สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: งานวางท่อPVC คิดราคายังไงดีนะ - คู่มือสั้นๆ แบบเข้าใจง่าย  (อ่าน 3446 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
งานวางท่อPVC คิดราคายังไงดีนะ - คู่มือสั้นๆ แบบเข้าใจง่าย
 
ถ้าเทียบกับวัสดุชนิดอื่นท่อพีวีซีจะมีราคาถูก แต่ในการลงระบบประปานั้นต้องมีการคิดถึงค่าแรงด้วย
 
คำถามที่ว่า งานวางท่อพีวีซีนั้นคิดเงินเท่าไรดี เป็นสิ่งที่ผู้รับเหมามือใหม่และเจ้าของโครงการหลายท่านคงต้องเคยคิดกัน
 
คำตอบแบบสั้นคือค่าแรงการลงท่อพีวีซีอยู่ที่ 20-80 บาทต่อเมตร เป็นค่าแรงที่ยังไม่รวมราคาค่าท่อพีวีซี
 
แต่การที่ค่าแรงโดดขนาดนี้แปลว่ามันต้องมีตัวแปรเยอะพอสมควรใช่ไหมครับ วันนี้เรามาลองดูกันว่าค่าใช้จ่ายในการวางท่อพีวีซีคิดกันอย่างไร และมีตัวแปรอะไรบ้าง
 
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
ค่าวางท่อพีวีซีประกอบไปด้วยสองอย่างคือ ค่าท่อพีวีซี และ ค่าแรงลงท่อพีวีซี
- ราคาค่าท่อพีวีซีสามารถคำนวณได้ง่ายๆจากยีห้อท่อและจำนวนที่ซื้อ ราคาท่อขนาดเล็กที่สุดอยู่ที่ 7-10 บาทต่อเมตร
- ค่าแรงลงท่อก็จะขึ้นอยู่กับตัวงานเช่น ท่อขนาดใหญ่หรือท่อเล็ก และวิธีการลงท่อเช่นเป็นการขุดดินหรือฝังผนัง ราคาต่อเมตรจะอยู่ที่ 20-80บาทต่อเมตร
- ค่าจิปาถะอื่นๆเช่น หากเป็นงานท่อฝังดิน อาจจะต้องมีค่าเช่ารถขุดดินที่ราคาประมาณ 6000-8000 บาทต่อวัน หรือค่าอุปกรณ์ท่อพีวีซีต่างๆตั้งแต่ข้อต่อ กรรไกรตัดท่อ กาวทาท่อ
 
ค่าแรงในการลงท่อพีวีซี
ค่าแรงในการลงท่อจะขึ้นอยู่กับเนื้องาน โดยส่วนมากจะมีตัวแปรคือขนาดของท่อ และวิธีการลงท่อ
- ขนาดของท่อ – ขนาดของท่อมีผลต่อการลงท่อมาก ท่อที่มีขนาดใหญ่นอกจากจะหาซื้อและขนส่งยากแล้วยังต้องใช้คนเยอะในการลง ยกตัวอย่างเช่นท่อพีวีซีหกนิ้วยาวสี่เมตรมีน้ำหนักถึง 20-30 กิโลต่อเส้นเลย เวลาจะติดตั้งหรือประกอบอุปกรณ์เข้าตัวท่อก็ต้องใช้คนช่วยจับช่วยถือ ท่อที่ใช้ในบ้านทั่วไปเช่นท่อสี่หุนและท่อหกหุนจะมีน้ำหนักต่อเส้นไม่เยอะ และใช้ค่าใช้จ่ายน้อยหน่อย
- วิธีการลงท่อ – วิธีการลงท่อก็เป็นหนึ่งในตัวแปรที่ต้องคิดถึง หากเป็นการนำท่อไปฝังดิน เราก็ต้องมีการจ้างรถขุดดินเพิ่ม ส่วนการฝังผนังควรจะคำนึงถึงเวลาเราต้องซ้อมระบบท่อภายหลังด้วย 
 
ตัวแปรในการคำนวณราคาการลงท่อ
การคำนวณราคาท่อพีวีซีสามารถทำได้ง่ายเพราะมีราคากลางตามอุตสาหกรรมอยู่แล้ว ถ้าซื้อมีจำนวนมากหน่อยก็สามารถลองหาร้านที่มีส่วนลดเพิ่มเติมได้
หากช่างแพลนงานแล้ว เราก็สามารถเอารายการซื้อมาคำนวณราคารวมได้เลย แต่การคำนวณค่าแรงในการลงท่อพีวีซีต้องศึกษาและคำนวณมากหน่อยเพราะตัวแปรเยอะครับ วิธีคำนวณค่าแรงที่ผมบอกว่า 20-80 บาทต่อเมตรนั้นมากจากหลายเหตุผล
 
สเกลของงาน
สิ่งที่ค่อนข้างสำคัญ ต้องดูว่างานคุณอยู่ในช่วงไหน บางครั้งเราไปเอาราคาของผู้รับเหมารายใหญ่มาเทียบ ราคาก็จะแพงไป ผู้รับเหมาในสเกลเล็กคงไม่ได้งานและเจ้าของโครงการคงขาดทุน แต่ถ้าเราเอาของแค่ค่าแรงขั้นต่ำมาคำนวณก็คงไม่มีผู้รับเหมาคนไหนรับเพราะจะขาดทุนเอา หากคุณไม่มีเวลาดูงานก็ต้องจ้างคนมาดูช่างอีกทีก็จะแพงมากกว่านี้ครับ หากเป็นงานระบบที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะทางเยอะก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น
 
เริ่มคำนวณจากค่าแรงขั้นต่ำ
เราไม่สามารถตีราคาจากค่าแรงขั้นต่ำได้แต่เราสามารถใช้ค่าแรงขั้นต่ำเป็นฐานในการคำนวณเพิ่มเติมได้ ให้ลองคิดดูว่าในหนึ่งวันใช้คนกี่คนแล้วทำงานได้กี่จุด แล้วตีราคาจากค่าแรง
 
สมมุติ ช่างหนึ่งคนรับค่าแรง 400-500 บาท ลูกมือหนึ่งคน 300 บาท (คิดตามค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท) ช่างและลูกมือสามารถเดินท่อได้ 20 เมตร(ฝังผนัง)ต่อวัน ก็หาญดูได้ 35-40 บาทต่อเมตร การลงท่อPVC จะถือว่าง่ายกว่าระบบอื่นเพราะอุปกรณ์มีแค่กาวกับข้อต่อเท่านั้น อันนี้เป็นราคาที่ผู้รับเหมาจะคิดนะครับ หากเราจ้างผู้รับเหมาอีกทีอาจจะต้องคิดส่วนกำไรของผู้รับเหมาเพิ่มด้วย
 
วิธีลดต้นทุนระบบประปาสำหรับเจ้าของโครงการ
- การหาวิธีลดต้นทุนกับช่างประปาไม่ได้หมายความว่าคุณต้องลดคุณภาพของงาน ในความเป็นจริงการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหมายถึงการซื้อประกันหลีกเลี่ยงการซ่อมแซมเพิ่มในอนาคต เรามาลองดูเคล็ดลับเพื่อค้นหาช่างประปาที่เหมาะสมกับงบประมาณที่คุณมีและหลีกเลี่ยงปัญหาในอนาคต 
- ให้ช่างประเมินราคาเป็นลายลักษณ์อักษร คุณควรที่จะเข้าใจราคาค่าใช้จ่ายของทุกส่วน
- เปรียบเทียบราคาช่างหลายเจ้า มันเป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะเปรียบเทียบราคาก่อนว่าจ้าง
- ทำความเข้าใจตัวแปรอื่นๆ นอกจากตัวแปรที่ผมได้พูดแล้ว ยังมีตัวแปรอื่นเช่นคุณภาพและความเร็วของงาน หรือวันที่เราต้องการลงระบบ วันหยุดหรือการซ่อมระบบแบบเร่งด่วนก็จะทำให้ค่าแรงแพงขึ้น
- ค่ารถและค่าประเมินงาน ช่างหลายท่านอาจจะคิดค่ารถ ค่าเสียเวลา และค่าประเมินงานก่อนที่จะเริ่มงานด้วยซ้ำ เวลาโทรเรียกช่างให้ตรวจสอบราคาพวกนี้ก่อนด้วยนะครับ
- ถูกที่สุดอาจจะได้งานไม่ดี บางบริษัทเสนอราคาต่อชั่วโมงที่ต่ำกว่า แต่หลังจากนั้นก็คิดค่าอุปกรณ์และค่าแรงเพิ่ม ที่คุณอาจไม่คาดคิด หรือบางทีก็ทำงานไม่เรียบร้อยก็มี
- ทำความเข้าใจระบบประปา ข้อนี้เป็นข้อที่ทำยากที่สุดแต่มีประโยชน์ที่สุด หากเราเข้าใจตัวงานว่าเราทำง่ายหรือยากแค่ไหน เราสามารถต่อรองราคาเพิ่มเติมได้

ติดต่อช่างไฟฟ้า