สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เอารถเข้าไฟแนนซ์ คืออะไร ทำไมต้องเข้า เข้าทำไม  (อ่าน 7029 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
เอารถเข้าไฟแนนซ์ คืออะไร? ทำไมต้องเข้า? เข้าทำไม?

อันเดียวกับการเอารถไปขอสินเชื่อเงินสด หรือไม่?
ในหน้านี้มีอะไรบ้าง?   
- อันเดียวกับการเอารถไปขอสินเชื่อเงินสด หรือไม่?
- เอารถเข้าไฟแนนซ์ = เอารถไปขอกู้ใหม่
- เอารถเข้าไฟแนนซ์ คืออะไรกันแน่?
- เอารถเข้าไฟแนนซ์ ได้ที่ไหนบ้าง?
- ทำไมต้องเอารถเข้าไฟแนนซ์?

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับข้อมูลข่าวสารการเงินดี ๆ จากเว็บไซต์ Promotions.co.th กันอีกครั้งนะคะ สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาเว็บนี้เป็นครั้งแรก แล้วยังสงสัยอยู่ว่าเนื้อหาเว็บนี้ถูกต้องหรือไม่? ทีมนักเขียนเป็นใคร? จะเชื่อถือได้หรือเปล่า? ก็ต้องขอแนะนำให้เข้าไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ที่ทาง Promotions.co.th ได้เขียนไว้และเคยถูกแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก ได้ที่นี่ >> promotions.co.th/finance  รวมถึงก่อนจะนำมาลง ก็มีการหาข้อมูลจากตัวแทน หรือ สถาบันการเงินต่าง ๆ ก่อนมานำเสนอให้กับทุกท่านได้อ่านกัน

ในบทความนี้ขอพูดถึงเรื่องที่คนมีรถ สงสัยกันเป็นอย่างมากก็คือ “เอารถเข้าไฟแนนซ์ คืออะไร?” ทั้ง ๆ ที่คุณอาจจะกำลังผ่อนอยู่ หรือ มีรถแล้วผ่อนหมดแล้ว เป็นรถคันแรกที่เพิ่งซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงผ่อนของตัวเอง เห็นคนอื่นพูดถึงการเอารถเข้าไฟแนนซ์กันก็อยากรู้แล้วว่ามันคืออะไร มาพบคำตอบกันค่ะ

เอารถเข้าไฟแนนซ์ = เอารถไปขอกู้ใหม่
เอารถเข้าไฟแนนซ์ คืออะไรกันแน่?
Concept ของการเอารถเข้าไฟแนนซ์ ก็คือ การเอารถไปข้อกู้ใหม่ เพื่อให้เจ้าของรถได้เอาเงินออกมาหมุนใช้ในธุรกิจหรือชีวิตประจำวันด้านอื่น ๆ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- รถต้องผ่อนหมดแล้ว
- เจ้าของรถเท่านั้นที่เอารถไปเข้าไปแนนซ์ได้
- รถต้องไม่ขาดต่อทะเบียน พ.ร.บ. / ต่อภาษี
- อาจถูกโอนเล่มทะเบียนรถยนต์ให้แก่ไฟแนนซ์ก็ได้
- อาจต้องจอดรถไว้ที่เต็นท์ หรือ ยังเอาไว้ขับก็ได้
- ดอกเบี้ยยังถูกกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
 
เอารถเข้าไฟแนนซ์ ได้ที่ไหนบ้าง?
คุณอาจจะเข้าใจว่าเอารถเข้าไฟแนนซ์คือการขับรถไปที่เต็นท์แล้วไปขอกู้ ซึ่งความจริงเงินที่คุณได้ไม่ใช่เงินของเจ้าของเต็นท์ แต่เป็นของสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร หรือ บริษัทจำกัดที่ให้เงินคุณในนามนิติบุคคล โดยต้องมีการทำสัญญาอย่างมีขั้นตอน มีเอกสารชัดเจน กลุ่มสินเชื่อรถยนต์ถูกรวมอยู่ในสินเชื่อประเภทลิสซิ่ง (ซึ่งมีสินเชื่อบุคคล และ สินเชื่อเงินก้อนเพื่อผ่อนชำระ รวมอยู่ด้วย) โดยดอกเบี้ยก็ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน จะตั้งดอกเบี้ยขึ้นมาเองลอย ๆ ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นสินเชื่อนอกระบบทันที

รายชื่อ บริษัท จัดตั้งเพื่อออกสินเชื่อรถยนต์ที่ เอารถที่ใช้แล้วไปขอสินเชื่อได้ ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง (อัพเดท ส.ค.61) ได้แก่
- บริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซี่ง จำกัด – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่ซอยสวนมะลิ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
- บริษัท เงินติดล้อ จำกัด – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
- บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร
- บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
- บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
- บริษัท เทอร์โบ แคช (ประเทศไทย) จำกัด – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
- บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
- บริษัท เมืองไทย แคปปิตอลจำกัด (มหาชน) – สำนักงานใหญ่ อยู่ที่เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

รายชื่อธนาคาร ที่มีบริการสินเชื่อรถยนต์
- ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (BAY) ในชื่อ สินเชื่อ คาร์ ฟอร์ แคช (Car for Cash)
- ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (TISCO) ในชื่อ สินเชื่อ ทิสโก้ ออโต้ แคช (Tisco Auto Cash)
- ธนาคาร ธนชาต จำกัด ในชื่อ สินเชื่อ ธนชาต รถแลกเงิน
- ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (จดทะเบียนในชื่อ ลีสซิ่งกสิกร) ในชื่อ สินเชื่อ รถช่วยได้
- ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในชื่อ สินเชื่อ My Car My Cash
- ธนาคาร เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) สินเชื่อรถบ้านธนาคารเกียรตินาคิน

ทำไมต้องเอารถเข้าไฟแนนซ์?
รถยนต์ แม้ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่มีค่าเสื่อมราคาสูงต่อปี แต่ก็มีมูลค่าอยู่ในตัวเอง ซึ่งบางคนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน และไม่ต้องการหยิบยืมจากเพื่อนฝูงหรือญาติสนิท เพราะมีสินทรัพย์ตัวนี้ที่ช่วยแบ่งเบาภาระการเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วน
- ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าเทอม
- แต่งงาน
- เดินทางไปต่างประเทศ
- ซ่อมบ้าน


ติดต่อปรึกษาเรา