สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทนายความลักษณะของงานที่ทำ  (อ่าน 3978 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ทนายความลักษณะของงานที่ทำ
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2022, 09:34:10 AM »
ทนายความ เป็นวิชาชีพทางกฎหมายแขนงหนึ่ง ในแต่ละประเทศอาจมีศัพท์เรียกทนายแตกต่างกัน เช่น barrister-at-law หรือ attorneyหรือ solicitor ซึ่ง barrister-at-law จะหมายถึงทนายความที่ว่าความในศาล ส่วน solicitor จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายที่ไม่ได้ว่าความ ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกทนายความว่า attorney หรือ lawyer ซึ่งว่าความได้ และเป็นทนายความเพียงประเภทเดียว บางครั้งมีผู้แปลคำว่า lawyer ว่านักกฎหมาย แต่ในประเทศไทย การเป็นทนายว่าความ จะต้องสอบใบอนุญาตว่าความ (ตั๋วทนาย) จากสภาทนายความก่อน โดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิต แต่จะต้องเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตสภา ขณะที่บางประเทศ ทนายความต้องจบเนติบัณฑิตก่อน

ลักษณะของงานที่ทำ
          ปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย และดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่งตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ และค้นตัวบทกฎหมายที่จะนำมาใช้โดยการศึกษาประมวลกฎหมายพระราชกฤษฎีกาเทศบัญญัติคำพิพากษาของศาลสูงที่มีมาแล้ว และกฎข้อบังคับที่ตราขึ้นไว้ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และค้นหาบรรพต่างๆ ในประมวลกฎหมาย ว่าความและดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆ ในศาลแทนคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา มีบทบาทในการสร้างและรักษาความเป็นธรรมให้กับสังคมมีบทบาทในการคุ้มครอง ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบุคคลและองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการดำเนินการต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย มีบทบาทเป็นคนกลางเพื่อ ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ด้วย อาจเชี่ยวชาญในงานกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ อาจเป็นทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กร บรรษัทห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล คณะบุคคล หรือเอกชน

สภาพการทำงาน
          ทำงานในสำนักงานมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเช่นสำนักงานทั่วไปมีอุปกรณ์ช่วยในการจัดการงานเอกสาร เช่น เครื่องพิมพ์ดีด หรือคอมพิวเตอร์ บางครั้งต้องออกไปติดต่อประสานงานนอกสำนักงาน เช่น ศาล สถานีตำรวจ สถานที่อื่นๆ เพื่อปฏิบัติภาระกิจทนายความตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในอาชีพนี้ อาจจะต้องมาทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด

          การทำงานของทนายความ เป็นงานที่ต้องมีผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายอันเนื่องมาจากลักษณะงาน การฟ้องร้องระหว่างคู่คดีอาจสร้างความไม่พอใจให้อีกฝ่าย หรืองานในหน้าที่อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียผลประโยชน์ ทำให้เกิดความโกรธแค้น และอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายและชีวิตได้ ผู้เป็นทนายความควรที่จะจัดให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย มีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่ไม่ใช้ความรู้ในอาชีพเอาเปรียบ หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
          ผู้สนใจจะประกอบอาชีพนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในอาชีพนี้เป็นพื้นฐานเพราะงานว่าความเป็นงานที่ต้องมีความเสียสละ ทุ่มเทใฝ่หาความรู้และมีวาทศิลป์ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพทนายความจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
          1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์
          2. ต้องขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความ
          3. มีสัญชาติไทย
          4. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต
          5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
          6. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
          7. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพ
          8. ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
          9. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
          10. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
          11. ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำเว้นแต่ข้าราชการการเมือง
          12. ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วม สำนักงาน และตนเอง

         

ปรึกษาทนาย