สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ส้วมเต็มทำอย่างไร  (อ่าน 2236 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ส้วมเต็มทำอย่างไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2022, 10:15:04 AM »
ส้วมเต็มทำอย่างไร
เมื่อส้วมเต็ม สิ่งแรกที่ต้องทำคือ สำรวจว่าสาเหตุที่ทำให้ส้วมเต็มเกิดจากอะไร เช่น ใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน ไม่ได้สูบส้วมมานานแล้ว มีฝนตก มีน้ำขังบริเวณรอบ ๆ บ่อพักหรือไม่ เพราะว่าไม่ใช่ทุกสาเหตุที่จะใช้วิธีดูดส้วมแก้ปัญหาได้

– หากสำรวจแล้วพบว่าส้วมเต็มจากการที่ใช้งานมานาน ก็สามารถเรียกใช้[ur=https://line.me/R/ti/p/%40mgm9000sl]บริการดูดส้วม[/url]ได้เลย
– หากสำรวจแล้วพบว่าเกิดจากฝนตก น้ำขัง จะต้องรอให้น้ำ หรือฝนหยุดตกสักพักก่อน เพราะว่าเมื่อน้ำแห้งไป ส้วมอาจจะกลับมาใช้งานได้ตามปกตินั่นเอง แต่ถ้าหากว่าเวลาผ่านไปนานพอสมควรแล้วส้วมยังเต็มอยู่ จึงค่อยเรียกใช้บริการดูดส้วม

ดูดส้วมต้องทำบ่อยแค่ไหน
เคยสงสัยไหมว่าการดูดส้วมต้องทำบ่อยแค่ไหน เพราะบางบ้านอาจต้องทำทุก 6 เดือน บางบ้านอยู่นานเป็นสิบ ๆ ปี ยังไม่เคยต้องดูดส้วมสักครั้ง สาเหตุที่ส้วมเต็มนั้นมีด้วยกันดังนี้

1. ถังมีขนาดเล็กเกินไป ผู้ใช้งานอาจมีจำนวนมากเกินไปไม่พอเหมาะกับขนาดถังเก็บ ทำให้ส้วมเต็มเร็ว
2. มีน้ำซึมเข้าไป เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ส้วมเต็มเร็ว

สมัยก่อนหรือกระทั่งในปัจจุบัน ระบบบ่อเกรอะ บ่อซึม มีลักษณะเป็นบ่อคอนกรีต 2 ถัง ขึ้นรูปจากปลอกวงแหวนซีเมนต์มาเรียงซ้อนกัน บ่อแรกเราจะเรียกว่า บ่อเกรอะ จะรับสิ่งปฏิกูลจากภายในบ้านโดยตรง มีหน้าที่กักเก็บสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายและตกตะกอนตามธรรมชาติ กากปฏิกูลจะตกตะกอนไปอยู่ที่ก้นบ่อ

ส่วนน้ำที่อยู่ด้านบนจะไหลลงสู่ บ่อซึม โดยน้ำที่ผ่านจากบ่อเกรอะจะค่อย ๆ ซึมลงไปในดินและชั้นหินด้านล่างอย่างช้า ๆ ถ้าทั้งสองบ่อทำงานได้ดี ทำให้บางบ้านอยู่มาเป็นสิบ ๆ ปีแล้วไม่ต้องดูดส้วมเลยก็ได้

แต่ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับระบบบ่อเกรอะบ่อซึมก็คือ สิ่งปฏิกูลในบ่อเกรอะย่อยสลายไม่หมด น้ำในบ่อซึมไม่สามารถซึมผ่านเนื้อดินลงไปได้ เนื่องจากดินโดยรอบเป็นดินเหนียว หรือระดับน้ำใต้ดินซึมเข้าบ่อซึม ส่งผลให้ส้วมเต็มนั่นเอง

แก้ปัญหาส้วมเต็มบ่อยด้วยถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป เป็นระบบที่รวมบ่อเกรอะและบ่อซึมไว้ในถังเดียวกัน น้ำที่ผ่านกระบวนการในถังบำบัดน้ำเสียจะมีความสะอาดเพียงพอที่จะปล่อยลงสู่รางระบายน้ำสาธารณะได้ แทนการซึมลงสู่ดิน

ถังบำบัดน้ำเสียประเภทนี้มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบไม่เติมอากาศ และแบบเติมอากาศ (Aerobic Bacteria) ซึ่งจะใช้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี ทำให้กระกวนการย่อยสลายสารอินทรีย์มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบธรรมชาติ เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีสภาพดินเป็นดินเหนียว น้ำซึมลงดินได้ยาก

อย่างไรก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของถังประเภทนี้ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตะกอนตกค้างมากเกินไปจนเกินคราบฝังแน่นในถัง จึงต้องสูบกากของเสียออกด้วยเช่นกัน เฉลี่ยประมาณ 3-5 ปี/ครั้ง



ติดต่อช่าง