หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สวัสดี
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ูthai-dd.com
General Category
rtd92 ซื้อสวนยางพารา
รวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: รวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (อ่าน 4238 ครั้ง)
Admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 1088
รวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 31, 2022, 05:25:17 PM »
เกษตรฯ รวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติ ถวายในหลวง ร.10
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสำคัญนี้
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตและพลังงานชีวมวล ซึ่งจากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาวิกฤตหมอกควันปกคลุม และเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การเผาในพื้นที่การเกษตร ซึ่งการเผาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง กล่าวคือ การเผาในพื้นที่การเกษตรเป็นการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้น จึงได้สนับสนุนการนำเศษวัสดุการเกษตรมาทำประโยชน์ เพิ่มมูลค่า ทดแทนการเผา
รูปแบบการดำเนินงานได้ใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ 882 แห่ง ร่วมกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ซึ่งมีผู้นำเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศ มาดำเนินการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร จำนวนไม่น้อยกว่า 26,460 ราย โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ประเทศไทย มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากถึง 43 ล้านตัน ต่อปี แต่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย และได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ในพื้นที่เพาะปลูกหรือถูกเผาทิ้ง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษหมอกควัน กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่ ปี 2557 และสำหรับในปี 2562 ได้จัดทำ “โครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2562 – พฤษภาคม 2563 โดยรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและชุมชน ผ่านกิจกรรมการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรและการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายเป็นพลังงานชีวมวลให้แก่ผู้รับซื้อผ่านการเชื่อมโยงตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ เป็นผู้ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อสร้างทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่า ซึ่งเกษตรกรจะมี 8 ทางเลือก ในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
ทางเลือกในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้การเกษตรให้เกิดมูลค่า ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน คืนชีวิตให้ดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้รับผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเพื่อใช้เลี้ยงโค ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทน โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งหรืออัดก้อน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการอุตสาหกรรม หรือนำมาใช้ทำอาหารในครัวเรือน ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด นำมาผลิตกระดาษ หรือของประดับ ทางเลือกที่ 6 นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้าแห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นพืช เก็บรักษาความชื้น “อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย” ทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูกทดแทนการเผา ซึ่งจะช่วยลดการเผา และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และทางเลือกที่ 8 จำหน่ายวัสดุเหลือใช้การเกษต
ร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้กากปาล์ม กากมัน ซัง ข้าวโพด เศษไม้ ขยะ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล (Biomass)
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงานชีวมวล ระหว่างศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับ บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) นำร่องดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม, สารภี, ดอยหล่อ, เชียงดาว และดอยเต่า
โดยพิจารณาศักยภาพความพร้อมของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และเครือข่ายว่ามีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ได้ และมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาเป็นปัจจัยการผลิตพลังงานชีวมวล และพื้นที่ต่อไปที่คาดว่าจะมีความพร้อมและความต้องการขายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อผลิตเป็นพลังงานชีวมวลของ ศพก. อีกหนึ่งแห่ง คือ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับเกษตรกรในการสร้างคุณค่าและมูลค่าของเศษวัสดุทางการเกษตร ให้ความรู้ ความเข้าใจ กับชุมชนถึงประโยชน์จากเถ้า จากโรงไฟฟ้าชีวมวล ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน และเกษตรกรในการนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
พร้อมทั้งการนำเถ้าชีวมวลไปพัฒนาเป็น
ปุ๋ยอินทรีย์
และการปรับปรุงดิน ตลอดจนกำหนดพื้นที่ในการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุการเกษตรของเกษตรกร ลดการเผาวัสดุการเกษตร เสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศแก่ชุมชนต่อไป
กรมส่งเสริมการเกษตร เชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าว จะเป็นโครงการดีๆ อีกหนึ่งโครงการที่มีส่วนช่วยผลักดันให้คนไทยหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน เป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ลดพิษภัยสิ่งแวดล้อม ถวายในหลวง รัชกาลที่ 10 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับวัสดุการเกษตรเหลือใช้ในไร่นา เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป
Main Idea
• มีการคาดการณ์ว่าในปี 2579 การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตร/วัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตร/วัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตร/วัน)
• แต่การปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกันกับพืชอาหารหลัก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อาจทำให้กลไกตลาดรวน รวมถึงกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคตได้
• หนึ่งในหนทางแก้ไขปัญหาสู่ความยั่งยืน คือ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาใช้ผลิตทดแทน ซึ่งหากสามารถจัดเก็บเข้าระบบได้ อาจสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจของประเทศได้กว่าแสนล้านบาททีเดียว
ประเทศไทยเราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศกสิกรรม มีการเพาะปลูกพืชผลต่างๆ อยู่มากมาย ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่นำมาใช้เป็นอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ แต่ปัจจุบันยังมีการนำไปแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ซึ่งหากสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง และพัฒนาโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้กว่านับแสนล้านบาททีเดียว รวมถึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนอีกด้วย
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) โดยคาดว่าในปี 2579 จะเพิ่มการผลิตและใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสูงขึ้นถึง 25.30 ล้านลิตรต่อวัน (เอทานอล 11.30 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 14 ล้านลิตรต่อวัน) ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 คือ 6.1 ล้านลิตรต่อวัน สาเหตุพื้นฐานมาจากความกังวลต่อการขาดแคลนและต้องการลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล (Fossil Based) เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาน้ำมันทดแทนอย่างยั่งยืน เพราะพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ และเชื่อว่าเป็นทางออกที่ให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
แต่อย่างไรก็ดี
การนำพืช
ซึ่งเป็นวัตถุดิบจำพวกเดียวกับพืชอาหารหลักมาทำ อาทิ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ย่อมเกิดปัญหาแฝงตามมาทั้งในเรื่องของกลไกตลาด เช่น เกษตรกรอาจหันมาปลูกพืชพลังงานมากกว่าพืชอาหาร เพราะได้ราคาดีกว่า หรือหากขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปให้มากขึ้นอีกก็อาจบุกรุกพื้นที่ป่า มีการเผาเรือกสวนไร่นา เพื่อเตรียมแปลงเพาะปลูก ฯลฯ รวมไปถึงการขาดแคลนหรือแย่งวัตถุดิบเกิดขึ้น เนื่องจากมีความต้องการจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ จนท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต (Food Security) ได้
เศษเหลือใช้ทางเกษตร ทรัพย์ในดิน ทางออกพลังงานยั่งยืน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีศักยภาพสามารถปลูกพืชได้หลากหลาย การแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นที่ไม่ได้มาจากพืชอาหารนั้นยังสามารถทำได้ รวมถึงเศษวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass) ก็มีจำนวนค่อนข้างมาก อาทิ เศษไม้ยางพารา ทะลาย/กะลาปาล์ม น้ำมัน/กาบ/กะลามะพร้าว แกลบ ฟางข้าว กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง โดยสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าทิ้งหรือทำลาย รวมถึงการนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้ด้วย
มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าจากปริมาณเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือทั้งหมดสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจได้ โดยคำนวณจากความสามารถในการเปลี่ยนเศษเหลือใช้เป็นค่าพลังงาน เพื่อเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ พบว่าเศษเหลือใช้จากการเกษตรคงเหลือทั้งหมด สามารถผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจนเกิดมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงกว่าแสนล้านบาทต่อปี
โดยในทุกๆ 1 ตันเศษเหลือใช้ทางการเกษตรจะมีมูลค่าเฉลี่ย 2 บาท (เทียบมูลค่าน้ำมันดิบ) ทั้งนี้ในทางทฤษฎีแล้วการใช้วัตถุดิบเศษเหลือจากการเกษตรนั้น สามารถทดแทนปริมาณการผลิตของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด เนื่องจากสามารถผลิตได้เฉลี่ยถึง 33 ล้านลิตรต่อวัน (ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องสามารถจัดเก็บเศษเหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมด โดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง) เมื่อเทียบกับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชอาหารในปัจจุบัน ซึ่งสามารถผลิตได้เพียง 7- 8 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
เริ่มต้นจัดเก็บดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
ที่กล่าวมานั้นเป็นการคำนวณเชิงทฤษฏี ในการปฏิบัติจริงต้องดูปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันเศษเหลือใช้จากการเกษตรนั้นกระจายอยู่ในหลายแห่งทั่วประเทศ และยังขาดระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพ จึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเริ่มแรกภาครัฐและเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรจัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อตระหนักถึงคุณค่าเศษเหลือใช้แก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง รวมถึงช่วยออกแบบวางระบบรวบรวม ออกแบบการจัดเก็บที่ทำให้อยู่ในคุณภาพที่สามารถใช้งานได้ และระบบการขนส่งที่ได้มาตรฐาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือในฝั่งของอุตสาหกรรมการผลิตให้เกิดขึ้นได้จริงจากภาครัฐด้วย เพราะต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ แต่หากสามารถทำได้ก็จะส่งผลดีระยะยาวต่อประเทศได้
ทั้งนี้ ก
ารผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากเศษเหลือใช้ทางการเกษตร
นั้น ในระยะเริ่มแรกอาจจะต้องพึ่งพาการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรวบรวมเศษเหลือใช้ให้เป็นระบบ และการลงทุนในอุตสาหกรรมผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้น เนื่องจากพิจารณาแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างมูลค่าให้สิ่งเหลือใช้กลายเป็นสินค้ามูลค่าสูงแล้ว (High Value Products: HVP) เช่น การผลิตเป็นน้ำมันชีวภาพจากเศษเหลือใช้จากการเกษตร ที่มีมูลค่าได้ถึงแสนกว่าล้านบาทต่อปี
แนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น นอกจากอาจช่วยแก้ปัญหาทดแทนพืชพลังงานได้แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่ายเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่าอื่นๆ ด้วย เช่น 1.การช่วยลดภาระในการกำจัดจากการไปฝังกลบหรือเผาทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกร เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 2.สร้างรายได้และอาชีพในท้องถิ่น เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ เช่น จ้างคนเก็บและรวบรวมเศษเหลือใช้ การจ้างงานขนส่ง 3. ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม 4.ลดการทำงานของภาครัฐในการออกนโยบายแก้ไขปัญหาเมื่อพืชผลล้นตลาด และ 5.ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน
เห็นไหมละว่า แค่ลองเปลี่ยนความคิด มองหาโอกาสจากสิ่งที่มีอยู่ ถึงแม้เป็นเพียงเศษวัสดุเหลือใช้ ก็อาจสร้างประโยชน์มหาศาลให้เกิดขึ้นได้เช่นกัน
ติดต่อสอบถาม
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ูthai-dd.com
General Category
rtd92 ซื้อสวนยางพารา
รวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน