สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประเภทของปลวกมีอะไรบ้าง  (อ่าน 3619 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ประเภทของปลวกมีอะไรบ้าง
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2022, 11:17:28 AM »
ปลวก คืออะไร
ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง ปลวกมีนิสัยชอบที่มืดและอับชื้น ภายใน 1 รัง ปลวกจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการทำงานกันอย่างชัดเจน จึงแบ่งปลวกออกได้เป็น 3 ประเภท (วรรณะ) โดยปลวกทุกวรรณะไม่ได้มีความสามารถในการกัดกินเนื้อไม้ จะมีเพียงวรรณะกรรมกรหรือปลวกงานที่ทำหน้าที่หาอาหารเพียงวรรณะเดียวเท่านั้นที่สามารถกัดกินเนื้อไม้และก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ไม้ได้

ประเภทของปลวก
1. วรรณะกรรมกร (Worker)
เป็นปลวกตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มีจำนวนมาก เป็นปลวกที่มีขนาดตัวเล็ก สีขาวนวล ไม่มีปีก เป็นหมัน มีผนัง ลำตัวบางสีอ่อน ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก พบจำนวนมากที่สุดภายในรัง และเป็นวรรณะเดียวที่กัดกินเนื้อไม้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ มีหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง ตั้งแต่หาอาหาร เก็บสะสม ป้อนอาหารให้ปลวกราชินี ปลวกราชา ปลวกทหาร และตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ที่ไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ นอกจากนี้ปลวกงานยังสร้างและซ่อมแซมรัง ทำความสะอาดรัง และดูแลไข่

2. วรรณะทหาร (Soldier)
เป็นปลวกที่มีหัวขนาดใหญ่ สีเข้ม มีโครงสร้างผนังลำตัวที่แข็งแรงกว่าในวรรณะอื่น มีกรามขนาด ใหญ่ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคมสำหรับใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิก ภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ

3. วรรณะสืบพันธุ์ (Reproductive)
เป็นวรรณะที่ปลวกมีรูปร่างต่างกันไป ตามช่วงเวลาในการดำเนินชีวิต ได้แก่
- แมลงเม่า (Alate or winged reproductive male or female) เป็นวรรณะสืบพันธุ์ที่มีปีก ซึ่งมีปีก 2 คู่ ปีกมีขนาดยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองไปจนถึงสีดำ เมื่อมีสภาพอากาศที่เหมาะสมโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนแมลงเม่าจะบินออกจากรังเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแมลงเม่าจะสลัดปีกทิ้งและเดินตามกันเพื่อหาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดินเพื่อวางไข่และสร้างรังใหม่ต่อไป
- ปลวกราชินี (Queen) และปลวกราชา (King) เป็นแมลงเม่าที่ผสมพันธุ์กันแล้วสลัดปีก และสร้างรังอยู่ในดิน หรือในไม้ เมื่อผสมพันธุ์ครั้งแรกแล้ว ส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ เพื่อให้รังไข่สามารถผลิตไข่ได้มากขึ้น จึงทำให้ปลวกราชินีมีขนาดใหญ่มากที่สุดในรังและมีอายุยืนยาว 25 – 50 ปี และทำให้ปลวกราชินีเคลื่อนไหวได้ลดลง จึงต้องมีปลวกงานคอยดูแล ส่วนใหญ่ใน 1 รัง จะมีปลวกราชินี 1 ตัวหรือมีปลวกราชินีได้มากกว่า 1 ตัว แล้วแต่ชนิดของปลวก แต่มีปลวกราชาตัวเดียว ในขณะที่ปลวกราชาหลังจากผสมพันธุ์แล้วมีขนาดลำตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ปลวกราชา 1 ตัวสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง     
- วรรณะสืบพันธุ์รอง (Supplementary Queen and King) เป็นปลวกที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และออกไข่ เพิ่มจำนวน ประชากร ในกรณีที่ปลวกราชาหรือปลวกราชินีของรังถูกทำลายไป แต่มีประสิทธิภาพในการผลิตไข่ต่ำและมีอายุขัยสั้นกว่าเมื่อเทียบกับปลวกราชินีหรือปลวกราชา

เป็นปลวกตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มีจำนวนมาก เป็นปลวกที่มีขนาดตัวเล็ก สีขาวนวล ไม่มีปีก เป็นหมัน มีผนัง ลำตัวบางสีอ่อน ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก พบจำนวนมากที่สุดภายในรัง และเป็นวรรณะเดียวที่กัดกินเนื้อไม้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ มีหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง ตั้งแต่หาอาหาร เก็บสะสม ป้อนอาหารให้ปลวกราชินี ปลวกราชา ปลวกทหาร และตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ที่ไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ นอกจากนี้ปลวกงานยังสร้างและซ่อมแซมรัง ทำความสะอาดรัง และดูแลไข่

วงจรชีวิตของปลวก
ปลวกมีการเจริญเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ หรือ incomplete metamorphosis คือ ประกอบด้วยระยะไข่ (egg) ระยะตัวอ่อน (larva) และระยะตัวเต็มวัย (adult) โดยเริ่มจากช่วงหลังฝนตก แมลงเม่าเพศผู้และเพศเมียจำนวนมากบินออกจากรังในช่วงเวลาพลบค่ำ เพื่อมาเล่นไฟ จับคู่ผสมพันธุ์กัน จากนั้นจึงสลัดปีกทิ้ง แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดิน ในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่แล้วประมาณ 2 – 3 วัน ปลวกราชินีจึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง สำหรับปลวกราชินีเมื่อวางไข่ครั้งแรกแล้วส่วนท้องจะขยายใหญ่ขึ้น เพื่อผลิตไข่ให้ได้มากขึ้นและใช้เป็นอวัยวะเก็บไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีก และเป็นหมัน ปลวกราชินีจะผลิตฟีโรโมน ออกมาจากทวารหนักของปลวกราชินี เพื่อควบคุมให้ปลวกเพศเมียเป็นหมัน และกระตุ้นให้ตัวอ่อนของปลวกพัฒนาไปเป็นวรรณะต่างๆ โดยฟีโรโมนดังกล่าวที่ปลวกราชินีปล่อยออกมา ยังมีหน้าที่ควบคุมการสร้าง juvenile hormone ในตัวอ่อน โดยในระยะ 3 – 4 ปีแรกของการสร้างรัง จำนวนปลวกงานและปลวกทหารจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ระยะเวลาการเจริญจากไข่ถึงปลวกทหารปลวกงาน ใช้เวลา 4 – 6 เดือน โดยจะมีบางส่วนเท่านั้นที่เจริญไปเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเวลาการเจริญของวรรณะสืบพันธุ์จากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 9 – 10 เดือน


ติดต่อสอบถาม