สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ  (อ่าน 6816 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
การเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
การก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในบ้านเรานานพอสมควร และมีหลากหลายระบบแต่ก็ยังไม่แพร่หลายมากนัก พอจำแนกเป็นข้อดีข้อเสียได้ ดังนี้

ข้อดีของการออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป
- ลดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป เนื่องจากทำการผลิตชิ้นส่วนจากโรงงานและนำมาติดตั้งบริเวณสถานที่ก่อสร้าง และการก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปสามารถลดงานก่อและฉาบได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดแรงงานในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี
- ลดระยะเวลาในการก่อสร้างได้เมื่อเทียบกับระบบการก่อสร้างปกติ สามารถก่อสร้างได้อย่างสะดวกเรียบร้อยมากขึ้น เนื่องจากต้องมีการเตรียมการวางแผนตั้งแต่การออกแบบโครงสร้าง และมีการความคุมการผลิตชิ้นส่วนการก่อสร้างจากโรงงานผลิตชิ้นส่วน
- ลดมลภาวะเรื่องฝุ่น และเสียงในขณะการก่อสร้าง ในบริเวณสถานที่ก่อสร้างได้เป็นอย่างดี
- ลดต้นทุนในการก่อสร้าง เมื่อมีการก่อสร้างรูปแบบอาคารที่ซ้ำกันเป็นจำนวนมาก และจากการออกแบบที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนสามารถลดการใช้วัสดุอย่างชิ้นเปลืองและมีการสูญเสียน้อย
- โครงสร้างของอาคารระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปมีความแข็งแรงมากกว่าเมื่อเทียบกับระบบก่อสร้างปกติ เนื่องจากมีองค์ประกอบของโครงสร้างอาคารสามารถรับแรงได้

ข้อเสียของการ[ur=https://line.me/R/ti/p/%40650nudbtl]ออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป[/url]
- ต้องมีการเตรียมงานที่รอบคอบ และครอบคลุมทุกขึ้นตอนของการก่อสร้างซึ่งจะทำให้ปริมาณงานในส่วนของการเตรียมงานและจัดทำ Shop Drawing มากขึ้น เมื่อเทียบกับการก่อสร้างระบบปกติ เนื่องจากต้องคำนึงถึง การผลิต การขนส่ง และการติดตั้ง เป็นอย่างมาก
- การออกแบบในด้านความสวยงามของโครงสร้างอาคารจะทำได้ยากขึ้น เนื่องจากผลิตระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปจำเป็นต้องมีการออกแบบชิ้นส่วนที่มีรูปแบบที่ง่ายต่อการผลิต กาขนส่ง และการติดตั้ง จึงทำให้เป็นข้อจำกัดในการออกแบบของการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป
- ข้อจำกัดของขนาดชิ้นส่วนสำเร็จรูป จะขึ้นอยู่กับการขนส่งและอุปกรณ์การยกติดตั้ง เช่น ขนาดของรถขนส่ง การรับน้ำหนักของถนน และขนาดของรถเครน หากมีการออกแบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่มีขนาดใหญ่จะต้องรถขนส่งที่ออกแบบเฉพาะ และมีอุปกรณ์ยกติดตั้งที่มีขนาดพิเศษ และจะทำให้การติดตั้งยากลำบากมายิ่งขึ้น
- การออกแบบชิ้นส่วนสำเร็จต้องคำนึงถึงรูปแบบของชิ้นส่วนที่มีจำนวนมากและขนาดเดียวกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด และลดต้นทุนวัสดุในการทำแบบหล่อ
- ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของจุดต่อที่เชื่อมชิ้นส่วนสำเร็จรูปแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งมีความซับซ้อนในการผลิตและการติดตั้งที่ทำได้ยาก
- การก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ด้วยทั่วไปแล้วแผ่นพื้นและผนังจะมีรอยต่อซึ่งต้องเสี่ยงต่อการรั่วซึมของรอยต่อที่สัมผัสน้ำ
- มีการลงทุนในระยะแรก เนื่องจากการสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูป
- ผู้มีความรู้และความชำนาญในการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จที่น้อย เนื่องจากเป็นระบบการก่อสร้างรูปแบบใหม่ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยได้ไม่นานมากนัก จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมและใช้ในการก่อสร้างที่แพร่หลายมากนัก

ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของการออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป
ด้านการออกแบบ
- ในระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดผนังรับน้ำหนัก ไม่สามารถทุบผนังและต่อเติมได้ จึงไม่เหมาะสมกับความนิยมของคนไทยที่มักเปลี่ยนแปลงแบบบ้านของตนเอง หรือเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ฉะนั้นสถาปนิกและวิศวกรควรจะออกแบบบริเวณอาคารส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เผื่อไว้ด้วย
- การออกแบบระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป สถาปนิกและวิศวกรต้องทำงานประสานกันอย่างใกล้ชิด เพราะความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างต้องสัมพันธ์กับความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอย
- รายละเอียดการออกแบบระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปมีรายละเอียดมากกว่างานออกแบบระบบก่อสร้างปกติเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องยอมเสียเวลาในการให้รายละเอียดของแต่ละชิ้นส่วน และการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็น เนื่องจากเป็นส่วนที่สำคัญมากของการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป
- มีความยุ่งยากในการนำแบบก่อสร้างระบบก่อสร้างปกติที่มีอยู่แล้ว มาทำการดัดแปลงเป็นระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป จะทำได้ยาก และยุ่งยาก เนื่องจากต้องคำนึงถึงทุก ๆ  องค์ประกอบตั้งแต่ต้น
- ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขนาดของพิกัดในการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ที่มีความสอดคล้องนำไปสู่ระบบประสานพิกัดแบบเปิด (Open system)
- การออกแบบระบบการก่อสร้างสำเร็จรูปต้องคำนึงถึงเกณฑ์ในการติดตั้งหรือยกน้ำหนัก
- การออกแบบระบบการก่อสร้างสำเร็จรูปต้องมีระยะเผื่อสำหรับความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งที่เป็นจุดรอยต่อของโครงสร้างอาคาร
- มีความยืดหยุ่นในการออกแบบที่น้อย เนื่องจากต้องใช้แบบหล่อไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระเพราะจะทำให้สิ้นเปลืองแบบหล่อ
- หลีกเลี่ยงชิ้นส่วนที่มีแขน ขา ยื่นออกมาจะทำให้การขนส่งสินค้า และขนย้ายยุ่งยาก
- มีรอยต่อที่สามารถทำให้ง่ายต่อการทำงานในสนาม เพื่อความรวดเร็วและลดความผิดพลาด

ด้านการก่อสร้าง
1.อาจเกิดความคลาดเลื่อนของระยะเวลาก่อสร้าง เนื่องจากปัญหาด้านแรงงาน การผลิต และการขนส่ง ซึ่งทำให้ก่อสร้างหยุดชะงัก และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
2.ต้องมีการควบคุมในการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ให้ได้มาตรฐานมากกว่าการก่อสร้างระบบทั่วไป
3.ช่างเชื่อมควรเป็นช่างที่มีความชำนาญและประสบการณ์ในการทำงาน และควรผ่านการทดสอบด้านการเชื่อมที่มีมาตรฐาน เนื่องจากรอยต่อระหว่างแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นสิ่งสำคัญของการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป
4.การขนส่งและการติดตั้งที่ยุ่งยากมากขึ้น เมื่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
5.ต้องมีการวางแผนงานสำหรับการขนส่งชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากโรงงาน และติดตั้งทันโดยไม่ต้องนำแผนไปเก็บไว้ในโกดัง
6.ผู้รับเหมาและลูกจ้างจะคุ้นเคยกับการก่อสร้างระบบปกติมากกว่า ซึ่งทำให้ขาดความเข้าใจในขั้นตอนการทำงาน และชำนาญในการติดตั้ง


ติดต่อสอบถาม/size]