สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหากดชักโครกไม่ลง แก้ได้โดยท่ออากาศ  (อ่าน 4316 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ปัญหากดชักโครกไม่ลง แก้ได้โดยท่ออากาศ

ปัญหาเรื่องส้วมมีมากมายเหลือเกิน นอกจากปัญหากลิ่นจากโถที่ได้พูดความสำคัญของปะเก็นแว๊กไปในบทความก่อนๆ แล้ว วันนี้จะขอพูดเรื่องการกดชักโครกไม่ลง หรือลงไม่หมด ลงช้าแบบไม่มีแรงบ้าง คิดว่าท่านทั้งหลายคงมีประสบการณ์แบบนั้นมาแล้วแน่ๆ
หลายคนคงคิดว่าสาเหตุของปัญหามาจากส้วมตัน ต้องเรียกรถดูดส้วม (ในกรณีที่ใช้บ่อเกรอะ) หรือถึงเวลาที่ต้องเติมจุลินทรีย์ ในถังแซท  โดยลืมนึกถึงระบบท่ออากาศ (Vent system)
แล้วระบบท่ออากาศเนี้ยมันคืออะไร และทำไมมันถึงสำคัญขนาดนั้น?

อธิบายง่ายๆ คือ มีอากาศสะสมอยู่ภายในท่อตั้งแต่โถไปจนถึงถังบำบัด เมื่อเรากดชักโครก น้ำจะดันอากาศจนต้องหาทางระบายออก  ดังนั้น ควรมีรูหรือช่องเปิดสำหรับระบายอากาศออก และยังช่วยให้สิ่งปฏิกูลไหลลงไปได้ดีขึ้นด้วย (ลองนึกถึงเวลาเราเจาะกระป๋องนมข้นหวานที่ต้องเจาะ 2 รู เพื่อช่วยระบายมวลอากาศภายในกระป๋อง ทำให้เทนมข้นไหลออกมาได้อย่างง่ายขึ้น)

แล้ววิธีต่อท่ออากาศที่ถูกต้องทำอย่างไร?
- ติดตั้งท่ออากาศเพื่อช่วยระบายอากาศในระบบ ต้องติดตั้งที่ถังบำบัดน้ำเสีย หรือบ่อเกรอะ สำหรับถังบำบัดน้ำเสียหรือบ่อเกรอะ
- ระดับความสูงของปลายท่ออากาศ ให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม เพราะเมื่อฝนตกหนัก น้ำจะไหลเข้าสู่ท่อถังบำบัดได้
- ปลายท่ออากาศก็ต้องมีตัวป้องกันสัตว์ หรือน้ำฝนเข้าด้วยนะครับ
- ในกรณีที่โถสุขภัณฑ์อยู่ห่างจากถังบำบัด จะต้องติดตั้งท่ออากาศให้ปลายของท่ออยู่เหนือระดับของสุขภัณฑ์ โดยควรซ่อนปลายท่ออากาศให้อยู่ในตำแหน่งที่มิดชิด และเป็นตำแหน่งที่กลิ่นไม่รบกวน

ทั้งนี้เรื่องท่ออากาศเป็นเพียงหนึ่งสาเหตุของปัญหา ในบทความครั้งหน้าจะพูดถึงปัญหาอื่นๆ ต่อไปครับ

ส้วมตัน หรือส้วมเต็ม ดูยังไง
ขั้นตอนในการสำตรวจท่อทำได้ดังนี้
1.ลูกบ้านต้องทำการตรวจเช็ค ระบบโถส้วมของตัวเองว่าเป็นระบบไหน โดยปกติมี2 แบบ แบบระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม และระบบถังส้วมสำเร็จ
–ระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม เป็นระบบน้ำเสียแบบเดิมที่อยู่คู่กับเรามานานและเป็นที่รู้จักกันดี การทำงานของบ่อเกรอะ บ่อซึม มีวิธีการทำงาน คือ ของเสียจากสุขภัณฑ์ภายในบ้านไหล ลงสู่บ่อเกรอะ ส่วนที่เป็นของแข็ง หรือเศษกากอาหาร จะตกตะกอนลงด้านล่างของถัง ส่วนที่เป็นของเหลวหรือน้ำเสียจะถูกส่งไปยังบ่อซึม โดยบ่อซึมจะทำหน้าที่กระจายน้ำออกสู่ดินที่อยู่รอบๆ
แต่ถ้าหาก ดินที่อยู่โดยรอบ บ่อซึม เป็นดินเหนียว หรือ ดินที่มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ หรือบริเวลณลุ่มน้ำท่วมถึง แรงดันจากนั้นในดินอาจจะทำให้บ่อซึมระบายน้ำสู่ดินได้ไม่เต็มประสิทธิ์ภาพ จึงเป็นที่มาของปัญหาส้วมตัน กดชักโครกไม่ลง ราดน้ำไม่ลง และอีกทั้งยังส่งกลิ่นเหม็น จึงต้องทำการสูบกากของเสียจากบ่อเกรอะ (สูบส้วม) ปัญหาเหล่านี้ อาจจะทำให้เจ้าของบ้านมีไอเดีย อยากจะเปลี่ยนความซัลซ่อนและยุ่งบาก มาเป็นอะไรที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน อย่างถังบ่อบำบัดสำเร็จรูป ก็เป็นทางเลือกที่ ช่างท่อ ขอแนะนำเลยครับ
–ระบบบ่อถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป  นั้นมีระบบการทำงาน โดยใช้หลักการ จุลินทรย์กำจัดจุลินทรีย์ โดยกากของเสีย  จะไหลลงสู่ถังบำบัดน้ำเสีย โดยจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นถัง ซึ่งเต็มไปด้วยจุลินทรย์ที่คอยย่อยสลาย สาเหตุนี้ ทำให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจาก ไม่มีตะกอนตกค้างภายในถัง และไม่ต้องอาศัยการระบายน้ำเสียสู่ดิน ของบ่อซึม น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว จะถูกลำเลียงไปยัง ท่อระบายน้ำสาธาะณะ ดังนั้นตัวถังบำบัดน้ำเสียสพเร็จรูป เป็นอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ใต้ดิน จึงยากแก่การดูแลรักษา เจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจหลักการและเลือกใช้อุปกรณ์ ที่ทนทาน มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก.
การเปลี่ยน ระบบบำบัดน้ำจากบ่อเกรอะ บ่อซึม มาใช้ ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป นั้น ท่อรับน้ำเสียจากโถสุขภัณฑ์ ทั้งหมดภายในบ้านทั้งหมด จะย้ายมาต่อเข้าถังบำบัดสำเร็จรูป ยกเว้นกรณีที่บ่อเกรอะ บ่อซึม ฝั่งอยู่ในใต้ห้องน้ำชั้นล่าฃ การขุดรื้อ จะยุ่งยากและวับซ้อนเกินไป ช่างท่อ ขอแนะนำ ให้คงใช้บ่อเกรอะเดิมไว้รองน้ำเสียจากสุขภัณฑ์ชั้นล่าง ส่วนท่อน้ำเสียจากห้องน้ำชั้นอื่น สามารถนำมาต่อเข้ากับถังบำบัดสำเร็จูปใหม่ได้ตาม ปกติ


ติดต่อช่าง