สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ต้องมีความเชี่ยวชาญการใช้เครื่องมือ  (อ่าน 3242 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
คนตัดต้นไม้ ไม่ใช่ “รุกขกร”

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “รุกขกร” กับ “คนตัดต้นไม้” ต่างกัน ต้องแยกกัน ทั้งสองอย่างควรจัดระบบตามมาตรฐานสากล มีการขึ้นทะเบียนรับรอง เพราะ “รุกขกร” (Arborist) เป็นนักวิทยาศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญธรรมชาติของต้นไม้ รู้จักต้นไม้ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง รู้จักความสัมพันธ์ของต้นไม้กับดิน น้ำ และอากาศ

ขณะที่ “คนตัดต้นไม้” (Tree Worker Climber) มีหน้าที่ปีนต้นไม้ มีความเชี่ยวชาญเรื่องการตัดต้นไม้ การใช้อุปกรณ์เครื่องมือ ฉะนั้น ในหนึ่งงานหรือหนึ่งทีมจะมีรุกขกรเป็นผู้กำกับ แล้วมีคนตัดต้นไม้เป็นผู้ทำงาน แต่ถ้ารุกขกรคนไหนเรียนรู้การปีนต้นไม้เพิ่มเติม ก็สามารถเป็นได้ทั้งรุกขกรและคนปีนต้นไม้ในตัว สามารถรับงานเพียงลำพังได้

ผศ.ดร.พรเทพ เหมือนพงศ์
“รุกขกร” ผู้อนุรักษ์ไม้ใหญ่

ต้นไม้เหล่านั้นโดยเฉพาะไม้ใหญ่จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างถูกต้อง มิใช่เพียงตัดเพื่อแก้ปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น แต่ควรทำให้เกิดความสวยงาม สร้างทัศนียภาพที่ดีด้วย ที่สำคัญกว่านั้นคือ ต้องคงสภาพความสมบูรณ์ให้มีอายุยาวนานต่อไป งานเหล่านี้ในต่างประเทศมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงแล้วมีบุคลากรทำงานที่เรียกว่า “รุกขกร” (arborist) คอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

การขึ้นต้นไม้ ต้องตรวจเช็คอุปกรณ์สายรัดทุกอย่างให้ละเอียดเพื่อความปลอดภัย
รุกขกร จะทำงานโดยใช้ศาสตร์และศิลป์ร่วมกัน กว่าจะลงมือตัดแต่งต้นไม้ต้องมองรอบด้าน ทั้งแง่ความเป็นธรรมชาติ ความสวยงาม ตลอดถึงทัศนียภาพ ไม่ได้มองเพียงปัญหาใดเพียงอย่างเดียว เกือบทุกประเทศทั่วโลกล้วนมีหน่วยงานที่ดูแลต้นไม้ใหญ่ มีรุกขกรอาชีพเป็นจำนวนหลายร้อยคน แต่สำหรับบ้านเราดูเหมือนจะห่างไกลกับการใส่ใจต้นไม้ใหญ่ในเมือง ขาดการวางแผนการปลูก และการดูแลที่ถูกต้อง

ไม่กี่ปีมานี้มีการพูดถึงรุกขกรมากขึ้น หลังจากพบว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองมีความเสียหายจากภัยธรรมชาติบ้าง หรือสร้างปัญหาให้กับวิถีชีวิตคนเมืองบ้าง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้สังคมโดยรวมมองว่าควรจะหาทางแก้ไขด้วยมืออาชีพด้านต้นไม้อย่าง รุกขกร

ต้องมีความเชี่ยวชาญการใช้เครื่องมือ
ทำอย่างไรจะได้เป็น รุกขกร

ความจริงการเรียนการสอนเพื่อเป็นรุกขกรคือ วิชารุกขกรรม บรรจุอยู่ในหลักสูตรภาควิชาวนวัฒน์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เป็นการเรียนระดับปริญญาตรี ซึ่งผู้เรียนจบส่วนมากมุ่งตรงไปสอบเข้าทำงานกรมป่าไม้ เพราะมีความมั่นคงทางอาชีพมากกว่า และคนจำนวนหนึ่งอาจเติมเต็มอาชีพเสริมแบบคู่ขนานด้วยการเป็นรุกขกร แต่น่าเสียดายที่พบว่าประเทศไทยมีรุกขกรที่ถูกต้องได้รับมาตรฐานเพียงไม่กี่สิบคน  ส่วนที่เห็นทำงานกันทั่วไป เรียกว่า คนตัดต้นไม้มากกว่า

มีเทคนิคการตัดต้นไม้ที่ถูกต้อง
จำนวนรุกขกรที่มีอยู่เล็กน้อย ทำให้พวกเขาต้องรับงานล้นมือ ไม่ว่าจะเป็นงานดูแลต้นไม้ตามหน่วยงานราชการ เอกชน รวมทั้งตามบ้านเรือน จนมีคิวงานยาวเหยียด ทั้งนี้ปัญหาขาดแคลนรุกขกรทำให้หลายแห่งเปิดอบรมรุกขกรระยะสั้นขึ้น เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดงานที่รออยู่

ผศ.ดร. พรเทพ เหมือนพงศ์ อาจารย์ประจำคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ หนึ่งในรุกขกรของไทยที่ได้รับการรับรองระดับนานาชาติ จาก “สมาคมรุกขกรรมนานาชาติ” (International Society of Arboriculture หรือ ISA) แล้วยังเป็นคนหนึ่งที่พยายามผลักดันการผลิตรุกขกรอาชีพ กล่าวว่า ภาควิชาวนวัฒน์วิทยา เป็นการเรียนการสอนเรื่องการปลูกป่า การเกิดป่า ดูแลรักษาป่าให้เจริญเติบโตมีความสมบูรณ์ตอบสนองตามวัตถุประสงค์ของการปลูกป่า ไม่ว่าจะปลูกเพื่อตัดออกมาใช้ประโยชน์เป็นไม้เศรษฐกิจ ไม้โตเร็ว หรือปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกบุกรุกทำลายเพื่อให้กลับมาเป็นป่าธรรมชาติเหมือนเดิม

หลังจากตัดลงมาจากต้นใหญ่แล้วต้องเก็บรายละเอียด
ประเทศไทยเพิ่งตื่นตัวเรื่องของรุกขกรเพียงไม่กี่ปี ส่วนต่างประเทศมีมานานเป็น 100 ปี เป็นอาชีพที่มีชื่อเรียกว่า ARBORIST หรือผู้ดูแลต้นไม้ใหญ่ในเขตเมือง พอบ้านเราไม่มีรุกขกร ต้นไม้ที่ปลูกในเขตเมืองจึงมีปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ตัดเหลือแต่ตอ ตัดแบบแหว่งๆ เป็นการตัดต้นไม้ที่ขาดหลักการที่ถูกต้อง อันอาจมีผลก่อให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยบนท้องถนน เพราะยังไม่เคยมีผู้ดูแลต้นไม้ใหญ่ที่เป็นมืออาชีพ ส่วนใหญ่มักพบเห็นคนดูแลสวน จัดสวน ตัดหญ้า ปลูกไม้ดอกไม้ประดับตามสถานที่ต่างๆ แล้วเข้าใจว่าคนเหล่านั้นเป็นรุกขกรด้วย

การทดสอบฝึกปีนต้นไม้
คนตัดต้นไม้ ไม่ใช่ “รุกขกร”

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “รุกขกร” กับ “คนตัดต้นไม้” ต่างกัน ต้องแยกกัน ทั้งสองอย่างควรจัดระบบตามมาตรฐานสากล มีการขึ้นทะเบียนรับรอง เพราะ “รุกขกร” (Arborist) เป็นนักวิทยาศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญธรรมชาติของต้นไม้ รู้จักต้นไม้ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง รู้จักความสัมพันธ์ของต้นไม้กับดิน น้ำ และอากาศ

ขณะที่ “คนตัดต้นไม้” (Tree Worker Climber) มีหน้าที่ปีนต้นไม้ มีความเชี่ยวชาญเรื่องการตัดต้นไม้ การใช้อุปกรณ์เครื่องมือ ฉะนั้น ในหนึ่งงานหรือหนึ่งทีมจะมีรุกขกรเป็นผู้กำกับ แล้วมีคนตัดต้นไม้เป็นผู้ทำงาน แต่ถ้ารุกขกรคนไหนเรียนรู้การปีนต้นไม้เพิ่มเติม ก็สามารถเป็นได้ทั้งรุกขกรและคนปีนต้นไม้ในตัว สามารถรับงานเพียงลำพังได้

เด็กๆสนใจเรียนรู้การฝึกปีนต้นไม้
ตลาดงานในบ้านเราต้องการทั้งรุกขกรและคนปีนต้นไม้ เพราะตอนนี้สังคมเกิดความตื่นตัวความเป็นมาเป็นไปของต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ในเมืองทุกต้น ว่าควรมีมืออาชีพมาดูแล ไม่ใช่ปล่อยให้ใครก็ได้ปีนขึ้นต้นไม้แล้วเอามีดตัดตรงนั้น ตรงนี้ออกโดยขาดทิศทางที่ถูกต้อง

“เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ตามที่พักอาศัยหรือต้นไม้ที่ปลูกตามหน่วยงาน บริษัท ต่างก็ถามหารุกขกรมืออาชีพ จึงทำให้คนกลุ่มที่เป็นรุกขกรจัดตั้งเป็นกลุ่มเป็นทีมรับงานตัดต้นไม้แบบมืออาชีพโดยปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีงานล้นมือ มีคิวงานติดต่อเข้ามาไม่ขาดระยะ โดยเฉพาะหน้าฝน”

นอกจากการเรียนสายตรงของรุกขกรจากคณะวนศาสตร์แล้ว ปัจจุบัน มีสมาคมที่มีชื่อว่า “สมาคมรุกขกรรมไทย”จัดตั้งขึ้นมา เพื่อเปิดสอบขึ้นทะเบียนรับรองการเป็นรุกขกรกับคนตัดต้นไม้ ส่วนคนที่มาสอบจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง คงต้องสอบถามรายละเอียดได้ที่สมาคม แต่ถ้าใครสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะได้รับรองว่าเป็นรุกขกร หรือคนตัดต้นไม้ พร้อมใบรับรองวิชาชีพที่ถูกขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งผลที่ได้จากการเป็นสมาชิกจะทำให้คุณมีโอกาสรับงานอย่างภาคภูมิใจ

ต้นไม้เหล่านั้นโดยเฉพาะไม้ใหญ่จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างถูกต้อง มิใช่เพียงตัดเพื่อแก้ปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น แต่ควรทำให้เกิดความสวยงาม สร้างทัศนียภาพที่ดีด้วย ที่สำคัญกว่านั้นคือ ต้องคงสภาพความสมบูรณ์ให้มีอายุยาวนานต่อไป งานเหล่านี้ในต่างประเทศมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงแล้วมีบุคลากรทำงานที่เรียกว่า “รุกขกร” (arborist) คอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

การขึ้นต้นไม้ ต้องตรวจเช็คอุปกรณ์สายรัดทุกอย่างให้ละเอียดเพื่อความปลอดภัย
รุกขกร จะทำงานโดยใช้ศาสตร์และศิลป์ร่วมกัน กว่าจะลงมือตัดแต่งต้นไม้ต้องมองรอบด้าน ทั้งแง่ความเป็นธรรมชาติ ความสวยงาม ตลอดถึงทัศนียภาพ ไม่ได้มองเพียงปัญหาใดเพียงอย่างเดียว เกือบทุกประเทศทั่วโลกล้วนมีหน่วยงานที่ดูแลต้นไม้ใหญ่ มีรุกขกรอาชีพเป็นจำนวนหลายร้อยคน แต่สำหรับบ้านเราดูเหมือนจะห่างไกลกับการใส่ใจต้นไม้ใหญ่ในเมือง ขาดการวางแผนการปลูก และการดูแลที่ถูกต้อง

ไม่กี่ปีมานี้มีการพูดถึงรุกขกรมากขึ้น หลังจากพบว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองมีความเสียหายจากภัยธรรมชาติบ้าง หรือสร้างปัญหาให้กับวิถีชีวิตคนเมืองบ้าง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้สังคมโดยรวมมองว่าควรจะหาทางแก้ไขด้วยมืออาชีพด้านต้นไม้อย่าง รุกขกร

ต้องมีความเชี่ยวชาญการใช้เครื่องมือ
ทำอย่างไรจะได้เป็น รุกขกร

ความจริงการเรียนการสอนเพื่อเป็นรุกขกรคือ วิชารุกขกรรม บรรจุอยู่ในหลักสูตรภาควิชาวนวัฒน์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เป็นการเรียนระดับปริญญาตรี ซึ่งผู้เรียนจบส่วนมากมุ่งตรงไปสอบเข้าทำงานกรมป่าไม้ เพราะมีความมั่นคงทางอาชีพมากกว่า และคนจำนวนหนึ่งอาจเติมเต็มอาชีพเสริมแบบคู่ขนานด้วยการเป็นรุกขกร แต่น่าเสียดายที่พบว่าประเทศไทยมีรุกขกรที่ถูกต้องได้รับมาตรฐานเพียงไม่กี่สิบคน  ส่วนที่เห็นทำงานกันทั่วไป เรียกว่า คนตัดต้นไม้มากกว่า

มีเทคนิคการตัดต้นไม้ที่ถูกต้อง
จำนวนรุกขกรที่มีอยู่เล็กน้อย ทำให้พวกเขาต้องรับงานล้นมือ ไม่ว่าจะเป็นงานดูแลต้นไม้ตามหน่วยงานราชการ เอกชน รวมทั้งตามบ้านเรือน จนมีคิวงานยาวเหยียด ทั้งนี้ปัญหาขาดแคลนรุกขกรทำให้หลายแห่งเปิดอบรมรุกขกรระยะสั้นขึ้น เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดงานที่รออยู่


โทรหาคน ตัดต้นไม้/ตัดหญ้า