สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายและความสำคัญของการทำงานบ้าน  (อ่าน 2156 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ความหมายและความสำคัญของการทำงานบ้าน

ในการดูแลรักษาบ้านให้สะอาดเรียบร้อย น่าอยู่ ควรทำงานตามที่ได้วางแผนไว้ เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับชนิดของงาน เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมก่อนการทำงาน ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าควรสำตรวจความเรียบร้อยก่อนนำมาใช้งาน นอกจากนี้ ควรเรียนรู้หลักการทำความสะอาดต่างๆดังนี้

หลักการปัดกวาด

ในการปัดกวาดควรทำเป็นประจำอย่างน้อยวันละครั้งโดยยึดหลักการดังนี้
1. กวาดจากที่สูงมาหาที่ต่ำ คือ กวาดจากเพดาน ฝาผนัง หลังตู้ และจึงกวาดพื้น เพราะว่าถ้ากวาดที่ต่ำก่อน เมื่อกวาดที่สูงกว่าจะทำให้ฝุ่นผงตกสู่พื้น ทำให้เสียเวลาต้องกวาดใหม่อีกครั้ง
2. เมื่อทำการกวาดต้องกวาไปข้างหน้า โดยกวาดฝุ่นผงไปกองไว้ในที่เดียวกัน แล้วจึงกวาดเศษผงทิ้งด้วยที่ตักผง
3. กวาดจากด้านในออกไปนอกและขณะกวาดไม่ควรยกปลายไม้กวาดสูงเกินไปจะทำให้ฝุ่นผงกระจาย
4. ขณะทำการกวาด เพื่อป้าองกันฝุ่นละอองเข้าจมูก เข้าปาก ผู้กวาดควรอยู่เหนือทิศทางลม
5. ถ้าบริเวณที่มีฝุ่นหนามาก เมื่อทำการกวาดควรมีผ้าปิดจมูก หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นแทนการกวาดเพราะว่าการดูดฝุ่นด้าวเครื่องดูดฝุ่นจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายน้อยกว่าการกวาด

หลักการเช็ดถู

ในการเช็ดถูทำความสะอาดบ้านควรปฏิบัติ
1. ก่อนการเช็ดถูพื้น ควรปัดกวาดเศษผงฝุ่นขยะออกให้หมด
2. เช็ดถูบริเวณที่สูงก่อนการเช็ดถูบริเวณที่ต่ำ เล็น เช็ดตู้ก่อนเช็ดโต๊ะ เช็ดโต๊ะก่อนเช็ดพื้น เป็นต้น
3. ถูจากส่วนหน้าเข้าหาตัว โดยถูถอยหลัง เพื่อนบ้องกันรอยด่างจากการเหยียบพื้นที่ใช้ถูแล้วและยังไม่แห้ง
4. เพื่อความสะอาดควรหมั่นซักผ้าที่ใช้บ่อยๆและเมื่อถูเสร็จแล้วกวาดซ้ำอีกครั้ง

การทำความสะอาดส่วนต่างๆใจบ้าน

    บ้านประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น เพดาน พื้น ฝาผนัง หน้าต่าง ประตู เป็นต้น ซึ่งควรดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ดังนี้
1. เพดาน เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนสุดของบ้าน ความสกปรกบนเพดานเกิดจากฝุ่นละออง และหยากไย่จากแมงมุม ทำให้เพดานสกปรกและรุงรังไม่น่ามอง ซึ่งควรทำความสะอาด ดังนี้
    1. ก่อนการกวาดควรปิดจมูกด้วยผ้า เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าจมูก
    2. กวาดเพดานจากในสู่ด้านนอก
    3. กวาดพื้นเพื่อเก็บเศษผงที่ลงสู่พื้น
2. ฝาผนัง ควรทำความสะอาดดังนี้
    1. ดูดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่นหรือกวาดด้วยไม้กวาดขนไก่
    2. ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาด เช็ดให้ทั่ว ถ้าเป็นฝาผนังคอนกรัตสกปรกมาก ควรขัดด้วยแปรงขัด และน้ำผสมผงซักฟอก แต่ถ้าเป็นฝาผนังกระเบื้องเคลือบสกปรกมาก ให้ใช้ฟองน้ำ จัดด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำยาขัด
3. ประตู หน้าต่าง ควรทำความสะอาด ดังนี้
   1. ปัดฝุ่นด้วยไม้กวาดขนไก่
   2. ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาด เช็ดให้ทั่ว แต่ถ้าเป็นประตู หน้าต่างกระจก ให้ใช้น้ำยาเช็ดกระจา หรือใช้การดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำพอหมาดๆ เช็ดถูหลายๆครั้งจนกระจกใน ถ้าหน้าต่างที่มีมุ้งลวดควรถอดมุ้งลวดล้างด้วยน้ำผสมผงซักฟอกและขัดด้วยแปรงพลาสติกประมาณเดือนละ 1 ครั้ง
4. การทำความสะอาดพื้น ในการทำความสะอาดพื้นห้องให้สะอาด ควรเลือกวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้เหมาะสม และเตรียมการในการทำความสะอาดโดยเก็บสิ่งของชิ้นเล็กๆออกจากบริเวณโดยรวบรวมใส่ตะกร้า กระจาดหรือถุงพลาสติกและเปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
   1. พื้นไม้ ควรทำความสะอาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้าก่อน และถูด้วยผ้าหรือไม้ถูพื้นชุบน้ำบิดพอหมาดๆ
   2. พื้นหินขัด และพื้นหินขัด และพื้นซีเมนต์ ถ้าพื้นไม่สกประมากก็ทำความสะอาดเช่นเดียวกับพื้นไม้แต่ถ้าพื้นสกปรกมาก ควรราดน้ำผสมน้ำยาขัด และถูด้วยแปรง
   3. พื้นกระเบื้องยางหรือเสื่อน้ำมัน ถ้าสกปรกมากควรขัดถูด้วยน้ำผสมผงซักฟอกแล้วจัดถูบริเวณดังกล่าว และใช้ผ้าชุบน้ำผงซักฟอก และควรระวังไม่ให้พื้นกระเบื้องถูกน้ำมากเพราะจะทำให้กระเบื้องร่อนและหลุดจากพื้น

การทำความสะอาดห้องต่างๆ

    ในบ้านโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นห้องๆ เพื่อประโยชน์ต่อการใช้สอยในการดูแลห้องรักษาห้องต่างๆ ให้สวยงามและสะอาดอยู่เสมอ ควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ห้องนอน เป็นห้องส่วนตัวที่ใช้สำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น นอนเขียนจดหมาย อ่านหนังสือ แต่งตัว เป็นต้น ดังนั้นเราควรดูแลรักษาส่วนต่างๆ และสิ่งของในห้องนอนให้สวยงามและสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้
   1. เก็บที่นอน หมอนมุ้ง พับผ้าห่ม ปัดที่นอนและคลุมเตียงด้วยผ้าคลุมเตียงให้เรียบร้อยทุกวัน
   2. จัดตู้โต๊ะให้เป็นระเบียบ และเช็ดถูให้สะอาด
   3. ขณะทำความสะอาดควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
   4. มุ้งลวด ควรทำความสะอาด โดยปัดฝุ่นประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และล้างมุ้งลวดประมาณเดือนละ 1 ครั้ง
   5. พื้นห้อง ควรกวาดและถูกทุกวันเหมือนพื้นบ้านบริเวณอื่นๆ

2. ห้องรับแขก เป็นห้องที่ใช้สำหรับก้อนรับผู้ที่มาเยี่ยมบ้าน ควรเป็นห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเพื่อความสะอาดต่อการต้อนรับแขก ควรอยู่บริเวณส่วนหน้าของบ้านและควรจัดห้องให้เรียบร้อย สวยงาม บางบ้านจะใช้เป็นมุมพักผ่อน ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ นั่งเล่น และทำกิจกรรมตางๆของสมาชิอกในบ้านไปด้วย ดังนั้นควรดูแลรักษาให้สะอาด สวยงาม ดังนี้
    1. โต๊ะ เก้าอี้รับเขก ควรปัดฝุ่นและเช็ดทุกวัน
    2. ถามติดฝากผนัง ควรปัดด้วยไม้กวาดขนไก่ ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    3. วิทยุและโทรทัศน์ ควรปัดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าแห้งทุกวัน
    4. หนังสือควรจัดวางให้เป็นระเบียบ
    5. ของใช้อื่นๆท่วางไว้ให้ห้องรับแขก ควรดูแลและทำความสะอาดอยู่เสมอๆ เช่น เดียวกัน

3. ห้องพระ ควรดูแลทำความสะอาด ดังนี้
    1. โต๊ะบูชา และอุปกรณ์เครื่องใช้ ควรทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง ไม่ควรปล่อยไว้จนฝุ่นจับหนา ดอกไม้ควรเปลี่ยนอยู่เสมอ ถ้าเปลี่ยนได้ทุกวันจะดีมาก
    2. รูปรัชกาลต่างๆ ตั้งโต๊ะต่างหากไว้บูชาก็ได้ โกศบรรจุอัฐิหมั่นเช็ดฝุ่นหรือเก็บไว้ในตู้เล็กๆกันเด็กเล่นหกหล่น ถ้านำออกมาบังสุกุลในวันสงกรานต์ตามประเพณีไทยได้ยิ่งดี
    3. หนังสือธรรมะ ต้องหมั่นเช็ดถูปัดฝุ่นละอองอยู่เสมอ อย่าให้เช้น เพราะจะทำให้พลวกขึ้นทำลายหนังสือได้

4. พระเครื่อง เหรียญพระติดไว้ในกรอบด้วยกำมะหยี่ จะตั้งหน้าหิ้งพระหรือแขวนก็ได้เพราะดูแลกรักษาทำความสะอาดง่าย

4. ห้องแต่งตัว ควรดูแลและทำความสะอาด ดังนี้
    1. โต๊ะเครื่องแป้งและของใช้ที่จำเป็นในการแต่งตัว ควรจัดวางไว้บนโต๊ะ แป้ง หวี กระจก น้ำหอม ควรเช็ดให้สะอาดอยู่เสมอ
    2. ตู้เสื้อผ้า ควรจัดให้เรียบร้อย และจัดแยกประเภทของเสื้อผ้าไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น เสื้อ กระโปรง กางเกง ชุดชั้นใน ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการหยิบด้วย
    3. ราวตากผ้าสำหรับตากผ้าเล็กๆน้อยๆ เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อคลุม เสื้อนอน ไม่ควรแขวนไว้ตามข้างฝา เพราะจะมองดูรกรุงรัง เป็นต้น
    4. ถังขยะ สำหรับทิ้งเศษ กระดาษ เศษผงอื่นๆ ควรจัดตั้งไว้ข้างโต๊ะเครื่องแป้ง
    5. ห้องครัว เป็นห้องที่ใช้สำหรับประกอบอาหาร เก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องปรุงในการประกอบอาหารเพื่อไม่ให้กลิ่นรบกวนขณะประกอบอาหาร ควรจัดให้อยู่งจากห้องรับแขกและห้องนอน นอกจากนี้ควรจัดให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและควรดูแลรักษา ดังนี้
    1. เตาไฟ หลังจากการใช้งานควรปิดและทำความสะอาดทุกครั้ง ถ้าเป็นเตาถ่านให้ใช้คีมคีบถ่านออกจากเตาและจุ่มในน้ำให้ไฟดับ
    2. หม้อ กระทะ จาน ชาม ช้อน หลังการใช้งานควรล้างและคว่ำให้แห้งสนิท และจัดเก็บในตู้เก็บให้เรียบร้อย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะจะทำให้หนู แมลงมาเกาะกินเศษอาหารที่เหลือติดอยู่ ทำให้สกปรกและเกิดโรคได้
    3. โต๊ะและตู้กับข้าว โต๊ะในห้องครัวใช้สำหรับประกอบอาหาร หลังการใช้งานควรจัดเก็บและทำความสะอาดทุกครั้ง ส่วนตู้กับข้าวใช้สำหรับเก็บอาหารควร ดูแลจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ และเช็ดถูให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีแมลงสาบ มด หนู มาอาศัยอยู่เพราะเหล่านี้เป็นพาหะนำโรค

6. ห้องน้ำ ห้องน้ำในบ้านส่วนมากสมาชิกในบ้านจะใช้ร่วมกัน ดังนั้นควรช่วยกันรักษาให้สะอาด เช่น โถส้วมชนิดที่มีฝาปิดให้นั่งราบกับที่รองนั่ง ไม่ใช่เท้าขึ้นไปเหยียบ นั่งยอง เพราะจะทำให้ฝาปิดแตกชำรุด ชักโครก หรือราดน้ำหลังจากใช้แล้วทุกครั้งให้สะอาด วางสบู่ ยาสีวัน ขันตักน้ำ เข้าที่เดิมทุกครั้ง และในการทำความสะอาด ห้องน้ำ ควรปฏิบัติ ดังนี้
     1. ราวตากผ้าหรือที่สำหรับแขวนผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้าของสมาชิกในบ้าน ควรมีประจำห้องน้ำ และวางอยู่ประจำที่ ต้องหมั่นเช็ดถูทำความสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นจับ และอาจจะทำให้เสื้อผ้าเปื้อนได้
     2. อ่างล้างหน้าหรืออ่างน้ำ เมื่อใช้แล้วต้องทำความสะอาดทุกครั้ง โดยใช้ผงซักขัดเงา ใช้ฟองน้ำถูแล้วล้างด้วยน้ำให้สะอาด
     3. หัวก๊อกน้ำต่างๆจานสบู่ กรอบกระจก โดยมากทำด้วยโครเมี่ยมควรเช็ดน้ำให้แห้ง แล้วใช้ผ้าชุบน้ำยาขัดถูให้เป็นเงางามอีกครั้งหนึ่ง
     4. ฝาห้อง เพดาน หน้าต่าง ควรทำความสะอาด ปัดหยากไย่อยู่เสมอ และเมื่อทำความสะอาดสุขภัณฑ์ควรทำความสะอาดพื้นห้องน้ำด้วย
     5. โคมไฟหรือหลอกไฟ ควรใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด เพื่อป้องกันหยากไย่ หรือฝุ่นเกาะ อันเป็นเหตุให้แสงสว่างลดลง หากหลอดไฟเสื่อมคุณภาพ ควรเปลี่ยนใหม่ และควรระวังเมื่อเช็ดฝุ่นที่หลอดไฟฟ้า



 ติดต่อสอบถาม