สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องต้องรู้ เจาะ ขุดลึกแค่ไหน แล้วต้องทำเรื่องขออนุญาตอย่างไร  (อ่าน 4160 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
เรื่องต้องรู้ เจาะ ‘บ่อบาดาล’ ขุดลึกแค่ไหน แล้วต้องทำเรื่องขออนุญาตอย่างไร

หากติดตามกระแสข่าวในช่วงที่ผ่านมา หนึ่งในกรณีที่มีการพูดถึง คือกรณีเกี่ยวกับ “น้ำบาดาล” ที่ “พิมรี่พาย” แม่ค้าออนไลน์ชื่อดัง ได้เคยเดินทางไปขุดบ่อบาดาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน

ความดราม่าที่เกิดขึ้น มาจากมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เพราะเหตุใดบ่อบาดาลที่พิมรี่พายไปขุดเจาะนั้น ถึงมีราคาถูกกว่าการที่ภาครัฐดำเนินการ ขณะที่เสียงอีกข้างจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พูดถึงประเด็นนี้ว่า ราคาการเจาะบ่อบาดาลจะแพงหรือไม่แพงขึ้นอยู่กับความลึกของบ่อ บางทีบ่อลึก 300-400 เมตร จะให้ราคาขุดเท่ากับบ่อที่มีความลึก 30 เมตรได้อย่างไร รวมถึงท่อที่ใส่ไปก็ไม่เหมือนกัน

ขณะเดียวกันหลายคนก็อาจจะยังมีคำถามว่า หากต้องการขุดเจาะหรือใช้น้ำบาดาล ซึ่งทำให้พื้นที่ของตัวเอง จำเป็นจะต้องขออนุญาตหรือไม่ อย่างไร

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" สรุปเรื่องควรรู้ สำหรับใครที่กำลังคิดจะขุด "บ่อบาดาล" เพื่อนำ "น้ำบาดาล" ขึ้นมาใช้ ว่า ต้องทำตามเงื่อนไข หรือขั้นตอนอย่างไร

ทุกพื้นที่ทั่วประเทศเป็น “เขตน้ำบาดาล” ต้องขออนุญาต
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือ หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า แม้ว่าจะเจาะบ่อบาดาลสักบ่อในที่ดินของตัวเอง จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเอง จ่ายเอกชนมาขุดเจาะเอง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อใช้ในการเกษตร เพื่อการอุปโภคบริโภค หรือเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ก็ต้องยื่นขออนุญาตการเจาะและใช้น้ำบาดาลกับทางราชการ

ขั้นตอนการขออนุญาตขุดเจาะ "บ่อบาดาล" และใช้ "น้ำบาดาล"
สำหรับผู้ที่ต้องการเจาะและใช้น้ำบาดาลต้องไปติดต่อขอรับใบอนุญาตเจาะน้ำบาลและใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้เรียบร้อย โดยมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่มพื้นที่หลักๆ ดังนี้

1. พื้นที่กรุงเทพฯ จะต้องติดต่อที่สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
2. พื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ติดต่อได้ที่สำนักงานเทศบาลหรือองค์การบริการส่วนตำบลในพื้นที่นั้นๆ
3. พื้นที่จังหวัดอื่นๆ 73 จังหวัด ติดต่อได้ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

เอกสารที่ต้องใช้  ในการดำเนินการนั้น ประกอบด้วย 6 สิ่งหลักๆ ได้แก่
- บัตรประชาชน
- คำขอรับใบอนุญาต แบบ นบ.1 (ในส่วนนี้มีค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท)
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำหรับผู้รับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคล
- หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท ในกรณีที่ให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน กรณีที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม

ได้รับอนุญาตแล้ว ไม่ได้แปลว่า ใช้ได้ตลอดไป
นอกจากนี้ มีเรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ ก็คือ การขออนุญาตนี้จ่ายครั้งเดียว ใช้ได้ตลอดไป อันนี้ไม่เป็นความจริง
ใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล มีอายุใบอนุญาตไม่เกิน 1 ปี
ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล หากอยู่ในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล ได้แก่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร มีการกำหนดไว้ว่าใบอนุญาตมีอายุไม่เกิน 3 ปี หากอยู่ในพื้นที่นอกเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล ใบอนุญาตมีอายุไม่เกิน 5 ปี
ใบอนุญาตระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล ใบอนุญาตมีอายุไม่เกิน 5 ปี
อย่างไรก็ตาม อัตราการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล มีการกำหนดช่วงเวลาการจ่ายค่าธรรมเนียมแบ่งเป็นปีละ 4 งวด ดังนี้
- งวดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม
- งวดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน
- งวดที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน
- งวดที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม

ติดต่อสอบถาม