หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สวัสดี
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ูthai-dd.com
General Category
rtd43 ขุดสระถมที่
แหล่งน้ำในที่ดิน สปก. ขุดอย่างไร
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: แหล่งน้ำในที่ดิน สปก. ขุดอย่างไร (อ่าน 6626 ครั้ง)
Admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 1088
แหล่งน้ำในที่ดิน สปก. ขุดอย่างไร
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 20, 2022, 09:28:04 AM »
แหล่ง
น้ำในที่ดิน
สปก. ขุดอย่างไร...จึงจะถูกหลักเกณฑ์ เลขา ส.ป.ก. "ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข" มีคำตอบ
จากภาวะภัยแล้งปีนี้มีแนวโน้มรุนแรง โดยคาดว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญฝนแล้งยาวนานไปจนถึงเดือนมิถุนายน ได้กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ขาดน้ำใช้เพื่อการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินภายใต้การดูแลของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานที่อาศัยน้ำฝนทำการเกษตร
จากการที่ ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ทำให้ได้รับทราบถึงปัญหาและกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และหนึ่งในสิ่งที่เลขาธิการ ส.ป.ก. ได้รับ คือ คำถามจากเกษตรกรผู้ได้รับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินในหลายจังหวัดที่ปลูกพืชผลการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลเศรษฐกิจอย่างลำไย ถึงการขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในสวนของตนเอง ทำได้ไหม และหากต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ?
คำถามนี้..จึงมีคำตอบจาก เลขาธิการ ส.ป.ก. ว่า สำหรับการขุดบ่อเพื่อการเกษตรในพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรจากส.ป.ก.นั้น โดยระเบียบแล้วมีการกำหนดไว้ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติการทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 กำหนดไว้ ”ไม่ขุดบ่อเพื่อการเกษตรกรรมเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ที่ได้รับมอบ”
แต่หากว่าเกษตรกรมีความต้องการที่จะขุดบ่อน้ำให้มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 5 ตามข้อกำหนด ภายใต้ระเบียบดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดหรือ ส.ป.ก.จังหวัดที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ซึ่งจะพิจารณาว่า ควรอนุมัติให้ดำเนินการตามที่ร้องขอได้หรือไม่
“โดยการที่จะอนุญาตหรือไม่นั้น คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด จะพิจารณาจากผลดี ผลเสีย สภาพของที่ดินที่จะเสียหาย ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและแปลงที่ดินข้างเคียง รวมถึงความเป็นไปได้ในการกิจการนั้นเป็นประกอบด้วย”ดร.วิณะโรจน์ กล่าว
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เกษตรกรผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินจะสามารถขุดบ่อน้ำได้เพียงร้อยละ 5 ของที่ดินที่ได้รับ เช่น ได้รับที่ดินจำนวน 20 ไร่ จะใช้พื้นที่เพื่อการขุดบ่อน้ำได้เพียง 1 ไร่เท่านั้น ทั้งนี้เป็นไปตามเจตจำนงของระเบียบของส.ป.ก.ที่ต้องการให้ที่ดินของเกษตรกรได้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดกับการทำกิจกรรมการเกษตรต่าง ๆเพื่อการสร้างอาชีพและรายได้ พร้อมทั้งส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลานเพื่อให้มีที่ดินทำกินอย่างเพียงพอในอนาคต
ขณะเดียวกัน ตามระเบียบดังกล่าวข้างต้น ยังมีข้อกำหนดอีกว่า ห้ามมิให้เกษตรกรทำการเคลื่อนย้าย
ดินที่ขุด
ขึ้นมาออกไปนอกบริเวณเขตที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำประโยชน์ไม่ว่าเพื่อการใดๆ สิ่งที่ทำได้ คือ สามารถเอาดินที่ขุดขึ้นมานั้นนำมาปรับแต่งให้เป็นคันบริเวณรอบบ่อน้ำที่ขุดเท่านั้น หากมีการเคลื่อนย้ายดินออกไป ตามระเบียบได้กำหนดว่า เกษตรกรต้องชดใช้เป็นเงินเท่ากับมูลค่าของดินที่นำออกไป โดยจะนำไปเป็นรายได้ของส.ป.ก. เพื่อนำเข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเว้นแต่เป็นการนำออกไปโดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด
เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ส.ป.ก. ไม่ได้มีหน้าที่เพียงจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรให้กับเกษตรกรเข้าทำประโยชน์เท่านั้น แต่ยังดูแลเกษตรกรหลังจากได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ ช่วยอำนวยความสะดวกด้วยการปรับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เส้นทางคมนาคม จัดสรรสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น และส่งเสริมอาชีพและการรวมกลุ่มสหกรณ์โดยอาศัยหลักการตลาดนำการผลิต ทำให้ผลผลิตที่ออกมามีตลาดรองรับ เกษตรกรมีรายได้และสามารถทำกินอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
สำหรับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินขณะนี้ ส.ป.ก. กำลังเร่งขับเคลื่อนภายใต้แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยมีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการเพิ่มพื้นที่ชลประทานโดยการก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่และปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม จำนวน 33 โครงการ ใน 22 จังหวัด มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 5,000 ไร่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัด (Flagship Project) 9 โครงการใน 6 จังหวัด มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 1,200 ไร่ และโครงการ "หนึ่งชุมชน หนึ่งแหล่งน้ำ” ในเขตปฏิรูปที่ดินตามนโยบายรัฐบาล 14 โครงการใน 9 จังหวัด มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 3,429 ไร่ ซึ่งรวมแล้ว ส.ป.ก.มีโครงการที่จะดำเนินการถึง 56 โครงการ ใน 37 จังหวัด รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์ถึง 10,000 ไร่
พร้อมกันนี้ ส.ป.ก.ยังได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน ร่วมกับ 9 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กรมชลประทาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยผลงานที่ผ่านมา สามารถพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบกระจายน้ำ ได้ถึง 884 แห่ง ในพื้นที่ 61 จังหวัด มีพื้นที่รับประโยชน์ 557,394 ไร่
"ทั้งหมดนี้ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินมีน้ำสำหรับใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรอย่างเพียงพอ และเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างสูงสุดและตรงกับวัตถุประสงค์ในการจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรได้มีที่ทำกิน อยู่ได้ อยู่ดี อยู่อย่างยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป” เลขา ส.ป.ก. กล่าวในที่สุด
ซึ่งทั้งหมดนี้ คงช่วยทำให้เกษตรกรคลายข้อสงสัย แต่หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยอื่นๆ สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงาน ส.ป.ก จังหวัดที่อยู่ใกล้บ้าน ส.ป.ก พร้อมและยินดีให้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้เกษตรกรสามารถก้าวสู่ตามเป้าหมาย
ติดต่อสอบถาม
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ูthai-dd.com
General Category
rtd43 ขุดสระถมที่
แหล่งน้ำในที่ดิน สปก. ขุดอย่างไร