สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการแก้ไขอาคารทรุด  (อ่าน 4445 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอนการแก้ไขอาคารทรุด
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2022, 08:37:14 AM »
ขั้นตอนการแก้ไขอาคารทรุด

แก้ไขอาคารทรุด

      ปัจจุบันปัญหาการทรุดตัวของอาคาร เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งซึ่งมีผลโดยตรงกับความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร และตัวอาคารเอง ซึ่งการทรุดตัวของอาคารนั้นพบเห็นกันมาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ลักษณะการทรุดตัวของอาคารอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบกับระบบฐานรากของอาคาร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

   1. อาคารทรุดตัวในแนวดิ่ง ซึ่งแบ่งได้ 2 เป็นประเภทดังนี้

       1.1  ฐานรากทั้งหมดในอาคารทรุดตัว  ซึ่งเป็นการทรุดตัวของอาคารทั้งหลังใกล้เคียงกัน แต่มีการทรุดตัวมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่ใช้เสาเข็มสั้นวางอยู่บนชั้นดินอ่อนมาก ซึ่งลักษณะการทรุดตัวประเภทนี้ จะไม่ค่อยพบรอยร้าวในโครงสร้างอาคาร

       1.2  ฐานรากในอาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน  เกิดจากฐานรากมีการทรุดตัวที่แตกต่างกันมาก แต่ลักษณะการทรุดตัวของอาคารยังคงรูปในแนวดิ่ง ซึ่งอาคารที่ทรุดตัวประเภทนี้มักจะพบรอยแตกร้าวบนผนังเป็นแนวเฉียงกลางผนัง

     2. อาคารทรุดเอียง  ส่วนใหญ่เกิดจากการเยื้องศูนย์ของฐานรากอาคาร และเยื้องไปในทิศทางเดียวกัน หรือการทรุดเอียงของฐานรากที่อยู่บริเวณริมด้านนอกของอาคาร ทำให้การทรุดตัวของอาคารเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง และทำให้อาคารด้านตรงข้ามมีลักษณะเหมือนยกขึ้น  การทรุดตัวประเภทนี้มักจะไม่เกิดรอยร้าวบนผนัง หรือโครงสร้าง แต่รอยร้าวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณตอม่อหรือเสาเข็มของอาคารด้านที่ถูกยกขึ้น

         สาเหตุการทรุดตัว  ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุดังนี้

          1. เสาเข็มสั้นเกินไป
          2. เสาเข็มบกพร่อง
          3. ฐานรากเยื้องศูนย์
          4. ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน
          5. เกิดการเคลื่อนตัวของดิน
          6. เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ตามความต้องการ

    การแก้ไขอาคารทรุด

    การแก้ไขอาคารทรุด สามารถกระทำโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปรับโครงสร้างให้เพียงพอเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างที่มีปัญหา การกำหนดขนาด จำนวนเสาเข็มนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์โดยขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นดังนี้

        - คำนวณน้ำหนักลงฐานราก (Column Load) ที่จะทำการเสริมเสาเข็ม

        - เลือกชนิดของเสาเข็ม ขนาด และความยาวซึ่งพิจารณาได้จากข้อมูลดิน

        - คำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มที่จะเสริมจากข้อมูลดิน ตามชนิด ขนาด และระดับความลึกของปลายเสาเข็มที่จะเลือกใช้

        - กำหนดจำนวนเสาเข็มที่จะเสริมในแต่ละฐานราก

        - กำหนดตำแหน่งที่จะเสริมเสาเข็ม

         - ทำการถ่ายน้ำนหักลงเสาเข็มที่เสริม

          ประเภทของเสาเข็มสำหรับงานเสริมฐานราก

           1. เสาเข็มเจาะ (Bored Pile)
           2. เสาเข็มเหล็ก (Steel Pile)
            3. เสาเข็มประกอบ (Composite Pile)


[/size]
ติดต่อสอบถาม