สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอาคารชุด  (อ่าน 2379 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอาคารชุด

"เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และนิติบุคคลอาคารชุด โดยพิสิฐ ชูประสิทธิ์ นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้าน

ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับ "ประธานคณะทำงาน" ในฐานะฝ่ายรับผิดชอบงานจดทะเบียนจัดตั้ง "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" แห่งหนึ่งในประเด็นขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้ง "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ตามความของกฎกระทรวงการจดทะเบียนจัดตั้ง และระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง พ.ศ. 2545 ว่าด้วยการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543

"ประธานคณะทำงาน" ออกปากเปรยกับผมว่าขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้ง "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2523 ในทางปฏิบัติกระทำด้วยความยากลำบาก ซึ่งอาจเป็นผลทำให้กระบวนการจดทะเบียนจัดตั้ง "นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" โดยผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ไม่ประสบความสำเร็จเป็นไปด้วยโอกาสค่อนข้างสูง มีสาเหตุหลายประการ อาทิ

1. ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไม่สนใจรวมตัวกันจดทะเบียนจัดตั้ง ""นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร""
2. มติของการประชุมใหญ่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จำเป็นต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่ดินจัดสรรแปลงย่อยทั้งหมด
3. มติของการประชุมใหญ่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จำเป็นต้องเห็นชอบกับข้อบังคับ การเลือกตั้งตัวแทนสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ในฐานะ ""คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร"" ตามจำนวนกำหนดของข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และการแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้ง ""นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร"" กับพนักงานเจ้าหน้าที่ ""กรมที่ดิน""
4. กรณีเป็นโครงการจัดสรรที่ดิน ตามประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไม่มีสิทธิรับเงินกองทุนบำรุงรักษาสาธารณูปโภค จำนวน 7% ของมูลค่าการก่อสร้างสาธารณูปโภคตามแผนผังโครงการ ได้รับอนุญาตจากผู้จัดสรรที่ดิน
5. ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในโครงการจัดสรรที่ดินตามประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งซื้อกรรมสิทธิ์ในที่ดินจัดสรรกับผู้จัดสรรที่ดินมากกว่า 10 ปี รู้สึกชินชากับการอยู่อาศัยในโครงการจัดสรรที่ดินโดยไม่ต้องชำระเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ หรืออาจชำระบ้างแต่เป็นเงินจำนวนไม่มาก เพียงพอที่จะชำระค่าไฟฟ้าถนนและซอย รวมทั้งค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเพียงไม่กี่คน

ถ้าจดทะเบียนจัดตั้ง ""นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร"" ขึ้นมาตามกฎหมายแล้ว บุคคลเหล่านั้นมองว่า การไม่ชำระเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ""มีบทกำหนดโทษ"" ต่อสมาชิกผู้ค้างชำระทั้ง ค่าปรับ ชำระช้ากว่ากำหนด การถูกงดการให้บริการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ตลอดจนถูกอายัดโฉนดที่ดินจัดสรร โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ""กรมที่ดิน"" เป็นต้น


บริการปรึกษากฎหมายทนายความ