สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำดื่มและการบำรุงรักษา  (อ่าน 5376 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำดื่มและการบำรุงรักษา

กองวิเคราะห์และทดสอบ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ

1. กล่าวนำ
          ระบบเครื่องกรองน้ำดื่มโดยทั่วๆไป จะเป็นการนำน้ำจากแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตน้ำประปา หรืออาจใช้น้ำบาดาล มาผ่านระบบเครื่องกรองน้ำดื่ม เพื่อให้น้ำมีคุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลชีววิทยา เป็นไปตามเกณฑ์มาตร-ฐานของน้ำที่ใช้สำหรับดื่ม (เกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มกระทรวงสาธารณสุข) การใช้เครื่องกรองน้ำดื่มอย่างถูกต้อง และ ทำการปรนนิบัติบำรุงอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องกรองน้ำดื่ม และทำให้ผู้ใช้ได้ดื่มน้ำที่มีคุณภาพที่ดี และสะอาด ในทางตรงกันข้ามหากผู้ใช้ไม่รู้และเข้าใจในการบำรุงรักษาเครื่องกรองน้ำดื่ม เครื่องกรองน้ำดื่มนั้นก็จะเป็นแหล่งที่สะสมตะกอน สิ่งเจือปนและเชื้อโรค อยู่ในเครื่องกรอง ทำให้ผู้ใช้ได้บริโภคน้ำที่มีคุณภาพไม่ดี และไม่สะอาด เพียงพอที่จะใช้ในการบริโภค

2. ส่วนประกอบของระบบเครื่องกรองน้ำดื่ม
          เครื่องกรองน้ำดื่มทั่วๆไปที่มีขายตามท้องตลาด จะมีหลายตราอักษร แต่โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน ดังนี้

          2.1 ท่อบรรจุสารกรองคาร์บอน สารกรองคาร์บอน คือ ACTIVATED CARBON ที่มีลักษณะเป็นผงถ่านสีดำที่มีความพรุน ทำหน้าที่กำจัดสี และกลิ่นของน้ำ ตลอดจนช่วยในการกรองตะกอนขนาดใหญ่ได้บางส่วน

          2.2 ท่อบรรจุสารกรองเรซิ่น สารกรองเรซิ่น ทำหน้าที่กำจัดค่าความกระด้างของน้ำที่เกิดจากสารประกอบของแคลเซียม แมกนีเซียม และอิออนบวกอื่นๆ ที่มีอยู่ในน้ำ โดยแคลเซียม และแมกนีเซียมอิออน เป็นสารที่มีอยู่ในน้ำธรรมชาติเป็นจำนวนมาก และถ้ามีมาก จะมีผลทำให้น้ำนั้นมีความกระด้างสูง (ทำปฏิกิริยากับสบู่แล้วเกิดตะกอน ไม่เกิดฟอง ทำให้ใช้สบู่มากกว่าปกติ หรือ เกิดเป็นตะกรันติดภาชนะ เมื่อนำไปต้ม) การลดค่าความกระด้างของน้ำทำโดยการกรองน้ำผ่านสารกรองเรซิ่น สารเรซิ่นจะจับความกระด้างไว้ และมีผลทำให้ค่าความกระด้างลดลง

          2.3 ท่อบรรจุไส้กรองเซรามิก ไส้กรองเซรามิก ทำหน้าที่กรองตะกอนละเอียด และ เชื้อโรค โดยไส้กรองที่มีความละเอียด 0.3 ไมครอน จะสามารถกรอง จุลินทรีย์ได้ดี ทำให้น้ำที่ผ่านออกมาสะอาดปราศจากจุลินทรีย์

          2.4 หลอดอุลตร้าไวโอเลต เป็นหลอดที่ให้แสงอุลตร้าไวโอเลต ทำหน้าที่ในการฆ่าจุลินทรีย์หรือเชื้อโรค อีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะนำมาดื่ม
โดยปกติแล้วเครื่องกรองน้ำทั่วๆไปจะมีหลายราคา หากเป็นเครื่องกรองน้ำดื่มที่มีครบตามข้อ 2.1 - 2.4 ก็จะมีราคาสูงกว่าเครื่องกรองน้ำดื่มที่มี เฉพาะส่วนประกอบตามข้อ 2.1 -2.3

3. การปรนนิบัติบำรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม

          3.1 การล้างสารกรองคาร์บอน การล้างสารกรองคาร์บอนทำได้โดยการล้างย้อนกลับระบบ ( BACKWASHED) โดยการปิดลิ้นทางเข้าของน้ำที่ใช้กรองตามปกติ แล้วเปิดลิ้นทางเข้าของน้ำให้ผ่านเข้าทางด้านล่างของท่อบรรจุสารกรองคาร์บอน แล้วปล่อยน้ำที่ล้างย้อนกลับนี้ไหลทิ้งไป จนกระทั่งได้น้ำใส

          3.2 การล้างสารกรองเรซิ่น โดยการล้างคืนสภาพสารเรซิ่น เมื่อหมดอายุการใช้งาน ซึ่งจะสังเกตได้จากรสชาดของน้ำก่อนผ่านเครื่องกรอง และหลังผ่านเครื่องกรองมีรสคงเดิม ไม่จืดสนิท หรือโดยการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ หรือใช้ชุดตรวจภาคสนาม หาค่าความกระด้างเปรียบเทียบก่อน - หลังกรอง แล้วพบว่าค่าความกระด้างของน้ำก่อนและหลังผ่านกรองมีค่าใกล้เคียงกัน กล่าวคือไม่ลดลงหลังผ่านเครื่องกรอง จะต้องทำการล้างคืนสภาพสารเรซิ่น โดยการใช้น้ำเกลือเข้มข้น 20 % ไหลผ่านสารกรองเรซิ่น แล้วแช่ทิ้งไว้ ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงปล่อยให้น้ำผ่านเครื่องกรอง เพื่อไล่น้ำเกลือที่ตกค้างออกจากเครื่อง จนกระทั่งน้ำที่ผ่านเครื่องกรองมีรสจืด ไม่มีความเค็มตกค้าง

          3.3 การล้างไส้กรองเซรามิก เมื่อไส้กรองเซรามิกใช้กรองไปได้ระยะหนึ่งจะเกิดการอุดตัน ผู้ใช้จะต้องถอดไส้กรองเซรามิกออกมาทำความสะอาด โดยใช้ใยขัดสำหรับใช้ขัดเซรามิก หรือแปรงขนอ่อนๆขัดทำความสะอาดไปในทิศทางเดียวกัน จนไส้กรองสะอาดไม่มีสิ่งสกปรกอุดตัน ในกรณีที่มีการปนเปื้อนของ จุลินทรีย์ในระบบกรองน้ำ ซึ่งทราบได้จากผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาในห้องปฏิบัติการ อาจนำไส้กรองเซรามิกไปต้มในน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วจึงนำเข้าไปติดตั้งในเครื่องกรอง แล้วจึงใช้กรองน้ำดื่มตามปกติ

          3.4 การทำความสะอาดหลอดอุลตร้าไวโอเลต โดยปกติบริษัทผู้ขายจะออกแบบให้ทำความสะอาดหลอดอุลตร้าไวโอเลต โดยการดึงคันชัก เพื่อทำความสะอาดหลอดได้จากภายนอก และให้ทำการเปลี่ยนหลอดเมื่อครบชั่วโมงการใช้งาน หรือ เมื่อหลอดหมดอายุไม่สามารถผลิตแสงได้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคที่ดี
          ตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด ในการบำรุงรักษาเครื่องกรองน้ำดื่มให้มีประสิทธิภาพที่ดี และสามารถกรองน้ำดื่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้ ใช้ได้ดื่มน้ำที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค นอกจากการบำรุงรักษาตามที่กล่าวมาแล้วตามข้อ 3.1 - 3.4 นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการเปลี่ยนสารกรองคาร์บอน สารกรองเรซิ่น และไส้กรองเซรามิก ตลอดจนหลอดอุลตร้าไวโอเลต เมื่อครบอายุการใช้งาน หรือเมื่อหมดประสิทธิภาพ แม้ว่าจะได้ทำการล้างย้อนกลับ หรือทำการล้างคืนสภาพแล้ว ทั้งนี้อายุการใช้งานของสารกรองทั่วๆไป จะขึ้นกับคุณภาพน้ำที่นำมาผ่านเครื่องกรอง เช่น น้ำบาดาล หรือน้ำประปา ที่มีค่าความกระด้างมากจะทำให้สาร เรซิ่นมีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ ต้องทำการล้างคืนสภาพบ่อยและมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปกติ หรือ น้ำที่ ขุ่น มีสีและกลิ่น จะทำให้อายุการใช้งานของสารกรองคาร์บอน และไส้กรองเซรามิกสั้นกว่าปกติ แต่โดยปกติแล้ว ควรทำการเปลี่ยนสารกรองคาร์บอนทุก 2 ปี สารเรซิ่น ทุก 3 ปี ไส้กรองเซรามิกทำการเปลี่ยนเมื่อชำรุด และหลอดอุลตร้าไวโอเลตตามกำหนดอายุการใช้งานของหลอดนั้นๆตามคู่มือเครื่อ

ติดต่อช่างเจาะบาดาล