สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Admin

หน้า: [1] 2 3 ... 73
1
วิธีปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยปูนกาวซีเมนต์ ทำเองได้แม้ไม่ใช่ช่างมือโปร !

สำหรับคนที่อยากปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยตัวเอง เพราะหากต้องจ้างทำราคาไม่ค่อยเป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์เท่าไร วันนี้กระปุกดอทคอมขอนำวิธีปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยตัวเองมาฝาก ซึ่งใช้ได้ทั้งการปูกระเบื้องผนังและพื้นห้องน้ำ ส่วนลำดับขั้นตอนในการปูกระเบื้องนั้นส่วนมากนิยมทำจากบนลงล่างคือ ปูกระเบื้องผนังก่อนปูกระเบื้องพื้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคนด้วยว่าจะปูตรงไหนก่อน
แต่ก่อนจะไปดูขั้นตอนการปูกระเบื้อง มาดูวิธีคำนวณจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้กันก่อน เริ่มจากคำนวณพื้นที่ = ความกว้างxความยาว จากนั้นก็หาจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้ด้วยสูตรคำนวณ พื้นที่/ขนาดกระเบื้องต่อแผ่น แล้วบวกเพิ่ม 10% ที่ควรจะซื้อมาเผื่อไว้สำหรับใช้แทนกระเบื้องที่ชำรุด เสียหายแตกหัก หรือต้องแก้งาน รวมถึงเก็บไว้ซ่อมแซมในภายหลัง พร้อมกับจดชื่อรุ่น สี และรหัสเอาไว้ใช้แจ้งพนักงานขายเมื่อจำเป็นต้องซื้อกระเบื้องเพิ่มด้วย

อุปกรณ์ปูกระเบื้องห้องน้ำ มีอะไรบ้าง
- กระเบื้อง
- ปูนกาว
- ปูนยาแนว
- ถังผสมปูน
- เกรียงหวี เกรียงโบกปูน และเกรียงยาแนว
- ลูกหมูตัดกระเบื้องหรือมีดตัดกระเบื้องส่วนเกิน
- อุปกรณ์เว้นร่องกระเบื้อง
- กระดาษทราย
- ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดผนัง
- ดินสอ

วิธีปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยตัวเอง
1. เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน พร้อมเลือกซื้อกระเบื้องผนังที่มีลวดลายตามต้องการ อย่าลืมเผื่อสำหรับการชำรุดเสียหายและการตัดกระเบื้องด้วย โดยพยายามซื้อกระเบื้องทั้งหมดให้อยู่ในล็อตเดียวกัน เพราะการซื้อแยกทีหลัง อาจทำให้สีของกระเบื้องแตกต่างไปจากเดิมตามแต่ละสต็อกได้

2. ปรับระดับผนังให้เรียบเสมอกันและทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมออกให้เกลี้ยง เพราะถ้ายังมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเกาะตอนติดกระเบื้อง จะทำให้กาวซีเมนต์ยึดเกาะไม่แน่น

3. ลองนำกระเบื้องวางทาบบนผนังเพื่อกำหนดขนาดและจำนวน จากนั้นวาดเส้นตรงใต้กระเบื้องเพื่อร่างเส้นแถวให้ตรงกัน

4. ผสมปูนกาวตามคู่มือให้มีลักษณะเหนียวพอดี ไม่จำเป็นต้องผสมเยอะมาก พยายามคำนวณให้ใช้หมดภายในหนึ่งชั่วโมง ไม่เช่นนั้นปูนกาวจะแห้งและไม่ได้ประสิทธิภาพ

5. จับเกรียงหวีด้านเรียบป้ายปูนกาวลงบนผนัง จากนั้นจับเกรียงหวีด้านร่องปาดทับด้วยการถือเกรียงหวีให้ได้มุม 45-60 องศา

6. ปาดปูนกาวซีเมนต์หลังกระเบื้อง แล้ววางแผ่นกระเบื้องลงไป ทั้งนี้การปูกระเบื้องควรปูแบบเต็มแผ่น มากกว่าปูกระเบื้องแบบซาลาเปาหรือการใช้ปูนพอกเป็นก้อนโปะหลังกระเบื้อง ถึงแม้การปูแบบซาลาเปาจะรวดเร็วและทำง่ายกว่า แต่การเกาะยึดน้อย นอกจากนี้ยังมีช่องว่างที่ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปได้ เกิดความชื้นสูงและมีโอกาสเกิดกระเบื้องระเบิดได้ ที่สำคัญจุดที่ไม่มีปูนช่วยรองรับน้ำหนักยังเสี่ยงต่อการแตกหักง่ายอีกด้วย

7. ใช้ค้อนยางเคาะเบา ๆ เพื่อให้เกาะยึดแน่นขึ้น

8. ใช้อุปกรณ์จัดแนวกระเบื้อง (Spacer) ช่วยเว้นระยะห่างของกระเบื้อง ประมาณ 2 มิลลิเมตร สำหรับลงยาแนวและทำให้แผ่นกระเบื้องเรียงเป็นแนวเดียวกันอย่างสวยงาม และใช้ระดับน้ำวัดความลาดเอียงของกระเบื้อง

9. เมื่อปูเต็มพื้นที่แล้ว ตัดกระเบื้องตามขนาดพื้นที่ที่ยังเหลืออยู่มาปูเพิ่ม จัดกระเบื้องให้สวยงามตามแนวที่ต้องการ และปล่อยให้แห้งสนิทประมาณ 1-2 วัน พร้อมนำตัวเว้นร่องกระเบื้องออก แล้วค่อยลงยาแนว

10. ผสมยาแนวตามคู่มือ จากนั้นนำเกรียงโบกปูนหรือเกรียงยาแนวป้ายและปาดลงไปในร่องกระเบื้องให้เต็ม หมั่นเช็ดคราบส่วนเกินที่เลอะออกเป็นระยะ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานจนคราบแห้ง ไม่เช่นนั้นยาแนวจะแข็งติดกระเบื้อง เช็ดออกได้ยาก รอให้ยาแนวแห้งสนิท เสร็จแล้วทำความสะอาดให้สวยงาม เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ

ปูกระเบื้องห้องน้ำทับกระเบื้องเดิม ได้ไหม
สามารถปูกระเบื้องห้องน้ำทับกระเบื้องเดิม แต่การปูกระเบื้องแบบนี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะแม้จะสะดวกและใช้งบน้อยกว่า แต่อาจจะมีปัญหาตามมาในภายหลังได้ หากโครงสร้างพื้นปูกระเบื้องเดิมไม่แน่น การยึดเกาะไม่ดี กระเบื้องชำรุด ความลาดเอียงของพื้นไม่ได้มาตรฐาน หรือคำนวณแล้วพื้นสูงกว่าวงกบประตู ซึ่งการปูกระเบื้องด้วยวิธีนี้ควรให้ช่างเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ก่อนจะดีกว่า และที่สำคัญควรใช้ปูนกาวซีเมนต์ที่ใช้กับการปูทับกระเบื้องเดิมเท่านั้น

ติดต่อสอบถาม   



2
วิธีทำความสะอาดและลงยาแนวใหม่ ให้ห้องน้ำสะอาดใสไร้ร่องดำ !

ขั้นตอนกำจัดคราบราดำตามร่องกระเบื้อง และวิธีการลงยาแนวกระเบื้องห้องน้ำด้วยตัวคุณเอง ถ้าอยากรู้ว่าลงยาแนวฝีมือเราเองเป็นอย่างไรไปลองทำกันเลย
ในเมื่อตัดสินใจปูพื้นห้องน้ำด้วยกระเบื้องไปแล้วก็ต้องดูแลดีเลย ทุกเมื่อที่เราเผลอเลอเรื่องของความสะอาด เจ้าเชื้อราดำเตรียมจับจ้องที่จะมาก่อตัวตามซองพื้นกระเบื้องในทันที แต่หากใครที่กำลังเจอกับปัญหาราบุกพื้นกระเบื้องอยู่ละก็ ต้องมาดูเทคนิคการทำความสะอาดคราบราและลงยาแนวกระเบื้องซะใหม่ด้วยตัวคุณเอง

1. ทำความสะอาดผิวหน้ากระเบื้องก่อน
- ลงน้ำยาทำความสะอาดและขัดคราบรา
อย่างไรก็ขอให้ฆ่าเชื้อราให้ตายสนิทซะก่อน ด้วยผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดที่เราไว้วางใจ พร้อมกับใช้แปรงขัดหัวไนลอนหรือหาผ้าเนื้อหยาบมาขัดทุกซอกทุกมุมของกระเบื้อง ให้เชื้อราต้องโบยมือลาไป โดยเฉพาะตามพื้นที่เป็นมุมและซอกหลืบที่มองไม่ค่อยเห็น

- ลอกยาแนวเก่าออกด้วยหัวขัดเพชร
ตัวช่วยในการลอกยาแนวเก่าออกคือ หัวเจียรเพชร หรือที่เรียกกันว่า ไดมอนด์คาร์ไบด์ (diamond carbide) ซึ่งในขั้นการนำเครื่องนี้มาเซาะคราบยาแนวเก่าออกต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้ามือไม่นิ่งปล่อยให้เครื่องลื่นไถลจนเกิดรอยก็เป็นได้ และในระหว่างที่เรากำลังทำความสะอาดอยู่นั้นพื้นจะต้องเปียกน้ำอยู่เสมอ หากยาวแนวแข็งมากเซาะยากใช้น้ำร้อนราดจะช่วยคุณได้ เสร็จแล้วก็ปัดเศษยาแนวด้วยแปรงพลาสติก เลี่ยงการแปลงแข็งเพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วน

2. วิธีลงยาแนวใหม่
- ล้างเศษคราบยาและเช็ดให้แห้ง
กวาดล้างเศษคราบยาแนวเก่าที่เราเพิ่งเซาะออกให้เกลี้ยง แล้วใช้ผ้าเช็ดจนมั่นใจได้ว่าพื้นแห้งสนิท แล้วผสมยาแนวให้มีลักษณะเหมือนครีมเหนียว ๆ ข้น ๆ

- ลงปูนยาแนวตามร่องกระเบื้อง
นำปูนยาแนวที่เราเลือกซื้อมานั้น จัดการปาดลงไปตามร่องกระเบื้องทุกแผ่นให้เรียบร้อยทีละส่วน เพราะสามารถเกลี่ยได้ง่ายกว่าโปะยาแนวลงไปทีละเยอะ ๆ ก่อนยาแนวจะแข็งตัว แต่ก็อย่าลืมเช็กด้วยว่ายาแนวจับตัวกันดีและเกลี่ยจนทั่วแล้วหรือยัง จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที ก็จะแห้งสนิท

- ถูฟองน้ำให้ปูนยาแนวอยู่ตัว
ในขั้นตอนนี้ต้องประณีตกันหน่อย ใช้ฟองน้ำแบบนุ่มชุบน้ำแล้วก็บรรจงเช็ดลงบนผิวหน้ากระเบื้องไปเรื่อย ๆ จนกว่าร่องยาแนวและกระเบื้องจะสะอาด ในระหว่างนี้ควรนำฟองน้ำจุ่มน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เพื่อให้ง่ายต่อความสะอาดและไม่ทิ้งคราบ เสร็จแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง 20 นาที หากจะให้ดีก็ควรสวมถุงมือด้วยนะคะ

- ขัดความมัวหมองออกจากกระเบื้อง
หลังจากที่ต้องทิ้งไว้ให้พื้นแห้งนั้น พื้นกระเบื้องจะถูกฝุ่นตามอากาศหรือคราบยาแนวที่หลงเหลือเกาะอยู่ ฉะนั้นให้ใช้ผ้าบาง ๆ หรือเสื้อยืดเก่า ๆ มาขัดรอยหมองออก แต่ถ้าเป็นคราบหนาที่เกาะอยู่แนะนำให้ใช้แผ่นพลาสติกเซาะออกได้ และต้องระวังอย่าให้โดนต้องร่องยาแนวเข้าจนหลุดออก

- ทาซ้ำด้วยน้ำยาเคลือบยาแนวชนิดกันเชื้อรา
ก่อนอื่นก็ต้องทำให้พื้นแห้งก่อนไม่เช่นน้ำยาเคลือบยาแนวจะไม่ติดตามร่อง เพราะมันทั้งลื่นเป็นน้ำมันและเปียกในคราวเดียวกัน จากนั้นค่อย ๆ ลงน้ำเคลือบยาแนวตามร่องกระเบื้อง หรือรอบคอก๊อกน้ำ เพื่อป้องกันน้ำซึมจนจนเกิดความชื้นและมีเชื้อราตามมา แถมยังช่วยให้ทำความสะอาดง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย

- ลงผงขัดกระเบื้องให้เงางามทุกมิติ
และแล้วก็เดินทางมายังขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะทำให้กระเบื้องของเราเงางามสวยทุกมุมมอง หลังจากทำยาแนวกระเบื้องไปแล้ว 3-7 วัน ให้นำอุปกรณ์ช่วยขัดเงากระเบื้องหรือผงขัดเงากระเบื้องมาลงซ้ำอีกที เพื่อขัดความเงางามให้เหมือนช่างมืออาชีพมาเอง

เห็นไหมละคะว่างานช่างเราก็ทำเองได้ อย่าปล่อยให้คราบราบนยาแนวมาคุกคามจนทำให้ห้องน้ำที่บ้านคุณดูหมอง มาลองวิธีนี้สิคะแล้วห้องน้ำคุณจะสวยโดดเด่นจนแขกต้องประทับใจ

ติดต่อสอบถาม   



3
ปูกระเบื้องด้วยตัวเองง่าย ๆ ไม่ต้องจ้างช่าง

พื้นที่ซักล้างหลังบ้านเป็นปูน คุณภรรยาอยากได้กระเบื้อง เพราะเวลาเหยียบแล้วไม่สบายเท้า แค่นิดเดียวจะไปจ้างใครก็ไม่ได้ ก็เลยทำเองซะเลย

 อุปกรณ์

          1. กระเบื้อง
          2. ปูนกาว
          3. เกรียงหวี + เกรียงผสมปูน + ถังปูน (ใบเล็ก)
          4. ระดับน้ำ
          5. ฆ้อนยาง
          6. พัดลม
          7. ลูกหมู + ใบสำหรับตัดกระเบื้อง + แว่นนิรภัยหรือ ที่ตัดกระเบื้องแบบอื่น ๆ
          8. ปูนยาแนว

          - หลังจากซื้อกระเบื้องปูพื้นมาแล้ว ก็ลองวางดูแนวก่อนเลย
          - พอได้แนว ก็ทำการผสมปูนในถัง โดยปูนกาวสำเร็จสามารถใส่น้ำ คนให้เข้ากัน และใช้งานได้ทันที ในการปูให้เอาปูนเทลงบนพื้น แล้วใช้เกรียงหวีปาดให้เป็นร่องตามเกรียงให้พอดี ปูแบบแผ่นต่อแผ่นนะครับ
          - จากนั้นก็เอากระเบื้องแปะลงไป และใช้ฆ้อนทุบ ตั้บ ๆ ๆ ๆ ๆ และวัดระดับน้ำ ไปด้วย (ถ้าเป็นพื้นที่ที่ต้องระบายน้ำ ต้องปูให้พื้นเอียงไปทางรูระบายน้ำนิดนึง ถ้าเป็นพื้นทั่ว ๆ ไป ไม่ได้ระบายน้ำ ก็ปูตรง ๆ ให้ได้ระนาบเลย) ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตรงไหนที่ต้องตัดกระเบื้องมาปู ก็ เอาไว้ทำทีหลังครับ ปูแผ่นเต็มให้เสร็จก่อน ระหว่างแผ่นอย่าลืมเว้นระยะไว้ยาแนวด้วยนะครับ สัก 2-3 มิลลิเมตร แล้วแต่ขนาดกระเบื้อง
          - เมื่อปูแผ่นเต็มจนครบพื้นที่แล้ว ก็เตรียมตัดกระเบื้อง มาปูส่วนที่เหลือ ตอนตัดถ้าใช้ลูกหมูอย่างผม ก็หาแว่น หาผ้า มาปิดจมูกด้วยนะครับ ระหว่างปู ส่วนไหนที่เริ่มแห้งให้ใช้เกรียง ขูดตามร่องระหว่างปูนไว้สำหรับยาแนว
          - หลังจากปูเสร็จแล้ว ทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็ทำการยาแนวครับ หลังจากยาแนวเสร็จก็ทิ้งไว้ให้ยาแนวแห้ง แล้วก็ทำการใช้ฟองน้ำ หรือสก็อตไบร์ท เช็ดส่วนเกินออก
          - เสร็จสมบูรณ์ กับงานกระเบื้องตามใจ "เมีย" งานออกมา ไม่เนี้ยบเท่าไหร่ เพราะนี่เป็นครั้งแรกเลยจริง ๆ ลายกระเบื้องอาจจะเชยไปหน่อย แต่เมียชอบ ระหว่างทำก็มีเมียคอยหยิบ นู่น นี่ นั่น ให้ คอยเปิดพัดลมคลายร้อนให้ คอยหาน้ำเย็น ๆ ให้ดื่ม เหนื่อยกาย แต่สบายใจ ใช้เวลาทำ 2 อาทิตย์ ทำบ้างไม่ทำบ้าง และทำเฉพาะตอนไม่มีแดด ขอบคุณสำหรับการรับชมนะครับ ติชมกันได้

วิธีปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยตัวเอง
1. เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน พร้อมเลือกซื้อกระเบื้องผนังที่มีลวดลายตามต้องการ อย่าลืมเผื่อสำหรับการชำรุดเสียหายและการตัดกระเบื้องด้วย โดยพยายามซื้อกระเบื้องทั้งหมดให้อยู่ในล็อตเดียวกัน เพราะการซื้อแยกทีหลัง อาจทำให้สีของกระเบื้องแตกต่างไปจากเดิมตามแต่ละสต็อกได้

2. ปรับระดับผนังให้เรียบเสมอกันและทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมออกให้เกลี้ยง เพราะถ้ายังมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเกาะตอนติดกระเบื้อง จะทำให้กาวซีเมนต์ยึดเกาะไม่แน่น
3. ลองนำกระเบื้องวางทาบบนผนังเพื่อกำหนดขนาดและจำนวน จากนั้นวาดเส้นตรงใต้กระเบื้องเพื่อร่างเส้นแถวให้ตรงกัน
4. ผสมปูนกาวตามคู่มือให้มีลักษณะเหนียวพอดี ไม่จำเป็นต้องผสมเยอะมาก พยายามคำนวณให้ใช้หมดภายในหนึ่งชั่วโมง ไม่เช่นนั้นปูนกาวจะแห้งและไม่ได้ประสิทธิภาพ
5. จับเกรียงหวีด้านเรียบป้ายปูนกาวลงบนผนัง จากนั้นจับเกรียงหวีด้านร่องปาดทับด้วยการถือเกรียงหวีให้ได้มุม 45-60 องศา
6. ปาดปูนกาวซีเมนต์หลังกระเบื้อง แล้ววางแผ่นกระเบื้องลงไป ทั้งนี้การปูกระเบื้องควรปูแบบเต็มแผ่น มากกว่าปูกระเบื้องแบบซาลาเปาหรือการใช้ปูนพอกเป็นก้อนโปะหลังกระเบื้อง ถึงแม้การปูแบบซาลาเปาจะรวดเร็วและทำง่ายกว่า แต่การเกาะยึดน้อย นอกจากนี้ยังมีช่องว่างที่ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปได้ เกิดความชื้นสูงและมีโอกาสเกิดกระเบื้องระเบิดได้ ที่สำคัญจุดที่ไม่มีปูนช่วยรองรับน้ำหนักยังเสี่ยงต่อการแตกหักง่ายอีกด้วย
7. ใช้ค้อนยางเคาะเบา ๆ เพื่อให้เกาะยึดแน่นขึ้น
8. ใช้อุปกรณ์จัดแนวกระเบื้อง (Spacer) ช่วยเว้นระยะห่างของกระเบื้อง ประมาณ 2 มิลลิเมตร สำหรับลงยาแนวและทำให้แผ่นกระเบื้องเรียงเป็นแนวเดียวกันอย่างสวยงาม และใช้ระดับน้ำวัดความลาดเอียงของกระเบื้อง
9. เมื่อปูเต็มพื้นที่แล้ว ตัดกระเบื้องตามขนาดพื้นที่ที่ยังเหลืออยู่มาปูเพิ่ม จัดกระเบื้องให้สวยงามตามแนวที่ต้องการ และปล่อยให้แห้งสนิทประมาณ 1-2 วัน พร้อมนำตัวเว้นร่องกระเบื้องออก แล้วค่อยลงยาแนว
10. ผสมยาแนวตามคู่มือ จากนั้นนำเกรียงโบกปูนหรือเกรียงยาแนวป้ายและปาดลงไปในร่องกระเบื้องให้เต็ม หมั่นเช็ดคราบส่วนเกินที่เลอะออกเป็นระยะ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานจนคราบแห้ง ไม่เช่นนั้นยาแนวจะแข็งติดกระเบื้อง เช็ดออกได้ยาก รอให้ยาแนวแห้งสนิท เสร็จแล้วทำความสะอาดให้สวยงาม เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ



ติดต่อสอบถาม   



4
เทคนิคการผลิตกระเบื้องแกรนิต

ปัจจุบันแนวโน้มของการออกแบบกระเบื้องเซรามิกสำหรับปูพื้นนั้นจะเป็นแนวธรรมชาติ การออกแบบและการผลิตมักทำให้กระเบื้องมีสีสัน หน้าตาและความรู้สึกใกล้เคียงธรรมชาติมาก ถ้าไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านกระเบื้องจริงๆอาจจะแยกไม่ออกเลยระหว่างหินธรรมชาติกับกระเบื้องเซรามิก และหนึ่งในกระเบื้องเซรามิกที่มีความนิยมในปัจจุบันก็คือกระเบื้องเนื้อพอร์ซเลน
กระเบื้องเนื้อพอร์ซเลน (Porcelain tile) มีคำเรียกได้หลายชื่อเช่น Granite tile, Granito tile, Homogeneous tile ซึ่งทั้งหมดนี้หมายถึงกระเบื้องที่มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำมาก(ใกล้เคียงศูนย์) มีค่าความแข็งแรงสูงมาก มีการทำสีสันและลวดลายได้ใกล้เคียงกับหินธรรมชาติมาก โดยอาจมีการเติมสีเซรามิกลงไปในเนื้อดินและผสมกันหลายๆโทนสี มีการสกรีนตกแต่งสีในหลายๆรูปแบบเพื่อให้ผิวหน้ากระเบื้องมีความสวยงาม และมีการขัดผิวหน้ากระเบื้องให้เงามันและตัดขอบเพื่อความสวยงาม
ข้อดีของกระเบื้องแกรนิตที่เหนือกว่ากระเบื้องปูพื้นเนื้อสโตนแวร์ก็คือ มีความแข็งแรงสูงกว่า, %การดูดซึมน้ำต่ำมาก, สามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะได้ดีเนื่องจากทนการขัดสีได้ดีกว่าและเมื่อผิวหน้าสึกไปก็ไม่มีผลมากนักเพราะเนื้อดินเป็นเนื้อสีทั่วทั้งแผ่น, เมื่อขัดผิวหน้าจะเกิดความเงางามมาก และสามารถทำสีสันและพื้นผิวได้ใกล้เคียงหินแกรนิตจากธรรมชาติมาก

กระบวนการผลิตกระเบื้องแกรนิต
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเนื้อดินของกระเบื้องแกรนิตนั้นจะใช้โพแทสเซียมเฟลดสปาร์มากกว่าโซเดียมเฟลดสปาร์เพราะใช้อุณหภูมิในการเผาที่สูงกว่ากระเบื้องปูพื้นทั่วไป และต้องการช่วงกว้างในการเผาที่สูงกว่า สำหรับดินที่ใช้มักนิยมใช้ดินดำ (Ball clay) ที่มี%เหล็กน้อยเพื่อที่จะให้ค่าความขาวที่สูงเนื่องจากเนื้อดินจะมีการเติมสีเซรามิก (Body stain) ลงไปในเนื้อดินซึ่งถ้าเนื้อดินมีสีขาวก็จะส่งผลให้สีที่เราต้องการดูสดใสขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใส่ดินขาวลงไปด้วยบางส่วน และสำหรับสีบางสีที่ต้องการความสว่างและความสดใสของสีมากก็จะมีการเติมเซอร์โคเนียม ซิลิเกตลงไปด้วย แต่ราคาของเนื้อดินชนิดนี้จะมีราคาแพงมาก วัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวที่ขาดไม่ได้สำหรับเนื้อดินแกรนิตคือ สีเซรามิกชนิดที่ใช้สำหรับเนื้อดินซึ่งสีเซรามิกประเภทนี้จะมีราคาถูกกว่าสีเซรามิกสำหรับเคลือบมากเนื่องจากส่วนประกอบของสีจะไม่ซับซ้อนมากจากการที่องค์ประกอบของเนื้อดินมีสารประกอบออกไซด์อยู่เพียงไม่กี่ชนิด ในขณะที่องค์ประกอบของเคลือบมีสารประกอบออกไซด์มากกว่าจึงจำเป็นต้องผลิตสีเซรามิกที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าสีเซรามิกสำหรับเนื้อดิน
กระบวนการผลิตเริ่มจากการนำวัตถุดิบตามสูตรมาบดในหม้อบดเพื่อให้เป็นน้ำดิน โดยอาจบดน้ำดินแยกสีเลยหรือบดน้ำดินสูตรมาตรฐานไว้ก่อนแล้วจึงมาเติมสีโดยการปั่นใน ถังกวนแบบ high speed ลงไปภายหลัง
หลังจากนั้นก็ผ่านกระบวนการพ่นฝอยอบแห้ง(Spray dryer) เพื่อให้เป็นเม็ดดินสีและแยกเก็บไว้ในไซโล สำหรับเม็ดดินที่ใช้สำหรับกระเบื้องแกรนิตแบบ Big grian นั้นจะผ่านกระบวนการทำเม็ดดินรวมทั้งการฉาบสีของเม็ดดินด้วยน้ำดินอีกสีหนึ่งทำให้เวลาขึ้นรูปและขัดผิวจะเห็นเป็นสีสองชั้นอยู่ในดินเม็ดเดียวกัน
ในขั้นตอนการผสมดินเม็ดนั้นจะเริ่มจาก%สัดส่วนของดินแต่ละสีที่เราต้องการจะผสมในห้องทดลอง แล้วจึงชั่งน้ำหนักของดินเม็ดแต่ละสีตามสูตรแล้วผสมให้เข้ากันโดยเครื่องผสม เมื่อเข้ากันดีแล้วก็จะปล่อยผ่านสายพานไปเก็บไว้ในไซโลเพื่อพร้อมสำหรับการขึ้นรูปต่อไป

กระบวนการขึ้นรูป
การขึ้นรูปกระเบื้องแกรนิตนั้นจะใช้วิธีการ Press โดยใช้เครื่องอัดที่มีแรงดันสูง โดยเฉพาะกระเบื้องที่มีขนาดใหญ่มากๆเช่นขนาด 24”x24” ซึ่งจุดสำคัญของการควบคุมคุณภาพของกระเบื้องแกรนิตคือช่วงในการเติมผงดินลงใน cavity mould เนื่องจากอาจทำให้เกิดเฉดสีที่แตกต่างกันในแต่ละแผ่น, เกิดเป็นรอยของแถบดินสีบนหน้ากระเบื้อง และขนาดของกระเบื้องจะไม่ได้สัดส่วนในแต่ละด้าน (Crook) เนื่องจากความหนาแน่นของผงดินที่ลงไปในแบบมีความแตกต่างกันในแต่ละด้าน
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งสำหรับการขึ้นรูปกระเบื้องแกรนิตที่ให้อารมณ์เหมือนธรรมชาตินั้นได้แก่ชุด Charger สำหรับเติมผงดินลงใน cavity mould ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตกระเบื้องแต่ละรายได้ให้ความสำคัญกับเครื่องจักรในส่วนนี้มากเนื่องจากจะเป็นตัวสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์และทำให้ผู้ผลิตรายอื่นๆเลียนแบบได้ยาก
ผู้ผลิตเครื่องจักรบางรายทำการคิดค้นวิธีลดต้นทุนการผลิตกระเบื้องโดยการใช้วิธี Double charger โดยในการเติมดินลงใน cavity ครั้งแรกจะเติมผงดินที่ไม่ใส่สีลงไปก่อนและทำการเติมดินอีกครั้งลงไปทับดินชั้นล่างโดยเป็นดินที่ใส่สีลงไปแล้ว และขึ้นรูปไปพร้อมๆกัน เรียกกระเบื้องประเภทนี้ว่า Monopressatura ข้อเสียของเครื่องจักรแบบนี้คือจำนวน stroke ในการ press จะช้ามากเนื่องจากจะต้องทำการ charge ดินสองรอบ

กระบวนการตกแต่งและเคลือบสี
สำหรับกระเบื้องเนื้อแกรนิตนั้นสามารถนำมาทำการตกแต่งได้นอกเหนือจากการใส่สีลงในเนื้อดินและเทคนิคการ feed ดินโดยใช้ Charger
กระเบื้องเนื้อพอร์ซเลนสามารถที่จะนำมาเคลือบสีและตกแต่งลวดลายเช่นเดียวกับกระเบื้องปูพื้นโดยอาศัยเทคนิคการเคลือบแบบเดียวกันดังที่เคยนำเสนอไปแล้วในฉบับก่อนในเรื่องหลากหลายเทคนิคการเคลือบ แต่สำหรับกระเบื้องแกรนิตที่ต้องการนำไปขัดผิว (Polishing) ให้เกิดความเงางามจะไม่สามารถใช้การเคลือบแบบปกติได้เพราะสีเคลือบเมื่อถูกขัดผิวจะสูญเสียความมันวาวหรือทำให้ผิวเคลือบเป็นรอยได้ การตกแต่งกระเบื้องแกรนิตจะใช้สีชนิดพิเศษที่เรียกว่า Soluble salt ซึ่งเป็นสารละลายของพวกโลหะทรานสิชั่นต่างๆ ซึ่งสารละลายเหล่านี้เมื่อถูกสกรีนลงบนหน้ากระเบื้องก็จะซึมลงไปตามรูพรุนของเนื้อดินดิบ (Green tile) ดังนั้นเมื่อทำการเผาแล้วนำกระเบื้องไปขัดผิว โดยปกติแล้วจะถูกขัดออกมากกว่า 0.5 mm เพื่อให้ผิวมันสวยงามและเป็นการปรับพื้นผิวให้มีความเรียบอย่างมาก แต่สารละลายโลหะเหล่านี้แทรกซึมลงไปได้ลึกกว่าความหนาที่ทำการขัด ดังนั้นเมื่อขัดผิวออกไปแล้วก็ยังเห็นลวดลายและสีสันที่เราสกรีนไว้

การเผา
ในขั้นตอนการเผานั้นจะเป็นการเผาเร็วแบบครั้งเดียว (Single fast firing) โดยใช้เตา Roller ในการเผา แต่ในบางกรณีก็มีการเผาเป็น Biscuit ก่อนเช่นกัน อุณหภูมิในการเผาอยู่ในช่วง 1200-1240 °C เวลาในการเผาประมาณ 50-80 นาที
การขัดผิว (Polishing)และการตกแต่งขอบกระเบื้อง (Chamfering)
การขัดผิวหน้าของกระเบื้องแกรนิตนั้นเพื่อปรับผิวให้เป็นระนาบเพื่อความเรียบสวยในการใช้งาน และทำให้ผิวหน้าเกิดความเงางาม โดยเครื่องขัดนั้นจะเริ่มจากการขัดหยาบแล้วจึงค่อยๆทำให้ละเอียดมากขึ้นจนถึงจุดที่พื้นผิวเงางามมากที่สุด ดังนั้นในขั้นตอนการเผากระเบื้องแกรนิตนั้นจะต้องควบคุมค่าความโค้ง-แอ่นของกระเบื้อง (Planarity) ให้ดี ไม่เช่นนั้นแล้วจะมีปัญหาในขั้นตอนการ ขัดได้ซึ่งอาจจะทำให้การขัดไม่ทั่วถึงและอาจเกิดการแตกของกระเบื้องได้
ส่วนขั้นตอนในการตัดขอบและลบขอบของกระเบื้องนั้นเพื่อควบคุมขนาดของกระเบื้องแกรนิตให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด และสามารถปูชิดกันโดยไม่ต้องมีการยาแนวกระเบื้องเหมือนกับการปูหินแกรนิตหรือหินอ่อนธรรมชาติ

ในปัจจุบันความนิยมนำกระเบื้องแกรนิตมาใช้งานมีมากขึ้น ถึงแม้ว่ากระเบื้องประเภทนี้จะมีราคาแพงมากกว่ากระเบื้องปูพื้นทั่วๆไปอยู่มาก แต่เมื่อเทียบถึงความสวยงามที่มีความเงางามเหมือนหินธรรมชาติ ลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในทุกๆแผ่นซึ่งจะทำให้ไม่ดูแข็งๆเหมือนการใช้กระเบื้องปูพื้นทั่วๆไป มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ดูดซึมน้ำ ทำให้มีผู้มีรสนิยมนำเลือกใช้กระเบื้องชนิดนี้มากขึ้น ทั้งในห้องน้ำ, ห้องครัว, ห้องนั่งเล่น หรือแม้แต่ชานบ้าน นอกจากนี้ในพื้นที่สาธารณะที่มีผู้คนใช้งานอยู่มากมายเช่นห้างสรรพสินค้า, สถานีรถไฟ, โรงแรม, สนามบิน(สนามบินสุวรรณภูมิ บริเวณพื้นที่เช็คอินก็ใช้กระเบื้องแกรนิต) ก็มักเลือกใช้กระเบื้องชนิดนี้ ค่าที่ว่ามีความแข็งแรงทนทาน ทนต่อการขัดสี โดยเฉพาะกระเบื้องแกรนิตแบบไม่ขัดผิว จะมีความทนทานต่อการขัดสีมาก และถึงแม้จะถูขูดขีดไปบ้างก็ไม่ทำให้หมดความสวยงามเพราะทั้งแผ่นเป็นสีเดียวกันหมด   

ติดต่อสอบถาม   



5
ขั้นตอนการปูพื้นกระเบื้องด้วยตนเอง

การปูกระเบื้องไม่ได้ยากอย่างที่คิด
พื้นกระเบื้องถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งภายนอกและภายในบ้าน การปูกระเบื้องซึ่งในอดีตจะฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่ยาก จำเป็นต้องจ้างช่าง ผู้รับเหมาเป็นผู้จัดการ แต่หากเป็นการต่อเติมจากพื้นที่เดิมที่จะจำนวนไม่มากล่ะ จะหาช่างมาทำให้คงยากแน่ๆ ปัจจุบันนี้การปูกระเบื้องไม่ได้ยากอย่างที่คิด

- การเตรียมความพร้อมก่อนการเตรียมปูกระเบื้อง
- เตรียมกระเบื้องให้ปริมาณพอกับพื้นที่ โดยเลือกลายกระเบื้องให้เหมาะสม
- ตรวจสอบสภาพพื้นผิวของฟื้นที่จะใช้ปูกระเบื้องลงไป พื้นผิวต้องเรียบสม่ำเสมอกัน ไม่มีการยุบตัว
- เตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการปูกระเบื้อง หลักๆมีดังนี้ เกรียงหวี,เอ็น,กาวปูนซีเมนต์,ยาแนว

ขั้นตอนการปูกระเบื้อง
- เตรียมพื้นผิวให้เรียบ แข็ง กำจัดเศษวัสดุ สิ่งสกปรกออกให้หมด ถ้าเป็นพื้นปูเดิมให้กรีดลายพื้นเดิม หรือกระเทาะพื้นเดิมให้เป็นหลุมเล็กๆเพื่อให้ปูนทรายที่ผสมสำหรับปูกระเบื้องจะได้เกาะพื้นเดิม
- เตรียมกาวปูนปูกระเบื้อง ตามส่วนผสมที่ระบุไว้ และเตรียมผสมน้ำยายาแนว
- ใช้เอ็นหรือเชือก ขึงเป็นแนวที่เราจะปูกระเบื้องโดยเริมจากขึงเอ็นกลางห้อง **การปูกระเบื้องควรเริ่มจากกลางห้อง และนำเศษกระเบื้องไว้ริมผนัง
- พรมนํ้าให้หมาดๆบนพื้นที่จะปูนกระเบื้อง จากนั้นนำทราย และปูนที่ผสมไว้มาปรับระดับพื้นที่จะปูกระเบื้อง ปูนและทรายควรจะไม่เหลวจนเกินไปจะได้ปูกระเบื้องง่ายๆ
- ใช้กาวปูกระเบื้องบางส่วนลงบนพื้นผิวด้วยเกรียงหวี และใช้เกรียงหวีปาดกาวให้เป็นทางยาวบนพื้นผิว 1-2 ตารางเมตร แล้วเกลี่ยให้ทั่ว ความหนาตามร่องของเกรียงหวี
- ปูกระเบื้องลงพื้นที่เตรียมไว้และกดให้แน่น หรือใช้ค้อนยางเคาะบนกระเบื้องให้ทั่ว เพื่อให้ร่องของกาวปูกระเบื้องที่แผ่นกระเบื้องกดทับประสานกันอย่างทั่วถึง เว้นช่องว่างระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่น เพื่อให้เป็นร่องยาแนว การเว้นช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้องที่จะปูประมาณ0.5-1มิลลิเมตร โดยใช้เศษพลาสติกเสียไว้ดังรูป โดยปกติกระเบื้องที่นำมาปูพื้นทั่วไปจะมีขนาดไม่เท่ากัน และการปูกระเบื้องบางแผ่นจะสูงๆต่ำๆ การเว้นช่องว่างไฟสำหรับใส่ยาแนวนั้นจะทำให้กระเบื้องดูสวยงาม และช่วยปรับระดับกระเบื้องให้เรียบ
- หากต้องการจัด หรือ ปรับตำแหน่งกระเบื้อง เมื่อปูเสร็จด้วยกาวปูกระเบื้อง สามารถปรับตกแต่งกระเบื้อง แต่ละแผ่นภายใน 10 นาที ก่อนกาวปูกระเบื้องจะแห้งสนิท โดยใช้ค้อนยาง เคาะปรับแต่งให้กระเบื้องเรียบได้ระดับเดียวกัน
- หลังจากนี้ควรทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งวันแล้วค่อยทำการยาแนวกระเบื้อง

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถขยายพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านด้วยการปูกระเบื้องด้วยตนเองแล้ว แต่ถ้าหากการปูกระเบื้องในพื้นที่ที่มีปริมาณมากขอแนะนำให้ใช้บริการจากช่างผู็มีความชำนาญจะเป็นเรื่องที่สะดวกกว่านะครับ โดยราคาของช่างที่รับเหมาในการปูกระเบื้องจะอยู่ประมาณ 150-250 บาทต่อ ตรางเมตรครับ ราคาคนต่างชาติ และคนไทยจะไม่เื่ท่ากันครับ

รู้เรื่องกระเบื้องโก่ง-ร่อน-ระเบิด
หลายคนคงพบกับปัญหากระเบื้องร่อน กระเบื้องโก่งตัว หรือกระเบื้องระเบิด และคงสงสัยว่า จู่ๆ กระเบื้องที่ปูใช้งานมานานนั้น อยู่ดีๆ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ได้ ซึ่งสาเหตุนั้นเป็นไปได้หลายอย่าง HomeGuru สรุปที่มาของสาเหตุความเสียหายออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

- ปัญหาที่มาจากความเสื่อมสภาพที่ผิดปกติของโครงสร้าง
- ปัญหาที่มาจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐาน และการเคลื่อนตัวตามปกติของโครงสร้าง

ปัญหาประเภทแรกนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือให้ผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบสภาพโครงสร้าง เพื่อแก้ปัญหาหลัก การซ่อมกระเบื้องในบริเวณดังกล่าวจะไม่ได้ช่วยอะไร แถมการปูกระเบื้องใหม่ทับ จะกลายการปกปิดรอยแตกร้าวของโครงสร้างอีกด้วย รู้ตัวอีกครั้งก็สายเกินจะแก้ไขด้วยวิธีซ่อมแซมเบื้องต้นได้ ซึ่งการตรวจสอบความเสื่อมสภาพที่ผิดปกติของโครงสร้างเบื้องต้นด้วยตัวเองนั้น เราจะนำเสนอกันอีกครั้ง ดังนั้น เรามาดูปัญหาประเภทที่สองนั้นเกิดจากการปู หรือการเคลื่อนตัวตามปกติของโครงสร้างว่ามีอะไรบ้าง และสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้อย่างไร
กระเบื้องร่อน
กรณีที่กระเบื้องหลุดร่อนออกมา ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องที่ผนังหรือพื้น โดยไม่มีการโก่งตัวนั้น มักเกิดจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐานในสองลักษณะ คือ ใช้ปูนทรายที่มีส่วนผสมไม่เหมาะสม ปูนทรายจึงยึดเกาะกระเบื้องได้ไม่ดี ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ปูกาวสำหรับปูกระเบื้องที่มีแรงยึดเกาะที่ดีกว่า และการปูแบบซาลาเปา หรือการใช้ปูนทรายหรือปูนกาวน้อยหยอดเป็นก้อนที่หลังแผ่นกระเบื้อง แล้วนำกระเบื้องไปวางและกดที่พื้นหรือผนัง เนื้อปูนจึงไม่กระจายตัวให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น เมื่อเวลาผ่านไปจะหลุดร่อนออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเบื้องที่พื้นซึ่งถูกการกดทับเมื่อเราเดินเหยียบหรือวางทับด้วยเฟอร์นิเจอร์

การแก้ไข
เบื้องต้น เราสามารถตรวจสอบง่ายๆ โดยการเคาะแผ่นกระเบื้อง มีเสียงดังแบบกลวงๆ ที่บ่งบอกว่ามีช่องว่างด้านใน หากกรณีเพิ่งปูเสร็จ รีบแจ้งให้ช่างแก้ไข ยังสามารถเลาะกระเบื้องก่อนปูนแข็งตัวถาวร และปูใหม่ได้ หากปูนานแล้ว ถ้าไม่รีบก็ใช้งานไปก่อน หรือถ้าไม่สบายใจอยากซ่อมแซม ให้ลองตรวจเช็ค เผื่อว่ามีบริเวณอื่นๆ ด้วย แล้วเรียกช่างมาซ่อมแซมโดยการค่อยๆ เคาะกระเบื้องแผ่นดังกล่าวให้แตก ค่อยๆ สลักปูนเดิมออก แล้วจึงทาปูนกาวใหม่ให้เต็มพื้นที่ก่อนติดตั้งกระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไป

กระเบื้องโก่งตัว และกระเบื้องระเบิด
สำหรับกรณีที่ไม่ได้มาจากการเสื่อมสภาพที่ผิดปกติของโครงสร้าง ปัญหาแบบนี้อาจมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
การหดขยายตัวของกระเบื้อง ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ร้อนหรือเย็นจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้กระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดความเสียหายได้ง่ายและรวดเร็วกว่ากระเบื้องที่ได้มาตรฐาน
สืบเนื่องมาจากการหดขยายตัวของแผ่นกระเบื้อง หากปูกระเบื้องชิดเกินไป หรือปูชนแผ่นโดยไม่มีการยาแนว เมื่อกระเบื้องขยายตัว จะดันกันจนโก่งตัวหรือระเบิดแตกได้นั่นเอง
โครงสร้างทุกชนิดจะมีการเคลื่อนตัวการสั่นสะเทือนจากการสัญจรของรถ หรือการหดขยายตัวที่เป็นปกติจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเคลื่อนตัวนี้ส่งผลให้กระเบื้องที่ชิดเกินไป หรือปูชนแผ่นโดยไม่มีการยาแนวเกิดการดันกัน ทำให้กระเบื้องโก่งตัวหรือกระเบื้องระเบิดได้เช่นกัน

การแก้ไข
ปัญหาแนวนี้ต้องทำการเลาะกระเบื้องออกทั้งหมด รวมถึงสกัดปูนทรายหรือปูนกาวเดิมออกเพื่อปรับพื้นผิวและปรับระดับให้เหมาะสมเสียก่อน การปูให้เว้นรองยาแนวให้เหมาะสมกับประเภทกระเบื้องที่ใช้ สำหรับกระเบื้องทั่วไปควรเว้นยาแนวอย่างน้อย 3 มิลลิเมตร สำหรับกระเบื้องชนิดตัดขอบ ให้เว้นอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร นอกจากนี้ควรใช้อุปกรณ์เว้นร่องยาแนว เพื่อช่วยคุมความกว้างของร่องยาแนวให้สม่ำเสมอเท่ากันในทุกๆ ด้าน





ติดต่อสอบถาม   



6
กระเบื้องปูพื้น (Tile flooring) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

กระเบื้อง ปูพื้น ติดผนัง ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ถือได้ว่าเป็นวัสดุสำคัญที่จะช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับบ้าน ในปัจจุบันกระเบื้องปูพื้นถูกนำมาพัฒนาให้มีหลากหลายรูปแบบทั้งลวดลาย เนื้อวัสดุ และผิวสัมผัส
– กระเบื้องเซรามิค เป็นกระเบื้องที่ผ่านการเผา 1 หรือ 2 ครั้ง ตามลักษณะการใช้งาน และเคลือบผิวทำลวดลายเป็นกระเบื้องที่มีขนาดหลากหลายและมีโทนสีสไตล์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากที่สุด กระเบื้องเซรามิคแบ่งออกเป็นกระเบื้องสำหรับปูพื้น และปูผนัง ซึ่งไม่แนะนำให้เอากระเบื้องเซรามิคสำหรับผนังไปปูพื้นเพราะ ออกแบบให้รับน้ำหนักต่างกัน นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นแบบผิวมัน และแบบผิวหยาบ สำหรับเลือกใช้งานแบบต่างๆอีกด้วย
– กระเบื้องแก้ว เป็นกระเบื้องที่ทำจากชิ้นงานแก้วมาขึ้นรูป ตกแต่งด้วยลวดลายพิมพ์ หรือตกแต่งสีสันลวดลายภายใน ทำให้ลวดลายอยู่ทนทานกว่าลายพิมพ์บนพื้นผิวหน้าอย่างกระเบื้องประเภทอื่น ๆ
– กระเบื้องดินเผา เป็นงานเผาด้วยเทคนิคแบบดั้งเดิม ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ มีทั้งแบบเคลือบเงาและไม่เคลือบเงาเหมาะกับงานตกแต่งสไตล์ธรรมชาติ รีสอร์ท สปาเป็นต้น
– กระเบื้องโมเสก เป็นกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ ใช้ติดบนแผ่นตาข่ายรอง เหมาะกับไปติดบนพื้นที่มีขนาดเล็กและโค้งมน หรือสระว่ายน้ำ
– กระเบื้องยาง ทำจากยางพีวีซี เปรียบเทียบกับกระเบื้องเคลือบแล้วกระเบื้องยาง ให้สัมผัสที่นุ่มนวลกว่า การติดตั้งและปรับเปลี่ยนง่าย เหมาะสำหรับพื้นสำนักงานหรือสถานที่ที่ไม่ต้องการความหรูหรามากนัก

กระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงดินมากกว่าหิน เพราะมีอัตราการซึมน้ำสูง มีรูพรุนมาก ทำให้มีการยืดหดตัวสูงเมื่อโดนความชื้นและความร้อน แตกหักง่าย ผุกร่อนโดยกัดเซาะได้ง่าย ผิวค่อนข้างด้าน ตัวเนื้อดินเผามีสีสันให้เลือกไม่มากนัก และหากไม่ได้ผลิตด้วยมาตรฐานระดับสูงมักมีสีสันของแต่ละแผ่นไม่สม่ำเสมอ ยกเว้นแต่จะทำการเคลือบสีเพิ่มเข้าไป ข้อดีของกระเบื้องชนิดนี้คือไม่ลื่น(ถ้าไม่ได้มีตะไคร่น้ำเกาะ) ระบายความชื้นและความร้อนได้ดี จึงอมความร้อนไว้ไม่นาน ราคาประหยัด

ขนาดของกระเบื้องดินเผา
12×12 นิ้ว ใช้ 10 แผ่น/ตารางเมตร
10×10 นิ้ว ใช้ 16 แผ่น/ตารางเมตร
8×8 นิ้ว ใช้ 25 แผ่น/ตารางเมตร
6×6 นิ้ว ใช้ 45 แผ่น/ตารางเมตร
4×8 นิ้ว ใช้ 45แผ่น/ตารางเมตร

คุณสมบัติ
กระเบื้องดินเผาอาจจะดูด้อยกว่ากระเบื้อสมัยใหม่อย่าง กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องคันไซ หรือกระเบื้องแรกนิต แต่จุดเด่นสำคัญของกระเบื้องดินเผาที่หาไม่ได้จากกระเบื้องแบบอื่นนั่นก็คือ "ความคลาสสิค" กระเบื้องดินเผานั้นจัดว่าเป็นกระเบื้องที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากที่สุด เวลาที่เราเอาไปปูพื้นหรือผนังบ้าน จะช่วยให้บรรยากาศรอบๆดูเป็นธรรมชาติ และดูน่าหลงไหล ไม่แข็งกระด้าง จึงไม่น่าแปลกใจที่บรรดารีสอร์ทหรือโรงแรมมักจะนิยมนำกระเบื้องดินเผาไปใช้ตกแต่งสถานที่เพื่อให้ดูสวยงามแบบมีเอกลักษณ์มากมาย
กระเบื้องแกรนิตโต้ ซึ่งที่จริงก็คือกระเบื้องพอร์ซเลนไม่เคลือบผิว โดยทั้งแผ่นผลิตจากตัวเนื้อวัสดุชนิดเดียวกันตลอดทั้งแผ่น (Homogeneous) ซึ่งก็คือหากเกิดการกระเทาะหรือตัดกระเบื้อง จะเห็นเนื้อด้านข้างเป็นสีเดียวกับผิวกระเบื้อง อัตราการซึมน้ำต่ำ ความแกร่งสูง สามารถปูชิดกัน และคุณสมบัติอื่น ๆ

คุณสมบัติ
แกรนิตโต้ หรือ กระเบื้องแกรนิตโต้ คือกระเบื้องเซรามิคชนิดหนึ่งที่เป็นหินแกรนิตเทียม มีส่วนผสมของผงหินแกรนิต แล้วนำไปผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง แข็งแรงเทียบเท่าหินแกรนิต โดยทั่วไปแข็งแกร่งกว่ากระเบื้องเซรามิคชนิดอื่น เนื้อกระเบื้องเป็นเนื้อเดียวทั้งแผ่น อุณหภูมิในการเผากระเบื้องแกรนิตโต้ จะอยู่ที่ประมาณ 3000 องศาขึ้นไป

การนำไปใช้งาน
แกรนิตโต้ ส่วนมากจะมีขนาดต่างๆ ดังนี้

แกรนิตโต้ ขนาด 60x60 cm เป็นขนาดที่ขายกันแพร่หลายที่สุด
แกรนิตโต้ ขนาด 30x60 cm เป็นขนาดที่เหมาะกับการปูผนัง เป็นขนาดที่นิยมรองลงมา บางครั้งอาจนำกระเบื้องแกรนิตโต้ขนาด 60x60 cm ไปตัดครึ่งก็มี

การนำกระเบื้องแกรนิตโต้ไปตัดเป็นขนาดต่างๆ จะต้องคำนึงถึงการหายไปของกระเบื้องเนื่องจากรอยใบตัด ทำให้ได้ขนาดออกมาไม่เต็ม 30x60 cm
กระเบื้องโมเสค เป็นกระเบื้องขนาดเล็ก ที่ถูกออกแบบมาใช้งานหลายรูปแบบทั้งใช้งานทั่วไป รวมไปถึงใช้งานตกแต่งอีกด้วย บริเวณที่ใช้งานโมเสคมีหลายบริเวณ มีทั้ง โรงจอดรถ ผนังห้องน้ำ ผนังห้องครัว ผนังห้องรับแขก สระว่ายน้ำ

คุณสมบัติ
คุณสมบัติของกระเบื้องโมเสคคือมีขนาดเล็กทำให้ปูได้ปริมาณน้อยต้องใช้จำนวนมากทำให้มีราคาสูงกว่าการปูกระเบื้องทั่วไป แต่การที่มีขนาดเล็กทำให้ตกแต่งได้หลายรูปแบบ เช่น สีเดี่ยวทั้งแผง สีสลับสี แรนด้อมสีให้กลมกลืน รวมทั้งแบบใช้หลายสีให้ออกมาเป็นรูปทรงต่างๆ คล้ายภาพวาด ซึ่งสวยงามมากอแต่ก็ราคาแพงมากเช่นกัน ขนาดของกระเบื้องโมเสคสามารถนำมาปูปนกันได้เช่น แผ่นขนาด 1×1 นิ้ว นำมาปูผสมแผ่นขนาด 2×2นิ้วจะเป็นลวดลายศิลปะแบบแปลกตาที่สามารถใช้ตกแต่งบริเวณต่างๆได้อย่างดี หากใช้ในการปูสระว่ายน้ำต้องใช้จำนวนมาก จึงนิยมใช้กระเบื้องโมเสคแบบติดเน็ตที่สามารถปูได้ทันทีเป็นตาข่ายที่มีขนาดกว้างแล้วปูติดเน็ตมาจัดเรียงแถวไว้เรียบร้อยแล้ว การใช้งานก็เพียงวางลงไปติดตั้งแล้วยาแนวได้ทันทีสะดวกรวดเร็ว
เซรามิค (ceramic) เป็นคำเรียกรวมของเครื่องปั้นดินเผาทุกชนิด และแบ่งเป็นเคลือบหรือไม่เคลือบ ดังนั้นกระเบื้องเซรามิคก็คือกระเบื้องดินเผา ถ้าเคลือบก็เรียกกระเบื้องเคลือบ ถ้าไม่เคลือบก็เรียกกระเบื้องดินเผาเฉยๆ กระเบื้องแกรนิโตก็เป็นเซรามิค มีชื่อจริงว่ากระเบื้องพอซเลน (porcelain tile) เป็นกระเบื้องที่ทำจากดินชนิดหนึ่ง เรียกกันทั่วไปว่าดินขาว มีเนื้อละเอียดแน่นและมีแร่ธาตุต่างๆไม่เหมือนดินทั่วไป
แต่เรียกกันติดปากว่ากระเบื้องแกรนิโต เพราะกระเบื้องชนิดนี้เมื่อเข้ามาขายในเมืองไทยนานแล้วยี่ห้อแกรนิโต (นำเข้าจากออสเตรเลีย) คนก็เรียกกันติดปากเหมือนผงซักฟอกแฟ้บ แกรนิโตก็มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ

คุณสมบัติ
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กระเบื้องปูพื้น และกระเบื้องบุผนัง มีทั้งชนิดเคลือบมันและชนิดที่ไม่เคลือบมัน ในส่วนผิวหน้าเคลือบนั้น ก็ยังสามารถแบ่งได้เป็น ผิวมัน (Glossy) และผิวธรรมดา (Matt) ซึ่งชนิดผิวธรรมดานี้สามารถแบ่งอีก 2 ชนิด นั่นก็คือเป็นกระเบื้องแบบผิวไม่หยาบ (Satin) และผิวหยาบ (Rustic)
ขนาดของ กระเบื้องปูพื้น มีหลายขนาดค่ะ ไล่มาตั้งแต่ 8 x 8 นิ้ว, 12 x 12 นิ้ว, 16 x 16 นิ้ว, 20 x 20 นิ้ว ส่วนขนาดของกระเบื้องบุผนังมี 2.5 x 8 นิ้ว, 8 x 8 นิ้ว, 8 x 10 นิ้ว, 8 x 12 นิ้ว

วิธีการดูแลรักษาและทำความสะอาดกระเบื้องเซรามิค
1. ใช้ฟองน้ำหรือผ้าสะอาดชุบน้ำ แล้วเช็ดลงไปที่กระเบื้อง
2. ในกรณีที่พื้นกระเบื้องมีความสกปรกมาก ควรใช้น้ำผสมน้ำยาทำความสะอาดด้วย
3. ใช้น้ำส้มสายชูทาที่กระเบื้องเพื่อป้องกันการเกิดรอยขนแมว
4. ถ้ากระเบื้องเกิดรอยร้าว ที่มีลักษณะเป็นรอยให้ใช้ขี้ผึ้ง (Wax) ทาบริเวณดังกล่าวก็จะมองเห็นได้ยากขึ้น

การติดตั้ง ในงานกระเบื้อง

วิธีการปูกระเบื้องมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่จะติดตั้ง และความชำนาญของช่างที่จะติดตั้งด้วยซึ่งวิธีการหลักๆมี2วิธี
1 การติดตั้งโดยใช้ปูนทราย(MORTAR) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่ได้ทำการปรับระดับ และ ขัดมัน
1.1ตรวจสอบกระเบื้องก่อนทำการปู ตรวจเช็คชนิดของกระเบื้อง สีของกระเบื้องสีเดียวกันหรือไม่ ความโก่งอยู่ในค่าที่สามารถปูได้หรือไม่ หากพบสิ่งที่ผิดปกติให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายทันที
1.2ทำความสะอาดพื้นที่ที่จะทำการปูกระเบื้อง
1.3ตรวจเช็คระดับโดยให้มีความหนาสำหรับ เทส่วนผสมของปูนทราย(MORTAR)เพื่อปูกระเบื้องอยู่ระหว่าง3-5ซม. (ไม่รวมความหนาของกระเบื้อง) ถ้ามากหรือน้อยกว่าให้ทำการแก้ไข (ความหน้าของปูนทราย อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อจำกัดของพื้นที่ ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของช่างปูกระเบื้อง)
1.4ผสมปูนทรายน้ำในอัตราส่วนน้ำ 1 ลิตร ปูน 4 กิโลกรัม และทราย 8-10 กิโลกรัม (ปริมาณน้ำสามารถปรับลดได้หากทรายมีความชื้นมาก)
1.5นำส่วนผสมดังกล่าวเทลงบนพื้นที่จะติดตั้งกระเบื้องทำการปรับให้ได้ระดับก่อนที่จะนำกระเบื้องลงติดตั้ง
1.6ปูตามแนวลูกศร ควรปูกระเบื้องไปในทิศทางเดียวกัน ตามแนวลูกศร หรือ สัญลักษณ์โลโก้ด้านหลังของกระเบื้องใช้กาวซีเมนต์ผสมน้ำทาบนหลังกระเบื้อง หรือใช้น้ำยาประสานปูนทาบนหลังกระเบื้อง ยกกระเบื้องวางบนปูนที่เตรียมไว้ใช้ค้อนยางเคาะเบาๆ ให้ได้ระดับ
1.7ทำการจัดวางแผ่นกระเบื้องและแนวรอย ต่อให้อยู่ในแนวเดียวกันเว้นร่องยาแนวอย่างน้อย 2-3ซม.(ควรใช้ Spacer อุปกรณ์จัดแนวกระเบื้อง)เมื่อปูทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทิ้งให้ปูนเซ็ทตัวประมาณ 72 ชั่วโมง ก่อนทำการยาแนว
1.8หลังปูนเซ็ทตัวให้ทำการยาแนวเพื่อ ป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่องกระเบื้อง โดยทำความสะอาดรอยต่อของกระเบื้องด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง ต่อจากนั้นให้ใช้วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ หากมีเศษยาแนวล้นออกมาให้เช็ดออกด้วยผ้าหมาดๆก่อนที่ปูนยาแนวจะแข็งตัว

ข้อควรระวัง
- ไม่ควรติดตั้งกระเบื้องโดยวิธีแบบซาลาเปา หรือปูนเปียก เนื้องจากกระเบื้องมีน้ำหนักมากอาจทำให้เกิดการยุบตัวไม่เท่ากัน และ มีโพรงอากาศเป็นช่องว่างใต้พื้นกระเบื้องมีผลทำให้กระเบื้องหลุดร่อน และ แตกง่าย

หมายเหตุ
- ส่วนผสมของปูน MOTAR ซีเมนต์กาว น้ำยาประสานปูน และ วัสดุยาแนว โปรดสอบถามบริษัทผู้ผลิตเพื่อป้องกันการผิดพลาดภายหลัง
- เพื่อรักษาความสวยงามของกระเบื้องหลังทำการติดตั้งเสร็จควรคลุมด้วยพลาสติก หรือ กระดาษลูกฟูก เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนและคราบสกปรก
- ก่อนเปิดใช้งานควรทำความสะอาดคราบ(WAX) โดยใช้ผงขัดแวกซ์ ปูนขาว หรือผงยิปซั่ม ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำยาทำความสะอาดที่เป็นกลาง ไม่ควรใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของกรดต่างๆเช่น กรดไฮคลอริก(กรดเกลือ)กรดไนตริก(กรดดินประสิว)กรดซัลฟิวริก(กรดกำมะถัน)กรด ไฮฟลูออริก(กรดกัดกระจก)และไม่ควรใช้สารเคมีประเภทไอโซโพรพิล(แอลกอฮอลล์)ใน การทำความสะอาด

2 การติดตั้งโดยใช้กาวซีเมนต์
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ปรับระดับเรียบร้อยแล้วเพราะกาวซีเมนต์ก็คือส่วนประกบ ของปูนซีเมนต์ปอร์คแลนด์ ทราย และวัสดุผสมพิเศษอื่นๆ

2.1 ตรวจสอบกระเบื้องก่อนทำการปู ตรวจเช็คชนิคของกระเบื้อง สีของกระเบื้องสีเดียวกันหรือไม่ ความโก่งอยู่ในค่าที่สามารถปูได้หรือไม่ หากพบสิ่งที่ผิดปกติให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายทันที
2.2 ทำความสะอาดพื้นที่ที่จะทำการปูกระเบื้อง
2.3 ตรวจเช็คระดับพื้นที่ที่จะทำการปูกระเบื้องให้ได้ระดับตามความต้องการ ถ้ามากกว่าหรือน้อยกว่าให้ทำการแก้ไข
2.4 ผสมกาวซีเมนต์ตามส่วนและวิธีของผู้ผลิตกาวซีเมนต์ โดยทั่วไป กาวซีเมนต์ 1 ถุง(15-20kg)ต่อน้ำ 3-5ลิตรแล้วแต่ละตราผลิตภัณฑ์ระบุ
2.5 เทกาวซีเมนต์ลงบนพื้นให้เพียงพอสำหรับกระเบื้องที่จะติดตั้ง ใช้เกรียงหวีฟันปลาปาดให้เป็นร่องให้ทั่วรวมถึงบริเวณหลังแผ่นกระเบื้องที่ จะติดตั้งด้วย(เบอร์ของหวี แล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ กาวซีเมนต์ที่ใช้)จากนั้นนำกระเบื้องปูลงบนกาวซีเมนต์โดยปูตามแนวลูกศรหลัง กระเบื้อง เคาะด้วยค้อนยางเบาๆเพื่อให้ได้ระดับ
2.6 ทำการจัดงานแผ่นกระเบื้องและแนวร่องรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีร่องระหว่างรอยต่อ 2-3มม.เมื่อวางแผ่นกระเบื้องเต็มพื้นที่แล้ว ควรปล่อยให้กาวซีเมนต์เซ็ทตัว(ตามกำหนดระยะเวลาของกาวซีเมนต์ที่เลือก ใช้)โดยในระหว่างนี้ควรทำความสะอาดกระเบื้องแล้วป้องกันด้วยแผ่นพลาสติก POLYGENE SHEETและกระดาษลูกฟูกหรือไม้อัดตามแต่สภาพหน้างาน เพื่อให้การก่อสร้างส่วนอื่นๆสามารถทำต่อไปได้โดยพื้นผิวไม่เสียหาย
2.7 หลังปูนเซ็ทตัวให้ทำการยาแนวเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกค้างตามร่องกระเบื้อง โดยทำความสะอาดรอยต่อของกระเบื้องด้วยการใช้เหล็กแหลมหรือแปรงแข็ง ต่อจากนั้นให้ใช้วัสดุยาแนวอัดให้เต็มแน่นเพื่อไม่ให้มีฟองและโพรงอากาศ หากมีเศษยาแนวล้นออกมาให้เช็ดออกด้วยผ้าหมาดๆก่อนที่จะปูนยาแนวจะแข็งตัว


ติดต่อสอบถาม   



7
กระเบื้องเซรามิกผลิตอย่างไร เหมาะกับการใช้งานประเภทไหน?
ถ้าพูดถึงกระเบื้องเซรามิกแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก ทั้งนี้กระเบื้องเซรมิกยังมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า “กระเบื้องเคลือบ” ถือเป็นหนึ่งในประเทภกระเบื้องที่ได้รับความนิยม แต่จะมีสักกี่คนกันที่ทราบว่า กระเบื้องเซรามิกนั้น มีขั้นตอนในการผลิตอย่างไร แล้วจริงๆ นั้น เหมาะกับการใช้งานประเภทใดกันแน่ วันนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับกระเบื้องเซรามิกกันให้มากขึ้น

ขั้นตอนการผลิตกระเบื้องเซรามิก
กระเบื้องเซรามิก คือ กระเบื้องดินเผา ผลิตขึ้นมาจากการนำดินเหนียว หิน แร่ ทรายแก้ว ฯลฯ มาเผารวมกันด้วยความร้อนอุณภูมิสูง 900 – 1,000 องศาเซลเซียส แล้วหลังจากนั้นก็มาผ่านกระบวนการเคลือบสี เพื่อลดอัตราการดูดซึมน้ำ มีการแต่งผิวให้เกิดสัมผัสที่แตกต่าง โดยอุณหภูมิที่ใช้เผานั้น จะเป็นตัวกำหนดความแข็งแกร่งของกระเบื้อง ซึ่งยิ่งเผาที่อุณหภูมิสูงกระเบื้องก็จะยิ่งมีความทนทานมากขึ้น

กระเบื้องเซรามิกให้กับงานประเภทใดได้บ้าง?
โดยทั่วไปแล้วกระเบื้องเซรามิกสามารถใช้ได้กับทั้งงานปูพื้น และงานปูผนัง แต่หากเป็นกระเบื้องเซรามิกที่ใช้สำหรับปูผนังนั้น จะไม่ควรนำมาปูพื้น เพราะกระเบื้องเซรามิกสำหรับผนังจะถูกเผาด้วยอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ทำให้มีความแข็งแกร่งน้อยกว่า ทั้งยังมีความพรุนในตัว ทำให้ดูดซึมน้ำได้มากกว่าก จึงไม่เหมาะกับการทำมาเป็นกระเบื้องปูพื้น และหากถามถึงความเหมาะสมที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไปของกระเบื้องเซรามิกแล้วนั้น โดยส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับงานในอาคาร ที่ไม่ต้องโดดแดด โดนฝนมาก ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องมีการสัญจรมาก และไม่เหมาะกับบ่อ หรือสระน้ำ เนื่องจากต้องมีการแช่น้ำ มีน้ำขัง ซึ่งจะทำให้เสียหายเร็ว
กระเบื้องเซรามิกถือเป็นหนึ่งในกระเบื้องที่มีความสวยงาม มีสีสันและลวดลายให้เลือกมากมาย จึงเหมาะสำหรับการตกแต่งต่อเติมบ้านและอาคารให้สวยงามตามต้องการ แต่ทั้งนี้ ในการจะเลือกใช้กระเบื้องเซรามิกนั้น ก็ต้องคำนึงถึงพื้นที่หน้างานด้วยว่ามีความเหมาะสมกับคุณสมบัติของกระเบื้องเซรามิกมากน้อยแค่ไหน เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว แม้จะมีความสวยงาม และก็จะไม่สามารถใช้งานได้นานนั่นเอง

– กระเบื้องเซรามิค เป็นกระเบื้องที่ผ่านการเผา 1 หรือ 2 ครั้ง ตามลักษณะการใช้งาน และเคลือบผิวทำลวดลายเป็นกระเบื้องที่มีขนาดหลากหลายและมีโทนสีสไตล์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากที่สุด กระเบื้องเซรามิคแบ่งออกเป็นกระเบื้องสำหรับปูพื้น และปูผนัง ซึ่งไม่แนะนำให้เอากระเบื้องเซรามิคสำหรับผนังไปปูพื้นเพราะ ออกแบบให้รับน้ำหนักต่างกัน นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นแบบผิวมัน และแบบผิวหยาบ สำหรับเลือกใช้งานแบบต่างๆอีกด้วย
– กระเบื้องแก้ว เป็นกระเบื้องที่ทำจากชิ้นงานแก้วมาขึ้นรูป ตกแต่งด้วยลวดลายพิมพ์ หรือตกแต่งสีสันลวดลายภายใน ทำให้ลวดลายอยู่ทนทานกว่าลายพิมพ์บนพื้นผิวหน้าอย่างกระเบื้องประเภทอื่น ๆ
– กระเบื้องดินเผา เป็นงานเผาด้วยเทคนิคแบบดั้งเดิม ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ มีทั้งแบบเคลือบเงาและไม่เคลือบเงาเหมาะกับงานตกแต่งสไตล์ธรรมชาติ รีสอร์ท สปาเป็นต้น
– กระเบื้องโมเสก เป็นกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ ใช้ติดบนแผ่นตาข่ายรอง เหมาะกับไปติดบนพื้นที่มีขนาดเล็กและโค้งมน หรือสระว่ายน้ำ
– กระเบื้องยาง ทำจากยางพีวีซี เปรียบเทียบกับกระเบื้องเคลือบแล้วกระเบื้องยาง ให้สัมผัสที่นุ่มนวลกว่า การติดตั้งและปรับเปลี่ยนง่าย เหมาะสำหรับพื้นสำนักงานหรือสถานที่ที่ไม่ต้องการความหรูหรามากนัก

กระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงดินมากกว่าหิน เพราะมีอัตราการซึมน้ำสูง มีรูพรุนมาก ทำให้มีการยืดหดตัวสูงเมื่อโดนความชื้นและความร้อน แตกหักง่าย ผุกร่อนโดยกัดเซาะได้ง่าย ผิวค่อนข้างด้าน ตัวเนื้อดินเผามีสีสันให้เลือกไม่มากนัก และหากไม่ได้ผลิตด้วยมาตรฐานระดับสูงมักมีสีสันของแต่ละแผ่นไม่สม่ำเสมอ ยกเว้นแต่จะทำการเคลือบสีเพิ่มเข้าไป ข้อดีของกระเบื้องชนิดนี้คือไม่ลื่น(ถ้าไม่ได้มีตะไคร่น้ำเกาะ) ระบายความชื้นและความร้อนได้ดี จึงอมความร้อนไว้ไม่นาน ราคาประหยัด

ขนาดของกระเบื้องดินเผา
12×12 นิ้ว ใช้ 10 แผ่น/ตารางเมตร
10×10 นิ้ว ใช้ 16 แผ่น/ตารางเมตร
8×8 นิ้ว ใช้ 25 แผ่น/ตารางเมตร
6×6 นิ้ว ใช้ 45 แผ่น/ตารางเมตร
4×8 นิ้ว ใช้ 45แผ่น/ตารางเมตร

คุณสมบัติ
กระเบื้องดินเผาอาจจะดูด้อยกว่ากระเบื้อสมัยใหม่อย่าง กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องคันไซ หรือกระเบื้องแรกนิต แต่จุดเด่นสำคัญของกระเบื้องดินเผาที่หาไม่ได้จากกระเบื้องแบบอื่นนั่นก็คือ "ความคลาสสิค" กระเบื้องดินเผานั้นจัดว่าเป็นกระเบื้องที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากที่สุด เวลาที่เราเอาไปปูพื้นหรือผนังบ้าน จะช่วยให้บรรยากาศรอบๆดูเป็นธรรมชาติ และดูน่าหลงไหล ไม่แข็งกระด้าง จึงไม่น่าแปลกใจที่บรรดารีสอร์ทหรือโรงแรมมักจะนิยมนำกระเบื้องดินเผาไปใช้ตกแต่งสถานที่เพื่อให้ดูสวยงามแบบมีเอกลักษณ์มากมาย

กระเบื้องแกรนิตโต้ ซึ่งที่จริงก็คือกระเบื้องพอร์ซเลนไม่เคลือบผิว โดยทั้งแผ่นผลิตจากตัวเนื้อวัสดุชนิดเดียวกันตลอดทั้งแผ่น (Homogeneous) ซึ่งก็คือหากเกิดการกระเทาะหรือตัดกระเบื้อง จะเห็นเนื้อด้านข้างเป็นสีเดียวกับผิวกระเบื้อง อัตราการซึมน้ำต่ำ ความแกร่งสูง สามารถปูชิดกัน และคุณสมบัติอื่น ๆ

คุณสมบัติ
แกรนิตโต้ หรือ กระเบื้องแกรนิตโต้ คือกระเบื้องเซรามิคชนิดหนึ่งที่เป็นหินแกรนิตเทียม มีส่วนผสมของผงหินแกรนิต แล้วนำไปผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง แข็งแรงเทียบเท่าหินแกรนิต โดยทั่วไปแข็งแกร่งกว่ากระเบื้องเซรามิคชนิดอื่น เนื้อกระเบื้องเป็นเนื้อเดียวทั้งแผ่น อุณหภูมิในการเผากระเบื้องแกรนิตโต้ จะอยู่ที่ประมาณ 3000 องศาขึ้นไป

การนำไปใช้งาน
แกรนิตโต้ ส่วนมากจะมีขนาดต่างๆ ดังนี้
แกรนิตโต้ ขนาด 60x60 cm เป็นขนาดที่ขายกันแพร่หลายที่สุด
แกรนิตโต้ ขนาด 30x60 cm เป็นขนาดที่เหมาะกับการปูผนัง เป็นขนาดที่นิยมรองลงมา บางครั้งอาจนำกระเบื้องแกรนิตโต้ขนาด 60x60 cm ไปตัดครึ่งก็มี
การนำกระเบื้องแกรนิตโต้ไปตัดเป็นขนาดต่างๆ จะต้องคำนึงถึงการหายไปของกระเบื้องเนื่องจากรอยใบตัด ทำให้ได้ขนาดออกมาไม่เต็ม 30x60 cm

กระเบื้องโมเสค เป็นกระเบื้องขนาดเล็ก ที่ถูกออกแบบมาใช้งานหลายรูปแบบทั้งใช้งานทั่วไป รวมไปถึงใช้งานตกแต่งอีกด้วย บริเวณที่ใช้งานโมเสคมีหลายบริเวณ มีทั้ง โรงจอดรถ ผนังห้องน้ำ ผนังห้องครัว ผนังห้องรับแขก สระว่ายน้ำ

คุณสมบัติ
คุณสมบัติของกระเบื้องโมเสคคือมีขนาดเล็กทำให้ปูได้ปริมาณน้อยต้องใช้จำนวนมากทำให้มีราคาสูงกว่าการปูกระเบื้องทั่วไป แต่การที่มีขนาดเล็กทำให้ตกแต่งได้หลายรูปแบบ เช่น สีเดี่ยวทั้งแผง สีสลับสี แรนด้อมสีให้กลมกลืน รวมทั้งแบบใช้หลายสีให้ออกมาเป็นรูปทรงต่างๆ คล้ายภาพวาด ซึ่งสวยงามมากอแต่ก็ราคาแพงมากเช่นกัน ขนาดของกระเบื้องโมเสคสามารถนำมาปูปนกันได้เช่น แผ่นขนาด 1×1 นิ้ว นำมาปูผสมแผ่นขนาด 2×2นิ้วจะเป็นลวดลายศิลปะแบบแปลกตาที่สามารถใช้ตกแต่งบริเวณต่างๆได้อย่างดี หากใช้ในการปูสระว่ายน้ำต้องใช้จำนวนมาก จึงนิยมใช้กระเบื้องโมเสคแบบติดเน็ตที่สามารถปูได้ทันทีเป็นตาข่ายที่มีขนาดกว้างแล้วปูติดเน็ตมาจัดเรียงแถวไว้เรียบร้อยแล้ว การใช้งานก็เพียงวางลงไปติดตั้งแล้วยาแนวได้ทันทีสะดวกรวดเร็ว
เซรามิค (ceramic) เป็นคำเรียกรวมของเครื่องปั้นดินเผาทุกชนิด และแบ่งเป็นเคลือบหรือไม่เคลือบ ดังนั้นกระเบื้องเซรามิคก็คือกระเบื้องดินเผา ถ้าเคลือบก็เรียกกระเบื้องเคลือบ ถ้าไม่เคลือบก็เรียกกระเบื้องดินเผาเฉยๆ กระเบื้องแกรนิโตก็เป็นเซรามิค มีชื่อจริงว่ากระเบื้องพอซเลน (porcelain tile) เป็นกระเบื้องที่ทำจากดินชนิดหนึ่ง เรียกกันทั่วไปว่าดินขาว มีเนื้อละเอียดแน่นและมีแร่ธาตุต่างๆไม่เหมือนดินทั่วไป
แต่เรียกกันติดปากว่ากระเบื้องแกรนิโต เพราะกระเบื้องชนิดนี้เมื่อเข้ามาขายในเมืองไทยนานแล้วยี่ห้อแกรนิโต (นำเข้าจากออสเตรเลีย) คนก็เรียกกันติดปากเหมือนผงซักฟอกแฟ้บ แกรนิโตก็มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ

คุณสมบัติ
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กระเบื้องปูพื้น และกระเบื้องบุผนัง มีทั้งชนิดเคลือบมันและชนิดที่ไม่เคลือบมัน ในส่วนผิวหน้าเคลือบนั้น ก็ยังสามารถแบ่งได้เป็น ผิวมัน (Glossy) และผิวธรรมดา (Matt) ซึ่งชนิดผิวธรรมดานี้สามารถแบ่งอีก 2 ชนิด นั่นก็คือเป็นกระเบื้องแบบผิวไม่หยาบ (Satin) และผิวหยาบ (Rustic)
ขนาดของ กระเบื้องปูพื้น มีหลายขนาดค่ะ ไล่มาตั้งแต่ 8 x 8 นิ้ว, 12 x 12 นิ้ว, 16 x 16 นิ้ว, 20 x 20 นิ้ว ส่วนขนาดของกระเบื้องบุผนังมี 2.5 x 8 นิ้ว, 8 x 8 นิ้ว, 8 x 10 นิ้ว, 8 x 12 นิ้ว

ในการเลือกซื้อกระเบื้องเซรามิคนั้น มีข้อแนะนำดังนี้ค่ะ
1. ราคาเหมาะสม. หาซื้อได้สะดวก
2. ง่ายต่อการบำรุงรักษา
3. ทนต่อสภาพแวดล้อมและการใช้งาน
4. มีลวดลายและสีสันให้เลือกมากมาย
5. มีอายุการใช้งานนาน


ติดต่อสอบถาม   



8
How To การปูกระเบื้องทับพื้นเดิม มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

ปัญหาคราบสกปรกฝังแน่น หรือรอยขีดข่วนบนพื้นกระเบื้อง รวมไปถึงปัญหากระเบื้องโก่งตัว กระเบื้องระเบิด เป็นปัญหาใหญ่ที่มักเกิดขึ้นในบ้าน โดยวิธีการแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ การปูกระเบื้องใหม่ ถึงแม้จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งเสียเวลาอย่างมาก โดยการปูกระเบื้องใหม่นั้น จะต้องคำนึงถึงวิธีปูกระเบื้องที่ถูกต้อง ต้องผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะได้พื้นที่มั่นคง เพื่อให้พื้นกระเบื้องที่แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้อย่างยาวนาน

การปูกระเบื้องทับกระเบื้องเดิมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายคนเลือกใช้ ในปัจจุบันสามารถปูกระเบื้องทับพื้นเดิมโดยไม่จำเป็นต้องรื้อกระเบื้องเก่าออก! โดยวิธีนี้ถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ต้องการปูพื้นกระเบื้องใหม่ แต่มีงบประมาณที่จำกัด
เพียงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการปูพื้นเบื้องต้น ถึงขั้นตอนการทำที่ถูกวิธี รวมถึงเลือกช่างที่มีความรู้ และความชำนาญ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ก็จะได้พื้นกระเบื้องใหม่ที่แข็งแรงทนทาน ไร้ปัญหากวนใจภายหลัง ที่สำคัญช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และช่วยยืดระยะงานได้งานได้ดีทีเดียว
หนึ่งสิ่งที่สำคัญก่อนเริ่มปูกระเบื้อง คือ อย่าลืมตรวจสอบพื้นเดิมเสียก่อน เพื่อให้พื้นกระเบื้องที่ปูเสร็จเรียบร้อยแล้วออกมาสวยงาม แข็งแรง ไม่เสี่ยงเกิดปัญหาในอนาคต โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้

สิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อนปูกระเบื้องทับพื้นเดิม
- พื้นเดิมต้องเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว
- บริเวณพื้นทั่วไปต้องเสมอกัน ไม่มีความลาดเอียง
- หากต้องการปูกระเบื้องทับบริเวณพื้นห้องน้ำควรตรวจเช็คทิศทางการไหลของน้ำให้ดีเสียก่อน ที่สำคัญต้องทำระบบกันซึมก่อนทำการปูกระเบื้องทับ
- ในกรณีที่มีกระเบื้องบางแผ่นชำรุด อาทิ มีการโก่งตัว หรือมีรอยร้าว ควรสกัดแผ่นที่ชำรุดออก จากนั้นปรับระดับพื้นให้เท่ากับกระเบื้องแผ่นอื่น
- หากกระเบื้องมีอาการโปร่ง ไม่ควรปูทับอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดปัญหากระแตกร้าวหรือน้ำรั่วซึมภายหลังได้

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปูกระเบื้อง มาปูกระเบื้องทับพื้นเดิมกัน
- แผ่นกระเบื้อง เลือกแผ่นกระเบื้องตามความต้องการ โดยเลือกให้เหมาะสมกับโครงสร้าง เพื่อป้องกันปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินจนทำให้เกิดอันตรายได้
- กาวซีเมนต์ ควรเลือกใช้กาวซีเมนต์ที่เหมาะกับการปูทับพื้นกระเบื้องเดิม โดยควรเลือกใช้กาวซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติเกาะติดแน่น เพื่อความแข็งแรง
- ถังผสม ใช้สำหรับผสมกาวซีเมนต์กับน้ำ เพื่อช่วยให้กาวซีเมนต์ผสมเข้ากันได้ดี
- เกรียงหวี ใช้สำหรับปาดกาวซีเมนต์ลงบนบริเวณที่ปูกระเบื้อง โดยควรเลือกใช้เกรียงหวีที่มีขนาดร่องเหมาะกับขนาดแผ่นกระเบื้อง เพื่อการปูกระเบื้องที่ได้มาตรฐานสูงสุด
- ค้อนยาง ใช้สำหรับเคาะแผ่นกระเบื้องให้ได้ระดับตามต้องการ
- กาวยาแนว ใช้สำหรับปิดรอยต่อระหว่างร่องกระเบื้องหลังปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยกาวยาแนวจะช่วยป้องกันคราบสกปรกต่าง ๆ ป้องกันน้ำซึมเข้ากระเบื้อง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเบื้องหลุดร่อนได้

วิธีการปูกระเบื้องทับพื้นเดิม
1. ทำความสะอาดพื้นผิว
ควรทำความสะอาดพื้นผิวกระเบื้องเดิมให้สะอาดเสียก่อน เพื่อป้องกันการปูกระเบื้องทับเศษฝุ่น ความสกปรก หรือสิ่งแปลกปลอม ทำให้อายุการใช้งานพื้นกระเบื้องสั้นลง หรืออาจมีปัญหาตามมาในภายหลังได้

2. ผสมกาวซีเมนต์
เลือกใช้กาวซีเมนต์ที่เหมาะสมกับประเภท และขนาดของแผ่นกระเบื้อง โดยศึกษาวิธีการใช้งานกาวซีเมนต์ให้ละเอียดเสียก่อน จากนั้นจึงผสมกาวซีเมนต์กับน้ำตามปริมาณที่ระบุไว้บนถุง คนกาวซีเมนต์กับน้ำให้เข้ากันแล้วทิ้งกาวซีเมนต์ที่ผสมแล้วให้เคมีบ่มตัวประมาณ 15 นาที โดยควรคนซ้ำอีกครั้งก่อนการใช้งาน

3. ปาดกาวซีเมนต์
ปาดกาวซีเมนต์ที่ผสมแล้วลงบนพื้นผิวที่ต้องการ โดยใช้เกรียงด้านเรียบปาดลงไปบนพื้นที่ที่จะปูกระเบื้องแล้วใช้เกรียงด้านหวีทำมุมเอียง 60 องศาปาดกาวซีเมนต์ให้เป็นร่องสวยงาม จากนั้นจึงไล้กาวซีเมนต์ที่ด้านหลังแผ่นกระเบื้องให้เต็มแผ่นเพื่อเตรียมแปะลงบนพื้นที่ที่ต้องการ

4. แปะกระเบื้อง
หลังจากปาดกาวซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว แปะแผ่นกระเบื้องลงบนบริเวณที่เตรียมไว้ แล้วจัดให้ได้ระดับที่เหมาะสม โดยเลือกใช้อุปกรณ์จัดระดับแนวกระเบื้อง เพื่อให้ได้พื้นที่ร่องยาแนวที่เหมาะสมเท่ากันทุกแผ่น

5. ใช้ค้อนทุบให้ได้ระดับ
หลังจากแปะแผ่นกระเบื้องแล้วจึงใช้ค้อนยางค่อย ๆ ทุบแผ่นกระเบื้องให้ได้ระดับเรียบเสมอกันทุกแผ่น โดยควรจัดระเบียบแผ่นกระเบื้องให้ได้ระดับภายใน 20 นาที ก่อนที่กาวซีเมนต์จะเริ่มเซ็ตตัว

6. ทำยาแนว
หลังจากปล่อยให้ยาแนวแห้งแล้วก็ใช้น้ำยาจระเข้เช็ดทำความสะอาดคราบสกปรกให้เรียบร้อย เพียงเท่านี้กระเบื้องปูพื้นใหม่ก็พร้อมเปิดใช้งานได้แล้ว


ติดต่อสอบถาม   



9
6 ประเภทกระเบื้องที่คุณต้องรู้ก่อน "สร้างบ้าน"
หลายคนคงจะเจอปัญหาว่าจะเลือกกระเบื้องแบบไหน อยากรู้ว่ากระเบื้องปูพื้นมีกี่แบบ เมื่อต้องไปเลือกชนิดกระเบื้องปูพื้นจริงๆ จะได้เลือกถูก ไม่อยากเสี่ยงเสียเงินอีกรอบ หากซื้อมาผิด ถ้าพูดถึงการเลือกกระเบื้องก็ต้องดูลวดลาย ดีไซน์ที่สวยงาม เพื่อบ้านจะได้ออกมาสวยๆ แต่ก็อย่าลืมว่าการเลือกให้เหมาะกับการใช้งานก็สำคัญ ลองมาทำความรู้จักประเภทกระเบื้องปูพื้นก่อนที่จะไปเดินซื้อจริงก่อนดีกว่าว่าเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่แบบไหน

กระเบื้องที่คนนิยมใช้ปูพื้นหรือผนังจะมีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่ กระเบื้องดินเผา กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน กระเบื้องโมเสค กระเบื้องแก้ว และกระเบื้องหินอ่อน  ในบ้านหนึ่งหลังคุณอาจเห็นได้ว่ามีการใช้กระเบื้องหลายๆ ชนิดปนอยู่ด้วยกัน ชนิดของกระเบื้องปูพื้นแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นและมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานที่แตกต่าง เราจะอธิบายเพิ่มเติมไว้ด้านล่าง

กระเบื้องดินเผา
นับว่าเป็นกระเบื้องที่มีการนำมาใช้งานยาวนานที่สุด ใช้กันมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน กระเบื้องทำมาจากดินเหนียวที่นำไปผ่านการเผา เนื้อกระเบื้องมีความด้าน ไม่ค่อยลื่น เก็บความชื้นได้ดี ไม่อมความร้อน พื้นที่ที่ปูด้วยกระเบื้องดินเผาจะมีความเย็นสบาย เป็นกระเบื้องที่มีความคลาสสิค สวยงาม มองแล้วสื่อถึงความเป็นธรรมชาติได้ดี และมีราคาถูก แต่ไม่ค่อยทนทาน ผุกร่อนง่าย ทำความสะอาดยาก มักเจอปัญหาตะไคร่มาเกาะ ควรนำไปปูผนังหรือบริเวณที่ไม่โดนน้ำจะช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น

กระเบื้องเซรามิก
เป็นกระเบื้องที่คนส่วนมากนิยมนำไปปูพื้น เนื่องจากมีสีและลวดลายให้เลือกเยอะ นำไปตกแต่งได้หลากหลายสไตล์ มีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย เนื้อกระเบื้องแน่นและมีความแข็งแกร่งค่อนข้างสูง ค่อนข้างทนทานในระดับหนึ่ง สามารถนำไปปูพื้นหรือผนังได้ ระวังเรื่องถ้านำไปใช้งานผิดประเภท ไม่แนะนำให้เอากระเบื้องปูผนังไปปูพื้น เพราะจะมีปัญหาเรื่องการรับน้ำหนัก กระเบื้องอาจพังเสียหายเร็ว นอกจากนี้กระเบื้องเซรามิกยังดูดซึมน้ำได้ดี เวลาเปียกน้ำ เนื้อกระเบื้องจะมีความลื่น ไม่ควรเอาไปปูพื้นห้องน้ำหรือบริเวณที่โดนน้ำ

กระเบื้องพอร์ซเลน
กระเบื้องพอร์ซเลนเป็นกระเบื้องที่มีส่วนผสมของดินขาวและแร่อื่นๆ ผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิสูงจนกระเบื้องเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น มีความแข็งแรง ไม่แตกง่าย ทนต่อการขูดขีด และมีรูพรุนน้อย กระเบื้องพอร์ซเลนมีค่าอัตราการดูดซึมน้ำต่ำแค่เพียง 0.05% จึงง่ายต่อการทำความสะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค สามารถนำไปติดตั้งในพื้นที่เปียกหรือภายนอกตัวอาคารได้ และนิยมนำไปปูพื้นในบริเวณที่มีการใช้งานบ่อย เช่น ทางเดิน ครอบคลุมการใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีหลากหลายขนาดและลวดลายให้เลือก

กระเบื้องโมเสค
เป็นกระเบื้องที่มีขนาดเล็กที่สุด มีลักษณะเป็นกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ที่นำมาเรียงต่อกันบนตาข่าย เนื้อกระเบื้องอาจเป็นแก้ว หินหรือเซรามิก มีสีสันสดใส มันวาว สีไม่ตกหรือซีดง่าย สามารถนำไปตกแต่งตามผนังหรือพื้นที่ต้องการ ดึงดูดสายตา สร้างไอเดียที่แปลกใหม่ด้วย แพทเทิร์นปูกระเบื้อง แบบต่างๆ และเหมาะนำไปติดบนพื้นที่ขนาดเล็กและโค้งมน เช่น ซุ้มประตูทางเข้า

กระเบื้องโมเสคมีคุณสมบัติระบายน้ำได้ดีจึงนิยมนำไปปูพื้นสระว่ายน้ำ ไม่เหมาะนำไปปูพื้นในบริเวณที่กว้างๆ เพราะมีขนาดเล็กอาจต้องใช้กระเบื้องจำนวนมาก แถมมีราคาสูง ค่าใช้จ่ายจะสูงเกินไป และเป็นกระเบื้องที่ทำความสะอาดยากที่สุด เพราะมีร่องระหว่างรอยต่อกระเบื้องเยอะ

กระเบื้องแก้ว
กระเบื้องแก้วเกิดจากการนำชิ้นแก้วมาขึ้นรูปเป็นแผ่นกระเบื้อง มีลักษณะมันวาว โปร่งแสง สีสันและลวดลายมีความทนทานกว่ากระเบื้องชนิดอื่น ลักษณะอาจคล้ายกระเบื้องโมเสคแต่จะมีความมันวาวมากกว่า รับน้ำหนักได้ไม่เยอะ ไม่ควรนำไปปูพื้น เหมาะกับการนำไปใช้ตกแต่งหรือใช้ปูในพื้นที่แคบๆ ไม่นิยมปูในพื้นที่กว้างๆ เพราะกระเบื้องชิ้นเล็กปูยาก และราคาค่อนข้างสูง

แผ่นหินอ่อน
หินอ่อนเป็นหินที่มีเนื้อแข็ง เกิดจากธรรมชาติ ไม่กักเก็บความร้อน จุดเด่นคือมีความเย็นอยู่ในตัว เมื่อนำมาตกแต่งจะให้ความรู้สึกหรูหรา ด้วยลักษณะที่มีความมันวาว ลวดลายเป็นลายเส้นดูพริ้วไหว หลายคนนิยมนำไปปูพื้นในโรงแรมหรืออาคารที่มีสถาปัตยกรรมที่เน้นความโอ่อ่า สง่างาม มีระดับ สร้างความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แต่ราคาจะสูงกว่ากระเบื้องประเภทอื่นๆ มีน้ำหนักเยอะ การดูรักษาค่อนข้างยุ่งยาก ต้องระวังเรื่องรอยขีดข่วน แถมเกิดรอยด่างได้ง่าย ไม่ทนต่อกรด ไม่ทนต่อด่าง

กระเบื้องแต่ละประเภทมีจุดเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกันไป บางประเภทก็ถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับปูพื้นหรือผนัง บางประเภทก็ไว้ใช้สำหรับตกแต่ง เช่น ถ้าเอาไปปูพื้นที่ต้องการความทนทานหน่อยก็เลือกกระเบื้องพอร์ซเลน อยากใช้กระเบื้องไปตกแต่งก็เลือกกระเบื้องโมเสคหรือกระเบื้องแก้ว หรือบางทีอยากได้ทางเดินที่ดูแนวธรรมชาติ กระเบื้องดินเผาก็เป็นตัวเลือกที่ดี เห็นเลยว่าการเลือกกระเบื้องไม่มีสูตรตายตัว มันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ลองดูว่าคุณจะนำไปใช้งานส่วนไหน? กระเบื้องแบบไหนถึงจะเหมาะที่สุด?...

ติดต่อสอบถาม   



10
4 วัสดุปูพื้น ใหม่ๆที่ไม่ต้องรื้อพื้นเดิมออก

หากคุณกำลังเบื่อ วัสดุปูพื้น ห้องแบบเดิมๆ แต่ไม่อยากยุ่งยากกับการต้องสกัดแผ่นกระเบื้องเก่าออกให้เลอะเทอะ บางคนอยู่อาศัยในคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ที่อาจไม่สะดวกต่อการรื้อถอนวัสดุ วิธีการหนึ่งที่เราอยากแนะนำก็คือ การปูวัสดุใหม่ทับพื้นเดิมไปเลย ซึ่งก็มีเทคนิคและวิธีการแตกต่างกันไป ลองดูไอเดียดีๆเหล่านี้กันครับ

1. ปูกระเบื้องทับพื้นเดิม
วิธีการนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมในการรีโนเวตคอนโดหรือห้องพักที่ไม่สามารถรื้อกระเบื้องเก่าออกได้ง่ายนัก หรือไม่ต้องการสร้างฝุ่นและเสียงดังให้ต้องเก็บกวาดในภายหลัง

วิธีการ การปูกระเบื้องทับพื้นเดิมเริ่มจากการลงน้ำยารองพื้นพอลิเมอร์สำหรับปูกระเบื้องก่อน จากนั้นสำรวจพื้นกระเบื้องเดิมที่มีความเสียหาย ให้สกัดออกแล้วจึงใช้กาวซีเมนต์เติมลงไปในช่องวาง สุดท้ายจึงปูกระเบื้องใหม่ด้วยกาวซีเมนต์

2. ปูกระเบื้องไวนิลทับพื้นเดิม
กระเบื้องไวนิลหรือกระเบื้องยางเป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ปูพื้นห้องพัก ด้วยความสะดวกและลวดลายที่มีให้เลือกหลากหลาย รวมถึงให้สัมผัสนุ่มนวล ปัจจุบันกระเบื้องชนิดนี้สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมากเพราะมีทั้งกาวอะคริลิกที่ติดตั้งง่ายกว่ากาวยาง และกระเบื้องแบบคลิกล็อกที่ไม่ต้องใช้กาวซึ่งเจ้าของบ้านสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

วิธีการ ใช้ปูนกาวปรับรองกระเบื้องเดิมให้เรียบ เพื่อไม่ให้กระเบื้องยางหักเมื่อปูทับร่อง รอจนปูนกาวแห้งจึงลงกาวอะคริลิกโดยใช้เกรียงหวีเพื่อความเรียบของเนื้อกาวก่อนจะเริ่มปูกระเบื้องไวนิลจากบริเวณประตูเข้าไป หรือหากว่าเป็นแบบคลิกล็อกก็สามารถติดตั้งโดยการสอดลิ้นของกระเบื้องแต่ละแผ่นเข้าด้วยกันได้ทันที

3. ปูพื้นไม้ลามิเนตทับพื้นเดิม
เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กระเบื้องไวนิล พื้นไม้ประเภทนี้ให้สัมผัสการเดินที่คล้ายพื้นไม้เพราะมีชั้นของไม้อัดรวมอยู่ในวัสดุด้วย แต่อาจต้องระวังเรื่องน้ำและความชื้นอยู่บ้าง

วิธีการ ปูแผ่น Underlay ทับกระเบื้องเดิมเพื่อปรับพื้นเดิมให้เรียบเสมอกัน แผ่น Underlay ยังลดเสียงกระทบเวลาเดินและให้ความรู้สึกนุ่มนวลต่อการเดินมากขึ้นอีกด้วย จากนั้นจึงวางแผ่นพื้นไม้ลามิเนตลงไปโดยปูเข้าลิ้นกันไปตามความยาวของห้อง ควรเว้นร่องจากผนังทุกด้านเอาไว้ 1 เซนติเมตรเผื่อในกรณีพื้นไม้ลามิเนตขยายตัว จากนั้นจึงติดตั้งบัวพื้นหรือตัวกันขอบก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

4. ทาสีทับพื้นเดิม
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เราสามารถทาสีทับกระเบื้องเดิมได้โดยไม่กลัวลอกล่อนแล้ว เช่นสี Hycoat ของโจตัน ที่สามารถแปลงโฉมกระเบื้องเดิมให้กลายเป็นกระเบื้องสีสันสดใสหรือจะคุมโทนขาวเทา และดำแบบมินิมัลก็ยังได้

วิธีการ ขั้นแรกให้ทำความสะอาดผิวและร่องของกระเบื้องเดิมให้ดีเสียก่อน หากยาแนวเริ่มหลุดล่อนให้ซ่อมแล้วรอจนแห้งสนิทจากนั้นจึงผสมสี Hycoat ตามอัตราส่วนที่อธิบายไว้ข้างกระป๋องก่อนจะทาลงไปเพื่อเตรียมไว้เป็นรองพื้น เมื่อสีแห้งสนิทดีแล้วพื้นผิวของกระเบื้องก็พร้อมที่จะทาสีอีพ็อกซี่ทับลงไปได้ทันที


ติดต่อสอบถาม   



11
วิธีเปลี่ยนลูกล้อประตูบานเลื่อน(บานแขวน) ด้วยตัวเองแบบไม่ง้อช่าง
ประตูกระจกบานเลื่อนมีเสียงดังแก๊กๆเบาเวลาเลื่อน ตามช่างที่เป็นคนติดตั้งไม่ยอมมาดู เพราะงานเล็ก ผ่านไป 5 เดือน เสียงแก๊กๆเบากลายเป็นเสียงแก็กๆดัง ชนิดที่ว่าเวลาเปิดปิดได้ยินกันทั้งบ้าน ตามช่างรายเดิมได้แต่ตอบปัดๆไปว่าแล้วจะส่งลูกน้องมาดู โทรตามมีทำเสียงเข้มใส่ ตามช่างรายอื่นอีก 2-3 รายแถวๆบ้านก็ตอบคล้ายกัน แต่ไม่มีใครมาดู คราวนี้ลองหาช่างในอินเตอร์เนตอีก 2 รายก็ยังไม่มีใครมา ผมเป็นทำงานช่างได้บ้าง พอซ่อมอะไรเล็กน้อยในบ้านได้ คิดว่าคงต้องเปลี่ยนเอง  หาข้อมูลใน YouTube ก็พอมีบ้างแต่ก็ยังไม่ค่อยชัดเจนว่า ชุดลูกล้อมันถอดออกจาก ประตูอย่างไร และเมื่อถอดล้อได้แล้วจะเอาลูกล้อที่เสียออกจากรางอย่างไร เลยลองเปิดดูลูกล้อเอง พบว่าช่องลูกล้อถูกปิดด้วยแผ่นอลูมิเนียมซึ่งถูกยึดอยู่ด้วยริเวท ต้องใช้สว่านเจาะเข้าที่หัวริเวทเพื่อให้หัวมันหลุด จะได้เปิดแผ่นลูกล้อออกได้  พอเปิดออกได้เห็นลูกล้อก็จริงแต่ก็ยังไม่อ๋อว่ามันจะถอดยังไงเพราะมีตัวล๊อกกันเลื่อนที่เป็นพลาสติกปิดอยู่อีก ชะงักอยู่ตรงนี้อีกหลายวัน ระหว่างนี้หา YouTube ดูไปเรื่อยๆก็ยังไม่มีที่ไหนบอกว่าแล้วจะสอดประแจไปไขล้อได้ยังไง โชคดีมีผู้รู้แนะนำนิดหน่อย เลยคิดว่าคงทำเองได้แน่ ลองถามซื้อลูกล้อตามร้าน Hardware ก็ไม่มีแบบที่ใช้กับบานแขวนเลยไปซื้อที่ HomePro  มา 400 กว่าบาท เอามาลองทาบกับรางดูปรากฏว่าเล็กไป สุดท้ายต้องวัดขนาดความห่างของรางไปเทียบกับลูกล้อ คราวนี้เห็นร้านขายอลูมิเนียมและอุปกรณ์ทำฝ้าข้างทางครับ ลองถามดู ปรากฎว่าใช่เลย มีขายชุดละ 430 บาท ในกล่องจะมีลูกล้อ 2 ชุดสำหรับประตู 1 บานพอดี แล้วลองเปลี่ยนดูอีกครั้ง คราวนี้สำเร็จครับ ต่อไปจะสรุปอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมและขั้นตอนการเปลี่ยนเป็นขั้นๆนะครับ

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.ลูกล้อบานแขวนที่มีระยะห่างระหว่างกลางล้อทั้งสอง 29 mm (รูปที่ 1) เท่ากับความห่างของร่องราง (รูปที่ 2)  ลูกล้อราคา 430 บาท  ซื้อจากร้านขายอลูมิเนียมและอุปกรณ์ทำฝ้า ) อันนี้เขียนละเอียดเพราะเคยซื้อผิดจาก HomePro มาแล้วครับ คือซื้อมาเล็กเกินไป
2.สว่านไฟฟ้าและดอกขนาด 5 mm ใช้เจาะหัวริเวท เพื่อเปิดฝาปิดช่องลูกล้อ
3.เครื่องยิงริเวท และตัวริเวท สำหรับยึดฝาปิดช่องลูกล้อเมื่อเปลี่ยนเสร็จแล้ว
4.ประแจปากตายเบอร์ 16 ใช้ไขก้านล้อเพื่อให้บานประตูเลื่อนขึ้นลง
5.ไขควงแบนเล็ก ขนาดประมาณไขควงวัดไฟ ไว้งัดตัวล๊อกกันก้านล้อเลื่อน
6.ผู้ช่วย 2 คน เดี๋ยวจะบอกว่าทำไมต้อง 2 คน
7.เก้าอี้หรือบันไดที่สูงพอให้เราทำงานกับลูกล้อประตูได้ 2 ตัว

ขั้นตอนการทำงาน
1. ผู้ช่วย 2 คนอยู่ด้านนอก ผู้เปลี่ยนอยู่ด้านใน (ฝั่งเดียวกับช่องล้อ)
2. ปิดประตูให้สนิท
3. ใช้สว่านเจาะที่หัวริเวท ฝาปิดละตัวก็พอครับ
4. บิดฝาปิดไปด้านข้างเพื่อเปิดช่องออก
5. ใช้ไขควงแบนที่เตรียมไว้สอดเข้าช่องใต้พลาสติกตัวล๊อกกันเลื่อนแล้วงัดเบาๆ  (รูปที่ 3) จากนั้นดึงพลาสติกตัวล๊อกกันเลื่อนให้ถอยหลัง จะเห็นส่วนของแกนชุดล้อที่เป็นหกเหลี่ยม (รูปที่ 4) ให้เราไขขึ้นลงด้วยประแจปากตายเบอร์ 16 ได้
6. ตอนนี้ผู้ช่วยคนที่ 1 ต้องประคองประตูกระจกอยู่ด้านนอกครับ
7. ผู้ช่วยคนที่ 2 อยู่บนเก้าอี้บริเวณหัวรางที่เขาแหว่งไว้ให้เอาชุดลูกล้อเข้า-ออก
8. ไขประแจจากขวาไปซ้าย (รูปที่ 5) ประตูจะค่อยลดต่ำลงจนวางกับพื้น ไขประแจต่อไปอีกสัก 5 ครั้งให้แน่ใจว่ามันจะไม่รั้งประตูไว้ตอนเราผลักมันออก ทำแบบนี้กับล้อทั้ง 2 ชุด
9. ตอนนี้ผู้ช่วยคนที่ 1 ต้องประคองประตูกระจกอยู่ด้านนอกครับ
10. ผู้ไขประแจค่อยๆผลักบานประตูออกจากตัวไปยังผู้ช่วย ประตูจะค่อยๆเอนออก และหลุดออกจากลูกล้อ
11. ตอนนี้เราเลื่อนลูกล้อทั้ง 2 ชุดออกไปทางหัวรางที่เขาแหว่งไว้ (รูปที่ 6) ผู้ช่วยคนที่ 2 เอาลูกล้อเดิมออกและเอาลูกล้อใหม่ใส่กลับเข้ามาในรางทั้ง 2 ชุด
12. จัดตำแหน่งลูกล้อทั้ง 2 ชุดให้รอยบากตรงกับแกนทั้ง 2 อัน
13. ผู้ช่วยคนที่ 1 ผลักประตูออกจากตัวให้แกนชุดลูกล้อรอยเข้าไปในรอยบากเต็มที่
14. ไขประแจจากซ้ายไปขวา ประตูจะค่อยยกขึ้นจากพื้น ทำแบบนี้กับล้อทั้ง 2 ชุด
15. ตอนนี้ผู้ช่วยคนที่ 1 ละมือจากประตูได้ และลองเลื่อนบานประตูไปมา ประตูต้องเลื่อนได้ลื่นและเสียงแก๊กๆต้องหายไป
16. ขั้นตอนต่อไปต้องปรับให้ช่องระหว่างประตูกับวงกบแคบแบบขนานกันทั้งด้านล่างและด้านบน (รูปที่ 7)  ถ้าช่องด้านบนเหลือมากกว่าให้ไขลูกล้อด้านหลังให้สูงขึ้น ถ้าช่องด้านล่างเหลือมากกว่าให้ไขลูกล้อด้านหลังให้ลดบานประตูลงเล็กน้อย จากนั้นลองเลื่อนดูให้แน่ใจว่าคล่องดี
17. ดันพลาสติกตัวล๊อกกันเลื่อน เข้าตำแหน่งล๊อก
18. เลื่อนฝาปิดล้อให้เข้าที่ แล้วใช้เครื่องยิงริเวทยึดฝาปิดให้เหมือนเดิม


ติดต่อสอบถาม   



12
ประตูอัตโนมัติ หรือ ประตูเลื่อนอัตโนมัติ

ชุดรางประตูอัตโนมัติ (Auto Door) ภายใต้แบรนด์ “FEDA”
 เมื่อคุณอยากมีประตูบานเลื่อนสวยๆ ประตูอัตโนมัติที่เปิดปิดเองได้ เพียงแค่คุณเดินผ่าน ประตูออโต้ดอร์ ที่ได้รับความนิยมกันในขณะนี้ ทั้งออฟฟิต อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ เวิร์คเสปซ โรมแรม โรงพยาบาล ฯลฯ ประตูอัตโนมัติที่ถูกใจผู้รับเหมา ติดตั้งง่ายสะดวก และยังสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ เป็นการช่วยให้สถานที่ ธุรกิจของคุณมีภาพลักษณ์ที่ดีและมีความทันสมัย เพียงแค่นำชุดรางประตูอัตโนมัติไปติดตั้งก็จะเปลี่ยนประตูกระจกบานเลื่อนธรรมดาให้เป็นประตูเลื่อนอัตโนมัตินั่นเอง
 
    ประตูอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกที่หลากหลาย โดยเรียกตามการใช้งานและรูปแบบการเปิด-ปิดของอุปกรณ์ โดยอาจจะได้การเรียกได้ ดังนี้ ประตูอัตโนมัติ, ประตูเลื่อนอัตโนมัติ, ประตูอัตโนมัติแบบบานเปิด หรือ บานสวิง, ประตูกระจกอัตโนมัติ, ประตูบานเลื่อนกระจกไฟฟ้า, ประตูเซเว่น, กระจกเปิดอัตโนมัติ, ประตูออโต้สไลด์ และยังมีการเรียกแบบต่างๆอีกมากมาย ที่เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ แต่ความหมายทั้งหมดนั้นย่อมหมายถึงประตูอัตโนมัติอย่างแน่นอน

ลักษณะหลักการทำงานของประตูเลื่อนไฟฟ้า
- ประตูบานเลื่อนอัตโนมัติมีการทำงานด้วยระบบ Microprocessor ที่ช่วยค้นหาระยะของบุคคลเพื่อให้ประตูสามารถเปิดและปิดด้วยตัวมันเอง
- ชุดรางประตูอัตโนมัติสามารถรองรับน้ำหนักของประตูถึง 150 Kg / บาน
- สำหรับประตูบานเดี่ยวชุดรางประตูอัตโนมัติรองรับความยาวของบานประตูได้ 60-120 cm.
- สำหรับประตูบานคู่ชุดรางประตูอัตโนมัติรองรับความยาวของบานประตูได้ 50-110 cm.
- ความยาวของรางประตูอัตโนมัติอยู่ที่ 4-6 m.
- ความแรงและขนาดมอร์เตอร์ 55W, 24V DC
- กรณีที่ไฟดับ ประตูอัตโนมัติจะสามารถใช้มือเลื่อนเปิดปิดแบบ Manual ได้
- โหมดประหยัดพลังงาน Mode Half Open ประตูจะเปิดเพียงครึ่งนึง
- กรณีที่ต้องการขนของ Mode Always สามารถใช้รีโมทเพื่อให้ประตูเลื่อนอัตโนมัติเปิดค้างไว้ได้
- กรณีที่มีคนยืนขวางประตู Safety Beam ไม่ต้องกังวลว่าโดนประตูหนีบ มีเซนเซอร์ป้องกันการหนีบ ประตูจะไม่ปิดจนกว่าจะไม่มีสิ่งกีดขวาง

อุปกรณ์ที่สามารถใช้ร่วมกับประตูอัตโนมัติได้
-Touch Wireless Switch ปุ่มกด
-RFID Card การแสกนบัตร
-Barcode การแสกนบาร์โค้ด
-Finger Scan การแสกนนิ้ว
-Face Scan การแสกนใบหน้า
- ระบบ Access ต่างๆ

ประตูไม้สัก แบบบานเลื่อนสไลด์ สามารถติดตั้งแบบ 4 บาน แบบ 2 บาน หรือ แบบบานเดี่ยว ก็ได้นะครับ โดยถ้าติดตั้งแบบ 2 บาน หรือ บานเดี่ยว ประตูจะถูกสไลด์เก็บเข้าด้านฝาผนัง***ประตูไม้สักทุกแบบสามารถนำไปติดตั้งแบบบานสไลด์ได้นะครับ ทั้งนี้อยู่กับพื้นที่การใช้งานครับ และความต้องการของเราครับ
ข้อดีของการติดตั้งประตูไม้สักบานเลื่อน คือ สามารถใช้พื้นที่ในการติดตั้งค่อนข้างน้อย เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยค่อนข้างจะจำกัด การติดตั้งประตูชนิดนี้ จึงสามารถทำให้เพิ่มพื้นที่ มีความโล่งและโปร่งสบายอีกต่างหาก ทำให้บรรยากาศของบ้านดี และกลไกในการติดตั้งก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน และอีกทั้งยังสามารถทำความสะอาด และบำรุงรักษาได้อย่างสะดวกสบาย เหมาะสำหรับบ้านที่ไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลบ้านมากนัก อีกทั้งราคาในการติดตั้งประตูแบบเลื่อนก็จะถูกกว่าการติดตั้งประตูแบบปิด-เปิด

ติดต่อสอบถาม   



13
ประตูบานเลื่อนนั้นสามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบ เช่น แบ่งตามวัสดุบานประตู แบ่งตามประเภทของราง แต่ในบทความนี้จะแบ่งตามลักษณะการเปิด-ปิดบาน ซึ่งจะสัมพันธ์กับขั้นตอนการออกแบบ และการแก้ปัญหาการใช้งานของประตูบานเลื่อน เพื่อเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ

1. ประตูบานเลื่อนเดี่ยวซ่อนผนัง มักใช้กับบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดเช่น ห้องเก็บเสื้อผ้าที่อยู่ในห้องนอน หรือใช้กั้นห้องในกรณี ที่ผนังของทั้งสองห้องต้องมีการใช้งานอบ่างอื่น เช่น วางของ หรือมีตู้สำเร็จรูปวางอยู่ ทำให้ไม่สามารถเลื่อนประตูได้
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- ติดตั้งตัวบัคับรางหรือตัวไกด์บานที่พื้น โดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูไม้จริง ประตูไม้เทียม หรือประตูพลาสวูด ให้เซาะร่องที่สันของประตูด้านล่างเพื่อเป็นแนวให้ประตูเลื่อนไปตามแนวได้
- ควรติดตั้งตัวหยุดบานในระยะที่เหมาะสม โดยกำหนดจุดให้พอเหมาะไม่ให้มือจับชนกับผนัง
- ควรเก็บสีของผนังด้านในทั้งสองข้างที่ใช้เก็บประตูบานเลื่อน เพราะจะสามารถมองเห็นได้
- โดยปกติไม่นิยมล็อคบาน หากต้องการล็อคก็สามารถลอ็คที่พื้นได้ แต่ในการติดตั้งตัวล็อคกับผนังจะทำได้ไม่สะดวก

2. ประตูบานเลื่อนคู่ซ่อนผนัง ใช้งานเช่นเดียวกันกับประตูบานเลื่อนเดี่ยวซ่อนผนัง
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- ติดตั้งตัวบัคับรางหรือตัวไกด์บานที่พื้น โดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูไม้จริง ประตูไม้เทียม หรือประตูพลาสวูด ให้เซาะร่องที่สันของประตูด้านล่างเพื่อเป็นแนวให้ประตูเลื่อนไปตามแนวได้
- ควรติดตั้งตัวหยุดบานในระยะที่เหมาะสม โดยกำหนดจุดให้พอเหมาะไม่ให้มือจับชนกับผนัง
- ควรเก็บสีของผนังด้านในทั้งสองข้างที่ใช้เก็บประตูบานเลื่อน เพราะจะสามารถมองเห็นได้
- หากต้องการล็อคบานก็สามารถทำได้ โดยติดตั้ง Lock set ที่กลางบานหรือที่พื้น

3. ประตูบานเลื่อนเดี่ยวโชว์ราง (รางเหล็ก) ปัจจุบันการตกแต่งสไตล์ลอฟท์นั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก ประตูบานเลื่อนกับรางเหล็กเองก็เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่สะท้อนถึงความ ดิบ เท่ ได้เป็นอย่างดี โดยรางเหล็กนั้นปัจจุบันมีหลายรูปแบบ หลายดีไซน์ แต่การใช้งานนั้นไม่ต่างกัน นิยมใช้คู่กับประตูไม้จริง ประตูไม้เทียม และประตูพลาสวูด ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังนี้
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- ควรเผื่อขนาดของประตูให้กว้างกว่าช่องเปิดประมาณข้างละ 5 ซม. เพื่อเป็นการปิดบังสายตา เพราะหากประตูมีขนาดพอดีกับช่อง จะทำให้สามารถมองลอดออกไปอีกด้านได้
- ติดตั้งตัวบังคับรางหรือไกด์บานที่พื้นโดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูไม้จริง ประตูไม้เทียม หรือประตูพลาสวูด ให้เซาะร่องที่สันของประตูด้านล่างเพื่อเป็นแนวให้ประตูเลื่อนไปตามแนวได้

4. ประตูบานเลื่อนคู่โชว์ราง (รางเหล็ก) การใช้งานคล้ายคลึงกันกับประตูบานเลื่อนเดี่ยว รางเหล็กเนื่องจากไม่มีรางล่างทำให้พื้นที่ใช้งานนั้นมีความต่อเนื่อง
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- ควรเผื่อขนาดของประตูให้กว้างกว่าช่องเปิดประมาณข้างละ 5 ซม. เพื่อเป็นการปิดบังสายตา เพราะหากประตูมีขนาดพอดีกับช่อง จะทำให้สามารถมองลอดออกไปอีกด้านได้
- ติดตั้งตัวบังคับรางหรือตัวไกด์บานที่พื้น โดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูไม้จริง ประตูไม้เทียม หรือประตูพลาสวูด ให้เซาะร่องที่สันของประตูด้านล่างเพื่อเป็นแนวให้ประตูเลื่อนไปตามแนวได้
- หากใช้เป็นประตูหน้าบ้านให้ คำนึงถึงเรื่องของช่องว่างระหว่างประตูกับผนัง ซึ่งอาจมีการรั่วไหลของแอร์ หรือมีสัตว์เล็กเข้ามาในบ้านได้

5. ประตูบานเลื่อนเดี่ยวโชว์ราง (รางอะลูมิเนียม) เนื่องจากรางอะลูมิเนียมนั้นไม่เป็นสนิมจึงนิยมใช้ในห้องน้ำ โดยใช้คู่กับประตูกระจกบายเปลือย (Tempered Glass)
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- หากบานประตูนั้นเป็นกระจกบายเปลือย (ไม่มีกรอบบาน) จะต้องกำหนดจุดที่ต้องการเจาะ รวมทั้งขนาดของบานประตูตั้งแต่ต้นก่อนสั่งผลิต เนื่องจากกระจกบานเปลือยไม่สามารถเจาะหรือตัดหน้างานได้ (กระจกบานเปลือยเกือบทั้งหมดผลิตจากกระจกเทมเปอร์)
- ติดตั้งตัวตัวบังคับรางหรือไกด์บานที่พื้น โดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูกระจกควรใช้รางตัวยู (U) โดยรางตัวยูนั้นมีหลายแบบ สำหรับแบบที่นิยมใช้ในห้องน้ำคือรางตัวยูที่ผลิตจากไนลอน 
- ควรมีการติดตั้งยางกันกระแทกที่ขอบของประตูบานเปิด เพื่อช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากการกระแทกของขอบบานประตูกระจก ทั้งนี้ควรมีการเว้นระยะที่เหมาะสมไม่ให้บานบานกระจกชิดกับกระจกบานติดตาย หรือผนังจนเกินไป

6. ประตูบานเลื่อนคู่โชว์ราง (รางอะลูมิเนียม) รางอะลูมิเนียมนั้นมักใช้คู่กับประตูกระจกบานเปลือย (Tempered Glass)
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- หากบานประตูนั้นเป็นกระจกบายเปลือย (ไม่มีกรอบบาน) จะต้องกำหนดจุดที่ต้องการเจาะ รวมทั้งขนาดของบานประตูตั้งแต่ต้นก่อนสั่งผลิต เนื่องจากกระจกบานเปลือยไม่สามารถเจาะหรือตัดหน้างานได้ (กระจกบานเปลือยเกือบทั้งหมดผลิตจากกระจกเทมเปอร์)
- ติดตั้งตัวบังคับรางหรือตัวไกด์บานที่พื้น โดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูกระจกควรใช้รางตัวยู (U) โดยรางตัวยูนั้นมีหลายแบบ สำหรับแบบที่นิยมใช้ในห้องน้ำคือรางตัวยูที่ผลิตจากไนลอน 
- ควรมีการติดตั้งยางกันกระแทกและสักกะหลาดที่ขอบของประตูบานเปิดแต่ละบานในด้านที่ปิดชนกัน เพื่อช่วยป้องกันการรั่วไหลของแอร์ หรือกันฝุ่นเข้ามาในห้อง และควรมีระยะที่ห่างกันระหว่างบานประตูประมาณ 0.5-1 ซม.

7. ประตูบานเลื่อนเดี่ยวรางแขวน ซ่อนราง ประตูบานเลื่อนแบบรางแขวนแบบซ่อนรางนั้นนิยมใช้ทั้งกับที่อยู่อาศัยเช่นเป็นประตูห้องเก็บเสื้อผ้า หรือใช้ตามอาคารสาธารณะทั่วไป เช่นห้องตรวจแพทย์ เนื่องจากประตูบานเลื่อนนั้นช่วยลดพื้นที่การใช้งานในขณะเปิดประตูได้ แต่มีข้อเสียเรื่องการซ่อมแซมที่ยุ่งยากเนื่องจากต้องเปิดแผ่นที่ปิดรางออมาก่อนจึงจะดำเนินการได้
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- ควรเผื่อขนาดของประตูให้กว้างกว่าช่องเปิดประมาณข้างละ 5 ซม. เพื่อเป็นการปิดบังสายตา เพราะหากประตูมีขนาดพอดีกับช่อง จะทำให้สามารถมองลอดออกไปอีกด้านได้
- ติดตั้งตัวไกด์บานที่พื้น โดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูไม้จริง ประตูไม้เทียม หรือประตูพลาสวูด ให้เซาะร่องที่สันของประตูด้านล่างเพื่อเป็นแนวให้ประตูเลื่อนไปตามแนวได้
- หากใช้เป็นประตูหน้าบ้านให้คำนึงถึงเรื่องของช่องว่างระหว่างประตูกับผนัง ซึ่งอาจมีการรั่วไหลของแอร์ หรือมีสัตว์เล็กเข้ามาในบ้านได้
- ระยะที่จะติดตั้งมือจับของประตู ให้เว้นระยะห่างจากผนังพอสมควรเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
- หากต้องการติดตั้งตัวชะลอบานซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ประตูปิดกลับอัตโนมัติเองแบบช้าๆ สามารถทำได้โดยซ่อนไว้ในแผ่นปิดราง นิยมใช้กับห้องตรวจของแพทย์

8. ประตูบานเลื่อนคู่รางแขวน ซ่อนราง นิยมใช้เป็นทางเข้าอาคาร และเป็นบานเปิด-ปิดอัตโนมัติ โดยอุปกรณ์รางเลื่อนอัตโนมัตินั้นมีขนาดที่แตกต่างกันไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตแต่ละราย วัสดุที่นำมาปิดรางนั้นอาจเป็นชุดสำเร็จรูปจากผู้ผลิต หรือมีการออกแบบใหม่โดยดีไซน์เนอร์เพื่อให้เข้ากับภาพรวมของการตกแต่งอาคารก็สามารถทำได้
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางจากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน
- น้ำหนักของประตูต้องไม่เกินกว่าที่ผู้ผลิตรางกำหนดไว้
- ติดตั้งตัวไกด์บานที่พื้น โดยเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับประตู หากใช้ประตูอะลูมเนียม ที่สันของประตูด้านล่างจะมีร่องเพื่อเป็นแนวให้ประตูเลื่อนไปตามแนวและไม่แกว่ง
- ที่สันด้านข้างของประตูทั้ง 2 บานที่มาปิดชนกัน ต้องมีสักหลาดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของแอร์ และป้องกันฝุ่นละอองที่เข้ามาในอาคาร
- สำหรับรางอัตโนมัตินั้นควรคำนึงเรื่องของสายไฟที่ต่อเข้ามาที่ราง ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงดีเทลบริเวณนี้ด้วย
- อุปกรณ์ล็อคประตูมีทั้งแบบล็อคด้านข้างและล็อคที่พื้น ควรเลือกใช้งานตามความเหมาะสม 

9. ประตูบานเลื่อนเดี่ยว (แบ่ง 2) สำหรับผู้ออกแบบแล้วคำว่าประตูบานเลื่อนเดี่ยวนั้น จะหมายถึงประตูที่สามารถเลื่อนได้ทางเดียว และมีบานเดียวที่สามารถเลื่อนได้ แต่หรับผู้ผลิตหรือช่างผู้รับเหมานั้นมักเรียกว่าประตูบานเลื่อนแบ่ง 2 คือแบ่งช่องประตูออกเป็น 2 ช่องนั้นเอง และหากเป็นประตูบานเลื่อนแบ่ง 4 มักจะหมายถึงประตูบานเลื่อนคู่ที่เปิดออกไปด้านข้างและมีประตูติดตายติดอยู่ทั้งสองข้าง
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางและตัวบาน จากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน เพราะประตูบานเลื่อนอะลูมิเนียมจะจำหน่ายเป็นชุด ต่างจากประตูบานเลื่อนแบบโชว์รางที่เน้นขายเฉพาะรางและให้ผู้ใช้งานติดตั้งเอง
- ไม่ต้องติดตั้งตัวไกด์บานที่พื้น เนื่องจากมีรางล่างอยู่แล้ว
- ควรเลือกใช้รางล่างที่เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งาน เช่นรางสำหรับกั้นห้องภายในควรเลือกรู่นที่มีความเรียบสมูท แต่รางสำหรับกั้นระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกนั้นจะมีระดับที่ต่างกันและมีดีเทลสำหรับกันน้ำฝนไหลเข้ามาภายในอาคาร
- ควรเลือกใช้รางบนรูปแบบที่เหมาะสม เช่นรางแบบที่มีดีเทลกันน้ำฝนไหลย้อน ควรใช้ในกรณีที่เป็นประตูสำหรับกั้นระหว่างภายใน และภายนอก
- ชนิดกระจกนั้นมีผลต่อโปรไฟล์ของอะลูมิเนียม หากต้องการใช้กระจกลามิเนตควรปรึกษาผู้ผลิตก่อน

10. ประตูบานเลื่อนเดี่ยว (แบ่ง 3) ​นอกเหนือจากประตูบานเลื่อนแบบแขวนแล้ว ประตูบานเลื่อนแบบรางก็นิยมใช้ไม่แพ้กัน เนื่องจากมีระบบรางบนรางล่างจึงทำให้สามารถปิดประตูได้มิดชิดกว่าประตูบานเลื่อนแบบแขวน   
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางและตัวบาน จากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน เพราะประตูบานเลื่อนอะลูมิเนียมจะจำหน่ายเป็นชุด ต่างจากประตูบานเลื่อนแบบโชว์รางที่เน้นขายเฉพาะรางและให้ผู้ใช้งานติดตั้งเอง
- ไม่ต้องติดตั้งตัวไกด์บานที่พื้น เนื่องจากมีรางล่างอยู่แล้ว
- ควรเลือกใช้รางล่างที่เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งาน เช่นรางสำหรับกั้นห้องภายในมีมีความเรียบสมูท แต่รางสำหรับกั้นระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกนั้นจะมีระดับที่ต่างกันและมีดีเทลสำหรับกันน้ำฝนไหลเข้ามาภายในอาคาร
- ควรเลือกใช้รางบนรูปแบบที่เหมาะสม เช่นรางแบบที่มีดีเทลกันน้ำฝนไหลย้อน ควรใช้ในกรณีที่เป็นประตูสำหรับกั้นระหว่างภายใน และภายนอก
- การติดตั้งประตูบานเลื่อนในประเทศไทยนั้น นิยมให้ประตูบานที่เลื่อนได้อยู่ด้านนอกเนื่องจาก กรณีที่ฝนตกนำ้ฝนจะได้ไหลออกไปด้านนอกไม่เข้ามาเลอะเทอะด้านใน แต่หากเป็นประเทศเขตหนาวนั้นจะให้ประตูบานที่เลื่อนได้อยู่ด้านใน ในกรณีที่เกิดหิมะตกหนักและทับถมสูงมาก หากให้ประตูบานที่เลื่อนได้อยู่ด้านนอกจะทำให้ไม่สามารถเปิดประตูได้

11. ประตูบานเลื่อนเดี่ยว (แบ่ง 2) กับบานกระจกติดตายด้านข้าง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยปัญหาด้วยการออกแบบ ซึ่งในกรณีนี้เป็นอาคารประเภทบ้านพักอาศัย ดังนั้นการเชื่อมต่อพื้นที่ภายในกับภายนอกสามารถทำได้ด้วยการใช้กระจกติดตายมาเสริมกับประตูบานเลื่อนแบ่ง 2 แทนการใช้ประตูบานเลื่อนแบ่ง 4 ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้และยังได้ความรู้สึกของการเชื่อมต่อพื้นที่ได้เหมือนกัน
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางและตัวบาน จากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน เพราะประตูบานเลื่อนอะลูมิเนียมจะจำหน่ายเป็นชุด ต่างจากประตูบานเลื่อนแบบโชว์รางที่เน้นขายเฉพาะรางและให้ผู้ใช้งานติดตั้งเอง
- ไม่ต้องติดตั้งตัวไกด์บานที่พื้น เนื่องจากมีรางล่างอยู่แล้ว
- ควรเลือกใช้รางล่างที่เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งาน เช่นรางสำหรับกั้นห้องภายในมีมีความเรียบสมูท แต่รางสำหรับกั้นระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกนั้นจะมีระดับที่ต่างกันและมีดีเทลสำหรับกันน้ำฝนไหลเข้ามาภายในอาคาร
- ควรเลือกใช้รางบนรูปแบบที่เหมาะสม เช่นรางแบบที่มีดีเทลกันน้ำฝนไหลย้อน ควรใช้ในกรณีที่เป็นประตูสำหรับกั้นระหว่างภายใน และภายนอก หรือดีไซน์ดีเทลสำหรับกันน้ำฝนขึ้นมาใหม่โดยใช้โครงสร้างหรือวัสดุปิดผิวอาคารก็ได้
- บริเวณผนังก่ออิฐฉาบปูนที่ใช้ติดตั้งประตูบานเลื่อนนั้นต้องเป็นเสาเอ็น หรือหากเป็นวัสดุอื่นก็ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรองรับแรงกระแทกของการเปิด-ปิดประตูได้

12.ชุดประตูบานเลื่อนกระจกโค้ง อัตโนมัติ สิ่งที่ต้องระวังคือทั้งตัวบานและรางเลื่อนต้องมีองศาที่ตรงกัน และเลื่อนเปิด-ปิดได้ สำหรับตัวบานนั้นสามารถใช้ได้ทั้งกระจกดัดโค้งหรือแผ่นอะคลิลิคดัดโค้ง 
- ควรตรวจสอบมาตรฐานของรางและตัวบาน จากผู้ผลิตรวมทั้งการรับประกันการใช้งาน เพราะประตูบานเลื่อนอะลูมิเนียมจะจำหน่ายเป็นชุด ต่างจากประตูบานเลื่อนแบบโชว์รางที่เน้นขายเฉพาะรางและให้ผู้ใช้งานติดตั้งเอง
- การเลือกใช้ประตูบานเลื่อนแบบที่มีการออกแบบพิเศษ นอกเหนือจากแบบมาตรฐานนั้น นอกจากเรื่องของชุดประตูแล้ว ควรต้องมีการคำนวณโครงสร้างจากวิศวกรด้วยโดยเฉพาะเสาเอ็นและทับหลัง
- ควรมีการติดตั้งยางกันกระแทกและสักกะหลาดที่ขอบของประตูบานเปิดแต่ละบานในด้านที่ปิดชนกัน เพื่อช่วยป้องกันการรั่วไหลของแอร์ หรือกันฝุ่นเข้ามาในห้อง และควรมีระยะที่ห่างกันระหว่างบานประตูประมาณ 0.5-1 ซม.
- ควรเลือกใช้งานผู้ผลิตที่มีบริการหลังการขาย เนื่องจากประตูบานเลื่อนแบบพิเศษนั้นจำเป็นต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมแซม

ติดต่อสอบถาม   



14
ประตูบานเลื่อน 14 แบบที่ช่วยขยายพื้นที่บ้านได้เยี่ยมสุดๆ
หากคุณกำลังมองหาไอเดียที่จะแบ่งหรือกั้นพื้นที่ด้วยการใช้ประตูบานเลื่อน คุณก็มาถูกที่แล้วแหละ เพราะไอเดียบุคนี้ homify อยากจะขอพาคุณไปชม 14 ไอเดียเจ๋งๆ ในการใช้ประตูบานเลื่อน ซึ่งปกติแล้วประตูบานเลื่อนนั้นมีหลายขนาด รูปร่าง สี วัสดุ และพื้นผิว แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม มันจะช่วยคุณลดการใช้พื้นที่ได้เยี่ยมเลย ถ้าสนใจไอเดียไหนอย่าลืมเอาไปปรึกษาสถาปนิกกันนะ

1. ประตูโปร่งแสงแต่งด้วยประตูบานเลื่อนแบบกึ่งโปรงแสงขุ่นๆ อีกแล้ว
มาดูที่ตัวอย่างแรกกันนั่นก็คือประตูกระจกขุ่นๆ แบบกึ่งโปร่งแสงและมีกรอบไม้สีเข้ม ข้อดีของประตูแบบนี้คือคนที่อยู่อีกฝั่งของประตูจะมองไม่เห็นเราที่นั่งอยู่ในห้อง เป็นส่วนตัวสุดๆ ไปเลย

2. บานเลื่อนข้างระเบียง
ลองมาติดประตูบานเลื่อนกระจกขนาดใหญ่กัน อย่างในภาพตัวอย่างมันมีขนาดใหญ่ตั้งแต่พื้นจนถึงเพดานเลย ซึ่งเมื่อมองจากห้องนอนก็จะเห็นวิวธรรมชาติได้ชัดแจ๋ว

3. ประตูกระจกใสกิ๊งกั้นห้องกับสวน
เป็นไอเดียประตูกระจกบานเลื่อนอีกแบบหนึ่งที่เราสามารถมองเห็นได้ทั่ว ข้อดีของประตูแบบนี้คือเพื่อรักษาความปลอดภัยของเด็กๆ ที่อาจจะอยากวิ่งไปที่สนามแต่มีประตูกั้นไว้อยู่แล้วจึงไม่เป็นปัญหา

4. ประตูบานเลื่อนแบบกึ่งโปร่งแสงในดีไซน์สวยๆ
ประตูบานเลื่อนแบบกึ่งโปรงแสงขุ่นๆ อีกแล้ว ไอเดียประตูบานเลื่อนแบบนี้เหมาะมากกับคนที่อยากรักษาความเป็นส่วนตัวแต่ก็อยากได้รับแสงธรรมชาติ

5. ประตูกระจกพร้อมม่าน
เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ดีเลยที่บางคนอาจจะรู้สึกว่าพอติดบานเลื่อนกระจกแล้วรู้สึกว่ามีแสงเข้ามามากไป ก็ลองหาม่านสวยๆ มาติดไว้ก็ได้

6. มาในสไตล์รัสติก
ถ้าคุณเป็นแฟนตัวยงของสไตล์รัสติก ก็ต้องลองเลือกเป็นสไตล์แบบนี้ด้วยเลย ซึ่งจะมีเอกลักษณ์อยู่ที่ประตูที่มีทั้งกรอบไม้และเหล็กในลวดลายสวยๆ

7. เน้นที่ความหรูหรา
เพื่อเพิ่มความหรูหราให้กับบ้าน คุณอาจจะเลือกเป็นประตูบานเลื่อนแบบขุ่นที่แบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจตุรัส อย่างในภาพเป็นประตูกรอบไม้ที่สวยและหรูมาก

8. สไตล์หรูๆ แบบคลาสสิค
เอาใจคนชอบแนวหรูคลาสสิคกันบ้างด้วยประตูบานเลื่อนไม้ที่มีกระจกเพ้นท์ลายอ่อนช้อยๆ ดูเข้ากับห้องครัวและการตกแต่งในส่วนอื่นๆ ของบ้านด้วย

9. กระจกบานเลื่อนใสไร้กรอบ
ประตูลักษณะนี้นั้นเหมาะกับสไตล์โมเดิร์นมากๆ เพราะมีดีไซน์ที่เรียบง่ายทันสมัย เป็นไอเดียที่เก๋มากและก็ง่ายด้วย

10. ประตูกรอบดำกว้างๆ
หากคุณอยากหาที่กั้นห้องที่เพลย์เซฟหมาะกับทุกสไตล์ ก็อาจจะลองเลือกเป็นบานเลื่อนใสกรอบสีดำแบ่งเป็นตารางกว้างๆ

11. กระจกสีสวยๆ
จากในภาพจะเป็นบานเลื่อนเล็กๆ กระจกสีเขียวกั้นระหว่างห้องนอนกับพื้นที่นั่งเล่น ดูสวยและสดใสมากๆ

12. กั้นก็ได้ รวมห้องก็ได้
ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการใช้ประตูบานเลื่อนคือเมื่อเราปิดประตูก็เป็นการกั้นห้อง แต่เมื่อเปิดมันจนสุดก็จะเป็นการเชื่อมห้องเข้าด้วยกันและเราก็จะได้พื้นที่เพิ่มขึ้นด้วย

13. ประตูบานเลื่อนระบายกลิ่นอับ
ประตูที่ห้องครัวถ้าใช้เป้นประตูบานเลื่อนก็ดีเหมือนกันเพราะมันจะช่วยระบายกลิ่นอาหารได้เต็มี่ และทำให้อากาศถ่ายเท

14. ประตูบานเลื่อนสีขุ่นที่ห้องนอน
แม้แต่ในห้องนอนก็ต้องการความเป็นส่วนตัว ลองเลือกเป็นประตูบานเลื่อนสีขุ่นกั้นแค่เฉพาะเตียงและพื้นที่นั่งเล่น เดี๋ยวนี้ถ้าสังเกตดูเรามักจะเห็นประตูแบบนี้ตามอพาร์ทเมนต์กัน


ติดต่อสอบถาม   



15
ทำความรู้จักประตูบานเลื่อน
ลักษณะของประตูบานเลื่อน
ประตูบานเลื่อนเป็นประตูที่มีทิศทางการเปิดด้วยการเลื่อนบานประตู ด้วยการแขวนบานประตูกับล้อรางเลื่อนใส่ในรางยูอลูมิเนียม ล้อรางเลื่อนยึดกับสันบานด้านบนของประตูบานเลื่อน อุปกรณ์กุญแจล็อคประตูบานเลื่อนเป็นกุญแจล็อคแบบคอม้า ใช้เดือยกุญแจล็อคสับเกี่ยวเข้ากับวงกบ
รูปแบบของประตูบานเลื่อน ส่วนใหญ่ประตูบานเลื่อนนิยมออกแบบรูปแบบประตูเป็นแบบบานเรียบหรือบานเรียบเซาะร่องเพื่อให้กลมกลืนกับผนัง
การเลือกบานประตูที่นำมาเป็นประตูบานเลื่อน สามารถเลือกใช้บานประตูได้ทุกประเภท ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงโครงสร้างบานประตูเป็นหลัก โครงสร้างประตูบานเลื่อนต้องมีความแข็งแรงไม่ทำให้ประตูบานเลื่อนโก่งหรือบิดบัวหลังการใช้งานจะทำให้มีปัญหาเวลาปิดเปิดประตูบานเลื่อน โครงสร้างกรอบบานของประตูบานเลื่อนต้องมีความหนาและวัสดุกรอบบานประตูต้องมีความเหนียวและแข็งแรง สามารถยึดติดกับชุดรางแขวนประตูบานเลื่อนได้โดยไม่หลุดหลังการใข้งาน
การเลือกใช้ประตูบานเลื่อนแบ่งตามวัสดุและวิธีการผลิต

1. การเลือกใช้ประตูบานเลื่อนจากบานประตูที่ผลิตจากไวนิล โครงสร้างบานเป็นไม้สังเคราะห์ หรือที่เรียกว่าประตูUPVC
โครงสร้างของประตูบานเลื่อนUPVC กรอบบานของบานประตูบานเลื่อน ควรมีหน้าตัดไม่น้อยกว่า 35มิลลิเมตร X 35มิลลิเมตร เป็นระยะขั้นต่ำที่สามารถยึดติดกับชุดอุปกรณ์แขวนประตูบานเลื่อนได้อย่างแข็งแรง และให้ประตูบานเลื่อนมีความแข็งแรงไม่โก่งและบิดตัวหลังการใช้งาน
การติดตั้งอุปกรณ์กุญแจล็อคประตูบานเลื่อนแบบคอม้าฝัง ใช้การล็อคเดือยเข้ากับวงกบประตูบานเลื่อน ต้องเสริมโครงพิเศษประตูUPVCสำหรับฝังอุปกรณ์ล็อค โดยระยะเสริมโครงประตูบานเลื่อนให้เป็นไปตามมาตรฐานของชุดอุปกรณ์
2. การเลือกใช้ประตูบานเลื่อนที่เป็นบานประตูบานไม้ประกอบ โครงสร้างบานประตูเป็นการประกอบขึ้นรูปตามมาตรฐาน มอก. ด้านในกลวง มีน้ำหนักเบา บานประตูบานไม้ประกอบที่นิยมใช้คือ ประตูไม้อัดยางกันน้ำ และประตูปิดผิวลามิเนต
โครงสร้างของประตูบานเลื่อนบานไม้ประกอบ ประตูบานเลื่อนไม้อัดยางกันน้ำ และประตูบานเลื่อนปิดผิวลามิเนต กรอบบานของบานประตูบานเลื่อน ควรมีขนาดหน้าตัดไม่น้อยกว่า 35มิลลิเมตร X 56มิลลิเมตร ตามมาตรฐานประตูบานไม้ประกอบ มอก. เพื่อให้โครงสร้างบานประตูมีความแข็งแรง ให้ประตูบานเลื่อนไม่โก่งและบิดตัวหลังการใช้งาน
การติดตั้งอุปกรณ์กุญแจล็อคประตูบานเลื่อนแบบคอม้าฝัง ใช้การล็อคเดือยเข้ากับวงกบประตูบานเลื่อน ต้องเสริมโครงพิเศษประตูบานไม้ประกอบสำหรับฝังอุปกรณ์ล็อค โดยระยะเสริมโครงประตูบานเลื่อนให้เป็นไปตามมาตรฐานของชุดอุปกรณ์
3. การเลือกใช้ประตูประตูบานเลื่อนที่ผลิตจากไม้จริง โครงสร้างบานประตูเป็นไม้จริงทั้งบาน บานประตูมีน้ำหนักสูง เมื่อเทียบกับประตูชนิดอื่น
โครงสร้างของประตูบานเลื่อนบานไม้จริงประกอบ ประตูไม้จริงเป็นบานไม้จริงทั้งบาน โครงสร้างมีความแข็งแรง ข้อควรคำนึงถึงคือควรพิจารณาประตูไม้จริงที่ผ่านการอบของไม้ที่นำมาประกอบ เพื่อป้องกันประตูไม้จริงบิดตัวหลังการใช้งาน ซึ่งทำให้ประตูบานเลื่อนปิดเปิดได้ลำบาก
สิ่งที่ต้องระวังคือประตูบานเลื่อนไม้จริงมีน้ำหนักมาก การเลือกอุปกรณ์ชุดแขวนรางประตูบานเลื่อน ต้องเลือกที่สามารถรับน้ำหนักประตูบานเลื่อนประตูไม้จริงได้ อุปกรณ์แขวนรางประตูบานเลื่อน มีแบบรับน้ำหนักสูงสุด 60KGและ100KG ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของประตูบานเลื่อนไม้จริงที่ผลิต

การเตรียมผนังและช่องเปิดสำหรับการติดตั้งประตูบานเลื่อน
ประตูบานเลื่อนเป็นการแขวนรางยูอลูมิเนียมยึดติดกับผนังส่วนด้านบน ผนังส่วนรับรางแขวนประตูบานเลื่อนต้องมีความแข็งแรง รางแขวนต้องยึดติดกับโครงสร้างคอนกรีตหรือเสาเอ็นเท่านั้น ไม่สามาถยึดกับผนังปูนที่ก่ออิฐได้ เนื่องจากความแข็งแรงไม่เพียงพอ
กรอบช่องเปิดเสาเอ็นและทับหลังของประตูบานเลื่อน ต้องเรียบและได้ระดับ เพื่อให้การติดตั้งวงกบแนบชิดกับเสาเอ็น มีความสวยงามและแข็งแรง
ผนังด้านที่ทิศทางของประตูบานเลื่อนที่เปิด ต้องมีความเรียบและได้ระดับ เพื่อให้ประตูบานเลื่อนเปิดได้สะดวก กรณีที่มีการฉาบผนังเอียงไม่ระดับ การเปิดประตูบานเลื่อนจะไปสัมผัสผนัง ทำให้ประตูบานเลื่อนเสียหายได้

ชุดอุปกรณ์ประตูบานเลื่อนประกอบด้วย
1. ประตูบานเลื่อน
2. วงกบรับประตูบานเลื่อนสำหรับฝังกุญแจล็อค
3. รางยูอลูมิเนียมสำหรับแขวนประตูบานเลื่อน
4. ชุดล้อรางเลื่อนสำหรับยึดประตูบานเลื่อนแขวนกับรางยู
5. กุญแจล็อคประตูบานเลื่อน
6. แผ่นบังรางปิดหน้ารางเลื่อน

วิธีการติดตั้งประตูบานเลื่อน
การติดตั้งประตูบานเลื่อน แบ่งการทำงานเป็น 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่1 การเดินร่องสันบานประตูบานเลื่อนและวงกบ สำหรับติดตั้งกุญแจล็อคและอุปกรณ์รางเลื่อน
1.1 กำหนดระยะติดตั้งกุญแจล็อคและระยะร่องสันบานประตูบานเลื่อน เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ กุญแจล็อคประตูบานเลื่อนและชุดแขวนรางเลื่อน
1.2 เดินร่องบานประตูบานเลื่อนและวงกบด้วยเร้าเตอร์ เพื่อใส่กุญแจล็อคและชุดรางเลื่อนประตู
   1.2.1 เดินร่องสันบานประตุและเจาประตูบานเลื่อนตรงจุดใส่กุญแจล็อค เพื่อติดตั้งกุญแจล็อคสำหรับบานประตูบานเลื่อน
   1.2.2 กำหนดจุดยึดอุปกรณ์รางเลื่อนที่สันบานประตูด้านบน เพื่อติดตั้งตัวยึดบานประตูบานเลื่อนกับชุดแขวนล้อรางเลื่อน (จุดยึดควรอยู่ประมาณ 2/4 และ 3/4 ของสันบานเพื่อให้รับน้ำหนักบานประตูบานเลื่อนได้ดี)
   1.2.3 เดินร่องใต้ประตูบานเลื่อนเพื่อเป็นร่องรางเลื่อน สำหรับวางชุดบังคับรางบานประตูบานเลื่อน ทำการกำหนดระยะ และติดตั้งชุดบังคับรางล่างบานประตูบานเลื่อนเข้ากับพื้นซิเมนต์
ขั้นตอนที่2. ติดตั้งรางเลื่อนยูอลูมิเนียมเข้ากับผนัง กำหนดระดับรางเลื่อนด้วยเครื่องมือวัดระดับเลเซอร์หรือระดับน้ำ ทำการยึดรางเลื่อนยูอลูมิเนียมกับผนังด้วยฉากรับราง ยิงพุกคอนกรีตเข้ากับผนังเพื่อเป็นตัวรับฉากยึดราง ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่าโครงสร้างผนังมีความแข็งแรงเพียงพอ สามารถรับน้ำหนักของบานประตูได้ วางรางเลื่อนยูอลูมิเนียมให้ได้ระดับด้วยระดับน้ำหรือตัววัดระดับเลเซอร์
ขั้นตอนที่3 แขวนประตูบานเลื่อนเข้ากับรางเลื่อนยูอลูมิเนียม ทำการยึดประตูบานเลื่อนกับชุดแขวนล้อรางเลื่อน จากนั้นทำการแขวนประตูบานเลื่อนเข้าไปในรางเลื่อนยูอลูมิเนียม ปรับระดับประตูบานเลื่อนให้ได้ระดับด้วยไขควง (การพิจารณาอุปกรณ์ล้อแขวนประตูบานเลื่อน ต้องคำนึงถึงน้ำหนักประตูบานเลื่อนที่ติดตั้ง ชุดอุปกรณ์ล้อแขวนประตูบานเลื่อนมี 2แบบ สำหรับประตูบานเลื่อนไม่เกิน 60KG และ100KG )
ขั้นตอนที่4 การติดตั้งวงกบเข้ากับเสาเอ็น วงกบชุดรางเลื่อนมี2ชิ้น(หรือเรียกวงกบ2ขา) ชิ้นที่1ยึดติดกับเสาเอ็นด้านที่ประตูบานเลื่อนผ่าน ชิ้นนี้จะมีความกว้างวงกบเท่ากับความหนาผนัง ติดเพื่อความสวยงาม ชิ้นที่2 เป็นชิ้นที่ใช้รับสันบานประตูบานเลื่อนขณะปิด และรับขอล็อคกุญแจประตูบานเลื่อน มีความกว้างวงกบเท่ากับความหนาผนังบวกความหนาบานประตูบานเลื่อน การยึดวงกบกับเสาเอ็น ทำการยึดด้วยพุกคอนกรีตและยิงสกรูยึดวงกบเข้ากับเสาเอ็น เป็นการติดตั้งวงกบแบบระบบแห้ง
ขั้นตอนที่5 ติดตั้งกุญแจล็อคประตูบานเลื่อน ทำการประกอบกุญแจล็อคเข้ากับประตูบานเลื่อนและวงกบ ติดตั้งตามคู่มือการติดตั้งอุปกรณ์ของผู้ผลิต
ขั้นตอนที่6 ติดตั้งแผ่นบังรางประตูบานเลื่อน
โดยทั้วไปแผ่นบังรางประตูบานเลื่อนจะมีขนาดความสูงบังราง 15-20 CM ความยาว 2 เท่าของความกว้างประตูบานเลื่อน ความหนาบังรางประตูบานเลื่อนไม่น้อยกว่า 1 CM
ทำการยึดแผ่นบังรางเข้ากับรางเลื่อนยูอลูมิเนียม เพื่อปิดชุดรางเลื่อน เพิ่มความเรียบร้อยของงานประตูบานเลื่อน ไม่ให้เห็นรางเลื่อนยูอลูมิเนียมส่วนที่แขวนบานประตู
ขั้นตอนที่7 ตรวจสอบความเรียบร้อยของการปิดเปิดประตู ตรวจสอบการใช้งานล้อรางเลื่อน และอุปกรณ์ล็อคบานประตู



ติดต่อสอบถาม   



หน้า: [1] 2 3 ... 73