สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารอย่างไรให้ถูกกฎหมาย  (อ่าน 3752 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
รื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
รื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคาร ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เจ้าของบ้านจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ดี เพราะการรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารต้องพิจารณาในแง่ของการก่อสร้างและกฎหมายควบคู่กันไปด้วย ลองมาดูข้อควรรู้ ข้อควรระวัง และข้อปฏิบัติในการรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารให้ปลอดภัยทั้งต่อผู้อาศัยและถูกต้องตามกฎหมาย

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการรื้อบ้าน รื้ออาคาร
การรื้อบ้านหรือรื้อถอนอาคารต่าง ๆ ล้วนจำเป็นต้องทำโดยได้รับใบอนุญาตเป็นทางการจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 39 ทวิ โดยบ้านและอาคารที่ต้องรื้อถอนนั้นต้องเข้าข่ายลักษณะต่อไปนี้

1. บ้านหรืออาคารสูงเกิน 50 เมตร ซึ่งระยะห่างจากอาคารหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคารนั้น
2. บ้านหรืออาคารอยู่ห่างอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตร

ยกตัวอย่าง บ้านของคุณสูงเกิน 15 เมตร โดยบริเวณนั้นก็มีอาคารอื่น ๆ หรือชุมชนล้อมรอบ มีระยะห่างไม่ถึง 15 เมตร เจ้าบ้านก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตรื้อบ้าน เป็นต้น

ทั้งนี้ยังมีกรณีซ่อมแซมหรือต่อเติมเล็ก ๆ น้อย ๆ บางกรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาต โดยเจ้าบ้านลงมือทำได้ทันทีตามสมควร ไม้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อน กรณีดังกล่าวอ้างอิงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 พ.ศ. 2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แก่

1. การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน ซึ่งหมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต
2. การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต
3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นวัสดุที่แตกต่างจากเดิม ต้องขออนุญาต
4. การเปลี่ยนส่วนใด ๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ ภายในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต
5. การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร และไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต

ถ้าพิจารณาจากข้อยกเว้น 5 ข้อแล้ว จะเห็นว่า การต่อเติมส่วนใหญ่ที่เรา ๆ ทำกันอยู่ ล้วนต้องขออนุญาต เพราะพื้นที่ที่เราต่อเติม ส่วนใหญ่จะเกินกว่า 5 ตารางเมตร


ติดต่อสอบถาม