สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการจัดสวนมีอะไรบ้าง  (อ่าน 3235 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอนการจัดสวนมีอะไรบ้าง
« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2022, 08:52:23 AM »
ขั้นตอนการจัดสวน
1) การเลือกซื้อพรรณไม้ (Getting plant)

เป็นการสำรวจ และ หาแหล่ง พรรณไม้ ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้ง ชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ ควรพยายามหลีกเลี่ยง การเปลี่ยนต้นไม้จากแบบเดิม นอกจากจำเป็นจริง ๆ เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถจะหาไม้ชนิดนั้นได้ หรือมีแต่ไม่ได้ขนาด ตามที่ต้องการ ก็ควรเป็นอย่างอื่นแทน แต่นักจัดสวน ควรจะอธิบายเหตุผล ให้เจ้าของบ้าน เข้าใจถึงปัญหา และทราบถึงสิ่งนำมาทดแทนว่า เป็นชนิดใด และราคาใกล้เคียงกันหรือดีกว่าอย่างไรบ้าง เมื่อได้เลือก พรรณไม้ ตามที่ต้องการแล้ว ควรจะฝากไว้ที่ร้านค้านั้น ก่อนจนกว่า จะปรับที่เตรียมหลุม พร้อมที่จะปลูกได้จึงต้อง ขนย้ายในวันเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็น การประหยัดเวลา น้ำมัน โดยการขนจากหลาย ๆ ร้านรวมกันวันเดียว อีกทั้งจะได้ไม่เป็นภาระ ในการรดน้ำต้นไม้ ถ้านำเอาต้นไม้ไปไว้บ้านที่จัดสวนนานเกินไป

2) การปรับที่ (Grading)

การปรับที่ก่อนจะมีการปลูกต้นไม้นั้น เป็นงานที่ยาก ใช้เวลาและแรงงานมาก ปัญหามีมากถ้าหากว่า การก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย เพราะอาจมีการขุดท่อวางสายไฟ ประปา อีกก็ได้ และหลังจากที่ปรับที่เสร็จ เมื่อฝนตกฝนก็จะชะหน้าดิน เป็นร่องทำให้เสียเวลา ในการปรับที่ใหม่ เนินที่แต่งไว้อาจจะถูกเหยียบย่ำโดยคนงาน ที่มาทำงานอื่นในบ้าน เช่น ทาสี, ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ดังนั้นการปรับที่จึงต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว จะใช้ผู้ที่มีฝีมือที่จะปรับที่ให้เป็นรูปร่างตามที่นักออกแบบได้
การปรับที่อาจเริ่มจาก การปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไป หรือถากดินออก บริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้เป็นเนิน ก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาว ให้สูงตามที่ต้องการ โดยไล่จากจุดต่ำสุด มายังจุดสูงสุดของเนิน เมื่อถมที่ได้ตามที่ต้องการแล้วควรรดน้ำและย่ำให้ดินแน่นไม่เป็นโพรง ทั้งนี้เพื่อกัน การทรุดตัวของเนินในภายหลัง หลังจากการใส่ดินตามจุดที่ต้องการแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ให้ดินหมวดจึงใช้ลูกกลิ้งบดดินให้เรียบ ถ้าช่วงไหนที่ดินยุบมากควรเพิ่มดินอีก
การปรับดินควรปรับถึงการระบายน้ำด้วยโดยทั่วไปไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพราะไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะสวนช่วยที่อยู่ใกล้ชายคาที่น้ำไหลลงมาเมื่อฝนตก ควรระวัง เลือกใช้พรรณไม้ และ ปรับทาง ระบายน้ำ บริเวณนั้นให้ดี ส่วนของสนาม ที่ระดับดิน เท่ากันแต่งให้เรียบเสมอขอบธรรมดา และถ้าในดินมีสนาม สูงกว่าถนน ที่ควรแต่งขอบให้โค้งและ ปูหญ้า ถึง ขอบถนน เพื่อกันดินพัง

3) การปรับหลุมปลูกต้นไม้ (Soil Preparation)

ควรปลูกต้นไม้หรือไม้ประธานก่อน แล้วจึงเป็นไม้พุ่ม ให้คลุมดิน ตามลำดับ วิธีการเตรียมก็ดูตำแหน่งของต้นไม้นั้น ๆ จากแปลน จะทราบถึงระยะห่างของต้นไม้จากำแพง หรือผนังบ้านได้ เมื่อได้ตำแหน่งของต้นไม้แต่ละต้นแล้ว ใช้ปูนขาวไปวงตามจุดนั้น เพื่อที่จะเตรียมขุดโดยกะขนาดหลุมให้ตามชนิดของต้นไม้ เมื่อขุดดินออกแล้ว ควรย่อยดินให้ละเอียดผสมกับปุ๋ยที่ขายทั่วไป ผสมปุ๋ยสูตรสเสมอและปูนขาวอย่างละกำ เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอปลูกต้นไม้ต่อไป
การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้น ควรขุดต่อกันเป็นแปลง ตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาว ตามสูตรหลังจากนั้น ก็ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง 0.25 – 0.3 m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ

4) การกำจัดวัชพืช (Weed Control)

ในระยะที่ทำการขุดหลุม เพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลัง ก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้ว ก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อเกิดขึ้นมาอีก

5) การวางก้อนหิน (Setting Stones)

ก้อนหินมีรูปทรงต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยไม่ได้ถูกตัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติของหิน ที่เปลี่ยแปลงไป โดยภูมิอากาศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะบอกถึง บรรยากาศของถิ่นที่มาของหินนั้น ๆ เช่น หินอาจเรียบหรือขรุขระ เนื่องจากลมและพายุ จากแม่น้ำ มหาสมุทร สีจะแสดงถึงความมั่นคงสงบนิ่ง หินที่มีรูปร่างกลม, หรือหินที่ขัดถูแล้ว จะไม่นิยมใช้ในการจัดสวน เพราะจุทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ สีที่นิยมคือสีน้ำตาล, แดง, ม่วง, เขียวปนน้ำเงิน สีขาวไม่นิยม เพราะขาวเกินไป และไม่ประทับใจเมื่อมองดู และควรหลีกเลี่ยง การใช้สีก้อนหินที่ติดกัน
นักจัดสวน จะสำรวจรอบ ๆ หินแต่ละก้อนอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อที่จะตัดสินใจดูว่า ด้านไหนเป็นด้านหน้า ควรจะโชว์แก่ผู้ที่มาพบเห็น สังเกตจุดศูนย์ถ่วงของก้อนหิน ควรวางตรงไหน และจมลงดินเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในแต่ละก้อนที่วาง


สอบถาม ปรึกษา คลิกเลย