สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัสดุมุ้งลวดมีอะไรบ้าง  (อ่าน 2974 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
วัสดุมุ้งลวดมีอะไรบ้าง
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2022, 09:27:04 AM »
วัสดุมุ้งลวดมีอะไรบ้าง?
อลูมิเนียม : มุ้งลวดแบบอลูมิเนียมเป็นเส้น ที่มีความแข็แรง ทนทาน มีความคมมันวาว สะท้านแสง โปร่ง เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการอากาศถ่ายเท แต่ข้อเสียของมุ้งลวดแบบอลูมิเนียมผุกร่อนง่าย ทำให้การยึดเกาะไม่ดีเมื่อใช้ระยะยาว ควรทำความสะอาดเป็นประจำ

ไนลอน : มุ้งลวดเส้นใยสังเคราะห์ มีความแข็งแรงทนทาน เหนียว ทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดี  เส้นไนลอนมีความหนา ทำให้อากาศถ่ายเทไม่ค่อยดี ไม่เหาะสำหรับติดตั้งหน้าต่าง

เหล็กกล้า : มุ้งลวดนิรภัยมีความแข็งแรงทนทาน ทนต่อของแข็ง ของมีคม รวมถึงต่อสภาพอากาศสิ่งแวดล้อม ราคาแพง เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการความปลอดภัยสูง

ไฟเบอร์ หรือ ใยแก้ว :  วัสดุที่มีการเผาด้วยความร้อนสูง เมื่อ้งานจึงไม่ประสบกับปัญหาสนิม กัดกร่อน เหมาะสำหรับบ้านพักต่างอากาศชายทะเล ผิวไฟเบอร์ไม่คม ไม่มันวาว และยังไม่ลามไฟ มีความแข็งแรง แต่หากมีการกระแทรกแรงๆอาจเสียรูปทรงได้
 

ประเภทของมุ้งลวด
มุ้งลวดแบบบานเลื่อน : เป็นมุ้งลวดที่มีด้วยกันทั้งแบบบานเลื่อนเดี่ยว และบานเลื่อนคู่ ซึ่งการใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไป มุ้งลวดแบบบานเลื่อนยังสามารถติดตั้งได้หลากหลายแบบ อย่างเช่น แบบรางบน บนวงกบไม้ ติดตั้งบนวงกบไม้ เป็นต้น

มุ้งลวดแบบพับจีบ : เป็นมุ้งลวดที่มีลักษณะพับเป็นจีบๆ สไตล์ญี่ปุ่น สามารถแบ่งย่อยได้ 2 แบบ มีทั้งมุ้งลวดพับจีบแบบมีราง และมุ้งลวดพับจีบแบบไม่มีราง เหมาะสำหรับใช้งานประตูบ้าน

มุ้งลวดแบบม้วนเก็บ : ใช้งานง่าย สะดวกสบาย สามารถซ่อนเก็บได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับสไตล์แบบบ้านใหม่  แถมยังได้รับความนิยมอย่างมาก เหมาะสำหรับประตู หน้าต่างที่มีขนาดกว้างมาก

มุ้งลวดแบบแม่เหล็ก : ป้องกันกันแมลงได้เป็นอย่างดี สามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับห้องเก็บของ ห้องน้ำ ที่มีการติดตั้งช่องระบายที่อยู่ในตำแหน่งสูง
 

ราคามุ้งลวด
หากไม่มีความรู้ หรือ ความชำนาญ ในการติดตั้งมุ้งลวด ควรให้ร้านเป็นผู้ติดตั้งจะดีกว่า เพื่อให้คุณได้มุ้งลวดที่แข็งแรงทนทาน ได้มาตรฐาน และเหมาะกับการใช้งาน สำหรับราคามุ้งลวดขึ้นอยู่กับขนาดกรอบประตูหน้าต่าง ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 300 – 2,000 บาท หากมุ้งลวดดี ราคาก็สูงขึ้นตามคุณภาพ

เป็นยังไงกันบ้าง? สำหรับ ทำความเข้าใจ ก่อนติดตั้งมุ้งลวด ควรเลือกประเภทแบบไหน? เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งมุ้งลวดที่บ้าน ควรลือกประเภท และวัสดุที่ตอบโจทย์การใช้งานที่สุด จะได้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการติดตั้งบ่อยๆ และควรให้ช่างติดตั้งมุ้งลวดเท่านั้น หากบ้านประสบกับปัญหาหลังคารั่ว ซึม ผนังแตก ร้าว แนะนำผลิตภัณฑ์จระเข้ ตอบโจทย์ทุกปัญหาเรื่องบ้าน  ชนิดและสี ของมุ้งลวด                                       
ด้วยความที่เป็นสีดำทำให้แสงสามารถทะลุผ่านได้ดีกว่า มุ้งลวดสีขาว
เพราะมุ้งลวดสีขาว จะทำการกระจายแสงตลอดทั้งผืนจึงทำให้มัว มองทะลุได้

เนื้อมุ้งลวดมี 3 ชนิด
1. มุ้งลวดอลูมิเนียม  มีความตึงตัวสูง โปรงแสงอากาศสามารถถ่ายเทได้ดี เหมาะกับบ้านพักอาศัยที่อยู่ในเมือง
2. มุ้งลวดไฟร์เบอร์ มีความตึงตัวสูง โปรงแสงอากาศสามารถ่ายเทได้ดี เหมาะกับบ้านพักอาศัยทีอยู่ใกล้ชายทะเล เพราะทนต่อการกัดกร่อนของละอองน้ำทะเล หรือไอเค็มจากทะเลได้ดีกว่า
3. มุ้งลวดไนล่อน มีความตึงตัวสูง เหนียว ทน แต่อากาศถ่ายเทได้ไม่ค่อยดี เส้นลวดหนา ไม่โปร่งสบายตา ทำให้เสียทัศนีย์ภาพ

ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

คอนโดเราใช้ มุ้งไฟเบอร์ ลมเข้าได้น้อยมาก /สีดำ กันคนมองเข้าตอนกลางวัน
ทาวเหา ใช้ มิเนียม ถ้าไม่หมั่นล้าง มันจะกรอบแข็ง แล้วหักหลุด
ไนล่อน ไม่ใช้ ไม่ชอบ ร้อน ฮัฟส่วนมาก ช่างทำมุ้งลวด เค้าจะเอามาทำมุ้งบานเลื่อน ส่วนมุ้งอลูมิเนียม จะทำมุ้งบานเปิด

ถ้าจะถามว่า ทำไม เดาว่า น่าจะเกี่ยวกับ ร่องมุ้งมันไม่เหมือนกัน กรอบของมุ้งบานเปิด ร่องมันจะใหญ่กว่า จึงต้องใช้ยางอัดใหญ่ ในขณะที่มุ้งบานเลื่อน ร่องเล็กกว่า ต้องใช้ยางอัดจิ๋ว (บางคนเรียกว่า ยางใส้ไก่)

ถ้าจะถามว่า เอามุ้งไฟเบอร์ใส่ในกรอบมุ้งบานเปิดได้มั้ย คำตอบคือได้ ม่วยถ่าวเองเคยทำบ่อยๆค่ะ กรณีของเหลือแต่เฉพาะมุ้งไฟเบอร์ ใช้แค่นิดหน่อย ขี้เกียจซื้อใหม่ยกม้วน เราก็ใช้มุ้งไฟเบอร์แทน แค่เปลี่ยนยางอัด ให้มันเข้ากันกับร่องมุ้ง ก็ใช้ได้แล้ว ลูกค้าส่วนมาก ก็ไม่ได้โต้แย้งอะไร แม้จะขัดทฤษฎีไปบ้าง

แล้วมุ้งอลูมิเนียม เอามาใส่กรอบมุ้งบานเลื่อนได้มั้ย? น่าจะไม่ได้ค่ะ เพราะยางอัดจิ๋ว มันไม่แข็งแรงพอจะอัดมุ้งอลูมิเนียม

ทีนี้ ก็มาว่ากันถึง ราคาต้นทุน มุ้งอลูมิเนียมแพงกว่าจริงค่ะ แต่ก็ไม่มากจนเป็นนัยสำคัญ ตรฟ. นึง แพงกว่ากันอย่างมากก็ 3-4 บาทอุปกรณ์
1. กรอบอลูมิเนียม 1 เส้น 6 เมตร ราคา 80 บาท
2. มุ้งไนล่อน 42" เมตรละ 60 บาท
3. เหล็กมุม ตัวละ 2 บาท
4. ยางอัดขอบ 1 ม้วน 25-30 เมตร 45 บาท
5. เส้นคาดกลางอลูมิเนียม 1 เส้น 6 เมตร ราคา 45 บาท
6. ลูกกลิ้งอัดกลีบ 80 บาท (ใช้เหรียญ 10 บาทแทนได้)

- มุ้งไนล่อน หนา ทนทานสุด อัดยางยากกว่า
- มุ้งไฟเบอร์ สวย มีหลายสี? ลมผ่านมากกว่า เห็นวิวชัดกว่าโดยเฉพาะสีดำ
- มุ้งอลูมิเนียม ไม่ทนทะเล ผุง่ายควรทำความสะอาดบ่อยๆ

- เวลาจะเจาะรูรีเวท ต้องตั้งดอกสว่านให้สั้นๆ ไม่ให้โดนกรอบด้านล่าง จะเป็นรอยนูน
- ควรใส่แผ่นยางรองหัวสว่าน เพื่อป้องกันการเสียดสีเป็นรอยวงๆ
- เวลาเจาะรูกรอบจะมีเศษๆอยู่ข้างใน เขย่าแล้วจะมีเสียงดัง ต้องเทออกมาก่อนยิงรีเวท
- ถ้าไม่ได้ใส่เส้นคาดกลาง จะทำให้กรอบแอ่น เว้ากลาง เอวคอด
- ถ้ากรอบไม่ได้ฉาก จะทำให้มุ้งเป็นคลื่นย่นๆ

- ยางอัดต้องใช้ให้ถูกกับชนิดของมุ้งลวด
- ยางอัดต้องเปลี่ยนใหม่ ของเก่าจะแข็ง ทำให้ล็อคไม่แน่น
- ยางอัดควรตัด 45 องศา จะทำให้เข้ามุมได้สวย
- ให้ทำด้านสั้นก่อนทั้ง 2 ด้าน จะทำให้ตึง ไม่ย่น ไม่เป็นคลื่น
- ใช้เหรียญ 10 บาท แทนลูกกลิ้งได้
- ใช้ปลายด้ามค้อนกดยางอัดช้าๆ ไม่ต้องทุบ
- ไม่ควรดึงยืดยางอัด เพราะจะทำให้ล็อคไม่แน่นเมื่อลองคิดย้อนกลับไปในยุคที่แอดมินยังเด็ก มุ้งลวดยังเป็นของใหม่ที่เห็นได้บางตานัก แต่ในปัจจุบัน มองไปทางไหนก็จะเห็นได้ว่าแทบทุกบ้านติดมุ้งลวดกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีแทนการกางมุ้งกันหมดแล้ว แม้ข้อเสียของมันคือการทำให้กระแสลมไหลผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้น้อยลง แต่ก็เพิ่มความสะดวกในการรับมือกับยุงและแมลงได้มากกว่านั่นเองค่ะ


และในช่วงแรกของการผลิตมุ้งลวด วัสดุที่ใช้ทำเป็นมุ้งลวดมักจะเป็นอะลูมิเนียม ซึ่งขึงแล้วจะมีส่วนแหลมคม บาดตามเนื้อตัวได้เสมอๆ แต่ทุกวันนี้มีการพัฒนาวัสดุไปเป็นมุ้งลวดไนลอน มุ้งลวดไฟเบอร์กลาส ซึ่งข้อดีข้อเสียก็จะแตกต่างกันไปตามงบประมาณและความต้องการใช้งาน เช่น มุ้งลวดไฟเบอร์เป็นวัสดุที่มีความหยุ่นนุ่ม ไม่มีความคม ราคามักจะแพงกว่า เมื่อโดนแรงกระแทก มักจะยืดเสียรูปทรง แต่ไม่ขาด หากโดนไฟจากบุหรี่จี้ ก็จะขาดเป็นรูโหว่ แต่ไม่ลุกติดไฟ ไม่มีปัญหาการเกิดสนิมโลหะค่ะ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาการสะท้อนแสงของมุ้งลวด ทำให้การมองผ่านมุ้งลวดชัดเจนมากกว่าแบบอะลูมิเนียมค่ะ ส่วนมุ้งลวดไนลอน จะค่อนข้างเหนียว ทน แต่เส้นลวดหนา ไม่โปร่งสบายตา ทำให้เสียทัศนียภาพ และทำให้อากาศถ่ายเทไม่ค่อยสะดวกเท่าวัสดุ 2 ชนิดที่เหลือ

ในส่วนของการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้วัสดุชนิดใดในการทำมุ้งลวดนั้น ก็คงต้องแล้วแต่งบประมาณในกระเป๋าและความต้องการของคุณๆ ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเองนะคะ

ติอต่อช่างงานเหล็ก