สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรณีศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการก่อสร้าง  (อ่าน 3973 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
กรณีศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการก่อสร้างระบบสำเร็จรูปของโครงการบ้านเอื้ออาทร
ที่ผ่านมาทางการเคหะแห่งชาติได้มีริเริ่มสร้างบ้านเอื้ออาทร โดยใช้ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป มาเป็นวิธีในการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรหลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการได้มีการก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปที่แตกต่างกัน ทางการเคหะแห่งชาติจึงได้ทำการศึกษาติดตามและประเมินผล ข้อดี-และข้อเสีย ของการก่อสร้างระบบอุสาหกรรมอาคารพักอาศัย กรณีศึกษาโครงการบ้านเอื้ออาทร ซึ่งได้ติดตามการดำเนินงานก่อสร้างในแต่ละโครงการ สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. โครงการก่อสร้างอาคารชุด 5 ชั้น ระบบผนังรับน้ำหนัก ของบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (ITD)
ข้อดี
- การก่อสร้างระบบผนังรับน้ำหนัง ทำให้มีโครงสร้าง Shear Wall ซึ่งสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ดี
- คุณภาพของชิ้นส่วนที่ผลิตในโรงงานมีคุณภาพดี
- การผลิตและติดตั้งสามารถเร่งผลิตให้ได้ตามแผน เนื่องจากระบบผลิตและติดตั้งสามารถแยกการดำเนินงานโดยไม่ขึ้นตรงต่อกัน
- ลดงานก่อฉาบ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานฝีมือเป็นจำนวนมากได้
- งานคอนกรีตหล่อในที่ ซึ่งเป็นงานเปียกมีน้อยทำให้สถานที่ก่อสร้าง สะอาดกว่า รวมทั้งลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากฝุ่นลง
- ระยะเวลาสามารถควบคุมได้
- เหมาะสมกับงานก่อสร้างจำนวนมาก ๆ
ข้อเสีย
- ระบบรอยต่อของแผ่นจำเป็นต้องใช้ Non Shrink Grout ซึ่งมีราคาแพง รอยต่อบางจุดตรวจสอบคุณภาพได้ยาก
- ในการ Grout ปูนพบ Shrinkage ที่ได้แผ่นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแผนวางตั้งอยู่ หัวน๊อต ปูน Grout ไม่ได้ถูก Compress ตลอดเวลา ในการเกิดรอยร้าวนั้นทำให้อากาศเข้าไป ซึ่งจะทำให้ลดอายุการใช้งานของโครงสร้างลง
- โครงสร้างของคานคอดินส่วนมากเป็น Hinged Joint ส่วนโครงสร้าง Bearing Wall จะต่อเนื่องทำให้บางครั้งพบรอยร้าวในแผนโครงสร้าง เนื่องจากความแตกต่างของ Degree of Rotation ระหว่างคานและผนัง
- การทรุดตัวของคานคอดินเป็นอิสระ ดังนั้นในการคำนวณออกแบบให้คำนึงถึง Differential Settlement ที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า
- ระบบโครงสร้างโดยรวมตรงบริเวณบันไดหนีไฟ ควรตรวจสอบคุณภาพของรอยต่อบันไดให้ดีเพื่อป้องกันการ Collapse เนื่องจากแผ่นดินไหว
- ระบบโครงสร้างบางส่วนต้องใส่ Transfer Beam เนื่องจากตำแหน่งของผนังรับน้ำหนักชั้นล่างไม่ตรงกับชั้นบน ซึ่งทำให้ลดการต้านแผ่นดินไหว ดังนั้นการที่จะทำไปสร้างในโซนแผ่นดินไหวจะต้องทำการวิเคราะห์ให้ดี
- การลงทุนในการผลิตชิ้นส่วนครั้งแรกค่อนข้างสูง
- การตรวจสอบคุณภาพของแผ่นในโรงงานต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากพบปัญหาเรื่องรอยต่อไม่ตรงกัน
- การบริหารจัดการถึงแม้จะดูง่ายกว่า แต่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ ซึ่งบางครั้งต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ
- ในการขยายอาคารหรือต่อเติมจะทำได้ยาก ซึ่งต้องมีการวางแผนและออกแบบอาคารไว้ เพื่อการขยายและต่อเติมในอนาคต

2.โครงการก่อสร้างอาคารชุด 5 ชั้น ระบบเสา คาน ของบริษัท ธนสิทธิ์ คอนกรีต จำกัด
ข้อดี
- คุณภาพของชิ้นส่วนที่ผลิตในโรงงานสามารถควบคุมงานคอนกรีตได้ดี
- ลดงานเทคอนกรีตโครงสร้าง (ลดแรงงานลงบางส่วน)
- การผลิตและติดตั้งสามารถดำเนินได้ตามแผน
- ผนัง ค.ส.ล. สำเร็จรูปภายในลดงานก่อฉาบ
- ในการก่อสร้างในบางพื้นที่ที่ไม่ต้องการกำลังการผลิตมาก อีกทั้งมีโรงงานผลิตเสาเข็มอยู่ในพื้นที่ ซึ่งสามารถนำมาดัดแปลงใช้ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างได้
- สามารถขยายและต่อเดิมอาคารได้ในอนาคต
ข้อเสีย
- จากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการแล้ว พบว่ารอยต่อชิ้นส่วนโครงสร้างเสียหายก่อนโครงสร้าง ซึ่งถ้ามีรอยต่อที่ดีแล้วการเกิดความเสียหายควรพร้อมกับโครงสร้าง
- ในการนำ Prestressed คอนกรีตเข้ามาใช้ ควรพิจารณา Creep และ Shrinkage ในชิ้นส่วนซึ่งเป็นผลกับรอยต่อโครงสร้าง
- รอยต่อชิ้นส่วนโครงสร้างเมื่อเกิด Creep และ Shrinkage ในคานแล้วเป็นผลให้อากาศสามารถเข้าไปสัมผัสกับเหล็กโครงสร้าง ซึ่งเป็นผลต่ออายุการใช้งาน
- รอยต่อโครงสร้างในคานนอกจากมีเหล็กเชื่อมต่อแล้ว ควรมี Shear Key เพื่อเป็น Safety เพราะคานเกิด Creep และ Shrinkage เนื่องจากลด Prestressed
- ในการจัดระบบเสาคานแล้ว ขั้นตอนการติดตั้งจะต้องนำมาพิจารณาให้ดี เนื่องจากโครงสร้างส่วนบันไดหนีไฟ ไม่สามารถติดตั้งไปพร้อมกันได้ ทำให้ต้องใช้เครื่องจักร Stand by อันเป็นผลให้ราคาค่าก่อสร้างสูงขึ้น
- ในการที่ขบวนการติดตั้ง การผลิต และงานสถาปัตย์ใช้เวลาก่อสร้างต่างกัน การบริหารการจัดการพื้นที่จะกองชิ้นส่วนสำเร็จรูปต้องดี มิฉะนั้นจะเกิดการ Loss ของชิ้นส่วนเป็นจำนวนมาก
- ผนังโดยรอบใช้ก่ออิฐฉาบปูน ซึ่งเป็นสาเหตุให้งานล่าช้าลง แต่สามารถลงการรั่วซึมของอาคารโดยรอบ อย่างไรก็ดี รอยต่อพื้นกับคาน ยังคงต้องป้องกันให้ดี มิฉะนั้นจะเกิดการรั่วซึม
- การทำ Shop Drawing รอยต่อจำเป็นสำหรับงานติดตั้งภาคสนาม พบว่าในรอยต่อมีการดุ้งเหล็กมาก

3. โครงการก่อสร้างอาคารชุด 5 ชั้น ระบบหล่อในที่ผนังรับน้ำหนัก ของบริษัท ไมวาน จำกัด
ข้อดี
- ระบบ Wall Bearing มีโครงสร้าง Shear Wall ซึ่งสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ดี
- คุณภาพของงานเทคอนกรีตใน Site งานยังคงต้องควบคุมให้ดี เพราะต้องเทคอนกรีตในผนังที่แคบมาก ๆ
- ในการก่อสร้างเป็นแบบ Conventional ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยในประเทศไทย จึงไม่มีปัญหาเรื่องรอยต่อโครงสร้างและการรั่วซึม
- ในการก่อสร้างในพื้นที่ที่ไม่ขาดแคลนแรงงาน สามารถเร่งการก่อสร้างได้ตามแผนงาน
- ลดงานก่อฉาบ ซึ่งต้องการแรงงานมีฝีมือเป็นจำนวนมาก
- ลดการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยมาใช้แรงงานคนแทน
- ไม่ต้องลงทุนทำโรงงานผลิต
ข้อเสีย
- คุณภาพการเทคอนกรีตใน Site งานไม่ดรพอทำให้ต้องมีการปรับแต่งก่อนการทาสี
- จะเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ถ้าทำไปการก่อสร้างในพื้นที่ที่ขาดแคลนแรงงาน เพราะใช้แรงงานคนแทนเครื่องจักร
- ใน Site งานมีงานเปียกมาก จะเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในเรื่องฝุ่นมากกว่า
- ในการใช้แรงงานจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี และมีการตรวจสอบคุณภาพของงานมากขึ้น เพื่อให้คุณภาพของงานที่เกิดจากแรงงานมีความสม่ำเสมอ
- ระบบการก่อสร้างแบบกำแพงรับน้ำหนักยังคงเป็นปัญหาในการขยายหรือต่อเติมในอนาคต
-Mould ที่นำมาใช้ในงานก่อสร้างมีราคาแพง ดังนั้นปริมาณงานจึงจำเป็นต้องมีมากพอ


ติดต่อสอบถาม/size]