สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการรีโนเวทบ้านแบบง่ายๆ แค่รู้จักปรับและเปลี่ยนก็ลงตัวแล้ว  (อ่าน 4653 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
หลักการรีโนเวทบ้านแบบง่ายๆ แค่รู้จักปรับและเปลี่ยนก็ลงตัวแล้ว

เรายังมีทางเลือกที่หลายคนมองข้าม หลักการรีโนเวทแบบง่ายๆ ต่อเติมด้วยงบประมาณราคาถูก แค่รู้จักการใช้ “ไอเดีย” ให้เกิดประโยชน์ ปรับและเปลี่ยนบางจุดของบ้านให้ต่างไปจากเดิม เท่านี้เราก็จะได้บ้านหลังใหม่ที่น่าอยู่ราวกับการรีโนเวทได้เลยทีเดียวค่ะ

เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานของบ้านให้น่าอยู่
เริ่มต้นที่การปรับเปลี่ยนตัวบ้านให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้ดูน่าใช้งานและหลากหลาย จัดระเบียบเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ให้ต่างออกไปจากเดิม อะไรที่ไม่ได้ใช้งานแล้วหรือใช้งานเพียงน้อยนิดให้หยิบยกเอาไปไว้ในซอกหลืบที่ลับตา ปรับแต่งเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ให้ดูเชื่อมโยงกับตัวห้องมากที่สุด แต่งเติมส่วนต่างด้วยการสร้างจังหวะให้ดูไม่ซ้ำเดิม เฟอร์นิเจอร์บางอันที่เก่ามากเกินไป หากมีงบประมาณเพียงพอก็ลองรื้อทิ้งและเปลี่ยนตัวใหม่ โดยเน้นที่ความเรียบง่ายในการใช้งาน ทว่าหลากหลายประโยชน์ในหนึ่งเดียว

\

ซ่อมแซมบางส่วนที่ชำรุดเสียหาย
บ้านที่มีอายุการใช้งานมายาวนานมักจะต้องเผชิญกับปัญหาการชำรุดเสียหายจนทำให้เกิดความเสื่อมสภาพและปัญหาน่าปวดหัวตามมา เพื่อปรับแต่งให้บ้านดูสมบูรณ์แบบ ควรสังเกตสภาพของบ้านโดยรวมทั้งภายใน ภายนอก พื้นบ้านไปจนถึงส่วนของหลังคาว่ามีตรงไหนที่ควรเข้าไปซ่อมแซมจัดการหรือไม่ โดยส่วนใหญ่บ้านที่สร้างมานาน สีบ้านจะซีดจางและเกิดการลอกล่อน เพียงแค่ทำการขัดสีเก่าออกและลงสีรองพื้นและทาสีใหม่ทับลงไป หรือส่วนไหนที่มีรอยแตกร้าว ให้ใช้ยาแนวเข้ามาอุดรอยรั่วนั้นไว้ ส่วนของวัสดุที่แตกหักเสียหาย หากเปลี่ยนได้ให้นำชิ้นใหม่มาเปลี่ยนแก้ไข ส่วนอันไหนที่ต้องรื้อขนานใหญ่ก็ให้หาเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งมากั้นไว้แทน

ลองปรับเปลี่ยน Layout ใหม่
เมื่อมีการรีโนเวทบ้าน เป็นปกติที่จะต้องมีการทุบ รื้อ ของเก่าออก ยิ่งรื้อมากค่าใช้จ่ายจะยิ่งมากตาม ทั้งค่าในจ่ายในการทุบรื้อและค่าใช้จ่ายที่ต้องทำใหม่ ก่อนรีโนเวทจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาผังบ้านอย่างละเอียด ซึ่งอาจต้องคิดทบทวนกันหลาย ๆ สมการ เพื่อลดการทุบรื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ผู้วางผังใหม่อิงเสาและคานเดิม จากนั้นค่อย ๆ พิจารณาดูว่า หากอิงตำแหน่งเสาและคานเดิมแล้วจะสามารถเปลี่ยนผังในรูปแบบใดได้บ้าง โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนเฉพาะผนังภายในก่อน ส่วนภายนอกเฉพาะกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
ตัวอย่างผังบ้านโครงการเก่าแห่งหนึ่ง เจ้าของบ้านต้องการปรับฟังก์ชันภายในบ้านใหม่ เพิ่มขนาดห้องครัวและปรับพื้นที่ชั้นล่างของบ้านใช้เป็น Home Office เดิมทีเจ้าของบ้านต้องการรื้อใหม่ค่อนข้างมาก ทั้งดีไซน์หน้าบ้าน ย้ายบันได ขยายครัว ย้ายห้องน้ำหรือเรียกโดยรวมว่าทุบชั้นล่างใหม่ทั้งหมด แต่จากการพูดคุยค่อย ๆ ไตร่ตรองถึงฟังก์ชันการใช้งานจริง สถาปนิก Punplan ปรับผังใหม่ให้จบในแบบ 4-5 รอบ สุดท้ายได้ผังบ้านที่ใกล้เคียงของเดิมมากครับ มีการรื้อผนังเดิมแค่บางส่วน ช่วยให้ประหยัดค่ารีโนเวทไปได้หลายแสนบาทเลยครับ

กลมกลืนกับเพื่อนบ้าน อย่าเป็นบ้านที่แปลกแยก
หัวข้อนี้จะไม่รวมถึงบ้านเดี่ยวที่อยู่อาศัยนอกโครงการ แต่จะหมายถึงเฉพาะบ้านภายในโครงการจัดสรร ที่โดยปกติจะมีแบบบ้านเดียวกันหรือสไตล์เดียวกัน ทำให้บริบทภายในโครงการดูกลมกลืนซึ่งกันและกัน และจุดเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความสวยงามครับ การรีโนเวทบ้านที่มีผลกระทบกับดีไซน์ภายนอก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกสไตล์บ้าน โทนสี ให้อิงกับหมู่บ้านเดิม ซึ่งปัจจุบันนวัตกรรมสีและวัสดุก่อสร้างมีให้เลือกใช้งานเยอะมาก หากไม่ชอบสีบ้านหลังเดิม เจ้าของบ้านยังสามารถเลือกสีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้อย่างหลากหลาย
ที่กล่าวมาเช่นนี้ ไม่ได้บอกว่าห้ามทาสีอื่น ๆ นะครับ เราสามารถเลือกสีที่ไม่ดูเปรียบต่างจนเกินไปได้ หรือหากให้ปลอดภัยที่สุดแนะนำโทนสีกลาง ๆ อย่างสีขาว เทา กลุ่มสีเอิร์ธโทน ส่วนกลุ่มสีที่ต้องระมัดระวังคือสีที่มีความฉูดฉาด โดดเด่น สีเหล่านี้มักส่งผลกระทบให้ภาพรวมของโครงการดูไม่งามตา นิติบุคคลที่ดีจึงจำเป็นต้องมีกฎกติการ่วมกัน เพื่อให้ภาพรวมของโครงการยังคงดูสวยงามอยู่เสมอ

ไม่กีดขวางทางลมบ้านข้างเคียง
ปัญหานี้พบได้บ่อยในการรีโนเวทบ้านทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮมและบ้านแฝด ด้วยลักษณะของบ้านประเภทดังกล่าวนิยมออกแบบให้มีพื้นที่ว่างหน้าบ้านประมาณ 5-6 เมตร เป็นพื้นที่โรงจอดรถ ซึ่งหากต่อเติมแค่หลังคาโรงจอดรถก็คงไม่เป็นปัญหากันครับ แต่ปัจจุบันเกิดค่านิยมใหม่ ทำการต่อเติมสร้างอาคารแนวสูงเท่ากับตัวบ้านมาถึงขอบรั้วบ้าน ส่งผลกระทบให้เกิดการบดบังวิสัยทัศน์ บดบังลมและแสงแดดของอาคารข้างเคียง แน่นอนว่าการปรับปรุงครั้งนี้จะทำให้บ้านที่รีโนเวทใหม่เกิดความโดดเด่น สวยงาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า บ้านข้างเคียงได้รับผลกระทบไปโดยทันที การปรับปรุงที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาผลกระทบอย่างรอบคอบ คิดถึงใจเขา ใจเรา อะไรที่ดูโดดเด่นมากเกินไปก็อาจจะไม่ดีได้เช่นกันครับ

วัสดุเบาได้ ย่อมเบาใจ
การรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคารเป็นส่วนสำคัญในการรีโนเวท หากต้องเพิ่มปริมาณก้อนอิฐก้อนปูนจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบให้โครงสร้างเดิมต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป การปรับปรุงรีโนเวทจึงควรเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพื่อป้องกันการแบกรับน้ำหนักที่มากเกินโครงสร้างเดิมจะรองรับได้ ตัวอย่างเช่น ผนังภายในบ้าน เหมาะกับเลือกใช้ผนังเบาแทนการใช้ผนังก่ออิฐฉาบปูน, การตกแต่งผนังให้เลือกตกแต่งด้วยวัสดุปิดผิวทดแทน เช่น กรณีต้องการผนังลายหินอาจเลือกใช้แผ่นลามิเนตตกแต่งผิวลายหินแทนการใช้แผ่นหินจริง ปัจจุบันมีลวดลายและผิวสัมผัสที่เสมือนวัสดุจริงให้เลือกเยอะมากครับ มองผ่าน ๆ แทบจะแยกไม่ออกเลย
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง จะเหมาะกับนำโครงสร้างเหล็กมาใช้ร่วมในงานรีโนเวท หรือหากต้องการลงเสาเข็มในพื้นที่แคบ ปัจจุบันมีเข็มเหล็กช่วยอำนวยความสะดวกไปได้มากครับ โดยรวมแล้วนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างในยุคนี้ ผลิตให้มีน้ำหนักเบาค่อนข้างมาก ก่อนรีโนเวทจึงลองค้นหาวัสดุใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดภาระให้กับโครงสร้างได้จะยิ่งดี

แต่งภายในบ้านใหม่ อาจไม่ต้องทุบ
เมื่อคิดถึงการรีโนเวท เรามักคิดถึงหน้าตาบ้านที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ความจริงแล้วการรีโนเวทคือการปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยเดิมให้เกิดความสวยงาม ใช้งานสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งการตกแต่งเฉพาะภายในบ้านใหม่ อาจทำได้ง่ายและตอบโจทย์กว่าการรีโนเวทก็เป็นไปได้ครับ กรณีมีการทุบรื้อเจ้าของบ้านต้องพึ่งพาสถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา เปลี่ยนมาเป็นพึ่งพาอินทีเรียดีไซน์เนอร์ ให้อินทีเรียทำการเนรมิตพื้นที่กล่องสี่เหลี่ยมเดิม ๆ ให้กลายเป็นพื้นที่ในฝันที่ตอบโจทย์การใช้งานในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจจะช่วยให้ประหยัดงบในการปรับปรุงบ้าน และสร้างความสวยงาม น่าอยู่ ได้ดีกว่าทุบรื้อบ้านใหม่อีกครับ
หรือสิ่งที่ง่ายที่สุดที่สามารถทำได้ทันที คือการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ ทาสีใหม่ แก้ไขจุดที่ชำรุดเป็นจุด ๆ ไป เมื่อแก้ไขจุดเก่า ๆ ครบแล้ว อาจจะทำให้เปลี่ยนใจไม่อยากทุบรื้อบ้านก็เป็นไปได้ครับ

หน้ากากใหม่ ในบ้านหลังเดิม
อีกหนึ่งแนวคิดที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในปีนี้ คือการเปลี่ยนโฉมหน้าตาบ้านใหม่โดยไม่ต้องทุบรื้อบ้านเก่าออก เป็นวิธีการครอบบ้านหลังเดิมเพื่อให้เกิดหน้าตาใหม่ แนวคิดการเปลี่ยนหน้าตาอาคารด้วยเปลือกภายนอกหรือที่เรียกกันว่า “facade” ได้รับความนิยมใช้ร่วมกับอาคารพาณิชย์มานานแล้วครับ แต่ปีนี้เราได้เห็นการนำมาใช้ร่วมกับบ้านพักอาศัยมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ผนังรับน้ำหนัก อันตรายห้ามทุบ
หลาย ๆ โครงการบ้านในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงการจากแบรนด์ใหญ่นิยมสร้างบ้านด้วยผนัง Precast เป็นผนังรับน้ำหนักแทนเสาบ้าน บ้านลักษณะนี้จะไม่มีเหลี่ยมมุมเสาภายในห้อง ช่วยให้การก่อสร้างบ้านที่มีแบบเดียวกันหลาย ๆ หลัง สร้างได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดต้นทุนก่อสร้างไปได้มาก ซึ่งหากรวบรวมคุณสมบัติของบ้านผนัง Precast นับเป็นบ้านที่ดีมีมาตรฐานในงานก่อสร้างสูงเลยครับ
แต่ข้อจำกัดของผนัง Precast เนื่องด้วยผนังเองมีหน้าที่รับน้ำหนัก จึงเปรียบเสมือนเสาคานของบ้าน กรณีมีการทุบรื้อผนังจึงมีผลกับโครงสร้างบ้านโดยตรง ผนัง Precast จึงไม่สามารถทุบรื้อได้ มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายถึงชีวิตได้เลยครับ ก่อนปรับปรุงรีโนเวทบ้านจึงควรปรึกษาวิศวกรที่มีความรู้ด้านโครงสร้างบ้านก่อนเสมอครับ

ทำให้ถูกกฎหมาย พรบ.ควบคุมอาคาร
บ่อยครั้งที่ผู้เขียนพบว่า การรีโนเวทบ้านมักมาพร้อมกับการละเมิดข้อกฎหมาย โดยจุดที่ทำผิด พรบ.ควบคุมอาคาร มากที่สุดคือระยะร่น กรณีเจ้าของบ้านต้องการต่อเติม หากผนังด้านนั้น ๆ มีช่องแสง ช่องเปิด จำเป็นต้องเว้นระยะร่นรอบบ้านอย่างน้อยด้านละ 2 เมตร หรือเว้นอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ในกรณีผนังปิดทึบไม่มีช่องแสงใด ๆ และต้องนำแบบบ้านส่วนต่อเติมขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเช่นเดียวกับการสร้างบ้านใหม่ครับ มิเช่นนั้น หากต่อเติมผิดกฎหมายและบ้านข้างเคียงร้องเรียน สิ่งที่ลงทุนต่อเติมไปแล้วอาจถูกรื้อถอนได้โดยทันทีครับ



ติดต่อสอบถาม


https://fl.lnwfile.com/_/fl/_raw/0e/xu/2d.jpg