สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประเภทงานก่อสร้างมีอะไรบ้างและมีหน้าที่ทำงานก่อสร้างอะไรบ้าง  (อ่าน 2256 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ลักษณะงานก่อสร้าง 1 โครงการต้องใช้ “ช่างประเภท” ใดบ้าง ?
ช่างก่อสร้าง ประเภทงานก่อสร้าง… ลักษณะงานก่อสร้าง 1 โครงการ เลือกใช้ช่างประเภทอะไรบ้าง… เพราะการก่อสร้างแต่ละครั้งจะต้องมีงบประมาณในการจ้างช่างก่อสร้าง หลายตำแหน่ง เนื่องจากช่างมีหลายประเภท ดังนั้น เราควรรู้ประเภทของช่าง รวมถึงหน้าที่ ลักษณะการทำงานเพื่อที่จะจ้างงานถูก และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า…

ช่างก่อสร้าง ประเภทงานก่อสร้าง มีอะไรบ้างและมีหน้าที่ทำงานก่อสร้างอะไรบ้าง
ช่างรับเหมาก่อสร้าง
- ช่างรับเหมา ก่อสร้าง เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในโครงการ เป็นคนควบคุมช่างก่อสร้างตำแหน่งอื่นๆทั้งหมด เจ้าของโครงการควรเลือกช่างรับเหมาที่ประสบการณ์ทำงานแล้ว มีผลงานที่ดี มีวุฒิภาวะ เพราะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงเช่นกัน
- ทำงานให้เป็นไปตามเอกสารสัญญา โดยประกอบแบบรูป รายการข้อกำหนด ขอบเขตของงานและเงื่อนไขสัญญาอื่นๆ ขั้นตอนของการก่อสร้างนั้นเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะมีผลต่องบประมาณ และระยะเวลาการก่อสร้าง
- ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องประมาณราคาค่าโครงการให้ออกมาใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยการจัดทำกำหนดเวลาทำงานให้ออกมาในแนวทางที่เป็นไปได้ การจัดระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพ สำหรับใช้ควบคุมต้นทุน กำหนดระยะเวลาและคุณภาพของงาน
- ดังนั้น เจ้าของโครงการ ก่อนเลือกรับผู้รับเหมาควรขอดูผลงานของผู้รับเมาแต่ละเจ้าก่อน เปรียบเทียบทั้งเนื้องานและราคา ให้สมเหตุสมผลมากที่สุดก่อนทำสัญญาว่าจ้าง

วิศวกร
- วิศวกรรม มักโดยเรียกว่า ” นายช่างใหญ่ ” เป็นมีหน้าที่สำคัญที่ต้องใช้ลายเซ็นในการเซ็นกำกับแบบ ตรวจรับงานแบบต่างๆ ถือว่าเป็นต้นน้ำก่อนเริ่มก่อสร้างจริงๆ เพราะที่เขียนแบบขึ้นมาก่อน
- หน้าที่ของวิศวกร ออกแบบ วางแผน และสั่งการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตลอดจนในโรงงาน หรือสถานที่ประกอบการอื่น ๆ
- วิเคราะห์ และหาแนวทางในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ในเหมาะกับงาน สิ่งแวดล้อม และผู้คนที่จะมาใช้ชิ้นงานนั้น
- เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงาน วิศวกรจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะเลือกมาใช้ให้เพราะกับงานที่ตนเองกำลังทำอยู่
- งานวิศวะส่วนหนึ่งต้องอยู่กับการแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน เพราะเครื่องจักรที่เราใช้อยู่อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้  วิศวกรจึงต้องรับมือกับปัญหาส่วนนั้นด้วย
- ตรวจสอบ และทดสอบ ตลอดจนประเมินเวลาในการดำเนินการงานในแต่ละโครงการ ว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อใด

สถาปนิก / มัณฑนากร
- หน้าที่ของสถาปิก หรือ มัณฑนากร คือ ออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของบ้าน นายทุนว่าจ้าง
- ซึ่งการออกแบบ เขียนแบบแต่ละครั้งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางศิลปะและเทคนิค ให้สอดคล้องกับสถานที่ สภาพภูมิ ภูมิอากาศ กฎหมาย โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและประหยัด ตามความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด
- สถาปนิก ต้องออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง (Design Development หรือ DD) พร้อมคำนวณค่าใช้จ่ายตามเนื้องานอย่างเหมาะสม
- สถาปนิกมักทำงานร่วมกับวิศวกร ระหว่างทำการก่อสร้างเพื่อให้ใช้วัสดุตามที่วางไว้ตามที่กำหนดตามเงื่อนไข รวมถึง ให้คำปรึกษาเรื่องงานกับวิศวกรด้วยเช่นกัน
- ความแตกต่างระหว่างวิศวกรตรงที่ สถาปนิกเมื่อแก้ไขดัดแปลงให้สมบูรณ์แล้ว จึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง

ช่างหลังคา / ช่างโครงสร้าง
- ช่างหลังคา มักทำงานควบคู่กับช่างโครงสร้าง หน้าที่ จัดหาเหล็กโครงสร้างจากแบบที่วิศวกรและสถาปนิกได้ออกแบบไว้
- ช่างโครงสร้าง ขึ้นโครงบ้านและหลังคา ดังนั้น ช่างควรทำการปรึกษากับช่างรับเหมาเรื่องวัสดุโครงสร้างให้ดี หาร้านซัพพลายขายเหล็กทีมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดหา ส่งเหล็กไว และมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา เพื่อได้โครงสร้างเหล็กที่มีคุณภาพสูงสุด
- ช่างต้องมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ด้านโครงสร้าง และมีทักษะ เทคนิค เฉพาะตัว เพื่อได้โครงสร้างที่แข็งแรง ทนทานมากที่สุด

ช่างปูน
- สำหรับงานปูน ต้องใช้ช่างปูนที่มีทักษะ ความสามารถพิเศษ เพราะต้องใช้ศิลปะ เพื่อสร้าง ผลิตและปรับปรุงงานก่อสร้าง
- ซึ่งต้องใช้ความชำนาญในการฉาบปูน เริ่มจากการผสมปูนก็ต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้เวลาฉาบปูนไม่แตกแยก เรียบเนียนเพื่อความสวยงาม
- ฉาบปูนมีทั้งโครงสร้าง เป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของตัวอาคาร งานฐานราก รับเสา คาน ต่างๆ
- และรวมไปถึง งานปูนประณีต งานปูนเฟอร์นิเจอร์ งานปูนสุขภัณฑ์ เช่น ฉาบปูนห้องน้ำ เป็นต้น ซึ่งการฉาบปูนแต่ละที่ก็ต้องใช้ทักษะที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆ

ช่างไฟ
- หน้าที่ของช่างไฟฟ้า สำคัญอย่างมากในการสร้างบ้าน 1 หลัง แนะนำควรใช้ช่างเจ้าเดียวและเดินระบบงานทั้งหลัง เพื่อความเชื่อมโยงมากที่สุด
- ช่างไฟ ต้องรับผิดชอบสโตร์ และอะไหล่ที่ต้องการเสนอต่อต้นกลเรือและต้องสำรวจรายละเอียดของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ทั้งหมด
- ช่างไฟต้องทำการติดตั้งระบบไฟทั้งหลัง รวมถึงทำการบำรุงรักษาและซ่อมแซมหากเกิดความเสียหาย
- ช่าง ไฟต้องรับผิดชอบติดตั้งเรื่องความปลอดภัย การทำงานของเครื่องไฟฉุกเฉิน แบตเตอรี่ต่างๆให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เช่น ระบบเตือนควัน ,ไฟ Alarm ในห้องเครื่องและ Safety alarm ต่างๆ
- ช่างควรมีความด้านอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าทั้งหมด หรือคอยศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มาใหม่ เพื่อสามารถซ่อมได้หากเจ้าของบ้านมีปัญหาเกิดขึ้น

ช่างประปา
- ช่างประปา ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการวางท่อประปา การเชื่อมต่อท่อ และการไหลของน้ำ
- ช่างจะต้องมีความสามารถในการซ่อมแซมระบบประปาให้กลับมาใช้ได้ใหม่
- สามารถประปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบสุขภัณฑ์ที่ชำรุดออกพื้น ผนัง และติดตั้งใหม่ อุปกรณ์ใหม่กลับเข้าไปงานได้ปกติ

ช่างกระจก
- ช่างมีหน้าที่ออกแบบ เลือกกระจกให้ตรงกับลักษณะบ้าน ทั้งด้านชนิดของกระจก รูปลักษณ์ดีไซน์ สี และขนาด
- ช่างกระจกสามารถติดฟิล์มได้ และมีความเข้าใจ มีความรู้ เกี่ยวกับชนิดของฟิล์มแต่ละชนิด
คุณสมบัติมีความประณีต ละเอียด ใส่ใจ เป็นพิเศษ สำหรับช่างกระจก

ช่างทางสี
- หน้าที่ของช่างทาสี เป็นช่างที่ทำหน้าที่เป็นคนสุดท้ายของโครงการสร้างบ้าน เพื่อทาสีตกแต่งบ้านให้เกิดความสวยงาม
- แต่ส่วนใหญ่ช่างทาสี มักใช้เวลาลงสีหลังจากฉาบปูนเรียบร้อยประมาณ 7 วัน จึงสามารถลงสีรองพื้นได้ จากนั้น ทิ้งให้แห้งอีก 3 วัน จึงสามารถลงสีจริงได้
- ส่วนใหญ่ระยะเวลาการรอให้ปูนแห้ง ในฤดูร้อนมักถึงไว้ 7 วัน และฤดูฝนอากาศชื้น ควรทิ้งอย่างน้อย 2 อาทิตย์เป็นต้นไป
- ช่างทาสีต้องมีความประณีตสูง และเข้าใจความเป็นศิลปะ เพราะบ้านในปัจจุบัน การทาสีบ้านอาจไม่ได้ใช้แค่ใช้สีเดียว แต่อาจใช้หลายสี และใช้สีที่ต้องผสมขึ้นมา เพื่อได้สีที่เป็นเอกลักษณ์มากที่สุด
คุณสมบัติของช่างที่เจ้าของบ้านต้องการ
- มี ความสามารถและเชี่ยวชาญในด้านนั้นจริงๆ ช่างแต่ละสายต้องมีความรู้ ความชำนาญในสายงานของตนเองอย่างถ่องแท้ รู้ทั้งด้านทฤษฎีและด้านภาคปฏิบัติ จำเป็นต้องรู้ต้นต่อ สาเหตุ หากงานก่อสร้างบางอย่างต้องซ่อมแซม ต้องสามารถหาต้นเหตุ ปลายเหตุและแก้ไขได้ จะเกิดความเชี่ยวชาญได้ช่างจะต้องใช้เวลาจึงจะเกิดความเชี่ยวชาญได้
- รู้เทคนิค เคล็ดลับ เฉพาะตัว ช่างที่เป็นที่ต้องการของเจ้าของบ้าน มักจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ เทคนิคที่ไม่เหมือนใคร สามารถแนะนำวัสดุ อุปกรณ์ที่สามารถช่วยลดงบประมาณ ประหยัดเวลาให้กับเจ้าของบ้านได้
- ตรงต่อเวลาและมีแบบแผน ช่างต้องมีตารางเวลาการก่อสร้างของทุกๆฝ่าย เพื่อรู้เวลาสร้างบ้านทั้งหลังจะเสร็จสิ้นตอนไหน ช่างควรทำงานให้ทันเวลาที่กำหนดของแต่ละฝ่าย จะได้ไม่เป็นการกระทบต่อช่างฝ่ายอื่นๆ
- มีทักษะด้านการติดต่อประสานงานและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากการสร้างบ้าน 1 หลัง ต้องใช้ช่างหลายฝ่าย ตามที่กล่าวข้างต้น ดังนั้น ช่างแต่ฝ่ายต้องมีทักษะด้านการเจรจา พูดคุยงานอย่างมืออาชีพ เพื่อทำให้งานก่อสร้างไม่ติดขัดและเข้าใจตรงกันได้
- มีความปลอดภัยต่อการทำงานก่อสร้าง ช่างจะต้องรู้และเข้าใจกฎการทำงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน กระบวนการงานก่อสร้าง หรือ ชุดป้องกันระหว่างการทำงานต่างๆ
- ต้องซื่อสัตย์สุจริต เพราะงานก่อสร้างบางโครงการ เจ้าของโครงการได้ให้เงินค่าก่อสร้างมาใช้บางส่วน ดังนั้น ช่างไม่ควรโกง หรือ นำเงินไปใช้ในทางที่ผิด ไม่เกี่ยวกับงานก่อสร้าง หรือบวกราคาก่อสร้างเพื่อหาผลประโยชน์เข้าตนเอง
- พลานามัยที่สมบูรณ์ สุขภาพร่างกายของช่างก่อสร้างทุกตำแหน่ง เป็นสิ่งสำคัญของทุกๆอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องใช้กำลังกายอย่างอาชีพช่าง จำเป็นต้องเช็คร่างกาย ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ติดต่อสอบถาม