หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สวัสดี
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ูthai-dd.com
General Category
rtd43 ขุดสระถมที่
การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย (อ่าน 4084 ครั้ง)
Admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 1088
การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 20, 2022, 09:21:31 AM »
การขุดดินและถมดิน
ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
การขุดดินและถมดินเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ที่ดินซึ่งติดกับบ้านที่เราอาศัยอยู่อาจมีคนเอาดินมาถมปรับระดับเพื่อก่อสร้างหรือขึ้นโครงการจัดสรร หรืออาจขุดดินเพื่อทำชั้นใต้ดินของอาคารหรือเพื่อเอาหน้าดินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายที่อยากจะขุดดินหรือถมดินในที่ดินของตนเอง ต้องรู้ถึงกฎระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขุดดินและถมดิน โดยกฎหมายหลักคือ พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
พระราชบัญญัติ
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ.2543 บังคับใช้ในท้องที่เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งในปัจจุบันเขตผังเมืองรวมมีการประกาศใช้ทุกจังหวัด ทำให้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดินใช้บังคับในทุกพื้นที่ นอกจากนั้นบางพื้นที่อาจมีกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือกฎหมายอื่นๆ กำหนดบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินบริเวณดังกล่าวไว้ ซึ่งการจะดำเนินการขุดดินหรือถมดินในพื้นที่บริเวณใดควรต้องศึกษาข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นด้วย
การขุดดินและถมดินที่เข้าข่ายต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
การขุดดินและถมดินลักษณะดังต้องไปนี้จะต้องมีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด และผู้แจ้งจะสามารถดำเนินการขุดดินหรือถมดินได้ต่อเมื่อได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วเท่านั้น
1. การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร (ประมาณ 6 ไร่ 1 งาน) หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ซึ่งเอกสารแจ้งจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ แผนผังบริเวณที่จะ
ขุดดิน
แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง วิธีการขุดและระยะเวลาในการขุดดิน รายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการและด้านความปลอดภัยของผู้ดำเนินการและบุคคลภายนอก การป้องกันการพังทลาย ชื่อผู้ควบคุมงานและสำนักงานของผู้แจ้ง รวมถึงเอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด และเมื่อแจ้งแล้วหากได้มีการดำเนินการแจ้งโดยถูกต้องครบถ้วนเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกใบรับแจ้งให้ภายใน 7 วัน
ซึ่งแม้ว่าผู้แจ้งจะได้รับใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วก่อนการขุดดิน ก็ไม่เป็นเหตุที่จะคุ้มครองผู้แจ้งจากการขุดดินที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลหรือต่อสภาพแวดล้อม ผู้ขุดดินไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร ซึ่งไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อจะขุดดินใกล้กับแนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่า 2 เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรจะทำด้วย
2. การถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร (ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน) หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด นอกจากจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
และการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่น้อยกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด แม้ว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ผู้ดำเนินการต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่นเช่นกัน
นอกจากพระราชบัญญัติ
การขุดดินและถมดิน
พ.ศ.2543แล้ว ยังมีกฎหมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินอีกฉบับคือ กฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ.2548 ซึ่งกำหนดรายละเอียดของการดำเนินการขุดดินและถมดินเพื่อกำหนดมาตราฐานด้านความปลอดภัยและการควบคุมงาน โดยขอยกข้อกำหนดในกฎกระทรวงบางส่วนที่น่าสนใจมาเป็นตัวอย่างดังนี้ (สามารถศึกษาข้อกำหนดเพิ่มเติมได้จากกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว)
การขุดดินที่ต้องแจ้งแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่ น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือ สิ่งปลูกสร้าง โดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่ 2 เมตร นับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ต้องมีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
การถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่ 2 เมตร นับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ต้องมีผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา
ติดต่อสอบถาม
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ูthai-dd.com
General Category
rtd43 ขุดสระถมที่
การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย