อให้กองปุ๋ยมีความชื้นอยู่เสมอ และพลิกกลับกองทุกๆ เดือน จนกว่าเศษซากพืชถูกย่อยสลายจนหมด จึงสามารถนำไปใช้ปรับปรุงดินหรือบำรุงต้นพืชได้
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมัก(น้ำ)ชีวภาพ (Biofertilizer) จากผลไม้และพืชผัก
         1.นำผัก ผลไม้ต่างๆมาสับ ให้มีขนาดเล็กลง (ให้ได้น้ำหนักรวมตามที่ต้องการ)
         2.นำผัก ผลไม้ที่สับแล้ว ใส่ลงในถุงตาข่าย แล้วใส่ไว้ในถังที่มีฝาปิดมิดชิด (ในอัตรา 10 ส่วน)
         3.ใช้น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ละลายน้ำ (ในอัตราส่วน 1:3) ใส่ลงในถังหมัก ปิดฝาให้แน่นอย่าให้มีอากาศเข้าหรือออกจากถังหมักได้ (หมักทิ้งไว้ 2 เดือน) จะได้น้ำปุ๋ยหมักเข้มข้นนำไปใช้งาน

        2.การนำวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร(reform)
           หมายถึง การนำเอาสิ่งที่เหลือจากการเกษตรซึ่งโดยทั่วไปไม่มีราคาแล้วหรือมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ นำมาใช้ในกิจกรรมการเกษตรที่เป็นงานผลิตอีกครั้ง โดยนำมาใช้ในรูปแบบเดิมหรือรูปแบบใหม่ก็ได้
กระบวนการของการ นำมาใช้ มี 3 ขั้นตอน
              1.การเก็บรวบรวมวัสดุเหลือใช้/เหลือทิ้ง ให้มีปริมาณที่มากพอที่จะนำมาใช้งานได้
               2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการอย่างง่ายๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, หมัก
               3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะ

ตัวอย่างของการนำวัสดุทางการเกษตรมาใช้ในงานเกษตร
         1.การนำฟางข้าว /ตอซัง/ต้นถั่ว/ต้นข้าวโพด/ใบไม้ผลชนิดต่าง ๆ มาทำปุ๋ยหมักแห้ง
         2.การใช้เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อนมาเป็นอาหารเลี้ยงโคเนื้อ/โคนม
         3.การใช้เปลือกสับปะรดมาหมักและใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุน
         4.การใช้ฟางข้าว /ตอซัง/เปลือกถั่วเขียว/ทะลายปาล์มนำมันมาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย/โรงเรือน
         5.การใช้มูลสุกรมาเป็นอาหารเลี้ยงสุกรรุ่นและสุกรขุน
         6.การใช้มูลสุกร/มูลไก่ เป็นอาหารของปลา
         7.การนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมบางชนิด (reform ; reuse)

             3.หมายถึงการนำเอาวัสดุบางชนิดจากภาคเกษตรกรรมมาผ่านกระบวนการแปรรูปและขั้นตอนการปฏิบัติจนได้ผลลัพธ์ที่ดีตามวัตถุประสงค์
กระบวนการของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม มี 3 ขั้นตอน
                1.การเก็บรวบรวมวัสดุ/วัตถุที่ต้องการใช้ให้มีปริมาณที่มากและพอเพียงกับความต้องการใช้
                2.นำวัสดุเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการเบื้องต้นต่างๆ เช่น ตากแห้ง,ย่อย สับ, บด,ร่อน,เผา
                3.นำวัสดุ/วัตถุ ไปใช้ตามกรรมวิธีและวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง

ตัวอย่างของการ นำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้กับภาคอุตสาหกรรม
         1.การใช้เปลือกไข่และแกลบเผา บำบัดโลหะหนัก(ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม(Cd))ในน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
         2.การผลิตวัสดุแทนไม้จากหญ้าแฝก ฟางข้าว  เศษไม้ไผ่ ใบปาล์ม กากสมุนไพรต่างๆ
         3.การจัดการสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยง/ขยะอินทรีย์/เศษอาหาร

            4.หมายถึง การกำจัดสิ่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะ(pollution)ทางดิน ทางอากาศและทางน้ำ รวมทั้งการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warm)
    กระบวนการนี้ต้องใช้ “จุลินทรีย์ประสิทธิภาพ”(Effective Micro-organism=EM)ซึ่งมีอยู่มากถึง 5 Family 10 Genus 80 Species เพื่อนำไปเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ในอินทรียวัตถุนานาชนิดให้เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

   วิธีการใช้ EM.ส่วนมากจะใช้ในลักษณะของสารละลายเจือจางเพื่อการชำระล้างพื้นหรือการหมักในภาชะปิด

        5.การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของการปลูกข้าวเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง 
             5.1 การทำฟางปรุงแต่ง
                      ฟางข้าวเป็นอาหารหยาบที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ  แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ใช้ฟางข้าวกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยทั่วๆ ไปฟางข้าวจะมีโปรตีน 3-4 %  โภชนะที่ย่อยได้ทั้งสิ้น 35-50 %  มีไวตามินเอ  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และแร่ธาตุอื่น ๆ  ต่ำมาก 
                      การใช้ฟางข้าวอย่างเดียวมีข้อเสียบางประการ  เพราะปริมาณของโปรตีน  พลังงาน  และแร่ธาตุในระดับนี้  จะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของสัตว์เคี้ยวเอื้อง  ดังนั้นวัวควาย  แพะ  แกะ  ที่กินแต่ฟางแห้งอย่างเดียวจะไม่สามารถเจริญเติบโต  แต่จะสูญเสียน้ำหนักไปเรื่อย ๆ  ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากฟางข้าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เราจะต้องปรับปรุงคุณภาพและแก้ไขวิธีการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยงดังกล่าว   

        การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวสามารถทำได้  2   วิธี  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
                    ก.การปฏิบัติต่างๆ (treatment)  เพื่อปรับปรุงคุณภาพฟางข้าว  เช่น การตัด การแช่น้ำ การลดปริมาณลิกนิน  หรือการเตรียมให้เป็นฟางอัดก้อน  ฟางอัดเม็ด  เป็นต้น  การตัดการบด  การแช่น้ำและการอัดเม็ดอัดก้อนจะทำให้สัตว์กินฟางได้มากขึ้น  และการย่อยได้ก็เพิ่มขึ้นด้วย  ยกตัวอย่าง  เช่น  การอัดเม็ดโดยใช้ฟาง 80 % ผสมกับกากเมล็ดฝ้าย 10 % กากน้ำตาล 6 % ไขมัน 2 % ยูเรีย 1 % แร่ธาตุอื่น ๆ 1 %  จะได้อาหารอัดเม็ดที่มีคุณภาพดี  ทำให้วัวตอนเจริญเติบโตดีและกินฟางอัดเม็ดนี้ได้ถึง 2.9 %  ของน้ำหนักตัว  ในขณะที่วัว  ซึ่งกินฟางข้าวเพียง 2.4 %  ของน้ำหนักตัว 
                            ตามปกติสัตว์จะกินอาหารอัดเม็ดได้มากกว่าอาหารอัดก้อน (cube)  และสัตว์กินอาหารอัดก้อนได้มากกว่าอาหารบดธรรมดา  นอกจากนี้การเอาฟางมาอบด้วยความร้อนและความดันของไอน้ำที่ 28 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร  เป็นเวลานาน 3 นาที จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมครึ่งเท่า แต่ถ้าใช้ฟางทำปฏิกริยากับด่างโซดาไฟ 3 % ภายใต้ความดันและไอน้ำร้อน จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 2  เท่าตัว
                            การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าวอีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อลดปริมาณของลิกนิน  และทำให้เซลล์ของพืชพองตัว  จะทำให้การย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และยังผลให้สัตว์กินฟางที่ปรุงแต่งนี้มากด้วย  สารเคมีที่นิยมใช้กันมากมี  3-4  ชนิด  คือ  โซดาไฟ  (NaOH)  ปูนขาว  (calcium  hydroxide=Ca(OH)2)  และแอมโมเนียในรูปต่าง ๆ  ถ้าเรานำฟางไปแช่ในสารละลายโซดาไฟ  1.5-2  %  นาน  18-24  ชั่วโมง  จะทำให้การกินการย่อยได้ของฟางเพิ่มขึ้นมากมาย  หรือถ้าเราใช้สารละลายโซดาไฟที่เข้มข้น  3.5-5  %  ฉีดพ่นบนฟางข้าวแล้วหมักทิ้งไว้สักครึ่งวันหรือจะนำไปให้สัตว์กินทันที  พบว่าวัวรุ่นลูกผสมจะกินฟางปรุงแต่งได้มากขึ้นหนึ่งเท่าครึ่งของฟางธรรมดา  และมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าเกือบสองเท่า  การแช่ฟางข้าวในสารละลายปูนขาว  1.5  %  นาน  24-48  ชั่วโมง  ก็มีผลทำให้ปริมาณการกินการย่อยของฟางข้าวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน 
                            ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมปรุงแต่งฟางข้าวโดยใช้สารยูเรีย  เพราะเป็นสารที่หาได้ง่าย  ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  ดังนั้นเราจึงนิยมใช้ยูเรียประมาณ  6  %  โดยกการใช้ผ้าพลาสติคปูบนพื้น  แล้วนำฟางมาวางเรียงให้เป็นกอง  ใช้น้ำจำนวน  3  ปีบ  (60  ลิตร)  รดกองฟาง  น.น.  100  กก.  ให้ทั่วโดยใช้บัวรดน้ำ  ต่อมาเอายูเรีย  6   กก.  ละลายในน้ำ  2  ปีบ  (40  ลิตร)    ใส่ในบัวรดน้ำแล้วราดบนฟางให้ชุ่ม หากทำกองใหญ่ใหห้ทำทีละ  100  กก.   ปิดหุ้มกองฟางด้วยผ้าพลาสติคเก็บชายพลาสติคให้แน่นหาไม้หรือวัสดุกันแสงมาวางทับพอประมาณและหมักไว้นาน 21 วัน  ในสูตรดังกล่าวอาจใช้  กากน้ำตาล  3-5  %  และเกลือ  0.3  %  เพื่อเพิ่มความน่ากิน  พบว่าฟางหมักยูเรียจะมีโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น  2  เท่า  ปริมาณการกินการย่อยของฟางหมักจะเพิ่มขึ้น  8-15  %  และสามารถรักษาน้ำหนักของวัวในช่วงสั้น ๆ  ได้
                    ข. การให้อาหารเสริม  (supplementation)  เนื่องจากฟางข้าวมีคุณภาพต่ำ  และแม้จะได้ปรุงแต่งโดยใช้โซดาไฟหรือยูเรียมาแล้วก็ตามเราไม่สามารถจะเลี้ยงสัตว์ด้วยฟางปรุงแต่งดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน ๆ  เพราะการปรุงแต่งส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มปริมาณการกินและการย่อย  และจะเพิ่มปริมาณของโปรตีนขึ้นเมื่อเราใส่แอมโมเนียหรือยูเรีย  และ  โปรตีนดังกล่าวก็ไม่ใช่โปรตีนที่แท้จริง  แต่เป็นแหล่งของไนโตรเจนที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะเอาไปสร้างโปรตีนอีกทีหนึ่ง  ดังนั้นในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวธรรมดาหรือฟางที่ปรุงแต่งแล้วก็ตาม  เราควรจะได้พิจารณาให้อาหารเสริมแก่สัตว์ด้วย  และอาหารเสริมดังกล่าวควรจะประกอบด้วยอาหารพลังงาน  โปรตีน  แร่ธาตุ  และไวตามินที่จุลินทรีย์ในกระเพาะจะได้แบ่งไปใช้ส่วนหนึ่ง  และตัวสัตว์เองจะได้นำเอาไปใช้อีกส่วนหนึ่ง  อาหารเสริมที่ควรใช้ร่วมกับฟางข้าวธรรมดาหรือฟางปรุงแต่งมีดังต่อไปนี้

    1.ฟางบวกกับอาหารข้นชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาป่น กากถั่ว หางนมผง เนื้อป่น กากเมล็ดฝ้าย ยูเรียผสมกับกากเมล็ดฝ้าย รำ ปลายข้าว เป็นต้น
    2.ฟางบวกกับรำและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    3.ฟางบวกกับยูเรียและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    4.ฟางบวกกับยูเรีย  กากน้ำตาลและเกลือแร่ต่าง ๆ 
    5.ฟางหมักยูเรียบวกรำข้าว  ใบมันสำปะหลังแห้งหรืออาหารข้นอื่น ๆ 
    6.ฟางบวกกับข้าวฟ่าง  ยูเรีย  กากน้ำตาล  เกลือแร่ต่าง ๆ 
    7.ฟางบวกกับแหนแดง  หรือผักตบชวา
    8.ฟางบวกกับใบกระถิน
    9.ฟางบวกกับไมยราพยักษ์หรือฝักจามจุรีและอื่น ๆ
    10.ฟางบวกกับอาหารผสมมูลไก่แห้ง

การใช้ผลพลอยได้การเกษตรรูปแบบต่าง ๆ 
                5.2.หญ้าหมัก (Silage)  คือการนำหญ้าหรือพืชต่าง ๆ  มาสับเป็นท่อน ๆ  นำไปหมัก  ในหลุม  หรือบังเกอร์  ปิดให้มิดชิด   เป็นเวลา  21  วัน  ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน  (Anaerobic  condition)  แบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนอยู่ได้(Lactobacillus)  แบคทีเรียจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรตในหญ้าและคาร์โบไฮเดรตในธัญพืชเสริม(silage  preservative)  แล้วแบคทีเรียจะผลิตกรดแลคติก(CH3CHOHCOOH)  และกรดอะซีติค(CH3COOH)ออกมา ทำให้หญ้าไม่เน่า  เมื่อพีเอ็ชได้ที่(ประมาณ  3.5-4)  จุลินทรีย์ทุกชนิดแม้กระทั่ง  Lactobacillus  ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้  ทุกขบวนการจะหยุดทำงาน  พืชที่ถูกหมักจะอยู่ในสภาพสด  และสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี  โดยส่วนประกอบทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง  ถ้าไม่ปล่อยให้อากาศซึมเข้า
                5.3.หญ้าแห้ง (Hay)  คือการนำหญ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีปริมาณน้ำในลำต้นต่ำ ตัดแล้วตากแดด 2-3 แดด ติดกัน เก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง



ติดต่อสอบถาม