สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากต่อเติมบ้านเป็นห้องเล็กๆ ด้วยโครงสร้างเหล็ก ต้องคิดถึงอะไรบ้าง  (อ่าน 7742 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
อยากต่อเติมบ้านเป็นห้องเล็กๆ ด้วยโครงสร้างเหล็ก ต้องคิดถึงอะไรบ้าง

หลายครอบครัวเมื่อจำนวนสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้นหรือมีความต้องการในด้านฟังก์ชั่นที่มากขึ้นก็มักจะเลือกวิธีการต่อเติมห้องในพื้นที่เดิมที่มีอยู่ แต่การที่จะต่อเติมห้องออกมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถึงจะเป็นการก่อสร้างขนาดเล็กตามกฎหมายก็ยังถือว่าเป็นการก่อสร้างเช่นกัน ดังนั้นก่อนการต่อเติมห้องขนาดเล็กของคุณ เราจึงมีข้อควรรู้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้พื้นที่ที่กำลังจะเพิ่มขึ้นมาใหม่นั้นออกมาถูกใจรวมไปถึงถูกกฎหมายด้วย

1.รู้กฏหมายก่อนต่อเติม
แม้ว่าการต่อเติมบ้านเพียงเล็กน้อยในพื้นที่ตัวเองอาจมองดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าคุณต่อเติมบ้านที่มีขนาดพื้นที่มากกว่า 5 ตร.ม. ขึ้นไปจำเป็นต้องแจ้งขออนุญาต ซึ่งหากไม่ศึกษากฎหมายเสียก่อนอาจเกิดปัญหาและต้องรื้อถอนภายหลังได้ โดยสามารถศึกษากฎหมายเบื้องต้นได้ที่กฎกระทรวงฉบับที่ 11(2528) ออกตามในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 65 (พ.ศ.2558) เพื่อพิจารณาว่าขอบเขตการต่อเติมของคุณเข้าข่ายต้องขออนุญาตหรือไม่

2.ปรึกษาสถาปนิกและวิศวกร
เมื่อตัดสินใจจะต่อเติมบ้านแล้วการปรึกษาสถาปนิกและวิศวกรเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากสถาปนิกจะช่วยออกแบบขนาดเพื่อให้เหมาะกับฟังก์ชั่นที่คุณต้องการได้อย่างเหมาะสมส่งผลให้งบประมาณไม่บานปลาย รวมไปถึงความสวยงามภายนอกด้วย อย่างเรื่องของช่องเปิดเพื่อการระบายอากาศที่มักเป็นปัญหายอดนิยมของการต่อเติม หรือช่วยคุณดูระยะถอยร่นตามข้อกำหนดทางกฎหมายก่อนเริ่มการออกแบบ ส่วนวิศวกรนั้นจะช่วยคุณออกแบบให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรงและปลอดภัย โดยจะช่วยคุณตรวจสอบโครงสร้างที่เหมาะสมที่ต้องการจะต่อเติม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารแยกออกมาหรือฝากส่วนต่อเติมไว้กับโครงสร้างอาคารเดิม เป็นต้น

3.แยกโครงสร้างดีที่สุด
การแยกโครงสร้างคือการต่อเติมห้องเล็กๆ ในบริเวณเดียวกันแต่ใช้โครงสร้างชุดใหม่ไม่เกี่ยวฝากโครงสร้างบางส่วนไว้กับอาคารเก่า การแยกโครงสร้างจะต้องให้แยกขาดจากกันจริงๆ เนื่องจากวิธีนี้จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลามาคำนวนการรับน้ำหนักของโครงสร้างเดิม ทำให้ป้องกันปัญหาการทรุดตัวของบ้าน รวมไปถึงปัญหารฉีกขาดของโครงสร้างในบริเวณที่เชื่อมต่อกัน

4. การก่อสร้างที่สะดวกรวดเร็ว 
โดยมากการต่อเติมห้องขนาดเล็กมักจะทำในบริเวณเดียวกันกับบ้านเดิมและนิยมใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลัก เนื่องจากเป็นการทำงานแบบแห้ง คือไม่ต้องมีการผสมคอนกรีตหน้างาน การเชื่อมและประกอบใช้คนน้อยและทำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อเทียบกับขนาดห้องที่เล็ก การใช้คนงานจำนวนมากและใช้เวลาในการก่อสร้างนานนั้นจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ

5.มารยาทที่ดีต่อเพื่อนบ้าน 
ความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการต่อเติมบ้านหลีกเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องของเสียงและฝุ่นควัน ถึงแม้ว่าคุณจะเลือกโครงสร้างเหล็กที่เกิดปัญหาน้อยกว่าโครงสร้างคอนกรีต ก่อนก่อสร้างควรแจ้งเพื่อนบ้านว่าจะทำการต่อเติมและบอกระยะการก่อสร้างในแต่วันให้ชัดเจน เช่น อาจจะเกิดเสียงดังในช่วงเวลา 9.00-17.00 น. หรือจะไม่ต่อเติมในวันเสาร์และอาทิตย์ เป็นต้น เพื่อให้เพื่อนบ้านเข้าใจและเตรียมตัวรับมือกับเสียงรบกวน โดยเฉพาะเพื่อนบ้านมีผู้สูงอายุและเด็กเล็ก

6.ไม่ส่งผลกระทบโครงสร้างของเพื่อนบ้าน
นอกจากจะต้องแจ้งเพื่อนบ้านว่าเราจะต่อเติมบ้านแล้ว อย่าลืมให้วิศวกรหรือผู้รับเหมาตรวจสอบว่าโครงสร้างที่จะสร้างนั้นไปกระทบโครงสร้างของเพื่อนบ้านหรือไม่ กรณีที่พบได้บ่อยคือการต่อเติมบ้านไปกระทบกำแพงหรือไปกระทบผนังเพื่อนบ้านในกรณีที่เป็นทาวน์เฮ้าส์  เมื่อก่อสร้างควรก่อสร้างแยกจากรั้วรอบด้านโดยเด็ดขาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากการทรุดตัวต่างระดับระหว่างอาคารเดิมกับอาคารส่วนต่อเติม

7.เตรียมพื้นที่เก็บของหน้างาน
เนื่องจากพื้นที่ส่วนที่ต่อเติมมักเป็นพื้นที่จำกัดและต้องคำนึงถึงสภาพปัจจุบันของบ้านเดิม ดังนั้นควรเลือกวัสดุที่จะต่อเติมที่ใช้พื้นที่น้อยและวางทับซ้อนกันได้จำนวนมากโดยไม่เปลืองพื้นที่ เช่น หากคุณเลือกใช้โครงสร้างเหล็ก คุณสามารถวางซ้อนเหล็กโครงสร้างไว้หน้างานได้โดยไม่เปลืองพื้นที่ อีกทั้งวัสดุอื่นๆก็เสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายน้อยกว่าถ้าทำการก่อสร้างด้วยงานคอนกรีตที่เป็นระบบเปียก

ติดต่อช่างเมทัลชีท