สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายของการประกอบกิจการน้ำบาดาล  (อ่าน 4327 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ความหมายของการประกอบกิจการน้ำบาดาล
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2022, 07:45:54 PM »

ความหมายของการประกอบกิจการน้ำบาดาล

การประกอบกิจการน้ำบาดาล หมายถึง การดำเนินการที่เกี่ยวกับน้ำบาดาล ทั้งด้านการเจาะน้ำบาดาล การใช้น้ำบาดาลและการระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล ซึ่งการดำเนินการในแต่ละด้านจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัดและห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการน้ำบาดาลใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินในเขตน้ำบาดาลนั้นหรือไม่ เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมอบหมาย
 
1.การขอรับใบอนุญาติเจาะน้ำบาดาล
ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล ต้องดำเนินการดังนี้ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล (แบบ นบ.1) พร้อมเอกสารประกอบคำขอ และค่าธรรมเนียมคำขอ 10 บาท
 
โดยยื่นต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ในเขตน้ำบาดาลนั้น คือ
 
- สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในเขตน้ำบาดาลกรุงเทพมหานคร
- ฝ่ายทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทุกจังหวัด
 
เอกสารที่ต้องยื่นพร้อมคำขอรับใบอนุญาต
1.สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชน
- กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชน ของผู้ขอ ผู้รับมอบอำนาจ และหรือผู้ให้ความยินยอม
- กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประชาชน ของกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ ผู้รับมอบอำนาจและหรือผู้ให้ความยินยอม
 
2. สำเนาหลักฐานการมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3 หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน หนังสือรับรองสิทธิที่จะเจาะน้ำบาดาลในที่ดิน หรือลงชื่อรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินในคำขอรับ ใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล
 
3. แผนที่สังเขปแสดงเส้นทางและสถานที่ที่จะเจาะน้ำบาดาล
 
4. สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือใบอนุญาตขยายโรงงาน (กรณีเป็นโรงงานอุตสาหกรรม)
 
5. สำเนาหนังสือรับรองช่างเจาะและหนังสือรับรองนักธรณีวิทยา หรือวิศวกร (กรณีระบุผู้รับเหมาเจาะ)
 
6. แบบแปลนจัดสรร (กรณีเป็นหมู่บ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรร)
- กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท (กรณีไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง)
- กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล
 
1. หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท (กรณีกรรมการผู้จัดการไม่ได้มายื่นคำขอ ด้วยต้นเอง)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล แสดงรายนามผู้มีอำนาจลงนาม
 
2.หน้าที่ของผู้รับอนุญาตเจาะน้ำบาดาล
2.1 ก่อนที่จะเริ่มเจาะน้ำบาดาลจะต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเตรียมการเพื่อเจาะ น้ำบาดาลเสียก่อนจึงเจาะน้ำบาดาลได้
 
2.2 เครื่องเจาะน้ำบาดาลต้องเป็นเครื่องเจาะตามแบบที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตฯ
 
2.3 ความลึกของบ่อน้ำบาดาล ขนาดบ่อน้ำบาดาลต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตฯ และใบอนุญาตฯ 1 ฉบับต่อการเจาะน้ำบาดาลจำนวน 1 บ่อ
 
2.4 เมื่อเจาะน้ำบาดาลเสร็จแล้วต้องส่งรายงานผลการเจาะน้ำบาดาลต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ ตามแบบที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลกำหนด (แบบ นบ./18) ภายใน 7 วัน หลังจากวันที่เจาะน้ำบาดาลเสร็จ ผู้รับใบอนุญาตฯ หรือลูกจ้าง หรือตัวแทนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวตามข้อ 2.1 - 2.4 มีโทษปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท (พ.ร.บ. น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 มาตรา 39)
 
2.5 ผู้รับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2524) ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ดังนี้
 
2.51 ต้องมีช่างเจาะที่ได้รับหนังสือรับรองช่างเจาะจากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ควบคุมรับผิดชอบในการเจาะน้ำบาดาล หากเจาะน้ำบาดาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อกรุบ่อตอนบนสุดตั้งแต่ 100 มิลลิเมตรขึ้นไปนอกจากต้องมีช่างเจาะเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบในการเจาะน้ำบาดาลแล้วต้องมีวิศวกรหรือนักธรณีวิทยาเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบในการเจาะน้ำบาดาลด้วย ช่างเจาะ หรือวิศวกร หรือนักธรณีวิทยาต้องเป็นผู้ที่อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเดิม) ออกหนังสือรับรองให้ และต้องควบคุมการดำเนินการเจาะประจำที่หลุมเจาะ หากช่างเจาะ หรือวิศวกร หรือนักธรณีวิทยาไม่อยู่ต้องแต่งตั้งผู้แทนซึ่งเป็นช่างเจาะหรือวิศวกรหรือนักธรณีวิทยาผู้ที่อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลออกหนังสือรับรองให้รับผิดชอบแทน ในกรณีที่จะเปลี่ยนตัวเป็นช่างเจาะหรือวิศวกรหรือนักธรณีวิทยาฯต้องแจ้งให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ทราบก่อนการเปลี่ยนตัวมาน้อยกว่า 3 วัน พร้อมกับมอบหนังสือยินยอมเป็นช่างเจาะหรือวิศวกรหรือนักธรณีวิทยาฯผู้ที่จะควบคุมรับผิดชอบการเจาะน้ำบาดาลด้วย
 
2.5.2 ในการเจาะ ถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ผู้รับใบอนุญาตหรือส่วนราชการหรือองค์การของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคหรือเพื่อการเกษตรกรรม (ตามมาตรา 4 ) ต้องรายงานให้พนักงานประจำท้องที่หรือกรมทรัพยากรน้ำบาดาลทราบภายใน 7 วันตั้งแต่พบ ถ้าเป็นโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลแจ้งให้กรมศิลปกรทราบโดยด่วน
 
2.5.3 ต้องเก็บตัวอย่างดิน หิน กรวด ทราย จากการเจาะน้ำบาดาล โดยเก็บทุกระยะความลึก 1.5 เมตรติดต่อกันตากให้แห้งแล้วเก็บใส่ถุงผ้าหรือถุงพลาสติกพร้อมติดป้ายบอกระดับความลึกนำส่งพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันเจาะน้ำบาดาลเสร็จ
 
2.5.4 บ่อน้ำบาดาลต้องใช้ท่อเหล็กเหนียวผิวเคลือบดำหรือชุบสังกะสีท่ออื่นที่มิได้ทำด้วยเหล็กเหนียว จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการน้ำบาดาล
 
2.5.5 ต้องจัดทำและส่งรายงานการปฏิบัติงานประจำวัน (แบบ นบ./3) รายงานการทดสอบปริมาณน้ำ (แบบ นบ./4) และรายงานประวัติบ่อน้ำบาดาล (แบบ นบ./5) ให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันทดสอบปริมาณน้ำเสร็จ โดยช่างเจาะต้องลงนามรับรองความถูกต้องในรายงานดังกล่าวและหากเป็นการเจาะน้ำบาดาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อกรุตอนบนสุดตั้งแต่ 100 มิลลิเมตรขึ้นไป ต้องให้ช่างเจาะ และวิศวกร หรือนักธรณีวิทยาผู้ที่ควบคุมรับผิดชอบในการเจาะน้ำบาดาลลงนามรับรองความถูกต้องในรายงาน นบ./3, นบ./4, และ นบ./5 ด้วย
 
2.5.6 การขอรับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลที่มีความลึกเกินกว่า 400 เมตร ผู้ขอรับ ใบอนุญาตต้องมีหนังสือยืนยันว่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขพิเศษ คือ จะต้องก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลแบบ Natural Packed Well ท่อกรุทุกขนาดต้องเป็นท่อที่ทำด้วยเหล็กเหนียวผิวเคลือบดำหรือชุบสังกะสีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อกรุบ่อตอนบนสุดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิเมตร และผลิตขึ้นตามมาตรฐาน ASTM A-120 Standard Pipe หรือมาตรฐาน API 5L Standard-weight Line Pipe เท่านั้น
 
2.5.7 ต้องทำชานบ่อรอบปากบ่อน้ำบาดาลหนาไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร คลุมพื้นที่ไม่ น้อยกว่า 4 ตารางเมตรและรอบชานบ่อต้องมีทางระบายน้ำออกจากบริเวณบ่อด้วย
 
2.5.8 ต้องติดตั้งมาตรวัดน้ำชนิดขับเคลื่อนตัวเลขด้วยระบบแม่เหล็ก โดยติดตั้งห่างจาก บ่อน้ำบาดาลไม่เกิน 10 เมตรและส่งรายงานการใช้น้ำบาดาล (ตามแบบ นบ./11)ให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
 
3.การขอต่ออายุใบอนุญาต
1. ประเภทการใช้น้ำบาดาล ตามมติคณะกรรมการน้ำบาดาลในการประชุมครั้งที่ 3/2538 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2538 ได้กำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาลและคำจำกัดความไว้ดังนี้
 
1. อุปโภคบริโภค
1.1 ได้แก่การใช้น้ำบาดาลเพื่อเป็นน้ำดื่มน้ำใช้ที่ผู้เป็นเจ้าของบ่อน้ำบาดาลสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในครัวเรือนของตนเอง หรือแบ่งปันให้ผู้อื่นโดยมิได้มีการซื้อขาย
1.2 โรงพยาบาลของรัฐ สถานที่ราชการ สถาบันการศึกษาและ ศาสนสถาน
1.3 ได้แก่การใช้น้ำบาดาลเพื่อบริการในกิจการอาคารชุด แฟลต อพาร์ตเม้นต์ หอพัก บ้านเช่า หมู่บ้านจัดสรร ที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อสวนเกษตรและกิจการอื่น ในลักษณะเดียวกัน
 
2. ธุรกิจ แบ่งเป็น
2.1 ธุรกิจ (อุตสาหกรรม) ได้แก่การใช้น้ำบาดาลในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิตเบียร์ สุรา ห้องเย็น เหล็กเส้น อาหารกระป๋อง หน่วยผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ โกดัง แฟลต หรือหอพักคนงาน เป็นต้น
2.2 ธุรกิจ (บริการ) ได้แก่การใช้น้ำบาดาลเพื่อการบริการลูกค้า เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ สถานอาบอบนวด ศูนย์การค้า ตลาด ร้านอาหาร หรือภัตตาคาร สถานีบริการน้ำมัน อาคารพาณิชย์ สนามกีฬา สนามกอล์ฟ สวนสัตว์ สวนสนุก สำนักงาน รวมทั้งห้องแสดงสินค้า โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น และให้รวมถึงน้ำบาดาลที่ใช้สำหนับคนงานก่อสร้าง
2.3 ธุรกิจ (การค้า) ได้แก่การใช้น้ำบาดาลเป็นหลักในการดำเนินการธุรกิจ เช่น ผลิตน้ำแข็ง น้ำอัดลม น้ำดื่มบรรจุขวด หรือขายน้ำ เป็นต้น
 
3. เกษตรกรรม ได้แก่ การใช้น้ำบาดาลเพื่อ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์
 
2. การขออนุญาตใช้น้ำบาดาล ผู้ประกอบกิจาการน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตให้เจาะน้ำบาดาลแล้ว ก่อนที่จะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ต้องขออนุญาตใช้น้ำบาดาลก่อน หรือกรณีใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาลเดิมที่ยังไม่เคยขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลประสงค์จะขออนุญาตใช้น้ำบาดาลให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 หรือ กรณีเป็นบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลแต่สิ้นอายุแล้วจะขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลใหม่ให้ดำเนินการ ดังนี้
 
2.1 กรณีเป็นบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตให้เจาะน้ำบาดาล (บ่อใหม่)
 
ยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (ตามแบบ นบ.2) ต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่พร้อมตัวอย่างน้ำบาดาลจากบ่อที่ขออนุญาต จำนวนไม่น้อยกว่า 1.5 ลิตร เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและเคมี พร้อมชำระค่าธรรมเนียมคำขอๆละ 10 บาท และค่าวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำบาดาล ตัวอย่างละ 1,200 บาท (กรณีส่งตัวอย่างน้ำบาดาล หากวิเคราะห์จากสถาบันอื่นแล้วไม่ต้องส่งตัวอย่างน้ำ แต่ต้องส่งผลวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำนั้น)
 
4.การติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำประจำบ่อบาดาล
- ในเขตน้ำบาดาลกรุงเทพมหานครและเขตน้ำบาดาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ในเขตวิกฤตการณ์ น้ำบาดาล ตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อบาดาลทุกบ่อ
 

ติดต่อช่างเจาะบาดาล