สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำเสาเข็มตอกอย่างไร  (อ่าน 3457 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
การทำเสาเข็มตอกอย่างไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2022, 06:46:45 PM »
ขั้นตอนการทำงานเสาเข็มตอก
- กำหนดจุด Start ของงานตอกเสาเข็มต้นแรกและเส้นทางการเดินปั้นจั่น (Piling Sequence)
- เมื่อ Survey วางหมุดเสร็จแล้ว Foreman Recheck ต้องตรวจสอบระยะก่อนว่าถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนจากแบบแปลนหรือไม่
- ก่อนที่ปั้นจั่นจะยกเสาเข็มขึ้นตอกให้ ทำ off set ตำแหน่งของเข็ม ทั้ง 2 แกน ก่อนยกเสาเข็มขึ้นและ Recheck off set โดย Foreman อีกครั้งเพื่อให้เข็มได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง
- ก่อนทำการ Check ดิ่ง ควรตอกเข็มให้จมลงไปก่อน ประมาณ 30 – 50 cm. แล้ว Recheck off set อีกครั้งว่าคลาดเคลื่อนหรือไม่ แล้วทำการ Check ดิ่ง โดย Foreman ต้องตรวจสอบด้วยเสมอ ซึ่งการตรวจสอบต้องตรวจสอบทั้ง 2 แกน คือ ด้านหน้าและด้านข้าง โดยค่าการดิ่งไม่ควรเกิน 1 : 500 หรือ 0.1%
- ก่อนตอกเสาเข็ม Foreman ต้องตรวจสอบน้ำหนักของตุ้มตอก และระยะยกของลูกตุ้มให้ได้ตามที่คำนวณไว้

ขั้นตอนการ Check Blow Count
-Mark ระยะที่ส่วนปลายของเสาเข็มแต่ละต้นเป็นช่วงๆละ 30 cm. จำนวน 10 ช่วง หรือประมาณ 3 เมตร สุดท้าย
- ตอกเสาเข็มจนถึงตำแหน่งที่ Mark ไว้ (3 m.) เริ่มทำการนับจำนวน Blow ในแต่ละช่วง (30 cm.) ทำการบันทึกค่าไว้ของแต่ละช่วงว่าได้ Blow เท่าไหร่ จนกระทั่งถึงช่วงๆหนึ่ง จำนวน Blow จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ระยะที่เสาเข็มจมลงน้อยมาก จึงทำการนับ Blow ที่ตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow) แล้ววัดระยะที่เสาเข็มจมลงในการตอก 10 ครั้งสุดท้าย แล้วบันทึกค่าไว้ (ทำ 2 ครั้ง) (Last ten Blow ต้องไม่เกินจากค่าที่คำนวณไว้)
-Foreman recheck ทิศทางการเยื้องศูนย์ของเข็ม บันทึกการเยื้องศูนย์

การทำเสาเข็มตอก
      งานเสาเข็มสามารถแบ่งหลักๆเป็น 2 ประเภทคืองานเสาเข็มเจาะ และงานเสาเข็มตอก สำหรับงานเสาเข็มเจาะมี 2 ชนิดคือ เจาะแบบแห้ง และเจาะแบบเปียก

      งานเสาเข็มตอกที่จะนำเสนอนี้เป็นเสาเข็มตอกขนาดใหญ่ มักใช้ในเขตที่ห่างจากสถานที่อาคารใกล้เคียงเพราะเนื่องจากเสาเข็มตอกทำให้เกิดการสั่นสะเทือนต่อดินโดยรอบอาจส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง ซึงอาจนำไปสู่การฟ้องร้องชดใช้ค่าเสียหายได้ นอกจากนี้การเลือกใช้เสาเข็มตอกในการก่อสร้างต้องดูสภาพบริเวณโดยรอบ เช่น ถนนทางเข้าสามารถนำเสาเข็มเข้าได้หรือไม่รวมทั้งสภาพไซต์งานที่ต้องใช้เครื่องจักรในการทำงาน ซึ่งขั้นตอนการทำงานและรายละเอียดสามารถแบ่งได้เป็น 6 ขั้นตอนหลักดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการวางหมุดและขนย้ายเสาเข็มเข้าโครงการ
1.1 สำรวจพื้นที่ ก่อนำเสาเข็มเข้าโครงการต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
1.2 วางหมุด, วางแผนการตอก
1.3Test หาความยาวเสาเข็มเช่น จุดหนึ่งน่าจะใช้ความยาวอยู่ที่ 20 เมตร ถ้าจะใช้เสาเข็มสองต้นต่อเชื่อมกันต้องเผื่อความยาวเสาเข็มไว้สัก 1 - 2 เมตรหรือตามความเหมาะสม
1.4 ใช้รถ Heap ขนเสาเข็มมาที่โครงการ โดยวางเสาเข็มเป็นจุดๆ ตามความสะดวกในการตอก

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการขนย้ายและติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักร
2.1 เครื่องจักรที่ใช้ในการตอกเสาเข็มเช่น ปั้นจั่นตอก หรือ ดีเซลแฮมเมอร์ หรือปั้นจั่นmobile ทั้งนี้แล้วแต่สภาพพื้นที่การทำงาน สำหรับดีเซลแฮมเมอร์และ ปั้นจั่นmoble จะเหมาะกับพื้นที่ที่ดินแน่นมากกว่า
2.2 ปั้นจั่นตอกเสาเข็มจะประกอบไว้ที่จุดแรกของการตอก
2.3 ปัก offset ที่จะทำการตอกเสาเข็ม

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการตอกเสาเข็ม
3.1 ใช้ลวดสลิงสำหรับลากเสาเข็มขึ้นสู่แท่นตอก
3.2 ปรับวางเสาเข็มให้ตรง offset และปรับเสาเข็มให้อยู่ในแนวดิ่งโดยมีการส่องดิ่งด้านหน้าและด้านข้างของปั้นจั่น ซึ่งดีเซลแฮมเมอร์หรือปั้นจั่นmobile ก็ใช้แบบเดียวกัน
3.3 สำหรับเสาเข็มขนาดใหญ่ จะใช้ 2 เสาเข็มเชื่อมกันโดยการตอกเสาแรกลงไปให้สุดไม่ต้องนับ blow count ซึ่งในการตอกเสาเข็มใดๆจำเป็นต้องมีหมวกตอกเสาเข็มและกระสอบหรือท่อนไม้เพื่อป้องกันการตีอัดหัวเสาเข็มแตก
3.4 เสาเข็มท่อนที่สองนำมาต่อกับท่อนแรกด้วยการเชื่อมโดยมีแผ่นเชื่อมรอง
3.5 ตอกลงไปเรื่อยๆจนกว่าจะกะว่าช่วงไหนควรเริ่มนับ blow count ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่าช่วงที่ตอกลงยากหรือช่วงที่ใกล้สุด
3.6 การนับ blow count ซึ่งมาจากรายการคำนวณของวิศวกรมาแล้ว การนับ blow count จะทำให้รู้ว่าเสาเข็มต้นนั้นๆจะรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานหรือไม่

การนับ blow count มีวิธีดังนี้ ยกตัวอย่าง รายการคำนวนจะบอกเช่น ตอก 10 ครั้งต้องมีระยะการจมห้ามต่ำกว่า 3 cm โดยน้ำหนัก hammer 1 ตัน ยกสูง 50 cm จึงจะผ่านมาตรฐาน ในการตอกสมมติว่าตอกลงไป 10 ครั้ง จมไป 4 cm ก็ต้องเริ่มนับใหม่ จนกว่าจะน้อยกว่า 3 cm ต่อเนื่องกัน 3 set จึงจะถือว่าผ่าน

ถ้าการตอกลงไปเสาเข็มความยาวไม่พอจึงใช้เสาส่ง (เสาเล็กๆ) ช่วยตอกลง ถ้ายังไม่พอต้องเพิ่มเสาข้างๆใหม่ตามคำแนะนำของวืศวกร (ภาษาช่างเรียกว่าแซม)

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการย้ายปั้นจั่น
4.1 สำหรับดีเซลแฮมเมอร์และปั้นจั่นmobile ย้ายโดยการเคลื่อนที่ในตัว แต่สำหรับปั้นจั่นตอกจะใช้รางในการเลื่อน
4.2 หลักการในการเลื่อนการตอกเสาเข็มจะเลื่นไปจุดข้างเคียงเรียงไปตามแนวเพื่อไม่ให้ดินเกิดการกัน จากนั้นก็ทำการตอกเสาเข็มจุดถัดไป

ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรกลับ
5.1 สำหรับปั้นจั่นตอกเสาเข็มใช้การรื้อถอนชิ้นส่วน
5.2 ขนย้ายเครื่องจักรออกจากโครงการ

ขั้นตอนที่ 6 ขั้นตอนอื่นๆ
6.1 ซ่อมแซมเครื่องจักร
6.2 การถอนเสาเข็ม ใช้สำหรับเสาเข็มต้นแรกที่มีปัญหา เช่น แตก(คุณภาพไม่ดี), ไม่ดิ่ง(ถ้ายังตอกไม่ลึกก็ถอนหรือแล้วแต่บางกรณี)
6.3 รถ backhoe ตักหน้าดิน หรือปู platform


ติดต่อช่าง