สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหรือเสาเข็มตอก  (อ่าน 3677 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหรือเสาเข็มตอก
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2022, 06:52:29 PM »
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหรือเสาเข็มตอก

ทาง PPB เป็นตัวแทนจำหน่ายเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ทั้งเสาเข็มสีเหลี่ยมตัน และเสาเข็มไอ ที่มีคุณภาพ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
ซึ่งมีเสาเข็มหลากหลายรูปแบบในขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานครบทุกประเภท พร้อมบริการปั้นจั่นตอกเสาเข็มราคาพิเศษ

1. ตรวจสอบตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก แล้วจึงเคลื่อนย้ายปั้นจั่นตอกเสาเข็ม มาประกอบในสถานที่ก่อสร้าง เพื่อเตรียมการตอกเสาเข็ม
2. วิศวกรควบคุมงานควรวางแผนในการตอกและเคลื่อนย้ายเสาเข็มโดยให้มีการตอกเสาเข็มได้อย่างต่อเนื่องและเคลื่อนที่ปั้นจั่นตอกให้น้อยที่สุด
3. เมื่อติดตั้งปั้นจั่นเรียบร้อยแล้ว จึงทำการยกเสาเข็มขึ้นเพื่อเตรียมตอก ในขั้นตอนนี้ต้องระวังเพราะเสาเข็มอาจเสียหายได้
4. ก่อนจะลงมือตอกเสาเข็ม ต้องตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านของเสาเข็มว่าได้ดิ่งและตั้งตรงกับตำแหน่งการตอกเสาเข็มหรือไม่
    เมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก
5. ทำการตอกเสาเข็มโดยใช้ลูกตุ้มแบบปล่อยตก (Drop Hammer) ลูกตุ้มมีขนาดตั้งแต่ 2.5-7 ตัน การเลือกใช้ลุกตุ้มอยู่ระหว่าง 0.70-2.5 เท่า
    ของน้ำหนักเสาเข็ม ระยะยกลูกตุ้มโดยทั่วไปมีระยะ 30-80 ซม. ในการตอกเสาเข็มต้องมีหมวกเสาเข็มเพื่อป้องกันการแตกร้าว และเพิ่มประสิทธิภาพ
    ในการส่งถ่ายแรงในกรณีที่เสาเข็มมีความยาวมากๆ ต้องมีการต่อเสาเข็มโดยใช้แผ่นเหล็กเชื่อมรอบให้แข็งแรง
6. การนับจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม (Blow Count) เพื่อหาความหนาแน่นของชั้นดินหรือชั้นดินที่รับน้ำหนักบรรทุกของบ้านหรืออาคารได้
    และจะทำการหยุดการตอกเสาเข็มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
    6.1 การนับการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เป็นการตรวจสอบระยะจมของเสาเข็ม 10 ครั้งสุดท้ายว่าจมลงไปไม่มากกว่าหรือเท่ากับค่า
          ที่คำนวณได้ โดยคำนวณจากสูตรในตารางที่ หากได้ตามที่คำนวณก็ให้ยุติการตอก ในกรณีนี้ผู้ควบคุมงานต้องคอยดูการปล่อยลูกตุ้มต้องปล่อย
          อย่างเสรีโดยสังเกตจากเชือกเวลาลูกตุ้มกระทบหัวเสาเข็ม เชือกจะหย่อน ถ้าเชือกตึงแสดงว่าไม่ปล่อยลูกตุ้มอย่างเสรี ให้ทำการนับใหม่จนได้
    6.2 Blow Count เป็นการนับจำนวนครั้งที่ตอกเสาเข็มจมลง 0.30 ม. หรือ 1 ฟุต ซึ่งจะทำระยะในการนับ Blow Count ในกรณีที่ตอกเสาเข็มได้
          โดยไม่ต้องใช้เสาส่งให้ทำเครื่องหมายทุกระยะ 1 ฟุต ในช่วง 3 เมตรสุดท้ายของโคนเสาเข็ม ถ้าต้องใช้เสาส่งให้ทำเครื่องหมายทุกระยะ 1 ฟุต
          ในช่วง 1.5 เมตรสุดท้ายของโคนเสาเข็ม หรือขึ้นอยู่กับเสาเข็มที่จะส่งลงไป หากเห็นว่าจำนวนครั้งในการตอกสูงเกินไปอาจทำให้เสาเข็มเสียหายได้
          อาจสั่งให้ตรวจสอบ Last Ten Blow หากการจมลงของเสาเข็มได้ตามค่าที่คำนวณได้ก็ยุติการตอก บางครั้งจำนวนครั้งในการตอกในช่วง 0.30 ม.
          อาจลดลงผิดปกติ อาจจะเป็นเพราะเสาเข็มหักหรือเสาเข็มทะลุลงไปถึงชั้นดินอ่อน ในกรณีเหล่านี้ผู้ควบคุมงานจะต้องทำการบันทึก
          แล้วจึงรายงานให้วิศวกรผู้รับผิดชอบทราบทันที
7. เมื่อตรวจสอบ Blow Counts เรียบร้อยแล้ว แสดงว่าเสาเข็มอยู่ที่ความลึกที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ เป็นการเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็ม

ข้อควรปฏิบัติในการตอกเสาเข็มทุกชนิด
ข้อควรปฏิบัติในการตอกเสาเข็มทุกชนิดการตอกเสาเข็มไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มชนิดใดก็ตาม สำหรับผู้ตอกเสาเข็มจะต้องมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการตอกเสาเข็มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังคงสามารถระบุจุดที่จะทำการตอกเสาเข็มได้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติการ และทำการตอกเสาเข็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการตอกเสาเข็มนั้น จำเป็นจะต้องมีข้อปฏิบัติดังนี้1.จะต้องมีการครอบหัวเสาเข็มก่อน พร้อมทั้งหมอนรองรับหัวเสาเข็มที่จะทำการตอก เพื่อที่จะสามารถกันไม่ให้เสาเข็มแตกหักได้2.ในส่วนของการกระแทกของลูกตุ้ม ที่จะทำกาตอกบนหัวของเสาเข็มนั้น จำเป็นจะต้องลงเต็มหน้า และจะต้องได้ฉากกับแกนของเสาเข็มโดยตรงด้วย3.การตอกเสาเข็มในแต่ละครั้ง จะต้องหยุดการตอกเสาเข็มทันที ก่อนที่เสาเข็มจะเสียหายเนื่องจาก Overdriving4.ในกระบวนการตอกเสาเข็มนั้น จะต้องหยุดการตอกทันที ที่มีการทรุดตัวของเสาเข็ม ซึ่งแสดงถึงความต้านทานในการตอกสูงพอกับความต้องการ เมื่อผลของการตอกเสาเข็มมีลักษณะดังนี้-เสาเข็มไม้ 4 – 5 blows ต่อนิ้วเท่านั้น- เสาเข็มคอนกรีต 6 – 8 blows ต่อนิ้วเท่านั้น-ในส่วนของเสาเข็มเหล็ก 12 – 15 blows ต่อนิ้ว5.ในส่วนของลักษณะของเสาเข็มที่จะทำการตอก หากมีการแสดงให้เห็นว่าเสามีอาการชำรุดเสียหายอยู่แล้ว หรือมีลักษณะอาการให้เห็นว่า มีการทรุดตัวของเสาเข็มขณะที่ตอก และ เสาเข็มเปลี่ยนทิศทางทันทีทันใด6.การตอกเสาเข็มในปริมาณหรือจำนวนมาก ๆ ภายในบริเวณที่ทำการก่อสร้าง โดยเฉพาะห้องใต้ดิน เมื่อทำการตอกเสาเข็มเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรขุดดินทันที ควรที่จะปล่อยเอาไว้ประมาณ 1 เดือนก่อน เป็นเพราะดินเมื่อถูกเสาเข็มตอกจะถูกรบกวน การขุดดินทันทีหลังจากตอกเสาเข็ม จะทำให้เกิดการเลื่อนไถลของตัวดิน ส่งผลทำให้เสาเข็มที่ตอกเอาไว้แล้ว เกิดอาการเสียหายได้7.การตอกเสาเข็มกลุ่ม จะต้องตอกเสาเข็มจากต้นกลางกลุ่มออกไปเท่านั้นในส่วนของข้อควรปฏิบัติในการตอกเสาเข็ม เปรียบเสมือนเป็นกฎหรือข้อบังคับ เพื่อให้ผู้ตอกเสาเข็มได้ตระหนักและกระทำตาม เนื่องจากข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้ ประหนึ่งเป็นสูตรเพื่อให้เกิดการตอกเสาเข็มที่มีคุณภาพนั่นเอง

ติดต่อช่าง