สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การตอกเสาเข็ม สำคัญอย่างไร มาดูกัน กับ ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลง “เสาเข็ม” “การตอ  (อ่าน 3435 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
การตอกเสาเข็ม สำคัญอย่างไร มาดูกัน กับ ข้อควรรู้เกี่ยวกับการลง “เสาเข็ม”

“การตอกเสาเข็ม” เคยสงสัยไหมคะว่ามันคืออะไรกันแน่ มีความสำคัญอย่างไร เวลาที่จะต่อเติมบ้าน หรือสร้างบ้าน แล้วเราควรต้องลง กี่ต้น กี่กลุ่ม หรือว่าจำเป็นต้องลงลึกขนาดไหนถึงจะพอ แล้วเวลาที่ผู้รับเหมาแนะนำควรเชื่อถือหรือไม่ ? ฉะนั้นก่อนอื่นเราจึงต้องรู้จักก่อนว่าเสาเข็มคืออะไร เพราะ  “บ้านที่มั่นคง ต้องมีฐานรากที่แข็งแรง”ใช่ไหมล่ะคะ !  เสาเข็ม คือชิ้นส่วนล่างสุดของโครงสร้างบ้าน (โดยปกติแล้วทั่วไปมักจะเรียกรวมกับฐานรากว่าเป็นฐานรากแบบมีเสาเข็ม) ซึ่งนำไปฝังไว้อยู่ในดินเพื่อจะได้ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของบ้านทั้งหลัง เน้นว่าเป็นการรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง ฉะนั้น เสาเข็มย่อมเป็นตัวบ้านจะมั่นคงแข็งแรง หรือจะค่อยๆทรุดตัวลงในอนาคต

คุณอาจสนใจบทความที่เกี่ยวข้อง อ่านได้เลย ข้อควรรู้ก่อน สร้างบ้านด้วยตัวเอง

ความสำคัญของเสาเข็ม
หากว่าบ้านของเราตั้งอยู่บนพื้นดินเฉยๆ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะลงไปกดผิวดินให้ทรุดตัวลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามีเสาเข็มก็จะช่วยทำให้เกิดแรงต้านน้ำหนักของบ้านเพื่อช่วยชะลอการทรุดตัว ทั้งนี้แรงต้านที่ว่าจะมาจากชั้นดิน 2 ส่วนคือ

แรงเสียดทานของดินชั้นบน ถ้าใครนึกภาพไม่ออก ลองคิดว่าเราเอาไม้ปักลงในดิน หากปักลึกลงไปในระดับหนึ่งแล้วจะเริ่มมีความฝืดเกิดขึ้นทำให้กดลงได้ยาก สาเหตุเป็นเพราะถูกต้านด้วยแรงเสียดทานของดิน ส่วนเสาเข็มก็พึ่งแรงเสียดทานของดินชั้นบนเป็นตัวช่วยพยุงรับน้ำหนักบ้านไม่ให้ทรุดหรือเอียงได้เช่นเดียวกัน
แรงดันจากชั้นดินแข็ง หากกรณีที่เสาเข็มยาวลึกลงไปจนถึงชั้นดินแข็งก็เท่ากับว่า เสาเข็มวางอยู่บนชั้นดินแข็งซึ่งเป็นตัวรับน้ำหนักทั้งหมดของบ้านโดยตรง ทำให้โอกาสที่จะทำให้บ้านทรุดตัวลงน้อยและช้ามาก

ความลึกของเสาเข็มที่เหมาะสม
ตามปกติแล้วเรื่องของการลงเสาเข็มของบ้านควรลงให้ยาวลึกลงไปจนถึงชั้นดินแข็ง ซึ่งจะทำให้ได้แรงต้านทั้ง 2 ส่วนเพื่อช่วยพยุงให้บ้านเกิดความมั่นคงแข็งแรง แต่ถ้าหากวาบ้านหลังไหนที่มีเสาเข็มยาวลงไปไม่ถึงชั้นดินแข็ง ก็หมายความว่าน้ำหนักของบ้านทั้งหลังมีแค่เพียงแรงเสียดทานของดินชั้นบนรองรับเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องทำใจว่าอาจจะเกิดการทรุดตัวลงเมื่อไหร่ก็ได้ โดยเฉพาะยิ่งเป็นดินที่เพิ่งถมมาไม่เกิน 1-2 ปี หรือที่ดินที่เคยเป็นบ่อหรือบึงมาก่อน แรงเสียดทานก็จะยิ่งน้อย อัตราการทรุดตัวก็จะยิ่งเร็วตาม ส่วนจะต้องลงเสาเข็มลึกเท่าใดเพื่อให้ถึงชั้นดินแข็งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ หากโชคดีที่ดินแข็งอยู่ตื้น ก็ไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็มลึกมาก หรือถ้ายิ่งโชคดีกว่านั้นคือ ดินชั้นบนมีความแข็งมากจนตอกหรือเจาะเสาเข็มไม่ลง (เช่นพื้นที่ที่อยู่ติดภูเขา) ก็อาจใช้แค่ฐานรากแบบไม่ต้องมีเสาเข็มเลยก็ได้

อย่างไรก็ดีหากว่าซื้อเป็นบ้านจัดสรรซึ่งเจ้าของบ้านส่วนมากมักจะต้องมีการต่อเติมเพิ่ม เช่น การต่อเติมห้องครัวและโรงจอดรถ นั้น คำถามที่เจ้าของบ้านมักจะสงสัยก็คือในส่วนต่อเติมที่ว่านี้จำเป็นต้องลงเสาเข็มถึงชั้นดินแข็งด้วยหรือ ไม่ ??  เพราะพื้นที่บริเวณนี้เป็นส่วนที่แยกออกมาจากบ้านและไม่ได้ใช้งานหนักเสียเท่าไหร่ ซึ่งถ้าตอบตามทฤษฎีแน่นอนว่าควรลงเสาเข็มให้ถึงชั้นดินแข็งย่อมเกิดผลดีกว่าแน่นอน แต่ในทางปฎิบัติอาจจะไม่สามารถทำได้เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ ทั้งการลงเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง บางครั้งต้องใช้พื้นที่เยอะหรือเครื่องมือขนาดใหญ่ แถมยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูงอีกด้วย  ดังนั้นจึงจบลงที่การลงด้วยเสาเข็มสั้นแทน โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นเสาเข็มขนาดความยาวที่ไม่เกิน 3 เมตร ซึ่งชั้นดินแข็งในกรุงเทพฯทั่วไปจะอยู่ลึกประมาณ 17-23 เมตรเท่านั้น เมื่อเป็นอย่างนี้จึงควรเตรียมใจและยอมรับการทรุดตัวในส่วนที่ต่อเติมในอนาคตไว้ล่วงหน้าได้เลย

สำหรับพื้นที่ในเมืองใหญ่ๆซึ่งมีที่ดินค่อนข้างจะคับแคบนั้น การลงเสาเข็มยาวลึกอาจจะทำได้ยาก แต่ทั้งนี้ก็ยังพอมีทางออกด้วยการเลือกเสาเข็มอีกชนิดที่เรียกว่า “เสาเข็มสปัน (SPUN MICRO PILE) ผลิตจากการปั่นคอนกรีตด้วยความเร็วสูงจึงทำให้แข็งแรงกว่าเสาเข็มโดยทั่วไป อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการในพื้นที่แคบได้ดี เนื่องจากอุปกรณ์มีขนาดที่เล็กมาก เสาเข็มสปันจะมีความยาวที่ประมาณ 1.5 เมตร แต่สามารถที่จะนำมาต่อกันเพื่อให้ลึกลงไปถึงชั้นดินแข็งได้ และส่วนของหน้าตัดเสาเข็มที่มีลักษณะกลวง ทำให้ดินไหลออกทางรูกลวงเวลาตอกลงไปจึงช่วยลดแรงสั่นสะเทือน แต่อย่างไรก็ตาม เสาเข็มสปันจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เจ้าของบ้านบางรายอาจสู้ราคาไม่ไหว สุดท้ายก็หันไปเลือกเสาเข็มสั้นมาทดแทน


ติดต่อช่าง