สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องควรรู้ เมื่ออยากสร้างบ้านอยู่เอง  (อ่าน 3735 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
เรื่องควรรู้ เมื่ออยากสร้างบ้านอยู่เอง

เชื่อว่าหลายคนที่มีที่ดินอยู่แล้ว และมีไอเดียที่อยากจะสร้างบ้านเอง เพื่อให้ฟังก์ชันภายในบ้านตอบโจทย์ความต้องการในการใช้สอยของเรามากที่สุด แต่อาจจะไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มยังไง

วันนี้ขอมาแบ่งปันเรื่องควรรู้ในการสร้างบ้านอยู่เอง เผื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจนำไปปรับใช้กัน

ที่ดินพร้อมสร้างบ้าน
อย่างแรกเลยที่ต้องมี นั่นก็คือ ที่ดินที่พร้อมจะสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งต้องผ่านการศึกษามาแล้วว่า อยู่ในพื้นที่ที่สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ มีไฟฟ้า น้ำประปาผ่าน เพื่อพร้อมในการอยู่อาศัย

ต้องถมที่ดินหรือไม่
สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงก่อนที่จะปลูกสร้างบ้าน นั่นก็คือ ที่ดินที่เรามีต้องถมหรือไม่ ซึ่งหากประเมินแล้วว่า ไม่ต้องถม ก็เริ่มต้นขั้นตอนต่อไปได้เลย แต่ถ้าพิจารณาดูแล้ว ที่ดินของเราค่อนข้างต่ำ เสี่ยงกับภาวะน้ำท่วม ก็ควรต้องถมดิน ซึ่งอาจจะถมสูงกว่าถนนคอนกรีตประมาณ 50 เมตร

วางแผนเรื่องงบประมาณ
จริง ๆ แล้วค่าถมที่ดินก็ควรอยู่ในงบประมาณของเรา แต่หลายคนก็นิยมที่จะซื้อที่ดิน ถมที่ดินไว้ก่อน ยังไม่เริ่มก่อสร้าง ดังนั้น จึงขอวางหัวข้อเรื่องงบประมาณไว้เป็นลำดับที่ 3 โดยการวางแผนงบประมาณในการสร้างบ้าน เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะนอกจากจะได้ทราบงบประมาณทั้งหมดที่คาดว่าจะต้องใช้แล้ว ยังเป็นแนวทางในการวางแผนทางการเงินได้ดีอีกด้วย

โดยสามารถคำนวณเงินสดที่เรามี กับเงินกู้ที่จะใช้ในการสร้างบ้านครั้งนี้ วางแผนให้รอบคอบว่า จะกู้สัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ และลงเงินสดเองกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหลักในการคิดของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนอยากลงเงินสดเยอะ เพราะไม่ต้องการเสียดอกเบี้ย แต่บางคนมองว่า ถ้ากู้ได้หมด ก็จะกู้ เพื่อนำเงินสดที่มีสำรองไว้ใช้อย่างอื่น

กรณีที่ไม่ใช้บริษัทรับสร้างบ้าน
ขั้นตอนนับจากนี้ จะเขียนในกรณีที่เราจะสร้างบ้านเองด้วยการจ้างผู้รับเหมา ไม่ได้ใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้าน เพื่อฉายให้เห็นภาพของการสร้างบ้านเองให้ครบทุกขั้นตอน เพราะหากจ้างบริษัทรับสร้างบ้าน ส่วนใหญ่แล้วก็จะดำเนินการให้เราหมดทุกอย่าง รวมถึง ขั้นตอนทางราชการด้วย (แล้วแต่บริษัท บางบริษัทให้เราดำเนินการทางราชการเอง บางบริษัทก็จะดำเนินการให้ และคิดค่าบริการรวมไปแล้ว)

หาแบบบ้าน / จ้างเขียนแบบ
ให้ลองหาแบบบ้านที่อยากได้ หน้าตาประมาณไหน ต้องการพื้นที่ใช้สอยประมาณเท่าไหร่ ฟังก์ชั่นบ้านเป็นอย่างไร ต้องการกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องทำงานด้านล่าง ห้องครัวไทย ครัวแยก เป็นต้น

หลังจากนั้น ต้องว่าจ้างเขียนแบบ เพื่อจะนำแบบนี้ไปขออนุญาตก่อสร้าง และว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านของเราตามแบบที่เราต้องการ ซึ่งแบบบ้านของเราจะต้องผ่านการเซ็นแบบรับรองโดยวิศวกรและสถาปนิก จึงจะนำไปยื่นขออนุญาตได้

หมายเหตุ หากไม่มีแบบในใจ หรือไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ สามารถขอแบบบ้านมาตรฐานกับทางสำนักงานเขตท้องถิ่นได้ ซึ่งแบบนี้สามารถนำไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้เลย

ขออนุญาตก่อสร้าง
ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง
1. ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่สำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ เช่น สำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานครสำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา ฯลฯ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ

2. สำนักงานเขตท้องถิ่นตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต

3. ได้รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะมีการให้แก้ไขในบางรายละเอียด ก็ต้องดำเนินการแก้ไข และยื่นขออนุญาตอีกครั้ง

4. เมื่อได้ใบอนุญาตก่อสร้างมาแล้ว ควรทำสำเนาทั้งเก็บไว้ ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทรับสร้างบ้าน ดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป

หมายเหตุ: ในระหว่างก่อสร้าง หากมีเหตุที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับเพื่อนบ้าน ชุมชนใกล้เคียง เช่น เสียงดังเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด วัสดุก่อสร้างหล่น หรือมีอุบัติเหตุ จนได้รับการร้องเรียน หน่วยงานภาครัฐอาจมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้างชั่วคราว จนกว่าขั้นตอนทางกฎหมายจะแล้วเสร็จจึงจะมีคำสั่งว่า จะให้ก่อสร้างต่อ หรือให้หยุดก่อสร้างถาวร

หลักฐานยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน
1. กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)

2. เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้าง ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ (กรณีที่ไม่มีสถาปนิก สามารถขอแบบบ้านมาตรฐานจากสำนักงานเขตท้องถิ่นในจังหวัดนั้น ๆ ได้)

3. หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุมและเอกสารจากวิศวกรงานก่อสร้าง

4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง หรือเอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของที่ที่ดินผืนนั้น หรือกรณีเช่าที่ดินปลูกสร้างบ้าน จะต้องมีเอกสารแสดงสิทธิที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของด้วย

5. สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน กรณีที่ไม่ได้ไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วยตัวเอง จะต้องมีหนังสือแสดงการมอบอำนาจให้กับผู้ที่เป็นตัวแทนในการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง

หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัพเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน


ติดต่อช่าง