สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หินธรรมชาติมีเกือบทุกๆท้องถิ่นหรือในประทศไทยนั้นเอง  (อ่าน 4141 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
แหล่งหินในประเทศไทย
     ในท้องถิ่นที่เราอาศัยอยู่จะพบหินมีอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่นเดียวกับท้องถิ่นอื่น ๆ ในประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรจำพวกหินในปริมาณมาก ซึ่งกระจายอยู่เกือบทั่วทุกจังหวัด หินจะมีแร่เป็นส่วนประกอบ ดังนั้น แหล่งที่มีหิน ก็จะมีแร่ที่อยู่ในหิน ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้

ประโยชน์ของหิน
     1. ใช้ในการก่อนสร้างสิ่งต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน เขื่อน ถนน กำแพง
     2. ใช้ทำรูปแกะสลักหรืออนุสาวรีย์
     3. ใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ครก โม่หิน หินลับมีด
     4. ใช้ประดับตกแต่งอาคารสถานที่ต่าง ๆ

มาดูประโยชน์ของหินแต่ละชนิดกันเถอะ
หินอัคนี
     • หินแกรนิต  ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลักทำอนุสาวรีย์ และวัสดุก่อสร้าง
     • หินบะซอลต์  ใช้ทำไยหินฉนวนกันความร้อน วัสดุก่อสร้าง
     • หินพัมมิช  ใช้ทำวัสดุกรอง วัสดุก่อสร้าง และใช้ทำผงขัดพื้น
หินตะกอน
     • หินกรวดมน  ใช้ทำหินประดับ หินก่อสร้าง
     • หินทราย  ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก หินลับมีด
     • หินดินดาน  ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ใช้เป็นส่วนประกอบปูนซีเมนต์
     • หินปูน ใช้ทำหินประดับ ปูนซีเมนต์ ปูนขาว และอุตสาหกรรมเคมี
หินแปร
     • หินไนส์  ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก ครกหิน และหินก่อสร้าง
     • หินชนวน  ใช้ทำกระดานชนวน หินประดับ และกระเบื้องมุงหลังคา
     • หินอ่อน  ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก อุตสาหกรรมเคมี
     • หินควอต์ไซต์ ใช้ทำหินก่อสร้าง อุตสาหกรรมแก้ว

วัฎจักรของหิน
     วัฎจักรของหิน คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลง และการหมุนเวียนของหินประเภทต่าง ๆ นักธรณีวิทยาจำแนกหินออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หินอัคนี หินชั้น (หินตะกอน) และหินแปร ซึ่งหินทั้ง 3 ประเภทนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่อง หินประเภทหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นอีกประเภทหนึ่งได้โดยมี ความร้อน การผุพัง การสึกกร่อน และการทับถมเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนประเภทของหิน

การจำแนกหิน
     การวัฎจักรของหิน ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถจำแนกหินออกตามลักษณะการเกิดได้ 3 ประเภท ดังนี้
          1. หินอัคนี
              1.1 หินแกรนิต  เนื้อหินเป็นผลึกขนาดใหญ่ มีความแวววาวมีความแข็ง ทนทานมาก จึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง อาคารต่างๆ
              1.2 หินบะซอลต์ เนื้อหินมีสีคล้ำจนเกือบดำ ไม่มีความแวววาว เนื้อหินแน่นละเอียด แต่มีรูพรุน มีความแข็งแรงและทนทานต่อการสึกกร่อน นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง
              1.3 หินพัมมิช เนื้อหินมีความแข็งและสากมาก มีรูพรุน และมีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถลอยน้ำได้ นิยมใช้ทำวัสดุขัดถู
              1.4 หินออบซิเดียน เนื้อหินมีลักษณะเหมือนแก้ว มีสีดำ และผิวเรียบเป็นมัน
          2. หินชั้น (หินตะกอน)
              2.1 หินศิลาแลง เป็นเหินที่เกิดจากการผุพังของหินอัคนี มีสีน้ำตาลดำ มีลักษณะขรุขระ และมีวัตถุประสานเป็นสารประกอบของเหล็ก
              2.2 หินทราย เป็นหินที่มีอยู่ทั่วไป ประกอบด้วยทรายที่สึกกร่อนจากหินแกรนิต เกาะติดกันแน่น โดยมีสารบางอย่างเป็นตัวยึด ให้ทรายติดกัน มีหลายสี เช่น เหลือง น้ำตาล แดง ขาว เทา นิยมใช้ทำหินลับมีด และใช้ในการก่อสร้าง
              2.3 หินกรวด เกิดจากกรวดทรายมาทับถมกัน หินชนิดนี้ นิยมนำมาใช้ในการ ทำถนนหรือหินประดับ
          3. หินแปร
              3.1 หินชนวน เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินดินดาน เนื้อละเอียด ผิวเรียบเป็นมัน เรียงกันเป็นแผ่นบาง ๆ แยกออกจากกันได้ แข็งกว่าหินดินดาน ใช้ทำกระดานชนวน ทำแผ่นอิฐทางเดิน
              3.2 หินอ่อน เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินปูน มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ มีสีขาวหรือสีต่าง ๆ นิยมใช้ทำหินประดับอาคาร และนำมาแกะสลัก
              3.3 หินไนส์ เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินแกรนิต มีความแข็งและทนทาน ประกอบด้วยสารที่มีสีขาวขุ่น สีขาวใส และสีดำเป็นมัน เรียงกันเป็นริ้วขนานนิยมใช้ทำโม่และครก
              3.4 หินควอร์ตไซต์ เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินทรายมีลักษณะเป็นเม็ด ๆ นิยมใช้ทำกรวด คอนกรีต ทำหินอัดเม็ด และใช้ทำวัสดุทนไฟ

     หินอัคนี คือ หินที่เกิดจากการหลอมเหลวภายในโลก และไหลออกมาตามรอยแยกของเปลือกโลก เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิด ซึ่งต่อมาเย็นตัวลงกลายเป็นก้อนแข็งเราเรียกว่า “หินอัคนี” ขณะที่หลอมเหลวอยู่ภายใต้เปลือกโลกเรียกว่า “แมกม่า” แต่เมื่อไหลออกมาตามราอยร้าว เรียกว่า “ลาวา”

     หินชั้น หรือ หินตะกอน คือหินที่เกิดจากการทับถมของซากพืช ซากสัตวื และตะกอน ต่าง ๆ หรือเกิดจากการสึกร่อนผุพัง ของหินอัคนีหรือหินอื่น ๆ เป็นเวลานาน หรือเกิดจากการที่ตะกอนต่าง ๆ ถูกกระแสน้ำและกระแสลมพัดพามา เมื่อสะสมหรือถูกแรงอัดนาน ๆ เข้า ก็จะประสานตัวกันจนแน่นกลายเป็นหิน บางครั้งยังพบร่องรอยของซากพืชและซากสัตว์โบรานฝังอยู่ ซึ่งเรียกว่าฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์ ตัวอย่างหินชั้นหรือหินตะกอนได้แก่ หินศิลาแลง หินทราย หินกรวด หินปูน หินดินดาน

     หินแปร คือ หินที่เปลี่ยนแปลงมาจากหินอัคนีหรือหินชั้น เพราะถูกความร้อน ความกดดันภายในโลก และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ทำให้รูปร่างและเนื้อเดิมของหินเปลี่ยนไป เช่น หินชนวน หินอ่อน หินไนส์ ฯลฯ

การเปลี่ยนแปลงของหิน
     กระแสน้ำ หินที่อยู่ตามลำน้ำหรือริมทะเล เมื่อกระแสน้ำพัดผ่าน เกิดแรงปะทะกับหินบ่อย ๆ ทำให้เกิดการผุพัง กร่อน มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น แรงปะทะของกระแสน้ำทำให้เกิดโพรงหิน เมื่อโพรงหินใหญ่มากขึ้นอาจทำให้เกิดการพังทลายของโขดหิน
     กระแสลม  หินที่มีอยู่ในแนวที่ต้องปะทะกับกระแสลมตลอดเวลา จะเกิดการกร่อนของหินรูปร่างของหินจึงเปลี่ยนไปจากเดิม
     การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ  หินเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ถ้าเนื้อหินขยายตัวไม่เท่ากัน จะเกิดการแตกร้าวในบริเวณผิวนอกของหิน บริเวณที่หนาวจัดในทวีปยุโรปอเมริกา น้ำที่อยู่ตามรอยแยกของหิน กลายเป็นน้ำแข็งขยายตัวทำให้หินแตกได้ อุณหภูมิจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หินผุกร่อน
     เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี  น้ำฝนที่ทำปฏิกิริยากับก๊าซในอากาสบางชนิด เกิดกรด หรือฝนกรด เมื่อตกลงสู่พื้นบริเวณที่เป็นหินจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับหิน ทำให้หินเกิดการผุกร่อนได้ เช่น ถ้าฝนกรดตกลงไปบริเวณภูเขา ฝนกรดจะไหลซึมไปตามก้อนหินถ้าเป็นหินปูน จะทำปฏิกิริยากับกรดทำให้เกิดสารใหม่ เมื่อสารนี้ไหลซึมลงตามเพดานถ้ำ เมื่อน้ำระเหยไปหมดกจะเหลือตะกอนปูน ถ้าตะกอนสะสมอยู่นานไปจะเกิดแขงตัวกลายเป็นหินย้อย

สาเหตุที่ทำให้หินเกิดการเปลี่ยนแปลง
     ภูเขาหินปะการัง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นภูเขาหินปูน เกิดจากฝนกรดกัดเซาะทำให้หินสึกกร่อน มีรูปคล้ายปะการัง

ติดต่อสอบถาม