สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ออกแบบพื้นที่ทำเกษตรในแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”  (อ่าน 3760 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ออกแบบพื้นที่ทำเกษตรในแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”

ไม่ว่าจะเป็นคนเมือง คนต่างจังหวัด คนรุ่นใหม่ หรือวัยเกษียณที่ยังมีไฟ หากกำลังวางแผนว่าจะกินอยู่แบบพอเพียงตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เชื่อว่าชีวิตที่มีคุณค่ารอเราอยู่ในอนาคตแน่นอน  อาจารย์ยักษ์ -วิวัฒน์ ศัลยกำธร ย้ำกับมือใหม่ทุกคนว่า สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาหลักการให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน ต้องเตรียมความพร้อมทั้งความรู้ซึ่งไม่ใช่แค่อ่านจากตำรา ต้องค่อย ๆ ฝึกปฏิบัติจนชำนาญ รวมถึงการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ขยัน อดทน และมีความเพียรเพื่อไม่ให้เราก้าวพลาดจะทำให้เสียเวลาและงบประมาณ ที่สำคัญคือ ความตั้งใจ โดยเริ่มจาก โคกหนองนา โมเดล

1. บริหารจัดการพื้นที่
การบริหารพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่รู้จักกันในชื่อว่า “ โคก หนอง นาโมเดล ” ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งพื้นที่เล็กหรือใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาข้อมูลและทรงพบว่า เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ครอบครองพื้นที่โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 10 – 15 ไร่ จึงทรงแนะนำให้จัดสรรโดยมีเป้าหมายว่า ต้องทำให้เรามีข้าวปลาอาหารพอกินตลอดปี เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและมีรายได้เหลือพอสำหรับจับจ่ายใช้สอยในเรื่องจำเป็น โดยใช้อัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 เป็นเกณฑ์ปรับใช้ ตัวอย่างเช่นพื้นที่ส่วนแรก 30 เปอร์เซ็นต์ใช้สำหรับขุดสระน้ำ เพื่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำที่กินหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ รอบ ๆ ขอบสระปลูกไม้ต้นที่ไม่ใช้น้ำมาก และสร้างเล้าไก่บนสระ
พื้นที่ส่วนที่สอง 30 เปอร์เซ็นต์ใช้สำหรับทำนา พื้นที่ส่วนที่สาม 30 เปอร์เซ็นต์ใช้ปลูกไม้ผล ไม้ต้น หรือไม้ที่ใช้สอยในครัวเรือน ใช้สร้างบ้านเรือน ทำอุปกรณ์การเกษตร หรือใช้เป็นฟืน พื้นที่ที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นที่อยู่อาศัย ทางเดินคันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ย หมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ หรือปลูกผักสวนครัว สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในภาคใต้ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ที่อยู่ใกล้เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ อาจลดขนาดบ่อหรือสระน้ำให้เล็กลง และปรับพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์อื่น ตัวอย่างการปรับพื้นที่ ที่อาจารย์ยักษ์แนะนำไว้ ในหนังสือ กสิกรรมธรรมชาติแบบคนจน มีดังนี้
• พื้นที่ 15 ไร่ที่มีฝนตกปานกลาง
บ้านนายแสนยา พื้นที่ 15 ไร่ จังหวัดน่าน มีฝนตกปานกลาง ห่างไกลระบบชลประทาน เขาจัดสรรพื้นที่เฉลี่ยประมาณ 5 ไร่สำหรับทำนา เขาสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอทั้งครอบครัวทั้งปี เหลือจึงขายโดยการรวมกลุ่มสหกรณ์ พื้นที่ 4 ไร่ขุดสระน้ำลึก 4 เมตร เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการใช้ทั้งปี และเลี้ยงปลา ปลูกผักบุ้ง ผักกระเฉด เพื่อใช้เป็นอาหาร พื้นที่ 4 ไร่บนพื้นที่ตามคันนา พื้นที่ที่เหลือและบริเวณโดยรอบที่ดินใช้ปลูกไม้ผล ไม้ต้น ไม้ใช้สอยอื่น ๆ และสมุนไพร ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อทำฟืน ทำบ้าน และอีก 2 ไร่ใช้สร้างบ้าน โรงเรือนโรงเห็ด ผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ สร้างรายได้เสริม
• พื้นที่ 15 ไร่ที่มีฝนตกชุก
บ้านนายเหมือง พื้นที่ 15 ไร่ มีฝนตกตลอดปี เขาจัดสรรพื้นที่ 5 ไร่ใช้ทำนาผลิตข้าวพอกินทั้งครอบครัวตลอดปี พื้นที่ 3 ไร่ขุดสระลึก 4 เมตร มีน้ำเพียงพอในการใช้ตลอดทั้งปี พื้นที่ 5 ไร่ตามคันนาและรอบพื้นที่ใช้ปลูกไม้ผล ปลูกไม้ต้น ไม้ใช้สอย สมุนไพร ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อทำฟืน ก่อสร้างบ้านเรือน อีก 2 ไร่ ใช้สร้างบ้าน โรงเรือน โรงเห็ด ผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ สร้างรายได้เสริม

2. บริหารจัดการน้ำ
ทำอย่างไรให้มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและใช้ในชีวิตประจำวันตลอดปีและมีสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหรือระยะฝนทิ้งช่วง ซึ่งตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่เน้นการคำนวณปริมาณน้ำด้วยหลักวิชาการ น้ำฝนที่ตกลงในแต่ละพื้นที่ ถ้าเป็นบริเวณที่ฝนตกน้อยพื้นที่ค่อนข้างแล้ง น้ำฝนขั้นต่ำมีปริมาณปีละ 800 มิลลิเมตร หมายถึง เมื่อฝนตกลงมาถ้าไม่ซึมและระเหยสู่อากาศ ปริมาณน้ำจะสูงจากพื้นดินประมาณ 80 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนตกชุก ถ้าไม่ซึมและระเหยก็จะมีปริมาณน้ำฝน 1,800 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี หรือสูงจากพื้นดิน 1.80 – 2 เมตร
ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มี พระราชดำริเป็นแนวทางว่า ในพื้นที่ 15 ไร่ เพาะปลูก 1 ไร่ ต้องมีน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรไม่ต่ำกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรดังนั้น เมื่อทำนา 5 ไร่ ปลูกพืชไร่หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ รวมเป็น 10 ไร่ ต้องมีน้ำใช้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ลูกบาศก์เมตร ในแต่ละปี อาจารย์ยักษ์บอกวิธีขุดสระเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้
โดยสรุปว่า
หากขุดสระลึก 4 เมตรบนเนื้อที่ 3 ไร่ สามารถเก็บน้ำได้เต็มสระ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ถ้าน้ำไม่ระเหยจะพอใช้ทั้งปี หากขุดสระลึก 4 เมตรบนเนื้อที่ 3 ไร่ สามารถเก็บน้ำได้เต็มสระ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ถ้าน้ำระเหยวันละ 1 ชั่วโมง แต่ละปีฝนไม่ตก 300 วัน น้ำลดลงไป 300 เซนติเมตร เท่ากับ 3 เมตร เหลือปริมาณ 1/4 ของบ่อ หรือเก็บน้ำได้ 4,750 ลูกบาศก์เมตร พอใช้แค่ทำนา 4.75 ไร่
อย่างไรก็ตาม ขนาดบ่อเก็บน้ำจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
• ถ้าเป็นพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝน บ่อต้องลึกเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป
• ถ้าพื้นที่การเกษตรอยู่ในเขตชลประทาน ควรขุดบ่อน้ำให้ลึกอย่างน้อย 3 เมตร ส่วนความกว้างยาวขึ้นกับความเหมาะสมของพื้นที่และการใช้น้ำ
• เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ให้เกษตรกรใช้น้ำที่เก็บนั้นให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อให้มีผลผลิตอื่นไว้บริโภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดปี
• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเรียกการขุดบ่อเก็บน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ในพื้นที่ตลอดปีว่า “regulator” ซึ่งหมายถึง การควบคุมให้มีน้ำหมุนเวียนไว้ใช้ทำการเกษตรตลอดเวลา โดยเฉพาะในหน้าแล้งและตอนฝนทิ้งช่วง แต่ไม่ได้หมายความว่าเกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้หากน้ำในสระเก็บน้ำมีเพียงพอ

3. ปลูกข้าวในนาและพืชผักสมุนไพรบนคันนา
ข้าวเป็นอาหารหลักที่คนไทยบริโภค ถ้าแต่ละครอบครัวทำนา 5 ไร่ก็จะมีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง และพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ อาจารย์ยักษ์เล่าถึงเทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์สำหรับเลี้ยงครอบครัวว่า “เราควรยกคันนาให้สูงและกว้าง บางคนไม่เข้าใจว่ายกคันนาสูงแล้วจะปลูกข้าวพันธุ์อะไรในน้ำลึกมากขนาดนั้น แต่เมื่อเราทดลองทำก็รู้ว่า ข้าวทุกพันธุ์สามารถปลูกในนาน้ำลึกได้ ขอเพียงเรารู้จักพันธุ์ข้าวให้จริง ข้าวที่ปลูกในดินที่บ่มไว้อย่างดีจะมีรากยาวพอที่จะหาอาหารเลี้ยงตัวและทะลึ่งต้นขึ้นสูงหนีน้ำได้
“นอกจากได้ข้าว เรายังได้ผลผลิตอื่นจากนาข้าวก็คือ ปู ปลา กุ้ง กบ เขียด ทำเป็นอาหารที่หลากหลาย ส่วนบนคันนาก็ปลูกพืช ผัก กล้วย อ้อย พริก สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง”

4. ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง บันไดสู่ 4 พ
การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ การปลูกพืชที่นำมาใช้เป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ไม้สอยและเป็นร่มเงา ประกอบด้วยพรรณไม้หลากหลายชนิดสามารถจำแนกตามความสูงเป็น 5 ระดับ คือ
1. ไม้สูง เป็นไม้เรือนยอดสูงและมีอายุยืน เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง ฯลฯ
2. ไม้กลาง เป็นไม้ต้นที่สูงไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ ฯลฯ
3. ไม้เตี้ย เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่อยู่ใต้ไม้สูงและไม้กลาง เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ผักหวานบ้าน ติ้ว เหรียง ฯลฯ
4. ไม้เรี่ยดิน เป็นไม้เลื้อยชนิดต่าง ๆ เช่น พริกไทย รางจืด ฯลฯ
5. ไม้หัวใต้ดิน เช่น ขิง ข่า มันมือเสือ บุก กวาวเครือ ฯลฯ


ติดต่อสอบถาม/size]