สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการใหม่ในการกำจัดปลวกมีหลักการดังนี้  (อ่าน 4336 ครั้ง)

Admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1088
    • ดูรายละเอียด
การควบคุมโดยใช้เหยื่อ (bait)

ทำให้เกิดการตายต่อเนื่อง เป็นวิธีการใหม่ในการกำจัดปลวกมีหลักการดังนี้

1. ใช้วัตถุอันตรายที่ออกฤทธิ์ช้า มีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและแวดล้อมมีประสิทธิภาพในการขัดขวางกระบวนการตามธรรมชาติในการดำรงชีวิตของปลวก สามารถลดจำนวนประชากรปลวกจนถึงระดับที่ไม่กอให้เกิดความเสียหายหรือเกิดการตายของปลวกต่อเนื่องจนหมดรัง
2. ใช้วัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติพิเศษดึงดูดปลวกให้เข้ามากินและสามารุคงรูปอยู่ในตัวปลวกได้ดีในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิดการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่นในรังได้
เหยื่อ (bait)

เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต แล้วส่งผลให้เกิดการตายอย่างต่อเนื่องภายในรังของปลวก อาจเป็นกลุ่มคล้ายฮอร์โมนที่มีผลมนการควบคุมการเจริญเติบโต เช่น hexaflumuron, diflubezuron เป็นสารประเภทยับยั้งการสร้างผนังลำตัวหรือเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินอาหารของปลวกสามารถถ่ายทอกไปยังปลวกตัวอื่นๆ ที่มากินซากปลวกที่ตายแล้ว เพราะกินเหยื่อชนิดนั้น เช่น disochin octoherate tetreahydrate ปัจจุบันมีเหยื่อกำจัดปลวกทั้งชนิดที่ติดตั้งภายในอาคารและชนิดฝังดินบริเวณรอบนอกอาคาร ในการนำเหยื่อกำจัดปลวกนี้ไปใช้จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ผ่าการอบรมให้มีความรู้ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี และควรมีความชำนาญในการแก้ปัญหาระหว่างการวางและเปลี่ยนเหยื่อด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีการปลูกสร้างอาคารลักษณะที่สลับซับซ้อน จึงจำเป็นต้องกัดแปลงระบบการวางเหยื่อให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อล่อให้ปลวกเข้ามากินเหยื่อให้เร็วที่สุด

วิธีการวางเหยื่ออาหารล่อปลวก ขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. สำรวจหาเส้นทางเดินใต้ดิน ของปลวกชนิดที่เข้าทำลายอาคารบ้านเรือน (Coptotermes gestroi) ตัดส่วนปลายให้แหลมหรือเป็นรูปลูกศร เพื่อง่ายต่อการนำไปฝังลงในดิน จะฝังชิ้นไม้นี้ลงไปในดินบริเวณรอบอาคาร ระยะห่างกันประมาณ 1.0 –5 เมตร ทิ้งไว้นานประมาณ 1 เดือน จึงทำการตรวจสอบว่ามีปลวกเข้มาทำลายตรงจุดไหนบ้าง โดยถอนชิ้นไม้ที่ปักไว้ไว้ขึ้นมาแต่ละจุดที่พบว่ามีการทำลายของปลวกในไม้ทำให้ทราบเส้นทางเดินใต้ดินของปลวกแน่ชัดของหลุมประมาณ 50 – 90 เซนติเมตร หรือขนาดพอที่จะฝังท่อปูนซีเมนต์หรือท่อพีวีซีหรือถุงพลาสติกที่มีลักษณะเปิดหัวเปิดท้ายลงไป จากนั้นจึงนำไม้ยางพาราขนาดเดียวกันแต่ไม่ต้องตัดให้แหลมมาจัดเรียงลงในกล่องกระดาษลูกฟูก พยามจัดเรียงชิ้นไม่ให้พื้นผิวด้านกว่างติดกันแน่นสนิท ให้ความชื้นไม้ก่อนที่จะนำไปวางไว้ภายในบ่อหรือท่อที่ทำไว้ ปิดฝาทิ้งไว้นานประมาณ 1-2 เดือน ปลวกจะเข้ามากินชิ้นไม้เหยื่อเป็นจำนวนมาก

2. การกำจัดและเปลี่ยนเหยื่อใหม่ ปลวกที่เข้ามาอยู่กินภายนกล่องเหยื่อนี้ จะถูกนไปกำจัดทิ้งอาจใช้วิธีกลต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากนั้นจึงนำกล่องเหยื่อไม้ยางพาราใหม่กลับเข้ามาวางไว้แทนที่จุดเดิม ทำการดักปลวกเป็นระยะๆ ไปเรื่อยๆประมาณ 4-6 ครั้ง พบว่าปลวกเริ่มลดปริมาณลงไปจนไม่สามารถจะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงได้ เทคนิคการดักเก็บปลวกเริ่มลดปริมาณลงไปจนไม่สามารถนำไปใช้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกันกับวิธีการใช้สารออกฤทธิ์ประเภทสารยับยั้งการเจริญเติบโต และสามรถนำเทคนิคนี้ไปใช้ร่วมกับการกำจัดปลวกโดยชีววิธีในอนาคตได้ด้วย เช่น การใช้ nematode หรือจุลินทรีย์บางชนิด ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างขันตอนศึกษาทดลองภายในห้อง

3. การใช้แสงไฟดึงดูดหรือขับไล่ปลวกแมลงเม่า ปลวกวรรณะนี้พบในฤดูผสมพันธุ์ อาจเกิดขึ้นปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของปลวก แมลงเม่าจะบินออกมาจากรังเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ โดยทั่วไปมักจะบินมาเล่นไฟในพลบค่ำ ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนถึงทุ่มครึ่ง ไม่เกินสองทุ่ม บางครั้งอาจพบแมลงเม่าบินออกจากรังหลังจากฝนตกใหม่ๆ ซึ่งเป็นสภาวะที่ดินมีความชุ่มชื้นและมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ของปลวก การจัดการปลวกในระยะนี้สามารถช่วยลดปริมาณแมลงเม่าที่จะผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ในบริเวณอาคารได้ การดำเนินการใช้วิธีการง่ายๆ เช่น การปิดไฟภายในบ้ายช่วงระยะเวลาดังกล่าว แล้วเปิดไฟบริเวณด้านนอกของอาคารแทนเพื่อดึงดูดให้แมลงเม่าออกไปเล่นไฟอยู่เฉพาะภายนอกอาคาร ในขณะเดียวกันควรจัดตั้งภาชนะปากกว้างใส่น้ำทิ้งไว้เพื่อดักแมลงเม่า จากนั้นนำไปกำจัดหรือนำไปใช้เป็นอาหารของคนหรือสัตว์
นอกจากนี้การใช้หลอดไฟที่ห่อหุ้มด้วยพลาสติกชนิดเคลือบสารพิเศษ เช่น แสง UV เพื่อขับไล่แมลงบินชนิดต่างๆ บริเวณรอบอาคาร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้แมลงเม่าบินเข้ามาผสมพันธุ์และสร้างรังในอาคารได้

4. การดูแลสถานที่และการจัดวางข้างของเครื่องเรือน เครื่องใช้ทั้งภายในและภายในอาคาร เพื่อช่วยลดความรุนแรงในการเข้าทำลายของปลวก ดังนี้
-          หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของลักษณะที่สัมผัสกับพื้นดินหรือพื้นอาคารโดยตรง ควรวางชั้นที่ยกระดับขึ้นเหนือพื้นดินหรือพื้นอาคารไม่น้อยกว่า 15 เซนตอเมตร หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของชิดมุมหรือตอดผนัง ควรวางห่างจากมุมห้องหรือฝาผนังระยะไม่น้อยกว่า 5 – 10 เซนติเมตร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี สามรถเข้าไปตรวจดูเส้นทางเดินดินของปลวกที่จะขึ้นมาได้และสามรถจะกำจัดได้ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงขึ้น
-          เคลื่อนย้าย รื้อสิ่งของและเปลี่ยนตำแหน่งการเก็บเครื่องเรือนเครื่องใช้อยู่เสมอ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถรบกวนการเข้าทำลายของปลวกได้ เนื่องจากปลวกมักจะอาศัยอยู่เฉพาะที่ที่เงียบสงบไม่มีอะไรมารบกวน
-          หลีกเลี่ยงกรปลูกต้นไม้ต่างๆ ในลักษณะที่ชิดหรือติดกับตัวอาคารเพื่อช่วยลดความรุนแรงการเข้ามาทำลายของปลวกภายในอาคารได้ เนื่องจากกิ่งก้านของต้นไม้อาจจะเป็นสะพานเชื่อมต่อเส้นทางเดินของปลวกให้เข้าสู่อาคารสะดวกขึ้น และบริเวณพื้นดินรอบอาคารที่ปลูกต้นไม้มัดมีการรดน้ำอยู่เสมอ ทำให้พื้นดินบริเวณนี้กลายเป็นจุดที่มีการสะสมความชื้นจัดเป็นปัจจัยที่ชักนำปลวกให้เข้ามาอาศัยและทำลายมากขึ้น
3.4        รูปแบบสูตรผสมที่เหมาะกับการนำไปใช้งาน
3.4.1        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกชนิดเข้มข้นใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ได้แก่
EC (emulsifiable concentration) ลักษณะของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อเจือจางด้วยน้ำจะได้สารอิมัลชั่น ที่มีลักษณะขุ่นขาว
SC (suspension concentration) ลักษณะเป็นสารผสมแขวนลอยของสารออกฤทธิ์ในของเหลว ไม่ตกตะกอนเมือนำไปเจือจาง
SL (soluble concentration) ลักษณะเป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้ต้องนำไปเจือจางด้วยน้ำ
SP (soluble power) ลักษณะเป็นรูปผง ก่อนใช้ต้องนำไปผสมน้ำ สารออกฤทธิ์ละลายน้ำได้ แต่สารไม่ออกฤทธิ์บางส่วนในสูตรไม่ละลายน้ำ
WP (wettable powder) ลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำจะได้สารละลายในรูปของสารแขวนลอย สูตรนี้เหมาะสำหรับใช้ในการอัดสารกำจัดปลวกลงดินหรือฉีดพ่นบนพื้นดินบริเวณริบอาคารบ้านเรือน
ในการพิจารณาเลือกใช้สูตรตำรับใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้หรือราคาของสารกำจัดปลวกนั้น
3.4.2        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกชนิดเข้มข้น ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย ได้แก่
OL (oil miscible liquid) ลักษณะเป็นของเหลวที่เป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ สูตรนี้เหมาะจะนำไปใช้กับอุปกรณ์ชนิดเข็มหรือหลอดฉีดยา เพื่ออัดหรือฉีดพ่นสารกำจัดปลวกเข้าในโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายแต่ละจุดเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้มีการแทรกซึมของตัวยาเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดีกว่าการใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ
3.4.3        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกที่ใช้ได้ทันทีไม่ต้องเจือจาง ได้แก่
DP (dustable powder) มีลักษณะเป็นผงละเอียด สูตรนี้เหมาะนำไปใช้ในการใช้พ่นผง โดยใช้อุปกรณ์ชนิดลูกยางบีบพ่น เพื่อพ่นสารกำจัดปลวกเข้าไปในเส้นทางเดินของปลวกหรือในโครงสร้างที่ถูกทำลายโดยไม่ทำให้เลอะเปรอะเปื้อน ต่างจากการใช้สารกำจัดปลวกที่ต้องผสมกับตัวทำละลายที่เป็นน้ำหรือน้ำมัน ที่ก่อให้เกอดความเสียหายกับโครงสร้างของอาคารหรือวัสดุสิ่งของนั้นๆ
3.4.4        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกสูตรใช้เฉพาะอย่าง
AE (aerosol dispenser) บรรจุในภาชนะปิดมิดชิด มีลิ้นบังคับการเปิด-ปิดเมื่อลิ้นปิดสารละลายจะถูกปล่อยมาเป็นละอองฝอย
BA (bait ready for use) เป็นเหยื่อล่อหรือดึงดูดปลวกให้เข้ามากัดกิน ใช้ได้โดยไม่ต้องผสม
Foam เป็นรูปแบบที่ตัวทำละลายผสมกับสารกำจัดปลวก นิยมใช้เมื่อต้องอัดสารเคมีลงไปในดินใต้พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำพาสารเคมีให้แทรกซึมและกระจายได้เร็วและทั่วถึงไปตามช่องว่างภายใต้พื้นคอนกรีต


ติดต่อสอบถาม