สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เสาเข็มคืออะไรและเสาเข็มลึกเท่าไหร่  (อ่าน 3464 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
เสาเข็มคืออะไร

เสาเข็มมีความสำคัญต่ออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมากที่สุด เนื่องจากเป็นสิ่งที่ถ่ายน้ำหนักอาคารลงสู่พื้นดิน หากไม่มีเสาเข็มแล้ว สิ่งก่อสร้างมีแนวโน้มที่จะทรุดตัวสูงหากพื้นผิวดินไม่มีความสามารถรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างได้ เสาเข็มจะทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวอาคารทั้งหมดลงสู่ชั้นดินหรือทรายใต้ดิน ทั้งนี้ลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ การรับน้ำหนักด้วยแรงเสียดทานระหว่างผิวเสาเข็มและดิน (Skin Friction) และการรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็มเมื่อปลายเสาเข็มยืนบนชั้นทราย (End Bearing)

ชนิดของเสาเข็ม
1.เสาเข็มตอกรวมถึงเสาเข็มเหล็ก เสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต ซึ่งในปัจจุบันเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ย่อมเยาว์ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มก่อนที่จะติดตั้งได้ และสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยสูงสุดกว่า 200 ตันต่อต้น ทางด้านการติดตั้งมีกรรมวิธีที่หลากหลายตั้งแต่ใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม การเจาะดิน การปรับปรุงสภาพดินบริเวณปลายเสาเข็ม ไปจนถึงการกดเสาเข็มซึ่งสามารถลดมลภาวะเสียงและแรงสั่นสะเทือนได้สมบูรณ์แบบ ความเหมาะสมของวิธีที่ใช้ในการติดตั้งเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ความจำเป็น และกฎหมายที่บังคับในพื้นที่นั้นๆ ภายหลังการติดตั้งวิศวกรนิยมเลือกใช้การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือการทำสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามการคำนวน ส่วนข้อจำกัดของเสาเข็มอาจจะพบได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากจะต้องมีการขนย้ายเสาเข็มจากโรงงานเข้าสู่หน้างาน

2.เสาเข็มเจาะแบบแห้งเป็นเสาเข็มเจาะแบบใช้ขาตั้ง 3 ขา และใช้ลูกตุ้มกระแทกลงไปในดิน และใส่ปลอกเหล็กในหลุมเจาะเพื่อป้องกันไม่ให้ดินเข้ามาในหลุม ก่อนจะใส่เหล็กและเทคอนกรีต เหมาะกับหน้างานที่ค่อนข้างแคบ ซึ่งเสาเข็มเจาะแบบแห้งเหมาะแก่เสาเข็มที่รับน้ำหนักไม่มาก และมักจะมีข้อกังวลเกี่ยวกับคุณภาพคอนกรีตหากการเทคอนกรีตไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
3.เสาเข็มเจาะแบบเปียกเป็นเสาเข็มที่มีเครื่องจักรเจาะหลุมลงไปในดิน และมีการเติมสารเบนโทไนท์เพื่อป้องกันน้ำผสมกับดินหรือทรายในหลุมเจาะและการพังทลายของหลุม ก่อนจะมีการใส่เหล็กและเทคอนกรีต เสาเข็มเจาะระบบเปียกมีขนาดตั้งแต่ 0.35 เมตรถึง 2.00 เมตร และสามารถน้ำหนักได้ตั้งแต่ 150 – 2,000 ตัน จึงเหมาะกับงานอาคารใหญ่ เสาเข็มชนิดนี้จะมีราคาแพงกว่าเสาเข็มชนิดอื่นเนื่องจากต้องหล่อเสาเข็มหน้างาน และมีขนาดหน้าตัดที่ใหญ่กว่าหากเปรียบเทียบการรับน้ำหนักที่เท่ากันกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
4.เสาเข็มแต่ละชนิดก็จะมีความเหมาะสมที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ความคุ้มค่า สภาพหน้างาน สภาพชั้นดิน ขนาดของสิ่งก่อสร้าง ไปจนถึงการออกแบบจากผู้ออกแบบ อย่างไรก็ตามเสาเข็มทุกชนิดที่กล่าวมาสามารถรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างได้ภายใต้การทำงานและการติดตั้งที่มีการดูแลโดยวิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านเสาเข็มอย่างใกล้ชิด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเสาเข็มแม้จะส่วนงานก่อสร้างที่มองไม่เห็นเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่กลับเป็นรากฐานของสิ่งก่อสร้างทั้งหมด ดังนั้นเสาเข็มที่ได้คุณภาพ แข็งแรง ตามการออกแบบเชิงวิศวกรรมย่อมหมายถึงรากฐานของสิ่งก่อสร้างที่มั่นคง


ติดต่อช่าง