สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ช่องฝาปิดเล็กๆ ที่กันชนหน้ารถมีไว้ทำอะไร  (อ่าน 3886 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ช่องฝาปิดเล็กๆ ที่กันชนหน้ารถมีไว้ทำอะไร?
คุณผู้อ่านเคยสังเกตไหมว่าบริเวณกันชนหน้าและหลังของรถเรา จะมีฝาปิดเล็กๆ ติดไว้ อาจมีทรงกลมหรือเหลี่ยมก็ได้ รู้หรือไม่ว่าฝาปิดดังกล่าวมีไว้เพื่ออะไร?

ฝาปิดดังกล่าวแท้จริงแล้วก็คือช่องสำหรับเสียบ "หูลากจูง" นั่นเอง ในกรณีฉุกเฉินที่รถเสียและมีความจำเป็นต้องลากหรือยึดเข้ากับรถเทรลเลอร์ ช่องดังกล่าวจะถูกใช้เพื่อเสียบกับหูลากจูงที่เก็บรวมไว้กับชุดเครื่องมือฉุกเฉินท้ายรถ ซึ่งฝาปิดจะช่วยให้เนียนกลืนไปกับกันชนของรถ

การลากจูงรถ ควรทำการลากแบบยกล้อลอยเพื่อป้องกันความเสียหายกับชุดเกียร์อัตโนมัติ โดยจะยกล้อที่ใช้ขับเคลื่อนขึ้นจากพื้น ระบบเกียร์จึงไม่มีการขยับให้เกิดความเสียหาย แต่กรณีจำเป็นต้องลากจูงด้วยเชือกจริงๆ ก็ควรใช้ความเร็วต่ำไม่เกิน 40 กม./ชม. เป็นระยะทางต่อเนื่องไม่เกิน 30 กิโลเมตร หากเกินกว่านั้นควรหยุดพักเพื่อลดความร้อนของชุดเกียร์ และตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์เป็นระยะด้วย

กรณีเป็นรถเกียร์ธรรมดา สามารถเข้าเกียร์ว่าง (N) ตามปกติ แล้วจึงลากจูงได้โดยไม่สร้างความเสียหายกับระบบส่งกำลังแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี ในกรณีรถเสียจนไม่สามารถขับต่อไปได้ ควรใช้วิธียกขึ้นรถสไลด์ทั้งคัน แม้ว่าจะมีค่าบริการแพงที่สุด แต่จะช่วยตัดปัญหาเรื่องความเสียหายที่มีต่อชุดเกียร์และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างลากจูงได้ครับ

สำหรับวิธีการขนย้ายโดยรถยก

จะเริ่มจากการยกรถยนต์ที่เสียหายขึ้นบนรถบรรทุกขนาดใหญ่ ขึ้นไปวางทั้งคัน เหมือนเราจอดทิ้งไว้บนถาดสไลด์ ช่วยให้ช่วงล่างของรถยนต์ไม่สึกหรอ พร้อมกับยกรถทั้งคันไปยังจุดหมายปลายทาง

เพื่อให้รถยนต์ปลอดภัยสูงสุดการดูแลรถยนต์เกียร์ธรรมดาควรปลดเบรคมือ ใส่เกียร์ว่าง ส่วนรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ จะต้องให้ทำการปลดเบรคมือออกก่อน เลื่อนเกียร์ไปที่เกียร์ว่าง พร้อมกับดับเครื่องยนต์ก่อนขนย้าย เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย

‘รถยก’ สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้บริการ
การให้บริการแบบที่มืออาชีพเขาทำกัน
ในการให้บริการ รถยก ก็มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าด้วยเช่นกันนั่นคือ ในเรื่องของความเร็ว และความปลอดภัย

ความเร็ว หมายถึง ผู้ให้บริการจะต้องพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อได้รับการติดต่อจากลูกค้าต้องสามารถออกเดินทางได้ทันที และเดินทางไปถึงจุดที่นัดหมายกับลูกค้าให้เร็วที่สุด

ความปลอดภัย หมายถึง การดูแลทรัพย์สินหรือรถยนต์ของลูกค้าให้ดี ไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมกว่าที่เป็นอยู่ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องรับผิดชอบอย่างดีที่สุด

เกี่ยวกับเครื่องหมายเครื่องมือในการยกรถก็มีการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือให้มีความทันสมัยมากขึ้นเช่นกัน ไม่ใช่ว่าเป็นเพียงรถคันใหญ่ๆ ที่มีเครนหรือแม่แรงห้อยอยูท้ายรถแค่นั้น หรืออย่างในรถสไลด์ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเพียงรถสไลด์แล้วจบอยู่แค่นั้น

ปัจจุบันผู้ให้บริการ รถยก หลายรายที่พัฒนาเครื่องมือหรือรถยกให้ดีขึ้น โดยในส่วนของการยกแบบช้อนล้อ จะมีการปรับไปใช้ระบบไฮโดรลิคทั้งหมด หรือในรถสไลด์จะมีการปรับปรุงถาดรับรถจากที่สามารถเลื่อนออกมารองรับรถได้แบบ 45 องศา ปัจจุบันมีแบบถาดนอน ที่สามารถเลื่อนลงไปอยู่ระนาบกับพื้นได้เลย มีข้อดีคือ ช่วยลดความเสี่ยงที่รถจะเกิดการลื่นไถลขณะนำรถขึ้นถาดรับรถ เนื่องจากรถที่ต้องใช้บริการรถสไลด์ส่วนใหญ่เป็นรถที่มีปัญหาในการขับเคลื่อน หลายๆ คันไม่สามารถที่จะขับขึ้นได้แบบปกติ การลากหรือดึงรถขึ้นถาดที่มีมุมเอียงอาจมีความเสี่ยงที่รถจะลื่นหรือไถลตกลงมาได้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้บริการ รถยก
ในเหตุการณ์เฉพาะหน้า โดยเฉพาะเวลากลางคืนในทางสายเปลี่ยว เราอาจไม่มีเวลาหรืออารมณ์ที่จะเลือกว่าจะใช้บริการกับใคร แต่หลังจากอ่านข้อมูลนี้แล้ว อาจหาข้อมูลของผู้ให้บริการที่น่าจะมีความเป็นมืออาชีพแล้วจดเบอร์เก็บไว้ก่อนก็ได้ สิ่งที่ควรรู้ซึ่งจะแนะนำต่อไปนี้บางอย่างเป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น

– มีระบบ GPS ในการตรวจสอบรถที่ให้บริการ การใช้ GPS ของผู้ให้บริการใช้เพื่อวัตถุประสงค์สำคัญ 2 อย่างคือ เพื่อให้คนขับเดินทางไปถึงลูกค้าโดยเร็วที่สุด และใช้เพื่อควบคุมความเร็วขณะที่ยกรถของลูกค้าอยู่ ความเร็วที่ปลอดภัยที่สุดในการยกรถไม่ควรเกิน 80 กม./ชม. เนื่องจากเป็นความเร็วที่ไม่ช้าจนเกินไป และสามารถที่จะควบคุมรถได้หากมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น

– รถกระบะรุ่นใหม่ๆ ไม่ควรยกแบบช้อนล้อ เป็นอีกหนึ่งคำแนะนำที่ผมได้รับจากพี่เจ้าของกิจการรถยกบอกกล่าวให้ทราบว่า รถกระบะรุ่นใหม่ๆ จะมไีมีคาดขวางด้านหน้าที่เชื่อมระหว่างแชสซีทั้ง 2 ข้าง หากลากแบบช้อล้อ แรงดึงและแรงฉุดลากอาจทำให้หม้อน้ำหรือส่วนของเครื่องยนต์เสียหายได้ ควรจะยกขึ้นรถสไลด์เท่านั้น

ติดต่อสอบถาม