หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สวัสดี
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ูthai-dd.com
General Category
rtd8 รถเฮี๊ยบรถเครน
การอ่านหรือการดูค่าต่างๆของเครน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: การอ่านหรือการดูค่าต่างๆของเครน (อ่าน 4409 ครั้ง)
Admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 1088
การอ่านหรือการดูค่าต่างๆของเครน
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 07, 2022, 06:57:29 PM »
การอ่านหรือการดูค่าต่างๆของ
เครน
การใช้งานเครนนั้นเราจะสามารถพบสัญลักษณ์ต่างๆรวมถึงการอ่านค่าต่างๆของเครนซึ่งส่งผลต่อการใช้งานบุคคลที่ไม่ทราบอาจทำให้เกิดอันตรายในการใช้งานได้ ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักสัญลักษณ์และการอ่านค่าในส่วนของเครนและการใช้งานของ
เครน
กัน
1. ผู้ผลิต
จะกำหนดว่าตารางน้ำหนักนั้นใช้งานกับรถเครนยี่ห้อใดที่พบใช้งานมากในประเทศไทยจะเป็นยี่ห้อ TADANO, KATO, LIEBHERR, KOBELCO, GROVE และ SANY เป็นต้น
2. รุ่นผลิต
จะทำให้ทราบประเภทของรถเครน และขนาดความสามารถในการยกน้ำหนักของ
รถเครน
เช่น TR250M-6 ใช้กับรถเครนยี่ห้อ TADANO ประเภท Rough Terrain Crane ขนาดยกได้ 25 คัน Domestic Model 6
3. หน่วยน้ำหนัก
จะแสดงถึงหน่วยวัดน้ำหนัก เช่น Unit: ton (หน่วยวัดที่อ่านได้มีเป็นหน่วยน้ำหนัก ตัน)
4. ความกว้างของขาเครนที่ใช้ (With Outriggers Set)
จะแสดงให้ทราบว่าตารางน้ำหนักในตารางจะยกภายใต้เงื่อนไขของการใช้ความกว้างของ
ขาเครน
เท่าใด เช่น
- Outriggers fully extended (7.3 m.) = ยืดขาเต็ม 7.3 เมตร
- Outriggers middle extended (5.5 m.) = ยืดขาเต็ม 5.5 เมตร
- Outriggers minimum extended (2.54 m.) = ยืดขาเต็ม 2.54 เมตร
5. ตำแหน่งของการยก (Slewing Position)
จะแสดงว่าค่าในตารางน้ำหนักสามารถใช้ได้สำหรับตำแหน่งการยกรอบจุดศูนย์กลางการหมุน (Center of rotation) มักปรากฏมุมขวาบนของตาราง เช่น
360 องศา = ยกได้ทุกตำแหน่งรอบแกนสวิง
Over Front = ยกได้เฉพาะด้านหน้า
Over Rear = ยกได้เฉพาะด้านหลัง
Over Side = ยกได้เฉพาะด้านข้าง
6. ความยาวบูม (Boom Length)
จะแสดงช่วงความยาวของบูมที่ใช้ยกโดยส่วนใหญ่มักจะอยู่ด้านบนของตารางและอ่านตามแนวนอนแต่ละช่องจะหมายถึงความยาวบูมที่ใช้ เช่น
A = บูมยาว 10.65 m. 18.02 m. 25.35 m. 32.67 m. และ 40.0 m.
7. องศาบูม (Boom Angles)
จะแสดงความลาดชันของบูมหลัก (Main Boom) โดยวัดค่าจากแนวระนาบ (The horizontal) และเส้นกลางของบูมหลัก (Boom centerline) มักปรากฏด้านล่างของตารางสำหรับบูมหลัก และด้านหน้าสำหรับตารางการใช้จิ๊ป
8. ความยาวจิ๊บ (Jib Length)
จะแสดงช่วงความยาวของการใช้จิ๊ป โดยส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบนของตารางการใช้จิ๊ป และอ่านตามแนวนอนแต่ละช่องจะหมายถึงความยาวของการใช้จิ๊ป เช่น
C = ใช้ความยาวบูมหลัก 30.5 m. ต่อจิ๊ปยาว 80 m. และจิ๊ปยาว 13.0 m.
D = ใช้องศาจิ๊ปที่ 50°, 25°, 45°
9. ช่วงองศาจิ๊ป (Jib offset angles)
จะแสดงความลาดชันของจิ๊ปโดยวัดจากแนวศูนย์กลางของบูมหลัก (Main Boom center line) กับแนวจุดศูนย์ กลางของจิ๊ปที่ต่อ (Jib extended center line) มักปรากฏด้านบนของตารางใช้จิ๊ปถัดจากช่วงความยาวจิ๊ป
10. ระยะห่างของการยก (Working radius)
ระยะห่างศูนย์ถ่วงน้ำหนัก (Load Radius) จะแสดงระยะยกโดยวัดจากจุดศูนย์กลางของการหมุน (Center of rotation) หรือจุดศูนย์กลางสวิงของรถเครนไปถึงจุดศูนย์ถ่วงน้ำหนักของชิ้นงานที่จะยก (Center of Gravity) มักปรากฏอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวาของตาราง เช่น
B = 2.5 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 2.5 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 3.0 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 3.0 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 3.5 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 3.5 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 4.0 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 4.0 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 4.5 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 4.5 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
11. ระยะพื้น (Ground) กับใต้ตะขอรอก (Under hook)
ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ความยาวบูม หรือจิ๊ปที่ระยะห่างของการยกระยะต่างๆ
12. น้ำหนักถ่วงที่ใช้ประกอบ (Counter balance weight)
สำหรับรถเครนขนาดใหญ่ในการทำงานจะต้องมีการใช้น้ำหนักถ่วงเพื่อประกอบการยกจะแสดงไว้เหนือตาราง เช่น
- ใช้เคาท์เตอร์เวท 72 ตัน
- ใช้เคาเตอร์เวท 138 ตัน เป็นต้น
13. จำนวนการใช้ลวดสลิง
จะแสดงความสัมพันธ์ของจำนวนการทดสลิงเพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่ยกความยาวบูมและขนาดของรอกที่ใช้จะปรากฏอยู่ใต้ตารางน้ำหนักและจำนวนสลิงที่ใช้งานจะถูกนำไปคำนวณหาน้ำหนักสลิงเพื่อหาค่าน้ำหนักยกรวมต่อไป
14. ขนาดรอกยก (Hook Block type)
จะแสดงความสัมพันธ์ของขนาดรอกที่เลือกใช้เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่ยกจำนวนการทดสลิงและน้ำหนักรอกนั้น (Hook weight) จะถูกนำไปคำนวณหาค่าน้ำหนักยกรวมต่อไป
15. อุปกรณ์พิเศษ เช่น
- ใช้จิ๊ป
- ใช้ราฟฟิงจิ๊ป
- ใช้ Y-guy system
16. ตัวอย่างการอ่านตารางน้ำหนัก
รถเครน Tadano รุ่น TR250M-5
ตัวอย่างที่ 1
ยืดขาเต็ม 6.3 เมตร ใช้บูมยาว 23.5 เมตร ระยะห่าง 8.0 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ 9.0 ตัน
ตัวอย่างที่ 2
ยืดขาเต็ม 6.3 เมตร ต่อจิ๊ปยาว 13.0 เมตร จิ๊ปนอน 25 องศา บูม หลักนอน 60 องศา สามารถรับน้ำหนักได้ 0.9 ตัน
ตัวอย่าง 3
ยืดขาเต็ม 6.3 เมตร ใช้บูมยาว 3.5 เมตร บูมหลักนอน 60 องศา ได้ระยะห่าง 15 เมตร ที่ระยะความสูง 25 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ 3.8 ตัน
17. ตัวอย่างการเลือกขนาดของรถเครน (Crane Selection) ควรมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 หาตำแหน่งชิ้นงานที่จะทำยก โดยต้องทราบระยะความสูง (Lifting Height) ที่จะยก
ขั้นตอนที่ 2 หาตำแหน่งที่ตั้งรถเครนที่เหมาะสมแก่การทำงานหรือทราบระยะห่าง(Working Radius) ที่จะยกเนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยอื่น หรือข้อจำกัดในการทำงาน เช่น แผนการยกวิธีการยึดจับแนวอาคาร แนวท่อระบายน้ำ แนวเสาไฟฟ้า และอุปสรรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบหาน้ำหนักรวม หรือภาระที่จะเกิดขึ้น (Total Loads) ประกอบด้วย
ติดต่อเช่ารถเฮี๊ยบ รถเครน
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ูthai-dd.com
General Category
rtd8 รถเฮี๊ยบรถเครน
การอ่านหรือการดูค่าต่างๆของเครน