หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สวัสดี
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ูthai-dd.com
General Category
rtd51 เช่าเครื่องเสียง
เรียนรู้และรู้จัก “เครื่องเสียงเบื้องต้น”
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: เรียนรู้และรู้จัก “เครื่องเสียงเบื้องต้น” (อ่าน 6852 ครั้ง)
Admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 1088
เรียนรู้และรู้จัก “เครื่องเสียงเบื้องต้น”
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 21, 2022, 05:26:50 PM »
เรียนรู้และรู้จัก
“เครื่องเสียงเบื้องต้น”
สำหรับบทความนี้เป็นบทความที่อยากจะแนะนำ ให้มือใหม่ หรือผู้ที่เริ่มอยากจะเรียนรู้ และรู้จักหลักการทำงานของ
เครื่องเสียง
เบื้องต้น ได้เข้าถึงหลักการทำงานได้มากยิ่งขึ้น ส่วนผู้ที่ชำนาญ หรือ คุ้นเคยในงานทางด้านเครื่องเสียงอยู่แล้ว ก็ถือว่า ทบทวนความรู้กันสักหน่อยแล้วกันนะ…ครับ!!!
เสริมสร้างเคล็ดลับเพื่อเข้าถึงนิยามกับคำว่า
“เครื่องเสียง”
กันสักหน่อย…
มาเริ่่มกันที่เรื่องระบบเสียงเบื้องต้นกันนะครับว่า ใน 1 ระบบเสียง นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้ก็จะพูดรวมถึงเครื่องเสียงทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น เครื่องเสียงที่ใช้ดูหนัง ฟังเพลงในบ้าน หรือเครื่องเสียงที่ใช้ตามร้านอาหาร ระบบเสียงในผับ ระเสียงตามสายเพื่อประกาศ หรือเป็นระบบเสียงขนาดใหญ่สำหรับงานคอนเสิร์ต ก็ล้วนแล้วมีพื้นฐานแบบเดียวกัน
ฉะนั้นเราจะมาทำความรู้จักพร้อมๆกัน เพื่อให้ทราบถึงระบบเสียงเบื้องต้นว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เพื่อเสริมสร้างเบสิคพื้นฐานสู่มืออาชีพ
เครื่องเสียง
หมายถึง อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียงหรือ เกี่ยวข้องกับกระบวนการขยายเสียง การถ่ายทอดเสียง การกระจายเสียง เป็นต้น
อุปกรณ์ทางด้าน เครื่องเสียงเบื้องต้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆดังต่อไปนี้
1. ภาคอินพุท ( INPUT ) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
อุปกรณ์ประเภทนี้ทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดเสียง หรือ (Source) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดเสียงหรือ (Source) เสียง เพื่อส่งสัญญาณเสียงต่อไปยังอุปกรณ์ประเภทปรุงแต่งเสียง และขยายเสียง เช่น เครื่องเล่นซีดี, วีซีดี, คอมพิวเตอร์, มีเดียร์เพลเยอร์ต่างๆ
เช่น เครื่องเล่นซีดี ,คอมพิวเตอร์ ,MP3 เพลเยอร์และมัลติเพลเยอร์ต่างๆ ทั้งนี้ก็จะรวมถึงอุปกรณ์ประเภท ไมโครโฟนและเครื่องดนตรีด้วย
2. ภาคโปรเซสเซอร์ Processor หรือภาคประมวลผล
ประกอบด้วย เช่น อีควอไลเซอร์, มิกเซอร์ คอมเพรสเซอร์ ครอสโซเวอร์ เอฟเฟคแต่งเสียงอื่นๆ และคอนโทรลเลอร์ต่างๆ
Mixer มิกเซอร์
ทำหน้าที่รวมสัญญาณเสียงต่างๆเข้าด้วยกัน แล้วส่งสัญญาณออกไปหาอุปกรณ์อื่น หรือเครื่องขยายเสียงนั่นเอง
EQ หรืออีควอไลเซอร์
ทำหน้าที่ปรับแต่งเสียง บูสหรือคัดความถี่เสียง
Compressor คอมเพรสเซอร์
มีหน้าที่บีบอัดสัญญาณเสียงรักษาระดับสัญญาณเสียงไม่ให้เกินที่เรากำหนดไว้
Crossover ครอสโซเวอร์
ทำหน้าที่แบ่งความถี่เสียง เช่น เสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม
Effect เอฟเฟค
สำหรับนักร้องและสำหรับเครื่องดนตรี และเครื่องปรุงแต่งเสียงอื่นๆ เช่น (Controller) คอนโทรลเลอร์ต่างๆก็นับว่าอยู่ในภาคประมวลผลเช่นกัน
3. ภาคเอ้าพุท OUTPUT ประกอบด้วย
เครื่องขยายเสียงหรือเพาเวอร์แอมป์ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณด้านเอ้าพุทให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าสัญญาณที่อินพุทเข้ามา ก่อนต่อออกไปหาลำโพง
อุปกรณ์ประเภทนี้ ทำหน้าที่กำเนิดเสียง เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานกลที่สามารถถ่ายทอดคุณภาพของเสียงให้เราได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นย่านเสียงท้ม ย่านเสียงกลาง ย่านเสียงแหลม
4. อุปกรณ์ประเภทสายสัญญาณ สายลำโพง และสายไฟ อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ
เช่น ปลั๊กและแจ็ค คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำสัญญาณในการต่อพ่วงกันของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ เมิ่อเรานำอุปกรณ์ดังกล่าว มาต่อพ่วงกัน เพื่อใช้งานร่วมกัน ก็จะกลายเป็น ระบบเสียง ระบบหนึ่ง เราเรียกว่า Audio System (ระบบเสียง) นั่นเอง เป็นอุปกรณ์ต่างๆที่ขาดไม่ได้ในระบบเสียง
สรุป ระบบเครื่องเสียงก็จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วน ด้วยกันตามข้างต้นที่กล่าวไว้ ทุกส่วนเมื่อนำมาผสมผสานใช้งานร่วกันก็จะกลายเป็นระบบเสียงที่สมบูรณ์
ฉะนั้นระบบเสียงจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ ส่วนคุณภาพเสียงจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของโปรดักส์แต่ละตัว และความสามารถในการปรับแต่งเสียงของแต่ละบุคคล
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มาจากเบสิคและพื้นฐานที่ถูกต้อง และจำเป็นอย่างมากที่จะต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆเสมอและฝึกฝนให้มีความชำนาญเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของเราเอง
สำหรับบทความนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ สำหรับวันนี้ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านบทความที่เป็นประโยชน์นี้
ติดต่อสอบถาม
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ูthai-dd.com
General Category
rtd51 เช่าเครื่องเสียง
เรียนรู้และรู้จัก “เครื่องเสียงเบื้องต้น”