สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำโครงหลังคาเหล็กบ้านเดี่ยว  (อ่าน 3954 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
การทำโครงหลังคาเหล็กบ้านเดี่ยว
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2022, 10:38:53 AM »
การทำโครงหลังคาเหล็ก บ้านเดี่ยว

ขั้นตอนก็คงไม่มีอะไรมากหรอกครับสำหรับการทำโครงหลังคาเหล็กบ้านเดี่ยว แต่เวลาทำจริงๆนี่มันยากพอสมควรนะครับเพราะมันต้องทำอยู่ข้างบนต้องไต่อยู่บนเหล็ก เวลาเชื่อมก็ต้องไต่อยู่ข้างบน งานนี้ต้องมืออาชีพครับ
ผมจะพูดถึงการติดตั้งไปเลยนะครับ ส่วนขั้นตอนก่อนนี้ก็คือการเทคอนกรีตเสาให้ได้ระดับความสูงตามที่กำหนดและการฝังเพลท (plate)ลงไปที่หัวเสาเพื่อรองรับเหล็กโครงหลังคา(เอาไว้เชื่อมยึดอะเส) อันนี้ต้องเสร็จเรียบร้อยก่อนนะครับ

1. ติดตั้งอะเสก่อน ก็คือตัวที่วางขนานระหว่างหัวเสาต้นหนึ่งไปยังอีกหัวเสาต้นหนึ่งนั่นละครับ เรียกว่า “อะเส” ติดตั้งให้หมดเลยครับ เพราะอะเสจะเป็นฐานรับ ดั้ง, จันทัน, ตะเฆ่สัน, ตะเฆ่ราง
2. ติดตั้งดั้ง ดั้งส่วนใหญ่ก็จะวางอยู่บนอะเส
3. ติดตั้งอกไก่ (อกไก่จะวางอยู่บนดั้ง)
4. ติดตั้งตะเฆ่สัน
5. ติดตั้งตะเฆ่ราง
6. ติดตั้งจันทัน

ครับโครงหลังคาเหล็กของบ้านก็จะถูกติดตั้งไปตามขั้นตอนที่กล่าวมานั่นละครับ จริงๆแล้วก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะนะครับ (แต่ผมคงจะไม่ลงทั้งหมดเอาแค่ขั้นตอนก็พอครับจะได้รู้ขั้นตอนการทำงาน) รายละเอียดที่ว่าก็คือ การทำระดับต่างๆ เช่น ระดับหลังอะเส ระดับหลังจันทัน ระดับหลังตะเฆ่สัน พวกนี้มีผลทั้งสิ้นถ้าทำไม่ถูกต้องจะมีผลเวลาวางแปเพื่อมุงหลังคาทำให้มุงแล้วนูนมั่งแอ่นมั่ง (จะมุงไม่ได้ต้องแก้ไข)

เมื่อระดับต่างๆถูกต้องหมดแล้วการตัดปลายจันทันเพื่อปิดไม้เชิงชาย ก็ต้องขึงเอ็นตัดให้ได้ฉากกับตัวบ้านโดยรอบบ้าน ไม่เช่นนั้นแล้วชายคาบ้านจะบิดเบี้ยวไม่ได้ฉาก ชายคาที่ยื่นออกจากตัวบ้านก็จะไม่เท่ากันทำให้ไม่สวยงาม สำหรับขั้นตอนการติดตั้งโครงหลังคาบ้านก็คงจะมีเพียงเท่านี้ครับ

ข้อดี
1. ระยะเวลาก่อสร้างบ้านรวดเร็ว ทำให้ค่าแรงลดลง
2. เหล็กมีความยืดหยุ่นตัวสูง ทำให้บ้านสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้
3. โครงสร้างบ้านแบบเหล็กน้ำหนักเบากว่าคอนกรีต ช่วยลดการใช้เสาเข็ม
4. มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้งานง่าย
5. สามารถออกแบบบ้านในรูปทรงแปลกใหม่ได้ เช่น หลังคายื่นยาวออกมา หลังคาเอียง เป็นต้น
6. ช่วยลดขั้นตอนในการก่อสร้าง

ข้อเสีย
1. หากไม่ใช้ช่างฝีมือที่มีคุณภาพ งานเชื่อมเหล็กอาจไม่สวยงาม
2. เหล็กมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนค่าวัสดุสร้างบ้านราคาแพงกว่าบ้านทั่วไป
3. ต้องมีวิศวกรผู้ชำนาญเป็นผู้คำนวณ และควบคุมงานก่อสร้าง
4. มีค่าบำรุงรักษา ค่าสีป้องกันสนิม แต่ถ้าใช้เหล็กกัลวาไนซ์ จะลดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาและค่าสีป้องกันสนิม

ติดต่อสอบถาม