สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กระจกมีกี่ชนิดและคุณสมบัติของแต่ละอย่าง  (อ่าน 8870 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด

1. กระจกโฟลต (Float Glass)
เป็นกระจกมาตรฐาน ใช้ในการประกอบเป็นประตู หน้าต่างอลูมิเนียม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.1 กระจกโฟลตใส
เป็นกระจกที่เกิดจากการหลอมแร่ให้เป็นของเหลว แล้วไหลลอยไปบนผิวดีบุกหลอมเหลว
หลังจากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลง ทำให้กระจกมีผิวเรียบทั้งสองด้าน สามารถมองผ่านได้ชัดเจน และให้ภาพสะท้อนสมบูรณ์
มีความแข็งแรงน้อย มีความใสสว่างมาก มองเห็นได้จากภายนอก กระจกประเภทนี้จึงเหมาะจะใช้เป็นกระจกภายในคอนโดมากกว่าภายนอก

1.2 กระจกโฟลตตัดแสง
เป็นกระจกโฟลตใสที่นำมาเติมโลหะเพิ่ม ทำให้กลายเป็นสี เช่น สีชา สีฟ้า สีเขียว เป็นต้น
เนื้อกระจกที่ทำการเติมโลหะเข้าไปจึงทำหน้าที่ดูดความร้อน เป็นตัวช่วยกรองแสงและกันความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง
กระจกประเภทนี้จึงเหมาะจะใช้เป็นกระจกภายนอก เพื่อช่วยลดความร้อน แถมยังทำให้แสงสว่างดูนุ่มนวลสบายตามากยิ่งขึ้น
ส่วนข้อแนะนำในการติดตั้งไม่ควรให้กระจกโดนลมจากเครื่องปรับอากาศโดยตรงจะทำให้กระจกสูญเสียพลังงาน
นอกจากนี้ไม่ควรติดม่านทึบ หรือวางขอใกล้กระจกมากเกินไป เพราะกระจกจะไท่สามารถคายความร้อน จนเป็นสาเหตุทำให้กระจกแตกร้าวได้

กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)
กระจกอบความร้อนหรือกระจกสีที่นำไปผ่านกระบวนการปรับแต่งคุณภาพของเนื้อกระจก
เพื่อให้มีความเข็งแกร่งมากขึ้น หรือรับ แรงกระทำจากแรงภายนอกได้มากขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
1) กระจกนิรภัยเทมเปอร์(Tempered Glass)
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ เป็นการนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริง (Tempering) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
โดยใช้หลักการเดียว กับการทำคอนกรีตอัดแรง คือสร้างให้เกิดชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวแก้วเพื่อตต้านแรงจากภายนอก

วิธีการนี้ทำได้โดยการให้ความร้อนกับกระจกที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดอ่อนตัวของแก้วเล็กน้อยที่ประมาณ 650-700องศาเซลเซียส
และทำให้ผิวกระจกเกิดความเย็นตัวอย่างรวดเร็ว โดยใช้ลมเย็นเป่า ผลของความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวนอก
กับส่วนกลางของแผ่นกระจกจะทำให้เกิดชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวของกระจกทั้ง 2 ด้าน
โดยจะประกบชั้นส่วนกลางเหมือนลักษณะแซนวิช และชั้นที่ผิวนี้ จะต้านแรงจากภาย
นอกทำให้กระจกที่ผ่านกระบวนการเทมเปอริงแล้วมีความแข็งแรงขึ้นประมาน 4 เท่า

คุณสมบัติ
1)ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้หักงอ (Bending Strenth) เมื่อเปรียบเทียบกระจกธรรมดากับกระจกนิรภัยเทมเปอร์ที่
มีความหนา 5 มิลลิเมตร กระจกธรรมดามีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงที่ทำให้กระจกหักงอ 500-650กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
ในกระจกนิรภัยเทมเปอร์มีค่าสูงถึง1,500 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร

2)การต้านทานน้ำหนัก (Loading Resistance) คือความต้านทานต่อแรงดันและแรงกระแทกโดยแบ่งออกเป็น
-การด้านทานน้ำหนักหรือสถิติ (Static Load Resistance) คือแรงที่มากระทบกระจก กระจกนิภัยเทมเปอร์สามารถทนต่อแรง
กระทบ ได้มากกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันประมาณ 3-5 เท่า
-การต้านทานน้ำหนักกระแทก (Impact Load Resistance) คือความทนทานของกระจกต่อแรงกระแทกโดยทั่วไป
กระจกนิภัยเทมเปอร์ สามารถรับแรงกระแทกได้ดีได้ดีกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 4 เท่า

3)ความปลอดภัยคือ การลดอันตรายที่จะเกิดจากการโดนกระจกบาด เพราะการแตกของกระจกนิภัย จะแตกออกเป็นเม็ดเล็กๆและมีความคมน้อย

4)การต้านทานความร้อน (Heat Resistance) คือความทนทานของกระจกต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิแบบทันทีทันใด
จากการทดสอบความสามารถในการต้านทานความร้อนของกระจกนิภัยเทมเปอร์เปรียบเทียบกับกระจกธรรมดาที่มีความหนา 5 มิลเมตรเท่ากัน
มีผลการทดสสอบดังต่อไปนี้
-กระจกนิภัยเทมเปอร์ สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 170 องศาเซลเซียส
และจะเริ่มแตกทั้งหมดเมื่ออุณหภูมิสูงถึงประมาณ 220 องศาเซลเซืยส

-กระจกธรรมดาสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ที่ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิเพียงประมาณ 60 องศาเซลเซียส
และจะแตกทั้งหมดเมื่อค่าความแตกเมื่อค่าของอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงประมาณ 100 องศาเซลเซียส

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน

1)จุดอ่อนของกระจกนิรภัยเทมเปอร์คือ แรงที่กระทำเป็นจุด หากมีการกระแทกโดยวัตถุที่มีมุมแหลม ซึ่งทำให้เกิดการตัดลึกเข้า
ไปภายในผิวกระจก ทำให้ชั้นแรงอัดถูกทำลาย ความสมดุลภายในเนื้อกระจกก็จะถูกทำลาย
2)กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถคงรูปร่างได้ด้วยความสมดุลของแรงอัดและแรงดึง ดังนั้นเมื่อนำกระจกชนิดนี้มาใช้งานจะต้อง
ไม่มีการเจาะรู บากหรือตัดแต่งในภายหลังโดยเด็ดขาด
3)ส่วนของกระจกนิภัยเทมเปอร์ที่มีการเจาะรู พ่นทราย หรือทำเครื่องหมายใดๆจะมีความเปราะบางมากกว่าส่วนอื่นๆ
4)ไม่ควรยึดกระจกกับโลหะโดยตรง ควรมียางหรือวัตถุอื่นมารองรับ
5)ผิวกระจกนิรภัยเทมเปอร์จะเป็นคลื่นมากกว่ากระจกธรรมดา

กระจกฮีตสเตรงเทน (Heat Strengthen Glass)
กระจกฮีตสเตรงเทน เป็นกระจกที่ได้จากกระบวนการผลิตที่คล้ายกับกระจกนิภัยเทมเปอร์ แต่ต่างกันที่กระจกฮีตสเตรงเทน
จะปล่อยให้กระจกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ จึงมีความแข็งแรงกว่ากระจกนิภัยเทมเปอร์

คุณสมบัติ
1)เป็นกระจกกึ่งนิรภัย มีคุณสมบัติพิเศษคือ แข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดาประมาณ 2 เท่า
2)เหมาะสำหรับการป้องกันการแตกของกระจกจากความร้อน
3)ลักษณะการแตกของกระจกชนิดนี้ จะแตกเป็นแผ่นเหมือนกระจกธรรมดา
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ในการติดตั้งกระจกกับโครงสร้างอาคารสูงสามารถใช้แทนกระจกธรรมดาโดยลดความหนาของกระจกลง
2)ใช้กับสถานที่ที่ต้องเผชิญกับภาวะที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ
3)ใช้กับผนังอาคารและหน้าต่างที่มีแรงอัดลมสูง
4)ใช้กับสถานที่ที่ต้องการใช้กระจกที่มีความแข็งแรงและปลอดภัยสูงกว่าการใช้กระจกธรรมดา
5)ใช้กับห้องโชว์ หรือตู้โชว์สินค้าที่ต้องทนต่อแรงกระแทกในการใช้งาน

กระจกเคลือบผิว (Surface Coated Glass)
ตารางแสดงคุณสมบัติเปรียบเทียบระหว่างกระจกเคลือบผิวที่ใช้กรรมวิธีในการเคลือบโลหะออกไซด์
กระบวนการเคลือบแบบสูญญากาศ 
-เป็นกระบวนการเคลือบกระจกแบบออฟไลน์(off-line)แยกจากกระบวนการผลิตกระจกแผ่น
-ในกรณีที่ต้องการทำเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์หรือ กระจกฮีตสเตรงเทนต้องทำก่อนที่จะนำกระจกไปเคลือบ
-สีของกระจกเคลือบมีให้เลือกมากมาย เนื่องจากโลหะออกไซด์ที่ใช้เคลือบมีมากชนิด
-การติดตั้งควรนำด้านที่เคลือบไว้ในตัวอาคาร-ทนต่อรอยขีดข่วนได้น้อยกว่า
-อายุการจัดเก็บกระจกสั้นกว่า

กระบวนการเคลือบแบบไพโรลิทิค
-เป็นการเคลือบกระจกแบบออนไลน์(on-line)ทำการเคลือบกระจกอยู่ภายในกระบวนการผลิตกระจกแผ่น
-สามารถนำกระจกที่เคลือบแล้วไปผ่านกระบวนการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์หรือกระจกฮีตสเตรงเทนได้
-สีของกระจกมีให้เลือกน้อยเนื่องจากโลหะออกไซด์มีจำกัด
-การติดตั้งสามารถนำด้านที่เคลือบออกภายนอก หรือหันหน้าเข้าด้านไหนก็ได้
-ความทนต่อรอยขีดข่วนมากกว่า

คุณสมบัติของกระจกเคลือบผิวกับการประหยัดผลังงาน
1)กระจกที่เลือกใช้ ควรให้มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน และความร้อนที่ได้รับจากการสะท้อนแสง
 รวมทั้งค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดที่น้อยที่สุดที่สามารถยอมรับได้
2)กระจกเคลือบผิวที่มีปริมาณการสะท้อนแสงสูงกว่า จะสามารถประหยัดพลังงานได้ดีกว่ากระจกที่มีปริมาณการสะท้อนแสงน้อยกว่า
วิธีการตรวจสอบคุณภาพของกระจกเคลือบผิว
1)ตรวจสอบรูบนผิวกระจกเคลือบ การตรวจสอบต้องให้กระจกที่จะตรวจสอบอยู่ห่างจากจุดสังเกต 1.80 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์
กลางของรูบนผิวเคลือบจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่กว่า 1.50 มิลลิเมตร ในกรณีที่เป็นกลุ่มของรูบนผิวเคลือบที่มีขนาดเล็กกว่าที่กำหนด
อาจยอมให้มีได้ แต่ต้องไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดจากระยะสังเกตที่กำหนดไว้
2)การตรวจสอบการสะท้อนแสงและการส่งผ่านของแสง
-ความสม่ำเสมอของผิวเคลือบ การตรวจสอบจะต้องให้กระจกที่ทำการตรวจสอบอยู่ห่างจากผู้สังเกต 3 เมตร ตามมาตรฐานยอม
ให้มีความไม่สม่ำเสมอของผิวเคลือบได้บ้าง
-การเป็นคลื่นบนผิวสะท้อนสืบเนื่องจากปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะกระจกเคลือบผิวที่เป็นกระจกฉนวนกันความร้อน กระจก
ฮีตสเตรงเทนและกระจกนิภัยเทมเปอร์ การเป็นคลื่นอันเกิดจากการมองเห็นจะไม่ถือว่าเป็นตำหนิของกระจก

วิธีตรวจสอบด้านเคลือบของกระจกเคลือบผิว
สำหรับวิธีการตรวจสอบว่าด้านใดของกระจกเคลือบผิวเป็นด้านที่เคลือบฟิล์มสามารถทำได้ดังนี้
1)ใช้วัสดุทึบแสงวางทำมุมเฉียงประมาณ 45 องศา บนผิวกระจก
2)สังเกตเงาที่เกิดขึ้นบนกระจกเคลือบผิว ถ้าวัตถุทึบแสงปรากฎเงาที่เห็นเป็นเงาเดียวจะเป็นด้านที่เคลือบสารสะท้อนรังสีอาทิตย์
ถ้าเงาที่เห็นเป็นสองเงาจะเป็นด้านที่ไม่ได้เคลือบ
กระจกเคลือบผิว แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ และกระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ

กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ (Solar Reflective Glass)
กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์เป็นกระจกธรรมดาที่เคลือบด้วยโลหะออกไซด์ มีค่าการสะท้อนแสงค่อนข้างสูง ความโปร่งแสงค่อน
ข้างน้อย มีสีสันสวยงามหลายสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเคลือบ และสีของกระจกที่เป็นวัตถุดิบที่นำมาเคลือบ

คุณสมบัติ

1) ทำให้แสงอาทิตย์และรังสีความร้อนผ่านเข้ามาในอาคารได้น้อย
2)ช่วยลดแสงที่แรงจ้าให้นุ่มนวลลง ทำให้เกิดความสบายตา
3)สร้างความเป็นส่วนตัวแก่คนภายในอาคาร เนื่องจากมองทะลุเข้ามาในตัวอาคารได้ลำบาก

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ในการตัดกระจกควรมีการป้องกันผิวด้านที่เคลือบไว้เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน
2)เมื่อมีการบิ่นหรือแตกบริเวณขอบกระจกให้ลบคมให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการแตกทั้งแผ่น
3)ป้องกันอย่าให้ซีเมนต์หรือปลาสเตอร์ติดบนกระจก เพราะจะทำอันตรายวัสดุเคลือบของกระจก
4)ด้านที่เคลือบวัสดุเคลือบควรอยู่ด้านในของอาคารเสมอ เพื่อไม่ให้วัสดุเคลือบสัมผัสมลภาวะภายนอก
5)อย่าเป่าความเย็นลงบนกระจกวางตู้ใกล้กระจกติดกระดาษหรือทาสีลงบนกระจกเพราะจะทำให้เกืดการแตกหักเนื่องจากการ
เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้
6)ควรจะอบฮีตสเตรงเทนหรือเทมเปอร์ เพื่อป้องกันปัญหาการแตกหักเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้

กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ
กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ เป็นกระจกเคลือบสารโลหะโดยมีโลหะเงินบริสุทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ

คุณสมบัติ

1)ป้องกันการถ่ายเทความร้อนผ่านกระจกได้ดี
2)ยอมให้แสงผ่านได้มากกว่ากระจกสะท้อนแสง
3)ช่วยสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลต(UV)ได้บางส่วน ปริมาณการสะท้อนขึ้นอยู่กับผู่ผลิต ทำให้ลดความเสียหาย
ซึ่งอาจเกิดกับพรมและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆได้ระดับหนึ่ง
4)ช่วยลดความจ้าของแสง

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)สารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็นสารที่ไวต่อการเสียหาย ดังนั้นจึงไม่ควรหันผิวกระจกด้านที่ฉาบนี้ไว้ด้านนอก
2)การบรรจุกาซเฉื่อยในช่องว่างระหว่างกระจกของกระจกรุ่นใหม่ๆแทนการใช้อากาศแห้ง จะช่วยเพิ่มความเป็นฉนวนให้กับกระจกได้ดี

กระจกดัดแปลง (Processed Glass)
กระจกดัดแปลงเป็นกระจกที่นำมาดัดแปลงด้วยกระบวนการต่างๆเพื่อตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
1.กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass)
กระจกฉนวนกันความร้อนผลิตโดยการนำกระจกอย่างน้อย 2 แผ่น ตัดให้ได้ขนาดตามต้องการมาประกบกันโดยมีอลูมิเนียมซึ่ง
บรรจุสารดูดซึมความชื้นคั่นกลาง หลังจากนั้นจะปิดรอยที่ขอบกระจก ผลก็คือ อากาศภายในช่องระหว่างกระจกจะกลายเป็นอากาศที่แห้งไม่มีความชื้นเหลืออยู่
ซึ่งมีคุณสมบัติในการกันความร้อน

คุณสมบัติ
1)ป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร ทำให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ
2)ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารได้ดีกว่ากระจกธรรมดา
3)สามารถปรับแรงดันลมได้เพิ่มขึ้น
4)ให้ความปลอดภัยในอาคารในกรณีที่ใช้กระจกนิภัยเทมเปอร์ หรือกระจกนิรภัยหลายชั้นมาผลิตเป็นกระจกฉนวนกันความร้อน

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ควรใช้ซิริโคนสำหรับกระจกที่เป็นโครงสร้างเท่านั้น ส่วนกระจกที่เป็นช่องหน้าต่างแบบดั้งเดิม สามารถใช้โพลีซัลไฟด์ซิลิโคนได้
2)การหักงอของอลูมิเนียมสเปเซอร์ หรือสารเคมีที่ใช้ในการเชื่อมต่อกระจก มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกระจกทั้งสิ้น

2.กระจกฮีตมิเรอร์ (Heat Mirror)
ลักษณะของกระจกฮีตมิเรอร์เป็นระบบของกระจกสองชั้นที่เคลือบสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำทั้ง 2 ด้านของฟิล์มที่อยู่ระหว่าาง
ช่องอากาศ โดยที่ช่องว่างอากาศทั้งสองข้างจะกลายเป็นช่องว่างอากาศสะท้อนรังสี

คุณสมบัติ
1)สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มากถึงประมาณ 80% หรือยอมให้ความร้อนส่งผ่านเข้ามาเพียง 10%
ที่เหลืออยู่ 10% จะถูกดูดกลืนเข้าไปในกระจก
2)ยอมให้แสงสว่างผ่านเข้ามาได้ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้องค์ประกอบของกระจกและฟิล์ม
3)ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตประมาณ 98%

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ต้องระวังไม่ให้วัสดุยาแนวเกิดความเสียหาย มิฉะนั้นความชื้นอาจแทรกซึมเข้าไปทำให้กระจกเสื่อมประสิทธิภาพได้
2)ในการติดตั้งระมัดระวังผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต เนื่องจากจะทำให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพได้
3)ไม่สามารถปรับแต่งขนาดของกระจกภายหลังประกอบได้ ดังนั้นจะต้องวัดและตัดให้ได้ขนาดตรงกับการนำไปใช้เท่านั้น
4)การติดตั้งควรระมัดระวังไม่หันกระจกผิดด้านเพราะจะทำให้คุณสมบัติของกระจกต่ำลง

กระจกฮีตสต็อป(Heat Stop)
กระจกฮีตสต็อปมีลักษณะเป็นกระจกสองชั้นประกอบขึ้นด้วยกระจกสะท้อนแสงที่เคลือบด้วยสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ
เป็นกระจกด้านนอก และด้านในใช้กระจกใส สารที่เคลือบนั้น สามารถป้องกันความร้อนอินฟาเรดให้ผ่านเข้ามาได้เพียง 5%
ช่องว่างตรงกลางใส่ก๊าซอาร์กอน

คุณสมบัติ
1)สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มาก
2)ยอมให้แสงสว่างผ่านกระจกเข้ามามากถึงประมาณ 60%
3)ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต โดยสะท้อนรังสีอัลตร้าไวโอเลตได้ประมาณ 95 %

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)ต้องระวังไม่ให้วัสดุยาแนวเกิดความเสียหาย มิฉะนั้นความชื้นอาจแทรกซึมเข้าไปทำให้กระจกเสื่อมประสิทธิภาพได้
2)ไม่สามารถปรับแต่งขนาดของกระจกภายหลังประกอบได้
3)การติดตั้งไม่ควรหันกระจกผิดด้านเพราะจะทำให้คุณสมบัติของกระจกต่ำลง
4.กระจกนิรภัยหลายชั้นเป็นการนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป มาผนึกเข้าด้วยกัน โดยมีแผ่นฟิล์มโพลีไวนิลนิวทิเรต
ที่เหนียวและแข็งแรงซ้อนอยู่ระหว่างกลาง ทำหน้าที่ยึดกระจกให้ติดกัน เมื่อกระจกชนิดนี้ถูกกระแทกจนแตก
แผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรตจะช่วยยึดไม่ให้เศษกระจกหลุดกระจาย จะมีเพียงรอยแตกหรือรอยร้าวคล้ายใยแมงมุมเท่านั้น

คุณสมบัติ
1)การใช้กระจกนิรภัยหลายชั้น สามารถช่วยลดการบาดเจ็บจากกระจกได้
2)ป้องกันการทะลุทะลวง เนื่องจากการแตกและการบุกรุกได้
3)ช่วยลดเสียงรบกวน และลดการก้องของเสียงได้ดี
4)ช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
5)แผ่นฟิล์มในกระจกนิรภัยหลายชั้นช่วยในการลดรังสีอัลตราไวโอเลต

ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เนื่องจากฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเลต มีคุณสมบัตในการอมความร้อน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาการแตกร้าว
เนื่องจากการสะสมความร้อน จึงไม่ควรเลือกกระจกต่อไปนี้เข้ามาผนึกเข้าด้วยกัน
-กระจกสีตัดแสงผนึกกับกระจกสีตัดแสง
-กระจกสีตัดแสงเสริมลวดผนึกกับกระจกแผ่นเรียบ
-กระจกสะท้อนแสงผนึกกับกระจกเสริมลวด
2)มีความแข็งแรงต่อแรงอัดของลมน้อยกว่ากระจกธรรมดาที่ความหนาเท่ากัน
3)เมื่อนำกระจกนิภัยเทมเปอร์มาผนึกเข้าด้วยกันควรใช้แผ่นฟิล์มที่ความหนาไม่ต่ำกว่า 0.7 มิลิเมตรเป็นตัวยึดกระจก เพื่อป้อง
กันการเกิดฟองอากาศเนื่องจากผิวกระจกไม่เรียบ
4)ไม่ควรใช้วัสดุยาแนวชนิดซิลิคอน ออกไซด์ หรือวัสดุยาแนวที่มี่สวนผสมของสารละลายอืนทรีย์เนื่องจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อฟิล์ม
5) ควรมีการเคลือสารกันน้ำ บริเวรขอบกระจก เพื่อป้องกันความเสียหายของแผ่นฟิล์ม
6)เมื่ออุณหภูมิของกระจกนิภัยหลายชั้นเพิ่มสูงขึ้นไปถึงระดับหนึ่งคือ 170 องศาฟาเรนไฮต์ การสะสมความร้อนภายในจะสูงขึ้น
ความสามารถของฟิล์มในการยึดเกาะกระจกจะลดลง

1.กระจกเงา(Mirror)
กระจกเงาที่ดีควรผลิตจากกระจกใส และมีคุณภาพสูง จึงจะให้ภาพที่แจ่มชัดเหมือนจริงไม่บิดเบี้ยวหลอกตา
ผ่านกรรมวิธีเคลือบ เงาด้วยเครื่องจักร 4 ขั้นตอนคือ
1)เครือบวัสดุเงิน(Silvery Coating)
2)เคลือวัสดุทองแดงบริสุทธิ์(Pure Copper Coating)
3)เคลือบวัสดุอย่างดีชั้นแรก(1 st Layer High Quality Colour Coating)
4)เคลือบวัสดุอย่างดีชั้นที่ 2(2 st Layer High Quality Colour Coating)

คุณสมบัติ
1)เหมาะสำหรับการตกแต่งภายใน โดยเฉพาะกระจกเงาใสซึ่งจะให้บรรยากาศภายในห้องที่สดใส
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน ทำให้มีบรรยากาศที่น่าสนใจ
2)หากจัดวางอย่างมีแบบแผน จะสามารถสะท้อนภาพของพื้นที่ได้หลายรูปแบบช่วยเพิ่มพื้นที่สายตาและลดความคับแคบของห้องได้
3.กระจกลวดลาย(Pattern Glass)
กระจกลวดลาย ผลิตโดยกระจกที่ยังไม่แข็งตัวเข้าไปสู่แถวของลูกกลิ้ง เพื่อให้ได้ความหนาที่ต้องการ และพิมลวดลายซึ่งติดกับ
ลูกกลิ้งลงบนผิวด้านใดด้านหนึ่งของกระจก หรือทั้ง 2 ด้าน

คุณสมบัติ
กระจกลวดลายมีคุณสมบัติโปร่งแสงแต่ไม่โปร่งใส จึงทำให้เกิดภาพที่นุ่มนวล แต่อาจไม่ชัดเจนนัก
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เนื่องจากกระจกลวดลายมีความลึกของเนื้อกระจกไม่สม่ำสมเอกัน จึงไม่เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็นกระจกนิภัยเทมเปอร์
2)ความแข็งแรงและความคงทนของกระจกมีน้อยกว่า 1 ใน 3 ของกระจกใสที่มีความหนาเดียวกัน เนื่องจากความไม่เรียบของกระจก
3.กระจกเสริมลวด (Wired Glass)
กระจกเสริมลวดผลิตโดยการใส่แผงตาข่ายลวดลงในกระจกขณะที่กระจกหลอมเหลว เพื่อเป็นการเพิ่มการแข็งแรงให้กับกระจก
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลวดลายของแบบตาข่ายดังนี้
1)ลายข้าวหลามตัด(Diamond-Shaped Pattern or Misco)
2)ลายสี่เหลี่ยม(Baroque Pattern)
3)ลายหกเหลี่ยม(Hexagonal Pattern)
4)ลายแนวตั้ง(Pinstipe Pattern)
คุณสมบัติ
1)มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ จึงมักใช้เป็นกระจกป้องกันการโจรกรรม
2)แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ มีความคม
ข้อควรพิจารณาในการใช้งาน
1)เนื่องจากกระจกเสริมลวดจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มีความคม เหมาะสำหรับการใช้งานภายในอาคาร
หรือในต่ำแหน่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยและคนทั่วไปได้
2)กระจกเสริมลวดเป็นกระจกที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการโจรกรรม ดังนั้นจึงไม่เน้นการออกแบบเพื่อความสวยงาม



ติดต่อสอบถาม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2022, 09:26:42 AM โดย Admin »