สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำความรู้จัก 5 องค์ประกอบหลักของรถ  (อ่าน 6845 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
ทำความรู้จัก 5 องค์ประกอบหลักของรถ
« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2022, 08:27:31 AM »
ทำความรู้จัก 5 องค์ประกอบหลักของรถ
รถยนต์เเบ่งได้เป็น2 ส่วน คือ
-ส่วนประกอบภายใน และ
-ส่วนประกอบภายนอก
ส่วนประกอบภายในประกอบด้วย ระบบเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ช่วงล่าง ไฟฟ้าเครื่องยนต์ ไฟฟ้าตัวถัง เเละส่วนประกอบภายนอก ประกอบด้วย ตัวถังรถ เเละยาง
องค์ประกอบภายในของรถยนต์
องค์ประกอบของรถยนต์
แบ่งออกเป็น 5 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1.ระบบเครื่องยนต์
2. ระบบส่งกำลัง
3. ช่วงล่าง
4. ไฟฟ้าเครื่องยนต์ และ
5. ไฟฟ้าตัวถัง
เรามาดูรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละหัวข้อกัน
1...ระบบเครื่องยนต์ตัวสร้างพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์ ระบบเครื่องยนต์ที่มีในท้องตลาดแบ่งตามกำลังขับเคลื่อนได้ 5 ประเภทคือ
1.1 ระบบเครื่องยนต์น้ำมันเบนซิน (แก๊สโซลีน)
1.2ระบบเครื่องยนต์น้ำมันดีเซล
แบ่งโดยประเภทของน้ำมัน คงเป็นระบบที่คนทั่วไปรู้จักกันดีอยู่แล้ว แม้แต่คนที่ไม่ได้มีรถเป็นของตัวเอง เราดูประเภทต่อไป
1.3รถไฮบริดจ์ (Hybrid Vehicle) เป็นรถที่มีแหล่งกำเนิดของพลังงานมากกว่า 1 แห่ง มีต้นกำเนิดมาจากความพยายามที่จะรวมข้อดีของแหล่งพลังงานและหลีกเลี่ยง หรือ ขจัดข้อเสียของแหล่งพลังงานแต่ละประเภททิ้งไป รถ Hybrid จึงมีความแตกต่างกัน เช่น บางครั้งใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากับเครื่องยนต์ประเภทเผาไหม้ภายใน บางประเภทก็ใช้เครื่องยนต์กับล้อช่วยแรง หรือ มอเตอร์ไฟฟ้ากับล้อช่วยแรง หรือ กังหันแก๊สกับล้อช่วยแรง ทุกประเภทจัดเป็นรถไฮบริดจ์ทั้งสิ้น
1.4รถพลังงานไฟฟ้า (EV) ใช้ไฟฟ้าช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนแทนน้ำมัน
1.5รถฟูเอลเซลไฮบริดจ์ (Fuel cell hybrid vehicle) เป็นนวัตกรรมล่าสุดของรถยนต์ที่ ใช้ไฮโดรเจนสร้างกระแสไฟฟ้า
2..ระบบส่งกำลัง เป็นการถ่ายทอดการหมุนของเครื่องยนต์ไปยังล้อเพื่อให้เคลื่อนที่ได้ โดยต้องผ่านส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์หลายชุด มีชุดคลัตช์ (Clutch), ชุดเกียร์ (Transmission), เพลาขับ (Drive shaft), ชุดเฟืองท้าย (Differential), เพลา (Axle), ล้อ (Wheel)
ในรถยนต์ ที่เป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า จะมีเพลาขับต่อออกจากชุดเฟืองท้ายไปหมุนล้อโดยตรง ซึ่งในเรื่องของระบบส่งกำลังนี้ ในรถยนต์ต่างบริษัทผู้ผลิตก็อาจมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ส่งกำลังหมุนจากเครื่องยนต์ไปที่ล้อเพื่อให้รถเคลื่อนที่ได้
วิธีทำงานของระบบส่งกำลังนั้น จะเริ่มต้นที่มีการหมุนของเครื่องยนต์ ซึ่งมีข้อเหวี่ยงเชื่อมต่อกับแกนตรงเพลารถ แกนต่อดังกล่าวยึดกับล้อช่วยแรง (Fly Wheel) พอเครื่องยนต์หมุน ล้อช่วยแรงก็หมุนไปด้วย โดยชุดคลัตช์ (Clutch) ที่ติดตั้งอยู่ในระบบ จะช่วยรับแรงหมุนนี้ ส่งไปยังเพลาคลัตช์ (Clutch shaft) เข้าไปสู่ห้องเกียร์ (Transmission) ส่วนภายในห้องเกียร์ ก็จะมีฟันเฟืองโลหะหลายขนาด ตามความเหมาะสมของความเร็วที่ต้องการใช้
3..ช่วงล่าง เป็นระบบรองรับน้ำหนักตัวถังรถ เพื่อเพิ่มความสมดุล ระบบช่วงล่างนี้ถูกออกแบบให้รับแรงกระแทกและความสะเทือนขณะขับขี่ไปบนถนนที่ไม่ได้เรียบสม่ำเสมอ ระบบนี้ทำให้ขณะขับผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถได้ดี เนื่องจากช่วงล่างนี้เองเป็นตัวควบคุมการขับ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยว การหยุดรถ โดยผ่านอุปกรณ์ 4 ประการต่อไปนี้
3.1 ระบบรองรับดุมล้อ การมีระบบนี้ มีประโยชน์คือ ลดแรงสะเทือนที่เกิดจากยางรถ เช่น สปริง โช้คอัพซอพเบอร์ เหล็กกันโคลง
3.2 ลูกหมากบังคับเลี้ยว ล้อด้านหน้าของรถถูกบังคับเลี้ยวด้วยระบบพวงมาลัย มี 2 แบบคือ
– แบบเฟืองขับและเฟืองสะพาน (แร็คแอนด์พีเนียน) ใช้การหมุนพวงมาลัยบังคับให้มีการเคลื่อนไปทางซ้ายหรือขวาของเฟืองสะพาน แบบนี้มีโครงไม่ชับซ้อน น้ำหนักเบา แต่มีประสิทธิภาพในการบังคับเลี้ยวได้แม่น
– แบบลูกปืนหมุนวน ระบบนี้ชับซ้อนกว่าแบบเฟือง เพราะมีลูกบอลระหว่างเพลาตัวหนอนและเพลาขวางอยู่จำนวนมาก
3.3 ระบบเบรกชลอหรือหยุดการเคลื่อนที่ของรถ ทั่วไปมีเบรก 2 ประเภท คือ
– เบรกเท้า มักใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า ส่วนล้อหลังอาจเป็นดิสก์เบรกหรือดรัมเบรก ส่วนประกอบมีแป้นเหยียบ หม้อลม แม่ปั๊ม วาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก ดิสก์เบรก ดรัมเบรก
– เบรกมือ เป็นกลไกเบรกเพื่อล็อกล้อหลัง มักใช้กันรถไหลเวลาจอดในที่ไม่เสมอ ป้องกันไปชนรถคันอื่น จะต้องมีการปรับตั้งก้านดึงเบรกมืออยู่เสมอ
4..ไฟฟ้าเครื่องยนต์ ในที่นี้หมายถึงระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์เท่านั้น ซึ่งมีตั้งแต่ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ทำหน้าที่หมุนเครื่องยนต์ และรักษาการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบไฟชาร์ทซึ่งจ่ายไฟให้แบตเตอรี่ เพื่อให้แบตเตอรี่จ่ายไฟไปที่ชิ้นส่วนที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ระบบจุดระเบิดทำการจุดส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ เพื่อให้เกิดแรงผลักดันในเสื้อสูบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ตลอดจนชิ้นส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสตาร์ทเครื่องยนต์และช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้ราบรื่น
หน้าที่ของชิ้นส่วนประกอบในระบบไฟฟ้า มีดังต่อไปนี้
 แบตเตอรี่รถยนต์จ่ายกระแสไฟแรงต่ำไปยังคอยล์จุดระเบิด ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนไฟฟ้าต่างๆในรถ
มอเตอร์สตาร์ท (ระบบสตาร์ท) เป็นระบบเพื่อให้สตาร์ทเครื่องยนต์ได้
อัลเทอร์เนเตอร์(ระบบไฟชาร์ท) เป็นระบบจ่ายไฟฟ้าเพื่อใช้ในรถ รวมถึงในการชาร์จแบตเตอรี่ด้วย
คอยล์จุดระเบิด (ระบบจุดระเบิด) คือระบบที่จุดระเบิดส่วนผสมเชื้อเพลิงกับอากาศ
สวิตช์จุดระเบิด สวิตช์หลักของรถ
ไฟเตือนไฟชาร์จ คอยเตือนเวลาชาร์จไฟไม่ได้
เซ็นเชอร์ต่างๆ ตรวจจับอุณหภูมิน้ำ หรือความเร็วเครื่องยนต์ส่งไปยังECU
5...ไฟฟ้าตัวถัง  ส่วนประกอบของไฟฟ้าตัวถัง ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวถังรถยนต์ ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น สวิตช์และรีเลย์ ระบบไฟและหลอดไฟส่องสว่าง มาตรวัดรวมและเกจต่างๆ ที่ปัดน้ำฝนและน้ำล้างกระจก ระบบปรับอากาศ ตัวถังรถ เป็นต้น

ติดต่อสอบถาม